เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ไมโครเกลีย

ดัชนี ไมโครเกลีย

มโครเกลีย (microglia) เป็นเซลล์ค้ำจุนหรือเซลล์เกลียชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ในระบบประสาท ซึ่งมันมีบทบาทสำคัญในระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) คือ ทำหน้าที่เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันในระบบประสาทส่วนกลาง คล้ายกับพวกมาโครฟาจ (macrophage) หรือ ฟาโกไซต์ (phagocyte) ในการจับกินเซลล์ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือของเสียต่างๆที่เกิดขึ้นจากการที่เซลล์ถูกทำลาย ไมโครเกลี.

สารบัญ

  1. 9 ความสัมพันธ์: ระบบประสาทระบบประสาทกลางแอสโทรไซต์โมโนไซต์โอลิโกเดนโดรไซต์ไขกระดูกเซลล์ชวานน์เซลล์อีเพนไดมอลเซลล์เกลีย

  2. เซลล์เกลีย

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ดู ไมโครเกลียและระบบประสาท

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ดู ไมโครเกลียและระบบประสาทกลาง

แอสโทรไซต์

แอสโทรไซต์ (astrocyte) เป็นเซลล์ค้ำจุนหรือเซลล์เกลียชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ในระบบประสาทส่วนกลาง มีรูปร่างคล้ายดาว ทำหน้าที่คอยควบคุมปริมาณและชนิดของสารต่าง ๆ ที่จะผ่านเข้าออกเซลล์ประสาท แอสโทรไซต.

ดู ไมโครเกลียและแอสโทรไซต์

โมโนไซต์

ภาพวาดของเม็ดเลือดขาวโมโนซัยต์ โมโนไซต์ (monocyte) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ โมโนไซต์ปกติจะมีประมาณ 3 - 5 % มีอายุ 5 - 6 วัน ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมด้วยวิธีฟาโกไซโตซิส มีความสามารถสูงพอๆกับ neutrophil และสร้าง antibody ต่อต้านเชื้อโรค หน้าที่ของโมโนไซต์ (monocyte) โมโนไซท์ มีหน้าที่ป้องร่างกายเช่นเดียวกับนิวโตรฟิล สามารถกินเชื้อจุลินทรีย์ เช่น บัคเตรี เชื้อรา ยีสต์ หรือแม้แต่เม็ดเลือดแดง โดยที่โมโนไซท์สามารถกินของใหญ่ ๆ ได้ บางทีจึงเรียกกันว่า มัค โครเฟจ (macrophage) เทียบกับนิวโตรฟิล ซึ่งเรียกว่า ไมโครเฟจ(microphage) โมโนไซท์มีชีวิตในกระแสโลหิตที่หมุนเวียนเพียงระยะสั้นเท่านั้น ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายเข้าสู่เนื้อเยื่อ แล้วเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็น ฮิสติโอไซท์ (Histiocyte) หมวดหมู่:เม็ดเลือดขาว หมวดหมู่:เซลล์เม็ดเลือด หมวดหมู่:เซลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์.

ดู ไมโครเกลียและโมโนไซต์

โอลิโกเดนโดรไซต์

อลิโกเดนโดรไซต์ (oligodendrocyte) เป็นเซลล์ค้ำจุนหรือเซลล์เกลียชนิดหนึ่งซึ่งสามารถพบได้ในระบบประสาทส่วนกลาง.

ดู ไมโครเกลียและโอลิโกเดนโดรไซต์

ไขกระดูก

กระดูก เป็นเนื้อเยื่อยืดหยุ่นที่พบได้ในกระดูกชั้นใน ไขกระดูกในกระดูกชิ้นใหญ่ของคนผลิตเม็ดเลือดแดงใหม่ โดยเฉลี่ยแล้วไขกระดูกมีน้ำหนักคิดเป็นร้อยละ 4 ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เช่นในผู้ใหญ่น้ำหนัก 65 กิโลกรัม จะมีไขกระดูกโดยประมาณ 2.6 กิโลกรัม ส่วนสร้างเม็ดเลือด (hematopoietic compartment) ของไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดง 500,000 ล้านเซลล์ต่อวันโดยประมาณ ซึ่งใช้ระบบไหลเวียนไขกระดูก (bone marrow vasculature) เป็นท่อสู่ระบบไหลเวียนของร่างกาย ไขกระดูกยังเป็นส่วนหลักของระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) ที่ผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ซึ่งช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างก.

ดู ไมโครเกลียและไขกระดูก

เซลล์ชวานน์

ซลล์ชวานน์ (Schwann cell) เป็นเซลล์ค้ำจุน (เซลล์เกลีย) ในระบบประสาทรอบนอก (peripheral nervous system,PNS) มีหน้าที่เหมือนกับเซลล์โอลิโกเดนโดรไซต์ซึ่งพบในระบบประสาทส่วนกลางคือ สร้างเยื่อไมอีลินเพื่อห่อหุ้มแอกซอนของใยประสาท.

ดู ไมโครเกลียและเซลล์ชวานน์

เซลล์อีเพนไดมอล

ซลล์อีเพนไดมอล (ependymal cell) เป็นเซลล์ค้ำจุนหรือเซลล์เกลียชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ในระบบประสาท โดยพบเป็นเยื่อบุที่โพรงสมองและโพรงของไขสันหลัง.

ดู ไมโครเกลียและเซลล์อีเพนไดมอล

เซลล์เกลีย

ซลล์เกลีย (glial cell) หรือ นิวโรเกลีย (neuroglia) หรือ เกลีย (glia) เป็นเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์ประสาทซึ่งทำหน้าที่หลากหลายในระบบประสาท เช่น ช่วยเกื้อหนุนค้ำจุนเซลล์ประสาท เป็นแหล่งอาหาร รักษาภาวะธำรงดุล (homeostasis) สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มแอกซอน และการถ่ายทอดสัญญาณ เป็นต้น จำนานเซลล์เกลียมีมากกว่าจำนวนเซลล์ประสาทถึง 10 เท่าตัว.

ดู ไมโครเกลียและเซลล์เกลีย

ดูเพิ่มเติม

เซลล์เกลีย