โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เซี่ยตะวันตก

ดัชนี เซี่ยตะวันตก

ซี่ยตะวันตก (Western Xia) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งซึ่งดำรงอยู่ตั้งแต่ปี 1038 ถึงปี 1227 ณ บริเวณที่ปัจจุบันเป็นเขตกานซู ชิงไห่ ซินเจียง มองโกเลียนอก มองโกเลียใน ส่านซี และหนิงเซี่ย ของสาธารณรัฐประชาชนจีน กินพื้นที่ราวแปดแสนตารางกิโลเมตร อาณาจักรเซี่ยตะวันตกถูกพวกมองโกลจากอาณาจักรมองโกลทำลายโดยสิ้นเชิง เป็นเหตุให้บันทึกและสถาปัตยกรรมล้วนดับสูญ ฉะนั้น ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรนี้จึงเป็นที่โต้เถียงเรื่อยมา จนกระทั่งมีการสำรวจขนานใหญ่จากฝรั่งและคนจ?ีนเอง จึงพบว่า อาณาจักรเซี่ยตะวันตกประสบความส??سเร็จอย่างใหญ่หลวงในด้านน?าฏกรรม วรรณกรรม ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม ชนิดที่นักประวัติศาสตร์ถือกันว่า เป็นผลงานที่ "รุ่งโรจน์เรืองรอง" (shining and sparkling) อนึ่ง ยังพบว่า อาณาจักรเซี่ยตะวันตกสามารถจัดระเบียบกองทัพอย่างเป็นระบบ กองทัพเซี่ยมีทั้งพลธนู พลปืน (ติดตั้งปืนใหญ่ไว้บนหลังอูฐ) พลม้า พลรถ พลโล่ และทแกล้??اทหารที่เก่งทั้งน้ำและบก อาณาจักรเซี่ยตะวันตกจึงรุกรานอาณาจัก?รรอบข้าง เช่น จิน ซ่ง และเหลียว ?ได้อย่างมีประสิท.

19 ความสัมพันธ์: มองโกเลียมณฑลชิงไห่มณฑลกานซู่มณฑลส่านซีราชวงศ์จินราชวงศ์ซ่งราชวงศ์เหลียวลัทธิขงจื๊อลัทธิเต๋าศาสนาพุทธศาสนาอิสลามสมบูรณาญาสิทธิราชย์จักรพรรดิจักรพรรดิเซี่ยจิงจงจักรวรรดิมองโกลประเทศจีนเขตปกครองตนเองมองโกเลียในเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

มองโกเลีย

มองโกเลีย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและมองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชิงไห่

มณฑลชิงไห่ ชื่อย่อ ชิง(青)‘ชิงไห่’ แปลว่าทะเลสีเขียวชื่อทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุด ของจีนที่อยู่ในมณฑล มีเมืองหลวงชี่อ ซีหนิง (西宁)มีเนื้อที่ทั้ง 721,000 ก.ม.

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและมณฑลชิงไห่ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกานซู่

มณฑลกานซู่ หรือ มณฑลกังซก (จีนตัวย่อ: 甘肃省, จีนตัวเต็ม: 甘粛省) ชื่อย่อ กาน หรือ หล่ง (甘, 陇) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ตอนบนของแม่น้ำฮวงโห (แม่น้ำเหลือง) มีเมืองหลวงชื่อ หลานโจว.

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและมณฑลกานซู่ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลส่านซี

นซี ตามสำเนียงกลาง หรือ เจียบไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ชื่อย่อ: "ส่าน" (陕) หรือ "ฉิน" (秦)) เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ในเขตใจกลางประเทศแถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) มีเมืองหลวงชื่อ ซีอาน มีเนื้อที่ 205,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 37,050,000 คน จีดีพี 288.4 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 7,780 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น มณฑลส่านซีโดยมากมีลักษณะภูมิประเทศคล้ายแอ่งอยู่ระหว่างภูเขาหลายแห่ง.

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและมณฑลส่านซี · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จิน

ราชวงศ์จิน เป็นราชวงศ์ที่ถูกก่อตั้งโดยชนเผ่าหนี่เจิน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพวกแมนจู ในปี..

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและราชวงศ์จิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ ซ้อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นหนึ่งในราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1503 ถึง ปีพ.ศ. 1822 รัฐบาลซ่งเป็นรัฐบาลแรกในโลกที่ใช้เงินตราแบบกระดาษ เจ้า ควงอิ้น ได้ชื่อว่า พระเจ้าซ่งไท่จู่ ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหาร ของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวง กลัวจะยึดอำนาจ ทำให้การทหารอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และเปาบุ้นจิ้น ก็ได้มาเกิดในยุคในสมัยของจักรพรรดิซ่งเหรินจง ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน ท่านตัดสินคดีอย่างยุติธรรม และเด็ดขาด ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ จนเป็นที่เลื่องลือมาถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย พวกชิตัน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับ "คนป่าเถื่อน" ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ "หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต ครั้นต่อมา มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาตี และเนื่องจากมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู (ดังเช่น ฉินไคว่ กังฉินชื่อดัง ซึ่งใส่ความแม่ทัพงักฮุย และสังหารงักฮุยกับลูกชายเสีย ทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง) บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว (ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน) ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองไคฟง (เมืองหลวง) จึงต้องย้ายเมืองหลวง ไปอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อเรียกว่า ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด แต่ต่อมา ในที่สุด พวกจิน, เซี่ยกับชิตันก็ถูกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี แล้วหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง หลังจากนั้น กุบไลข่าน หลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้โจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งบางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง จนสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน.

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและราชวงศ์ซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เหลียว

ราชวงศ์เหลียว (Liao Dynasty; ชี่ตัน: Mos Jælud; มองโกล: Ляо Улс/Lyao Uls) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิชี่ตัน (Khitan Empire; ชี่ตัน: Mos diau-d kitai huldʒi gur; มองโกล: Хятан (Khyatan) Гүрэн, Кидан (Kidan) Гүрэн) เป็นชื่อจักรวรรดิหนึ่งในเอเชียตะวันออก มีอำนาจในมองโกเลีย ภาคตะวันออกไกลบางส่วนของรัสเซีย เกาหลีเหนือ และภาคเหนือของจีนส่วนในตั้งแต่ปี 907 ถึง 1125 พระเจ้าไท่จู่ (Taizu) ข่านแห่งชาวชี่ตัน สถาปนาจักรวรรดินี้ขึ้นหลังจากราชวงศ์ถังของประเทศจีนล่มสลาย และไม่ช้าไม่นานหลังก่อตั้งขึ้น ราชวงศ์เหลียวก็เริ่มขยายดินแดน โดยพระเจ้าไท่จู่ทรงเอาชัยเหนือพวกพัลแฮ (Balhae) เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าแผ่นดินองค์ถัด ๆ มายังทรงได้สิบหกมณฑลของจีนไว้โดยใช้วิธียุแยงให้รัฐที่สามส่งการก่อกวนเข้ามา แล้วราชวงศ์เหลียวจึงคอยตีกิน ทำให้ราชวงศ์ถังอวสานลง และราชวงศ์โครยอ (Goryeo) แห่งเกาหลี กับราชวงศ์ซ่ง (Song) แห่งจีน ตกเป็นเมืองออกของราชวงศ์เหลียวในที่สุด คำว่า "เหลียว" นี้ในภาษาจีนหมายความว่า ห่าง หรือไกล จุดเด่นของราชวงศ์เหลียว คือ ความตึงเครียดระหว่างจารีตประเพณีทางสังคมและการเมืองแบบชี่ตันกับแบบจีนซึ่งนำไปสู่วิกฤติการณ์ทางการสืบสันตติวงศ์ เพราะพระเจ้าแผ่นดินเหลียวฝักใฝ่คติบุตรหัวปีเป็นใหญ่ตามแบบจีน แต่ผู้ลากมากดีชาวชี่ตันส่วนใหญ่นิยมประเพณีที่ให้ผู้แข็งแกร่งที่สุดสืบเชื้อสาย ความแตกต่างกันระหว่างจารีตประเพณีชี่ตันและจีนนี้ยังเป็นเหตุให้พระเจ้าไท่จู่แห่งราชวงศ์เหลียวทรงตั้งการปกครองสองแบบขนานกัน ภาคเหนือซึ่งเป็นอาณาเขตชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีชี่ตัน ภาคใต้ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ไม่ใช่ชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีจีน ความแตกต่างทางสังคมแบบชี่ตันกับแบบจีนยังได้แก่ บทบาทของบุคคลแต่ละเพศและยุทธวิธี ชาวชี่ตันเห็นว่า บุคคลเสมอภาคกันไม่ว่าเพศใด ขณะที่ประเพณีทางวัฒนธรรมจีนถือว่า สตรีต้องอยู่ในโอวาทบุรุษ ฉะนั้น หญิงชี่ตันจึงเล่าเรียนการรบ ทั้งยังจัดการทรัพย์สินครัวเรือน และดำรงตำแหน่งทางทหาร ทั้งยังไม่มีการคลุมถุงชน ตลอดจนสตรีไม่จำต้องครองความบริสุทธิ์ทางเพศไว้จนถึงการสมรสครั้งแรก กับมีสิทธิที่จะหย่าและสมรสใหม่ด้วย ในปี 1125 ชาวนฺหวี่เจิน (Jurchen) จากราชวงศ์จิน (Jin) ของพวกแมนจู จับกุมพระเจ้าเทียนจั้ว (Tianzuo) แห่งเหลียวไว้ได้ และทำลายราชวงศ์เหลียวลงสิ้น แต่ชาวชี่ตันที่ยังเหลืออยู่มีเยลฺวี่ ต้าฉือ (Yelü Dashi) เป็นผู้นำ พากันก่อตั้งราชวงศ์ใหม่เรียกว่า "เหลียวตะวันตก" (Western Liao) ปกครองกันอยู่ในเอเชียกลางบางส่วนเป็นเวลายาวนานเกือบหนึ่งศตวรรษ ก่อนจะถูกทัพพระเจ้าไท่จู่ (Taizu) แห่งราชวงศ์หยวนของพวกมองโกล เข้ายึดครอง แม้ความสำเร็จทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับราชวงศ์เหลียวจะสลักสำคัญ กับทั้งเครื่องปั้นและศิลปวัตถุอื่น ๆ ก็มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์และสถานสะสมต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก แต่สภาพที่แท้จริงและขอบข่ายของอิทธิพลที่วัฒนธรรมเหลียวมีต่อพัฒนาการในระยะหลัง ๆ เช่น ด้านศิลปะการแสดงและการสังคีตนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างยิ่ง.

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและราชวงศ์เหลียว · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิขงจื๊อ

หอต้าเฉิง (Dàchéng) อาคารหลักของวัดขงจื๊อในชูฟู่ ลัทธิขงจื๊อ หรือศาสนาขงจื๊อ (Confucianism) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น "งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง" ในยุคชุนชิว แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยาในสมัยราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและลัทธิขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและลัทธิเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

สมบูรณาญาสิทธิราชย์

มบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมายอมร รักษาสัตย์, กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรวรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดีอาระเบีย บรูไน โอมาน สวาซิแลนด์ กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้ว.

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิ

ักรพรรดิ หรือ พระราชาธิราช หมายถึง ประมุขของจักรวรรดิ หากเป็นสตรีเรียกว่า จักรพรรดินี (Empress) แต่คำว่า “จักรพรรดินี” ก็ใช้เรียกพระมเหสีของจักรพรรดิด้วย ในภาษาอังกฤษจะมีคำต่อท้ายให้เป็นที่เข้าใจคือ “Empress Consort” โดยทั่วไปถือกันว่า “จักรพรรดิ” มีฐานันดรสูงกว่า “พระราชา”.

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและจักรพรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเซี่ยจิงจง

ักรพรรดิเซี่ยจิงจง (ค.ศ. 1003–1048) ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เซี่ยตะวันตก ครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและจักรพรรดิเซี่ยจิงจง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิมองโกล

อาณาเขตของจักรวรรดิมองโกล จักรวรรดิมองโกล (มองโกล: Mongolyn Ezent Güren; Mongol Empire) ซึ่งมีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 เป็นจักรวรรดิทางบกที่มีอาณาเขตต่อเนื่องใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กำเนิดในสเต็ปป์เอเชียกลาง สุดท้ายจักวรรดิมองโกลมีอาณาเขตครอบคลุมยุโรปตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่น ขยายไปทางเหนือเข้าไปในไซบีเรีย ทางตะวันออกและใต้เข้าไปในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีนและที่ราบสูงอิหร่าน และทางตะวันตกไปไกลถึงเลแวนต์และคาบสมุทรอาหรับ จักรวรรดิรวมเผ่าชนเร่ร่อนมองโกเลียในประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของเจงกิสข่าน ผู้ได้รับประกาศเป็นผู้ปกครองชาวมองโกลทั้งปวงใน..

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและจักรวรรดิมองโกล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

ตปกครองตนเองมองโกเลียใน (มองโกล) มีลักษณะพื้นที่แคบยาวพาดตามชายแดนภาคเหนือของจีน กั้นระหว่างจีนกับประเทศมองโกเลียและรัสเซีย มีเมืองหลวงชื่อ ฮูฮอต มีเนื้อที่ 1,183,000 ก.ม.

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย

ตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย (Ningxia Hui Autonomous Region; ชื่อย่อ "หนิง" (宁)) เป็นหนึ่งในห้าเขตปกครองตนเองของจีน ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ทางตอนบนของแม่น้ำหวงเหอ (แม่น้ำเหลือง) มีเมืองหลวงชื่อ หยินชวน.

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

ตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (شىنجاڭ ئۇيغۇر ئاپتونوم رايونى-; 新疆维吾尔自治区) เป็นเขตปกครองตนเองของจีนในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นเขตปกครองใหญ่ที่สุดของจีน เป็นเขตการปกครองชาติที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก กินพื้นที่กว่า 1.6 ล้านตารางกิโลเมตรและเป็นเขตการปกครองที่มีประชากรมากที่สุดติดอันดับหนึ่งในสิบ มีดินแดนพิพาทอักไสชินที่จีนบริหารอยู่ ซินเจียงมีพรมแดนติดต่อกับประเทศรัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิซสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถานและอินเดีย นอกจากนี้ยังมีพรมแดนติดต่อกับทิเบต มีน้ำมันสำรองอุดมสมบูรณ์และเป็นภาคที่ผลิตแก๊สธรรมชาติใหญ่ที่สุดของจีน.

ใหม่!!: เซี่ยตะวันตกและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tangut EmpireWestern Xiaราชวงศ์เซี่ยตะวันตกซีเซี่ยไซหยง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »