โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซีโมนเศโลเท

ดัชนี ซีโมนเศโลเท

ซีโมนเศโลเท (Σίμων ο Ζηλωτής) หรือซีโมนผู้ร้อนรน (Simon the Zealot) หรือซีโมน พรรคชาตินิยม (Simon the Canaanite) เป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซู เสียชีวิตราว..

27 ความสัมพันธ์: บารโธโลมิวอัครทูตฟีลิปอัครทูตพ.ศ. 650พระวรสารสหทรรศน์พระวรสารนักบุญมัทธิวพระวรสารนักบุญมาระโกพระวรสารนักบุญลูกากิจการของอัครทูตมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสารยอห์นอัครทูตยากอบ บุตรอัลเฟอัสยากอบ บุตรเศเบดียูดาส อิสคาริโอทยูดาอัครทูตศาสนาคริสต์ตะวันตกออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์อัครทูตอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์คอปติกออร์ทอดอกซ์คานาอันซีโมนเปโตรนักบุญอันดรูว์นักบุญเจอโรมนิกายลูเทอแรนแองกลิคันโรมันคาทอลิกโธมัสอัครทูต

บารโธโลมิวอัครทูต

รโธโลมิวอัครทูต (Bartholomew the Apostle; Βαρθολομαίος (Bartholomaios)) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เสียชีวิตที่ประเทศอาร์มีเนีย บารโธโลมิวเป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซู ชื่อ “บารโธโลมิว” มาจากภาษาแอราเมอิก “bar-Tôlmay” (תולמי‎‎‎‎‎-בר‎‎) หมายความว่า “ลูกของโทลเม” (โทเลมี) หรืออาจจะเป็น “ลูกของคนไถนา” บางครั้งก็เชื่อกันว่าเป็นนามสกุลมากกว่าจะเป็นชื่อตัวEncyclopedia Britannica, micropedia.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและบารโธโลมิวอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

ฟีลิปอัครทูต

ฟีลิปอัครทูต (Philip the Apostle) เป็นอัครทูตคนหนึ่งของพระเยซู คริสต์ศาสนิกชนเชื่อสืบกันมาว่าเขาได้เผยแผ่ศาสนาในประเทศกรีซ ประเทศซีเรีย และฟริเจีย จนถึงแก่กรรมเพราะถูกตรึงกางเขนที่เมืองเฮียราโพลิส ในปี..

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและฟีลิปอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 650

ทธศักราช 650 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและพ.ศ. 650 · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารสหทรรศน์

ระวรสารสหทรรศน์ (คาทอลิก) หรือพระกิตติคุณสัมพันธ์ (โปรเตสแตนต์) (Synoptic Gospels) เป็นพระวรสารสามเล่มแรกจากทั้งหมดสี่เล่มของพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ประกอบด้วย พระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก และพระวรสารนักบุญลูกา ทั้งสามฉบับมีเนื้อหาและการวางเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันรวมไปถึงลักษณะการใช้ประโยคและบทเขียน และมีทัศนะที่คล้ายคลึงกัน พระวรสารเล่มที่สี่ในสารบบคือพระวรสารนักบุญยอห์น แตกต่างจากสามฉบับแรกเป็นอันมากและแตกต่างจากพระวรสารนอกสารบบ (Apocryphal gospels) ฉบับอื่น.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและพระวรสารสหทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญมัทธิว

ระวรสารนักบุญมัทธิว (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมัทธิว (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Matthew) เป็นหนังสือพระวรสารในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในสี่ “พระวรสารในสารบบ” และเป็นหนึ่งในสาม “พระวรสารสหทรรศน์” แม้พระวรสารนักบุญมัทธิวไม่มีชื่อกำกับไว้ว่าใครเป็นผู้เขียน แต่ตั้งแต่คริสตชนตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกก็เชื่อกันสืบมาว่าเขียนโดยมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร อัครทูต และคนเก็บภาษี หนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นก่อนที่กรุงเยรูซาเล็มจะพินาศในปี..

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและพระวรสารนักบุญมัทธิว · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญมาระโก

ระวรสารนักบุญมาระโก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมาระโก (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Mark) เป็นพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพระวรสารหนึ่งใน “พระวรสารสหทรรศน์” สามฉบับ ผู้เขียนไม่ได้ระบุนามของตนเองไว้ แต่เชื่อกันทั่วไปว่าเขียนโดยมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร ซึ่งเป็นบุตรชายของมารีย์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับบารนาบัส มาระโกได้ร่วมเดินทางกับเปาโลและบารนาบัสในการเดินทาง เพื่อทำการประกาศข่าวดีครั้งแรก เปาโลกล่าวถึงมาระโกในฐานะของเพื่อนในกรุงโรมและยกย่องการรับใช้ของเขาเป็นอย่างสูง เชื่อกันว่าในบรรดา “พระวรสารในสารบบ” ทั้งสี่เล่ม พระวรสารนักบุญมาระโก ถูกเขียนขึ้นเป็นฉบับแรก ในช่วงก่อนสงครามกลางเมืองในกรุงโรม เพราะฉะนั้นหนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนในราว..55 คริสตจักรยุคแรกมีความเห็นตรงกันว่า เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ถอดแบบมาจากคำสอนของเปโตร โดยเน้นที่การบันทึกข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากลีลาการเขียนแสดงถึงการเขียนขึ้นอย่างเร่งรีบ ไม่ถูกผ่านการขัดเกลาให้สละสลวย ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่า หลายเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที การกระทำต่าง ๆ ที่ได้บันทึกไว้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสังเกตได้จากคำว่า "ในทันใดนั้น" ถูกใช้มากกว่า 40 ครั้ง แม้ว่า พระวรสารนักบุญมาระโก จะมีความยาวน้อยที่สุดในบรรดาพระวรสารทั้งสี่เล่ม แต่ในบางเหตุการณ์กลับถูกบันทึกไว้โดยละเอียด นอกจากนี้ ยังมีบางบทที่ได้อธิบายถึงขนบธรรมเนียมของชาวยิวไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านชาวโรมันจะเข้าใจได้ วัตถุประสงค์ของ พระวรสารนักบุญมาระโก มีอยู่ 4 ประการ โดยประการแรกสำคัญที่สุดคือ มาระโกต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า ข่าวดีคืออะไร นั่นคือการที่พระเยซูสิ้นพระชนม์เพื่อไถ่บาปของเรา ถูกฝังไว้แล้วเป็นขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้นมาระโกจึงให้ความสำคัญของเรื่องราวตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ จนถึงการคืนพระชนม์ของพระเยซูมากกว่าเรื่องอื่น หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 16 บท ใน 10 บทแรก บันทึกเรื่องราวตั้งแต่พระเยซูรับบัพติศมา จนถึงเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี ในขณะที่อีก 6 บทที่เหลือ เป็นการบันทึกเรื่องราวช่วงสุดท้ายของชีวิตพระเยซู ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงแค่สัปดาห์เดียว แสดงให้เห็นว่ามาระโกต้องการเน้นว่า ข่าวดีคือหัวใจของหนังสือเล่มนี้ ประการที่สองที่มาระโกต้องการกล่าวคือ แม้ว่าพระเยซูคือพระบุตรพระเป็นเจ้า แต่พระเยซูทรงเป็นมนุษย์ พระองค์มีความรู้สึกเหน็ดเหนื่อย หิวโหย อ่อนล้า ฯลฯ เหมือนกับมนุษย์ พระเยซูจึงทรงเป็นแบบอย่างในการตอบสนองต่อความรู้สึกต่าง ๆ ดังนั้นในฐานะของคริสต์ศาสนิกชน ทุกคนควรเรียนรู้จากพระองค์และตอบสนองด้วยท่าทีอย่างเดียวกัน ประการที่สาม มาระโกเขียนเพื่อหนุนใจคริสเตียนที่ถูกกดขี่ข่มเหง เมื่อพระเยซูทรงยืนหยัดในขณะที่ถูกต่อต้าน จะเป็นกำลังใจให้กับคริสเตียนที่อยู่ในภาวะเดียวกันได้ ประการสุดท้าย มาระโกต้องการให้ผู้อ่านทราบถึงฤทธิ์อำนาจของพระเยซู ซึ่งมีชัยชนะเหนือผี โรคร้าย และความตายได้ พระวรสารนักบุญมาระโก ใช้ “มาระโก” หรือ “มก” ในการอ้างอิง.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและพระวรสารนักบุญมาระโก · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญลูกา

ระวรสารนักบุญลูกา (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณลูกา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Luke) เป็นพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพระวรสารหนึ่งใน “พระวรสารสหทรรศน์” สามฉบับ แม้ว่าจะไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนพระวรสารเล่มนี้ แต่จากหลักฐานที่เชื่อถือได้เป็นจำนวนมากระบุตรงกันว่าเขียนโดยลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นชาวยิว แต่น่าจะเป็นชาวกรีก เพราะมีความรู้ในเรื่องวัฒนธรรมของชาวกรีกเป็นอย่างดี เคยเป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปประกาศกับเปาโลหลายครั้ง นอกจากนี้ลูกายังมีอาชีพเป็นนายแพทย์ในสมัยนั้นด้วย พระวรสารเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นระหว่างปี..59 - 63 จากลักษณะของโครงสร้างและภาษาที่ใช้ในพระวรสารเล่มนี้ เหมือนกันกับในหนังสือกิจการของอัครทูต ดังนั้นเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า ลูกาเป็นผู้เขียนหนังสือกิจการของอัครทูตด้วย จากพระวรสารในสารบบทั้งหมด 4 เล่ม พระวรสารนักบุญลูกา เป็นพระวรสารเล่มที่ยาวที่สุด และจัดว่าเป็นพระวรสารที่มีเนื้อหาที่สวยงามที่สุด เขียนเล่าเรื่องราวของพระเยซูได้ครบถ้วนและตามลำดับเหตุการณ์มากที่สุด สาระสำคัญของพระวรสารเล่มนี้คือ ความรู้สึกปิติยินดีที่พระเยซูนำความหวังและการไถ่บาปมาสู่โลกมนุษย์ ความรักที่พระเยซูมีต่อมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะคนยากจนและผู้ถูกกดขี่ข่มเหง สังเกตได้จากคำอุปมาที่พระเยซูตรัสสั่งสอน ซึ่งผู้อ่านจะรู้สึกได้ตลอดทั้งเล่ม แรกเริ่มลูกาผู้นิพนธ์พระวรสารเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่โรมันคนหนึ่งชื่อ เธโอฟิลัส ได้อ่าน โดยเขียนขึ้นจากมุมมองของชาวกรีก จากลักษณะการเขียนที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์ต่างๆกับเวลาที่เกิดขึ้น แสดงว่าผู้เขียนต้องเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง เพราะข้อมูลที่เขียนผ่านการค้นคว้ามาอย่างละเอียด ตัวอย่างเช่น "เมื่อปีที่สิบห้า ในรัชกาลทิเบริอัสซีซาร์ ปอนทิอัส ปีลาตเป็นเจ้าเมืองยูเดีย เฮโรดเป็นเจ้าเมืองกาลิลี ฟีลิปน้องชายของเฮโรดเป็นเจ้าเมืองอิทูเรียกับเมืองตราโคนิติส ลีซาเนียสเป็นเจ้าเมืองอาบีเลน และอันนาสกับคายาฟาสเป็นมหาปุโรหิต คราวนั้นพระวจนะของพระเจ้ามาถึงยอห์นบุตรเศคาริยาห์ในถิ่นทุรกันดาร" ซึ่งก็ตรงกับคุณสมบัติของผู้ที่มีอาชีพนายแพทย์เป็นอย่างดี ลูกาเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้นจากการศึกษาและวิจัย โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งกับคนที่อยู่แวดล้อมพระเยซูมาตั้งแต่ต้น และประกอบกับเอกสารต่างๆมากมาย ลูกามีวัตถุประสงค์ในการเขียนพระวรสารเล่มนี้อยู่ 5 ประการ หนึ่งคือ ต้องการให้ประจักษ์ว่าพระเยซูเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก ลูกาได้ลำดับพงศ์ของพระเยซูย้อนไปจนถึงสมัยอาดัม นั่นคือตั้งแต่พระเจ้าเริ่มสร้างโลก แม้ว่าข้อมูลนี้จะมีความหมายไม่มากนักสำหรับชาวกรีก แต่ข้อมูลนี้ทำให้พระเยซูถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์โลก ประการที่สองคือ ลูกาต้องการบันทึกเรื่องราวของพระเยซูในช่วงที่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งไม่มีพระวรสารเล่มใดบันทึกไว้ ประการที่สามคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่าพระเยซูนำข่าวดีมายังคนยากจน คนที่ถูกกดขี่ข่มเหง คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในโลก กลุ่มคนเหล่านี้รู้สึกท้อแท้ เนื่องจากรู้สึกว่าไม่ได้มีอะไรเท่าคนร่ำรวย และคิดว่าชีวิตไม่มีค่า แต่พระเยซูเสด็จมาเพื่อปลดปล่อยให้เป็นไท และประกาศถึงแผ่นดินสวรรค์ที่รออยู่ในโลกหน้า ประการที่สี่คือ ลูกาต้องการให้ความสำคัญกับผู้หญิง โดยบันทึกบทบาทของผู้หญิงในหมู่สาวกของพระเยซู ประการที่ห้าคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า พระกิตติคุณของพระเยซูเป็นสากล มาถึงคนทุกชาติ ไม่ใช่เฉพาะชนชาติใดชาติหนึ่ง พระวรสารนักบุญลูกา ใช้ “ลูกา” หรือ “ลก” ในการอ้างอิง.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและพระวรสารนักบุญลูกา · ดูเพิ่มเติม »

กิจการของอัครทูต

กิจการของอัครทูต (Acts of the Apostles) เป็นเอกสารฉบับที่ 5 ของคัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาใหม่ เรียกย่อว่า กิจการ (Acts) ชื่อมาจากภาษากรีก “Praxeis Apostolon” ใช้เป็นครั้งแรกโดยนักบุญอิเรเนียส (Irenaeus) เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 2 อาจมีนัยความหมายว่า “กิจการของพระจิต” หรือเป็น “กิจการของพระเยซู” ก็เป็นได้ เพราะ กิจการ เขียนขึ้นเพื่อบันทึกแนวทางปฏิบัติที่พระเยซูทรงสอน และทรงมีบทบาทหลัก แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้บ่งบอกชื่อของตนเองไว้ แต่หลักฐานทั้งจากภายนอกและเนื้อหาในพระธรรมเอง เชื่อได้ว่าผู้เขียนน่าจะเป็น ลูกาผู้ประกาศข่าวประเสริฐ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังสรุปยืนยันไม่ได้ แต่มั่นใจว่าผู้ที่เขียนพระธรรม กิจการ และ พระวรสารนักบุญลูกา เป็นบุคคลเดียวกัน สังเกตได้จากบทเริ่มต้นของพระธรรมเล่มนี้ ซึ่งเป็นจดหมายเขียนถึงเธโอฟิลัส โดยอ้างถึงหนังสือเรื่องแรกที่ได้เขียนให้อ่านไปแล้วนั้น ตรงกันกับบทเริ่มต้นของพระวรสารนักบุญลูกา ดังนั้น พระธรรม กิจการ จึงเขียนขึ้นทีหลัง ซึ่งน่าจะอยู่ในช่วงปี..

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและกิจการของอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร

มัทธิว (Matthew the Evangelist; מתי - ของขวัญของพระเจ้า; ภาษาฮีบรูมาตรฐาน และ ภาษาฮีบรูไทบีเรียน “Mattay”; Μαθθαίος, “Matthaios”) เป็นอัครทูตของพระเยซู และเป็นหนึ่งในผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน (อีกสามท่านคือ มาระโก ยอห์น และลูกา) เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้ประพันธ์พระวรสารนักบุญมัทธิวซึ่งเป็นพระวรสารฉบับหนึ่งในพันธสัญญาใหม่ และเชื่อกันว่าเป็นคนเดียวกับ “เลวี” (Levi) ผู้เก็บภาษี.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นอัครทูต

นักบุญยอห์นอัครทูตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59-60 (John the Apostle; Ιωάννης) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดเมื่อราว..

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและยอห์นอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

ยากอบ บุตรอัลเฟอัส

กอบ บุตรอัลเฟอัส (James, son of Alphaeus) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ ไม่ทราบสถานที่เกิดและปีที่เกิด และเสียชีวิตโดยการตรึงกางเขนที่ออสตราไคน์ ทางตอนใต้ของประเทศอียิปต์ราว..

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและยากอบ บุตรอัลเฟอัส · ดูเพิ่มเติม »

ยากอบ บุตรเศเบดี

กอบ บุตรเศเบดี (James, son of Zebedee หรือ Yaakov Ben-Zebedee) หรือนักบุญยากอบองค์ใหญ่ (James the Greater) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เสียชีวิตราว..

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและยากอบ บุตรเศเบดี · ดูเพิ่มเติม »

ยูดาส อิสคาริโอท

นักบุญยูดาส อิสคาริโอท (Judas Iscariot; יהודה איש־קריות Yəhûḏāh ʾΚ-qəriyyôṯ) เป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซูผู้กล่าวว่ามีหน้าที่ถือ “ถุงเงิน” (ภาษากรีก: γλωσσόκομον) และเป็นผู้ที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ทรยศต่อพระเยซูโดยการบอกทหารประจำพระวิหารว่าใครคือพระเยซูซึ่งเป็นผลให้พระเยซูถูกจั.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและยูดาส อิสคาริโอท · ดูเพิ่มเติม »

ยูดาอัครทูต

นักบุญยูดาอัครทูต (Jude the Apostle) หรือนักบุญยูดาสอัครทูต เป็นนักบุญและมรณสักขีในคริสต์ศาสนา เกิดราวก่อนคริสต์ศตวรรษหรือคริสต์ศตวรรษที่ 1 และเสียชีวิตคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เปอร์เชีย เป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซู เชื่อกันว่าเป็นองค์เดียวกับยูดา น้องชายของพระเยซู นักบุญยูดาอัครทูตบางครั้งรู้จักกันในนาม “นักบุญยูดาแห่งยากอบ” หรือ “ธัดเดอัส” ในพันธสัญญาใหม่ หรือบางที่ก็เรียกกันว่า “เลบเบอัส” (Lebbaeus) หรือ “ยูดาส ธัดเดอัส” แม้ว่านักบุญยูดอัครทูตจะมีใช้ชื่อตัวชื่อเดียวกับยูดาส อิสคาริโอทผู้เป็นอัครทูตอีกองค์หนึ่งที่ต่อมาทรยศต่อพระเยซู แต่เป็นนักบุญคนละองค์ชื่อยูดาสเป็นชื่อแบบกรีกที่มาจาก “ยูดาห์” (Judah) ซึ่งเป็นชื่อที่นิยมตั้งกันในบรรดาชาวยิวในสมัยนั้น คริสตจักรอโพสโตลิกอาร์มีเนียนถือว่านักบุญยูดอัครทูตและนักบุญบาร์โทโลมิวเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ประจำคริสตจักร ในคริสตจักรโรมันคาทอลิกนักบุญยูดาเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์สถานการณ์ที่หมดหวังและการต่อสู้ที่ไม่มีทางชนะ สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับนักบุญยูดาคือตระบอง บางครั้งก็จะเป็นรูปชายที่มีเปลวไฟรอบศีรษะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าได้มาปรากฏตัวในเทศกาลเพนเทคอสต์ (Pentecost) ซึ่งเป็นวันที่ห้าสิบหลังเทศกาลอีสเตอร์เมื่อนักบุญยูดาได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์พร้อมกับอัครทูตองค์อื่น ๆ บางครั้งก็จะสัญลักษณ์ขวาน หรือขวานกึ่งหอก (halberd) ซึ่งเป็นอาวุธที่ใช้สังหารนักบุญยูดา หรือบางครั้งก็จะสัญลักษณ์ม้วนหนังสือหรือหนังสือ (พระธรรมยูดา) หรือถือเครื่องมือช่างไม้.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและยูดาอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ตะวันตก

นาคริสต์ตะวันตกหมายถึงกลุ่มคริสตจักรโรมันคาทอลิก คริสตจักรแองกลิคัน และคริสตจักรฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่มีคุณสมบัติร่วมกันย้อนได้ถึงสมัยกลาง คำนี้ใช้เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างกับศาสนาคริสต์ตะวันออก ศาสนาคริสต์ตะวันตกส่วนใหญ่แล้วพบได้ในทวีปยุโรปตะวันตก สแกนดิเนเวีย ยุโรปกลาง ยุโรปใต้ บางส่วนของยุโรปตะวันออก แอฟริกาเหนือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย รวมเป็น 90% ของประชาคมชาวคริสต์ทั่วโลก คริสตจักรโรมันคาทอลิกเองมีผู้นับถือมากกว่าครึ่งหนึ่ง.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและศาสนาคริสต์ตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์

นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ (Oriental Orthodoxy) เป็นนิกายในศาสนาคริสต์ตะวันออกที่ยอมรับมติสภาสังคายนาสากลเฉพาะ 3 ครั้ง ได้แก่ สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง สังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่ง และสังคายนาแห่งเอเฟซัส และไม่ยอมรับมติของสภาสังคายนาแห่งแคลซีดัน ดังนั้นกลุ่มคริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จึงมีอีกชื่อว่าคริสตจักรออเรียนทัลเก่า คริสตจักรไมอาฟิไซต์ หรือคริสตจักรนอน-แคลซีโดเนียน ฝ่ายคริสตจักรตะวันตกและคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เรียกว่าคริสตจักรกลุ่มนี้ว่าพวก "เอกธรรมชาตินิยม" (Monophysitism) คริสตจักรในนิกายนี้ไม่ได้ร่วมสามัคคีธรรมกับคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์แต่อยู่ระหว่างการเสวนาเพื่อกลับไปรวมกันเป็นเอกภาพ คนมักเข้าใจสับสนระหว่าง ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ กับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เพราะคำว่า Oriental และ Eastern มีความหมายเหมือนกันว่า "ตะวันออก" แต่ในความจริงเป็นคนละกลุ่มกัน ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่ คอปติกออร์ทอดอกซ์ เอธิโอเปียนออร์ทอดอกซ์ เอริเทรียนออร์ทอดอกซ์ ซีเรียกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนียน ห้าคริสตจักรนี้แม้จะรวมอยู่ในคอมมิวเนียนเดียวกันแต่ก็มีระบบการปกครองแยกกันเป็นเอกเทศ คริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์แยกออกมาจากคริสตจักรอื่น ๆ เพราะมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องการใช้ศัพท์บางคำอธิบายลักษณะของพระคริสต์ (เรียกว่าปัญหาทางศัพทวิทยาทางคริสตวิทยา) สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง มีมติว่าพระคริสต์เป็นพระเจ้า กล่าวคือพระคริสต์ผู้เป็นพระบุตรมีสาระเดียวกันกับพระเจ้าพระบิดา และสังคายนาแห่งเอเฟซัส มีมติว่าพระเยซูผู้เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ทรงมีภาวะเดียว ต่อมาอีก 20 ปี สังคายนาแคลซีดันได้มีมติว่าพระเยซูทรงมีทั้งธรรมชาติมนุษย์และธรรมชาติพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ในตัวบุคคลเดียว หลายคนไม่ยอมรับเพราะเห็นว่ามตินี้เป็นคำสอนนอกรีตแแบบเดียวกับลัทธิเนสทอเรียสซึ่งถูกประณามไปแล้วที่เอเฟซัสเพราะเห็นว่าพระคริสต์มีของสองภาวะแตกต่างกัน ภาวะหนึ่งคือพระเจ้า อีกภาวะคือมนุษ.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูต

ระเยซูและอัครทูต อัครทูตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59 (Apostles; Ἀπόστολος, apostolos แปลว่า "ผู้ถูกส่งออกไป" เช่น ข่าวสารหรือตัวแทน) ตามพระวรสารสหทรรศน์และธรรมเนียมทางศาสนาคริสต์ใช้หมายถึงอัครสาวกสิบสองคน ที่พระเยซูทรงเลือก ตั้งชื่อ และฝึกเพื่อจะได้ส่งออกไปทำการประกาศข่าวดี หลังจากยูดาส อิสคาริโอท ทรยศต่อพระเยซู อัครสาวกที่เหลือภายใต้การนำของซีโมนเปโตรจึงจับฉลากเลือกมัทธีอัสซึ่งติดตามพระเยซูมาตั้งต้นขึ้นมาเป็นอัครทูตแทน ฉะนั้นเมื่อถึงเทศกาลเพนเทคอสต์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมาประทับกับสาวกของพระเยซู จำนวนอัครทูตจึงมีสิบสองคนเท่าเดิม.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คอปติกออร์ทอดอกซ์

วิหารของศาสนาคริสต์คอปติกในอียิปต์ พระเยซูในศิลปะคอปติก คริสตจักรคอปติกออร์ทอดอกซ์แห่งอะเล็กซานเดรีย (คอปติก: Ϯⲉⲕ̀ⲕⲗⲏⲥⲓⲁ ̀ⲛⲣⲉⲙ̀ⲛⲭⲏⲙⲓ ̀ⲛⲟⲣⲑⲟⲇⲟⲝⲟⲥ ti.eklyseya en.remenkimi en.orthodoxos ente alexandhrias; Coptic Orthodox Church of Alexandria) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอียิปต์และภูมิภาคตะวันออกกลาง เป็นส่วนหนึ่งของนิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ซึ่งแยกออกมาจากนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์หลังการสังคายนาแห่งแคลซีดันในปี..

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและคอปติกออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คานาอัน

แผนที่ประเทศอิสราเอลปัจจุบัน ตามคัมภีร์ฮีบรู คานาอันคือบริเวณที่ล้อมรอบด้วยเส้นสีแดง คานาอัน (ฟินิเชีย: 𐤊‏𐤍‏𐤏‏𐤍‏, Kana'n; כְּנָעַן‎ kna-an; كنعان Kanaʿān) คือ ดินแดนของชนเผ่าที่พูดภาษาเซมิติกราวปลายสหัสวรรตที่ 2 ก่อนคริสต์กาล ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ลิแวนต์ใต้ในตะวันออกกลาง ตรงกับบริเวณที่ตั้งประเทศอิสราเอล เลบานอน ดินแดนปาเลสไตน์ และบางส่วนของประเทศซีเรียและประเทศอียิปต์ มีชายฝั่งทางทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คำว่า คานาอัน ปรากฏอยู่บ่อยครั้งในคัมภีร์ไบเบิ้ล หรือพันธสัญญาเดิม โดยบรรยายว่าเป็นดินแดนที่พระยาห์เวห์สัญญามอบให้แก่วงศ์วานอิสราเอล หมวดหมู่:ตะวันออกกลาง หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและคานาอัน · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและซีโมนเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญอันดรูว์

อันดรูว์อัครทูต (Ανδρέας อันเดฺรอัส; Andrew แอนดฺรูว) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญอันดรูว์ เป็นนักบุญและมรณสักขีในคริสต์ศาสนา เกิดเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี และเสียชีวิตโดยการถูกตรึงกางเขนบนกางเขนรูป “X” เมื่อราวกลางหรือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเพ็ทราส์ ในประเทศกรีซปัจจุบัน นักบุญอันดรูว์ เป็นหนึ่งในอัครทูตสิบสององค์ของพระเยซู ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ เรียกนักบุญอันดรูว์ว่า “Protocletos” หรือ “ผู้ถูกเรียกคนแรก” ชื่อ “แอนดรูว” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “เกียรติ” เช่นเดียวกับชื่อภาษากรีกอื่น ๆ เป็นชื่อที่ชาวยิวใช้กันทั่วไปในระหว่างร้อยถึงสองร้อยปีก่อนคริสต์ศตวรรษ เท่าที่ทราบนักบุญอันดรูว์ไม่มีชื่อบ่งเป็นภาษาฮิบรูและภาษาอราเมอิก ตามพันธสัญญาใหม่นักบุญแอนดรูว์เป็นลูกของโยนาห์หรือยอห์น (มัทธิว; ยอห์น) เกิดที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี(ยอห์น) และเป็นน้องชายของซีโมนเปโตร เปโตรและอันดรูว์เดิมเป็นชาวประมงฉะนั้นเมื่อพระเยซูเรียกตัวมาเป็นอัครทูตโดยกล่าวว่าเจ้าจงเป็น “ชาวประมงหามนุษย์” (ภาษากรีก: ἁλιείς ἀνθρώπων “halieis anthropon”)Metzger & Coogan (1993) Oxford Companion to the Bible, p 27.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและนักบุญอันดรูว์ · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญเจอโรม

นักบุญเจอโรม หรือ นักบุญเยโรม (Jerome; Eusebius Sophronius Hieronymus; Ευσέβιος Σωφρόνιος Ιερώνυμος) เป็นบาทหลวงชาวโรมัน เกิดเมื่อประมาณปี..

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและนักบุญเจอโรม · ดูเพิ่มเติม »

นิกายลูเทอแรน

ัญลักษณ์กุหลาบลูเทอแรน นิกายลูเทอแรน (Lutheranism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ตะวันตกฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นจากการปฏิรูปหลักเทววิทยาและการปฏิบัติของนิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและนิกายลูเทอแรน · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและแองกลิคัน · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โธมัสอัครทูต

มัสอัครทูต (Απόστολος Θωμάς อะโปสโตโลส ธอมัส) เป็นนักบุญและมรณสักขีในคริสต์ศาสนา เสียชีวิตเมื่อราว..

ใหม่!!: ซีโมนเศโลเทและโธมัสอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

นักบุญไซมอนซีลลอทไซมอนซีลลอท

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »