โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไบรตันและโฮฟ

ดัชนี ไบรตันและโฮฟ

รตันและโฮฟ (อังกฤษ:Brighton and Hove, เสียงอ่าน /ˈbraɪtən ən ˈhoʊv/) เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร อยู่ภายในเทศมณฑลอีสต์ซัสเซกซ์ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศอังกฤษ โดยถูกยกให้เป็นพื้นที่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของอังกฤษในด้านแหล่งท่องเที่ยวริมฝั่งชายทะเล.

15 ความสัมพันธ์: ชาวอาหรับพรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)พรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)ภาษาอังกฤษภาคของอังกฤษสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีสต์ซัสเซกซ์ทวีปเอเชียซัสเซกซ์ประเทศอังกฤษเมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักรเวลามาตรฐานกรีนิชเทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษเซาท์อีสต์อิงแลนด์

ชาวอาหรับ

วอาหรับ (عرب) เป็นกลุ่มชนเซมิติกที่พูดภาษาอาหรับโดยมีประชากรอาศัยในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และแอฟริกาเหนือ ซึ่งกลุ่มชาวอาหรับประกอบด้วยชาวเลบานอน, ชาวซีเรีย, ชาวเอมิเรตส์, ชาวกาตาร์, ชาวซาอุดี, ชาวบาห์เรน, ชาวคูเวต, ชาวอิรัก, ชาวโอมาน, ชาวจอร์แดน, ชาวปาเลสไตน์, ชาวเยเมน, ชาวซูดาน, ชาวแอลจีเรีย, ชาวโมร็อกโก, ชาวตูนีเซีย, ชาวลิเบีย และชาวอียิปต.

ใหม่!!: ไบรตันและโฮฟและชาวอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)

รรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) หรือชื่อเดิมว่า พรรคอนุรักษนิยมและสหภาพนิยม คือพรรคการเมืองกลาง-ขวาในสหราชอาณาจักรที่ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของลัทธิอนุรักษนิยมและลัทธิการรวมชาติบริเตน ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรโดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาจำนวน 330 คน สมาชิกสภาท้องถิ่นทั่วประเทศ 9,391 คน และเป็นพรรคการเมืองจากสหราชอาณาจักรที่มีที่นั่งในรัฐสภายุโรปมากที่สุดจำนวน 25 ที่นั่ง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาสามัญชนโดยมีหัวหน้าพรรคคือนางเทเรซา เมย์ เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคมักถูกเรียกขานว่า พรรคขุนนาง (Tory Party) หรือ พวกขุนนาง (Tories) พรรคอนุรักษนิยมก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ไบรตันและโฮฟและพรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร) · ดูเพิ่มเติม »

พรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)

รรคแรงงาน (Labour Party) เป็น พรรคการเมืองกลาง-ซ้ายในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหนึ่งในสามพรรคการเมืองใหญ่ของประเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ซึ่งเก่าแก่ที่สุดในสหราชอาณาจักร โดยเข้าควบรวมพรรคเสรีนิยมในช่วงต้นยุคปี..

ใหม่!!: ไบรตันและโฮฟและพรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ไบรตันและโฮฟและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาคของอังกฤษ

(regions) เป็นเขตการปกครองท้องถิ่นระดับบนสุดของรัฐบาลท้องถิ่นในอังกฤษ (Local government in England) ยกเว้นลอนดอนที่มีระบบการปกครองเป็นของตนเอง ภาคการปกครองของอังกฤษก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1994 และในปัจจุบันแบ่งเป็น 9.

ใหม่!!: ไบรตันและโฮฟและภาคของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

มาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ..

ใหม่!!: ไบรตันและโฮฟและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

อีสต์ซัสเซกซ์

ที่ตั้งของเทศมณฑลอีสต์ซัสเซกซ์ อีสต์ซัสเซกซ์ (East Sussex) เป็นเทศมณฑล (county) แห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ในเซาท์อีสต์อิงแลนด์ (ภาคการปกครองตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ) อีสต์ซัสเซกซ์มีเขตแดนติดกับเทศมณฑลเคนต์, เทศมณฑลเซอร์รีย์, เทศมณฑลไบรตันและโฮฟ และเทศมณฑลเวสต์ซัสเซกซ์ และทางตอนใต้เป็นช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: ไบรตันและโฮฟและอีสต์ซัสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: ไบรตันและโฮฟและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ซัสเซกซ์

ซัสเซกซ์ (Sussex) ภาษาอังกฤษเก่าเรียกว่า Sūþseaxe ที่แปลว่าแซกซันใต้ เป็นอดีตเทศมณฑลในภูมิภาคเซาท์อีสต์อิงแลนด์ของอังกฤษ มีอาณาบริเวณใกล้เคียงกับราชอาณาจักรซัสเซกซ์ในอดีต เขตแดนทางด้านเหนือติดกับเทศมณฑลเซอร์รีย์, ด้านตะวันออกติดกับเคนต์, ด้านใต้ติดช่องแคบอังกฤษ และด้านตะวันตกแฮมป์เชอร์ และแบ่งการปกครองท้องถิ่นออกเป็นเวสต์ซัสเซกซ์ และอีสต์ซัสเซกซ์ และนครไบรตันและโฮฟ นครไบรตันและโฮฟใช้ระบบรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวในปี..

ใหม่!!: ไบรตันและโฮฟและซัสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ไบรตันและโฮฟและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร

มหาวิหารเช่นนครยอร์คที่เป็นที่ตั้งของมหาวิหารยอร์ค เมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร (ภาษาอังกฤษ: City status in the United Kingdom) เป็นเมืองที่ได้รับพระราชทานฐานะจากพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (British monarch) ให้แก่ชุมชนที่ทรงเลือก การได้รับพระราชทานฐานะเป็นนครเป็นแต่การได้รับสิทธิที่จะเรียกตนเองเป็น “นคร” โดยไม่มีสิทธิพิเศษใดใดนอกไปจากนั้น แต่กระนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่เป็นที่ต้องการกันเป็นอย่างแพร่หลายเพราะเป็นการนำมาซึ่งความมีหน้ามีตาของเมือง นอกจากนั้นการมอบสิทธิก็มิได้มีหลักเกณฑ์มาตรฐานแต่อย่างใด แต่ในอังกฤษและเวลส์ฐานะการเป็น “นคร” มักจะมอบให้แก่เมืองที่เป็นที่ตั้งของมหาวิหาร ประเพณีการตั้งเมืองที่มีมหาวิหารขึ้นเป็น “นคร” เริ่มมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1540 เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงก่อตั้งสังฆมลฑล (ซึ่งก็หมายถึงการมีมหาวิหาร) ในเมืองแปดเมืองและพระราชทานฐานะเมืองต่างๆ เหล่านั้นให้เป็น “นคร” โดยทรงมอบพระราชเอกสารสิทธิ (letters patent) ให้ การมอบฐานะการเป็นนครให้เมืองในไอร์แลนด์และในเวลส์มีจำนวนน้อยกว่าในอังกฤษมาก ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นไอร์แลนด์เหนือมีเมืองที่มีฐานะเป็นนครมีเพียงสองเมือง ส่วนในสกอตแลนด์ฐานะนครไม่มีให้กันอย่างเป็นทางการจนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งในเวลานั้นก็เริ่มมีการฟื้นฟูการมอบฐานะการเป็นนครโดยเริ่มในอังกฤษ ที่การมอบฐานะจะตามด้วยการก่อตั้งมหาวิหาร และต่อมาการมอบฐานะก็เกิดขึ้นในสกอตแลนด์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การมอบฐานะการเป็นนครในอังกฤษและเวลส์ก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าไม่จำเป็นต้องเป็นเมืองที่มีมหาวิหารและสิทธิที่มอบให้ตั้งแต่นั้นมาก็ขึ้นอยู่กับมาตรฐานหลายอย่างเช่นตามจำนวนประชากรในเมืองที่ได้รับฐานะเป็นต้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีการยุบเลิกรัฐบาลท้องถิ่นบางรัฐบาลที่เป็นผลของการปฏิรูปรัฐบาลท้องถิ่นที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น (ไอร์แลนด์) ค.ศ. 1840 (Municipal Corporations (Ireland) Act 1840) ทำให้เมืองเก่าหลายเมืองถูกยุบฐานะ แต่ก็ได้มีการมอบพระราชเอกสารสิทธิให้แก่เมืองที่ถูกกระทบกระเทือนเพื่อให้เมืองต่างๆ เหล่านั้นมีฐานะตามที่เคยเป็นมา ในปัจจุบันโรเชสเตอร์, เพิร์ธ และเอลกินเป็นเพียงเมืองสามเมืองเท่านั้นในสหราชอาณาจักรที่สูญเสียฐานะในการเป็นนคร.

ใหม่!!: ไบรตันและโฮฟและเมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

เวลามาตรฐานกรีนิช

วลามาตรฐานกรีนิช หรือ เวลามัชฌิมกรีนิช (Greenwich Mean Time) ชื่อย่อ จีเอ็มที (GMT) แต่เดิมเป็นคำใช้เรียกเวลาสุริยคติมัชฌิมที่หอดูดาวหลวงกรีนิช เมืองกรีนิช สหราชอาณาจักร ปัจจุบันคำนี้มักใช้เพื่อหมายถึงเวลาสากลเชิงพิกัด (ยูทีซี) ในฐานะเขตเวลา แม้ว่าหากถือโดยเคร่งครัดแล้ว ยูทีซีนั้นเป็นมาตรฐานเวลาที่วัดโดยนาฬิกาอะตอม ซึ่งจะเท่ากันเพียงโดยประมาณกับจีเอ็มทีในความหมายเดิม จีเอ็มทียังใช้หมายถึงเวลาสากล (ยูที) ซึ่งเป็นเวลาเชิงดาราศาสตร์ที่กำหนดขึ้นเพื่อทดแทนจีเอ็มทีโดยตรง เวลาเที่ยงวันของมาตรฐานกรีนิชนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกที่กรีนิชเสมอไป ทั้งนี้เนื่องจากการโคจรของโลกเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์มีอัตราเร็วไม่สม่ำเสมอและแกนโลกที่เอียง เวลาเที่ยงวันกรีนิชอาจต่างจากเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกถึง 16 นาที จึงจำเป็นต้องสมมุติดวงอาทิตย์มัชฌิม ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยจากการปรับการเคลื่อนที่ที่ไม่สม่ำเสมอของดวงอาทิตย์ดวงจริงขึ้นใช้คำนวณแทน ดวงอาทิตย์มัชฌิมนี้เองเป็นที่มาของคำว่า มัชฌิม ในคำว่าเวลามัชฌิมกรีนิช ก่อน ค.ศ. 1925 นักดาราศาสตร์ใช้จีเอ็มทีโดยนับเที่ยงวันเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ (เวลาศูนย์นาฬิกา) ในขณะที่ประชาชนทั่วไปนับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ นักดาราศาสตร์ได้เปลี่ยนมานับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไปตั้งแต..

ใหม่!!: ไบรตันและโฮฟและเวลามาตรฐานกรีนิช · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ

ทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ (Ceremonial counties of England) คือพื้นที่ในอังกฤษที่ได้รับก่อตั้งให้อยู่ในปกครองของ “ลอร์ดเลฟเทนันต์” (Lord Lieutenant) และได้รับคำบรรยายโดยรัฐบาลว่าเป็น “มลฑลที่ก่อตั้งสำหรับพระราชบัญญัติเลฟเทนันต์ ค.ศ. 1997” ที่มีพื้นฐานมาจากเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ และพระราชบัญญัติเลฟเทนันต์ ค.ศ. 1997 มลฑลเหล่านี้มักจะใช้ในการอ้างอิงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่บางครั้งเรียกว่า “มลฑลประวัติศาสตร์” เทศมณฑลพิธีมีด้วยกันทั้งสิ้น 48 แห่ง.

ใหม่!!: ไบรตันและโฮฟและเทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษและเวลส์ในประวัติศาสตร์, แผนที่จากปี ค.ศ. 1824 มณฑลการปกครองของอังกฤษในประวัติศาสตร์ เป็นเขตการปกครองโบราณของอังกฤษ ที่ก่อตั้งโดยการบริหารของชนนอร์มันและในกรณีส่วนใหญ่จำลองมาจากเขตการปกครองราชอาณาจักรและไชร์ของแองโกล-แซ็กซอนก่อนหน้านั้น เขตการปกครองเหล่านั้มีประโยชน์ในการใช้สอยหลายอย่างมาเป็นเวลาหลายร้อยปีBryne, T., Local Government in Britain, (1994) และยังใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาการจัดเขตการปกครองของรัฐบาลส่วนท้องถิ่นในสมัยปัจจุบันHer Majesty's Stationery Office, Aspects of Britain: Local Government, (1996)Hampton, W., Local Government and Urban Politics, (1991) มณฑลเหล่านี้บางครั้งก็รู้จักกันว่า “มณฑลโบราณ” (ancient counties).

ใหม่!!: ไบรตันและโฮฟและเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เซาท์อีสต์อิงแลนด์

ตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: South East England) เป็นหนึ่งในเก้าของภาคการปกครองของอังกฤษที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1994 และรับเป็นส่วนหนึ่งของสถิติใน ปี ค.ศ. 1999 ภาคตะวันออกเฉียงใต้รวมมลฑลบาร์คเชอร์, บัคคิงแฮมเชอร์, อีสต์ซัสเซ็กซ์, แฮมป์เชอร์, ไอล์ออฟไวท์, เค้นท์, อ๊อกซฟอร์ดเชอร์, เซอร์รีย์ และเวสต์ซัสเซ็กซ์ คำที่ใช้กันโดยทั่วไปในการเรียกบริเวณนี้คือ “ตะวันออกเฉียงใต้” แต่ความหมายต่างกันออกไปมาก ภาคตะวันออกเฉียงใต้มีเนื้อที่ 19,096 ตารางกิโลเมตร ในปี..

ใหม่!!: ไบรตันและโฮฟและเซาท์อีสต์อิงแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »