สารบัญ
10 ความสัมพันธ์: กลุ่มปฐมชาติรัฐบริติชโคลัมเบียล็อกเนสส์ประเทศสกอตแลนด์ปลาสเตอร์เจียนแคดโบโรซอรัสโมซาซอรัสไพลโอซอร์เชสซีเนสซี
กลุ่มปฐมชาติ
กลุ่มปฐมชาติ (First Nations) กลุ่มปฐมชาติเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่หมายถึงชนพื้นเมืองในแคนาดา (Aboriginal peoples in Canada) ผู้ที่ไม่ใช่อินนูอิทหรือเมทิส ในปัจจุบันกลุ่มปฐมชาติประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดกว่า 600 กลุ่ม และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นรัฐบาลแห่งกลุ่มปฐมชาติที่ตั้งอยู่โดยทั่วไปในแคนาดา โดยมีจำนวนราวครึ่งหนึ่งอยู่ในรัฐออนแทรีโอ และ บริติชโคลัมเบีย กลุ่มปฐมชาติประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไป ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความเท่าเทียมทางแรงงานของแคนาดากลุ่มปฐมชาติถือว่าเป็นกลุ่มที่มีฐานะเดียวกับสตรี, ชนกลุ่มน้อยที่เห็นได้ (visible minority) และผู้มีความพิการ แต่ไม่ถือว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่เห็นได้ตามพระราชบัญญัติและคำนิยามของกรมสถิติแห่งแคนาดา ในภาษาอังกฤษคำว่า "First Nations" ที่มักจะใช้ในรูปพหูพจน์กลายมาเป็นคำที่ใช้สำหรับชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคนาดา ยกเว้นแต่ในบริเวณอาร์กติกที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของอินนูอิท และกลุ่มชาติพันธุ์ผสมที่เรียกว่าเมทิส แนวโน้มในปัจจุบันในการกล่าวถึงตนเองของผู้ที่อยู่ในกลุ่มกลุ่มปฐมชาติคือการใช้ชื่อเผ่าหรือเชื้อชาติเท่านั้น เช่น "ผมคือไฮดา" หรือ "เราคือควันท์เลน" โดยไม่ใช้คำว่า "กลุ่มปฐมชาติ" กำกับเพื่อเป็นการแสดงความแตกต่างของชาติพันธุ์ของแต่ละกลุ่ม.
รัฐบริติชโคลัมเบีย
รัฐบริติชโคลัมเบีย (ภาษาอังกฤษ: British Columbia; ภาษาฝรั่งเศส: la Colombie-Britannique) คือรัฐหนึ่งของประเทศแคนาดา ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศ รัฐบริติชโคลัมเบีย มีเมืองหลวงชื่อว่า "วิคตอเรีย" มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ของประเทศ โดยมีเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐคือเมือง "แวนคูเวอร์" ซึ่งเมืองแวนคูเวอร์นี้ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเท.
ดู โอโกโปโกและรัฐบริติชโคลัมเบีย
ล็อกเนสส์
ล็อกเนสส์ หรือ ทะเลสาบเนสส์ (แกลิกสกอต: Loch Ness–"Loch" แปลว่า "ทะเลสาบ") เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่อยู่ทางที่ราบสูงตอนเหนือของสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ในสถานที่ที่เรียกว่า "เกรตเกลน" มีชื่อเสียงในเรื่องของสัตว์ประหลาดที่มีชื่อว่า "เนสซี" จัดเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกทางเหนือ ล็อกเนสส์ตั้งที่อยู่ที่เส้นรุ้ง 56 องศาเหนือ ลักษณะรูปร่างของทะเลสาบแห่งนี้ออกจะผิดแผกไปจากทะเลสาบอื่น ๆ คือเหยียดยาวออกไปเหมือนกิ่งไม้ ทะเลสาบนี้มีความยาวประมาณ 37 กิโลเมตร (23 ไมล์) แต่มีส่วนกว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร (1 ไมล์) เท่านั้น คิดเป็นเนื้อที่พื้นน้ำราว 56 ตารางกิโลเมตร (22 สแควร์ไมล์) ความลึกเฉลี่ย 132 เมตร บริเวณที่ลึกสุดประมาณ 300 เมตร อุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำในทะเลสาบค่อนข้างเย็น คือประมาณ 5.6 องศาเซลเซียส แต่น้ำในทะเลสาบไม่เคยเย็นจนเป็นน้ำแข็ง แหล่งน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลสาบประกอบด้วยแม่น้ำ 8 สาย ธารน้ำใหญ่ 60 สาย และธารน้ำเล็ก ๆ อีกนับร้อยสาย น้ำในทะเลสาบแห่งนี้ขุ่นมัวอยู่ตลอดเวลา แสงอินฟราเรดทะลุได้ไม่เกิน 1.5 เมตร ความทึบของน้ำนี้ไม่ใช่ความขุ่นมัว ไม่ใช่ทึบเพราะตะกอนสิ่งสกปรกซึ่งตกตะกอนได้ แต่ทึบเนื่องจากจุลินทรีย์สีบางชนิดซึ่งแขวนลอยอยู่บนผิวน้ำ ซึ่งมาจากถ่านหินชนิดร่วนที่ถูกชะล้างลงมาจากภูเขาลงสู่ทะเลสาบเป็นเวลานานหลายพันปี อีกอย่างหนึ่ง ตลอดความยาวของทะเลสาบเต็มไปด้วยชะง่อนผาและโขดหินใต้น้ำ ทัศนียภาพรอบทะเลสาบเงียบสงบและขนาบข้างด้วยหน้าผา เนินหญ้า และต้นสน มีปราสาทโบราณแบบสกอตแลนด์ตั้งอยู่ชื่อ "เออร์คิวฮาร์ต" จุดกำเนิดของล็อกเนสส์ใช้เป็นทฤษฎีอธิบายการเข้ามาอยู่ของไดโนเสาร์ในยุคดึกดำบรรพ์จนกลายมาเป็นเนสซีด้วย คือ สันนิษฐานว่าเมื่อราว 250 ล้านปี ได้เกิดการเคลื่อนไหวของผิวโลกตามรอยร้าวที่พาดผ่านตอนเหนือของสกอตแลนด์ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดหุบเขาและเหวลึกขนาดใหญ่ซึ่งเรียกว่าเกรตเกลน ในปัจจุบัน น้ำจากภูเขาได้ไหลทะลักลงไปสู่หุบเหว นานเข้าก่อให้เกิดทะเลสาบขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งได้แก่ ล็อกเนสส์, ล็อกออยช์ และล็อกโลชี ทะเลสาบนี้มีทางติดต่อกับทะเลเหนือด้วย ซึ่งในบริเวณทะเลเหนือนั้นมีรายงานว่าได้พบซากสัตว์ยุคโบราณที่มีรูปร่างคล้ายเนสซีอยู่หลายครั้ง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ในยุคนั้น สัตว์จำพวกนี้ได้ผ่านจากทะเลเหนือเข้ามาสู่ล็อกเนสส์ และเมื่อราว 8,000–10,000 ปีก่อน ทะเลสาบนี้ได้ถูกตัดขาดจากทะเลเหนือ จึงทำให้สัตว์เหล่านี้ถูกกักขังอยู่ในล็อกเนสส์ ประกอบกับสภาพของทะเลสาบที่ใหญ่พอและมีปริมาณปลา ซึ่งเป็นแหล่งอาหารมากพอ จึงทำให้มันดำรงชีวิตอยู่ได้และหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ในปี ค.ศ.
ประเทศสกอตแลนด์
กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..
ปลาสเตอร์เจียน
ปลาสเตอร์เจียน (Sturgeon, Oсетр, 鱘) ปลากระดูกแข็งขนาดใหญ่ในวงศ์ Acipenseridae ในอันดับ Acipenseriformes อาศัยได้อยู่ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล เมื่อยังเล็กจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ทะเลสาบหรือตามปากแม่น้ำ แต่เมื่อโตขึ้นจะว่ายอพยพสลงสู่ทะเลใหญ่ และเมื่อถึงฤดูวางไข่ก็จะว่ายกลับมาวางไข่ในแหล่งน้ำจืด ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ปลาสเตอร์เจียน มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม มีหนามแหลมสั้น ๆ บริเวณหลัง หัว และเส้นข้างลำตัวไว้เพื่อป้องกันตัว มีหนวดทั้งหมด 2 คู่อยู่บริเวณปลายจมูก ปลายหัวแหลม ปากอยู่ใต้ลำตัว ลำตัวไม่มีเกล็ด ภายในปากไม่มีฟัน ตามีขนาดเล็ก ซึ่งหนวดของปลาสเตอร์เจียนนี้มีหน้าที่สัมผัสและรับคลื่นกระแสไฟฟ้าขณะที่ว่ายน้ำ เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ด้านใต้ของลำตัว เพราะฉะนั้นหนวดเหล่านี้มีหน้าที่เหมือนมือที่คอยสัมผัสกับสิ่งของที่อยู่ข้างใต้ของตัวเอง หากินตามพื้นน้ำโดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ สเตอร์เจียนจะพบแต่เฉพาะซีกโลกทางเหนือซึ่งเป็นเขตหนาวเท่านั้น ได้แก่ ทวีปเอเชียตอนเหนือและตะวันออก, ทวีปยุโรปตอนเหนือ และทวีปอเมริกาเหนือตอนบน เช่น อะแลสกา, แคนาดา และบางส่วนในสหรัฐอเมริกา สถานะปัจจุบันของปลาชนิดนี้ในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์เต็มที แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในบางชนิด ปลาสเตอร์เจียน มีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 3 สกุล โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลาฮูโซ่ (Huso huso) พบในรัสเซีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 5 เมตร หนักกว่า 900 กิโลกรัม และมีอายุยืนยาวถึง 210 ปี นับเป็นปลาที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก เท่าที่มีการบันทึกมา และเป็นชนิดที่ให้ไข่รสชาติดีที่สุดและแพงที่สุดด้วย ส่วนชนิดที่เล็กที่สุดคือ ปลาสเตอร์เจียนแคระ (Pseudoscaphirhynchus hermanni) ที่โตเต็มที่มีขนาดไม่ถึง 1 ฟุตเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้แล้ว ปลาสเตอร์เจียนยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ในประเทศไทย ปลาสเตอร์เจียนชนิด ปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย (Acipenser baerii) ได้มีการทดลองเลี้ยงในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยคำ อันเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อำเภอเวียงแหง ที่หน่วยวิจัยประมงบนพื้นที่สูงดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลการทดลองเป็นไปได้อย่างดี.
แคดโบโรซอรัส
ภาพถ่ายของแคดโบโรซอรัส เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1937 แคดโบโรซอรัส หรือ แคดโบโรซอรัส วิลซี่ (Cadborosaurus, Cadborosaurus willsi; キャディ) เป็นชื่อเรียกของสิ่งที่เชื่อว่าเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่คล้ายงูทะเลที่อาศัยอยู่ในทะเลแถบแวนคูเวอร์และคาบสมุทรโอลิมปิกในแคนาดา และมีรายงานพบที่บริเวณใกล้เคียงกับออริกอนและอะแลสกา โดยมีรายงานแรกเกี่ยวกับแคดโบโรซอรัส เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ.
โมซาซอรัส
มซาซอรัส(mosasaurus)คือสัตว์เลื้อยคลานทะเลดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่ง ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม โมซาซอร์(mosasaur) มีขนาดประมาณ 12 ตัน และยาวประมาณ 24.2 เมตรกว่าๆ มีรูปร่างคล้ายกิ้งก่าทะเล อาหารได้แก่ ปลา แอมโมไนท์และสัตว์ทะเลขนาดไล่เลี่ยกันหรือใหญ่กว่า มีชีวิตอยู่ตั้งแต่ยุคจูแรสสิกจนถึงยุคครีเทเชียท และสูญพันธุ์ไปแล้วพร้อมกับไดโนเสาร์ หมวดหมู่:โมซาซอร์.
ไพลโอซอร์
ลโอซอร์ (pliosaurs) คือสัตว์เลื้อยคลานในทะเลยุคดึกดำบรรพ์พวกหนึ่ง มีครีบขนาดใหญ่สี่อัน น้ำหนักประมาณ 120 กิโลกรัมถึงเกือบ 20 ตัน และมีความยาวตั้งแต่ 4.2 เมตรไปจนถึง 11 เมตรเลยทีเดียว(สายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ พรีเดเตอร์เอ็กซ์ ความยาวสูงสุดประมาณ 13 เมตร และหนักเกือบ 20 ตัน)มีรูปร่างแตกต่างจากโมซาซอร์ญาติห่างๆ ตรงที่โมซาซอร์ใช้หางว่ายน้ำคล้ายจระเข้ แต่ไพลโอซอร์จะมีหางสั้น และครีบขนาดเล็กกว่าซึ่งใช้ว่ายน้ำได้ลำบากกว่า นอกจากนี้ ฟันของโมซาซอร์จะมีรูปร่างแบบกิ้งก่าปัจจุบัน คือแหลมและโค้งไปด้านหลัง แต่ฟันของไพลโอซอร์จะเป็นกรวยแหลมขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับการขบกัดกระดูกให้เป็นรอยและสร้างบาดแผลสาหัสได้น้อยกว่าโมซาซอร์ประกอบกับแรงกัดที่มากกว่าหลายเท่า ทำให้ไพลโอซอร์เป็นหนึ่งในนักล่าที่ดุร้ายรองจากโมซาซอร์ในยุคดึกดำบรรพ์เลยทีเดียว สายพันธุ์ของไพลโอซอร์ที่น่าสนใจได้แก่ โครโนซอรัส(kronosaurus),ไทรนาครอมีเรี่ยม(trinacromerum)และไลโอพลัวเรอดอน(liopleurodon) เป็นต้น อาหารส่วนใหญ่ของไพลโอซอร์คือทุกอย่างที่จับและกินได้ รวมถึงพวกเดียวกันเอง เคยมีการพบซากไทรนาครอมีเรี่ยมในท้องของโครโนซอรัสตัวเต็มวัยด้วย เนื่องจากออกลูกเป็นไข่ ไพลโอซอร์จึงต้องขึ้นบกเพื่อวางไข่ด้วย.
เชสซี
ซี (Chessie) เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตลึกลับชนิดหนึ่ง โดยเชื่อว่าเป็นสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในอ่าวเชสปิก ในรัฐแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยรายงานแรกที่ระบุถึงการพบเห็นเชสซี เกิดขึ้นในปี ค.ศ.
เนสซี
รคดี เนสซี หรือ สัตว์ประหลาดล็อกเนสส์ (Nessie, Loch Ness Monster) คือสิ่งมีชีวิตลึกลับขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าอาศัยอยู่ในทะเลสาบเนสส์ (ล็อกเนสส์) ในสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไนทากะ