โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรคพิษสุรา

ดัชนี โรคพิษสุรา

รคพิษสุรา (alcoholism) เป็นคำกว้าง ๆ หมายถึงการดื่มแอลกอฮอล์แล้วส่งผลต่อปัญหาสุขภาพกายหรือจิต เดิมโรคนี้แบ่งเป็นสองชนิด คือ การดื่มแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด (alcohol abuse) และการติดแอลกอฮอล์ (alcohol dependence) ในบริบทการแพทย์ ถือว่าโรคพิษสุรามีเกณฑ์เหล่านี้ตั้งแต่สองข้อขึ้นไป ได้แก่ บุคคลดื่มสุราปริมาณมากเป็นเวลานาน ลดปริมาณการดื่มได้ยาก ใช้เวลานานมากกับการหาและดื่มแอลกอฮอล์ มีความต้องการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก การดื่มทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบได้ การดื่มทำให้เกิดปัญหาสังคม การดื่มทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ การดื่มทำให้เกิดสถานการณ์เสี่ยง มีอาการถอนเมื่อหยุดดื่ม และเกิดความชินแอลกอฮอล์หลังดื่ม สถานการณ์เสี่ยงได้แก่ การดื่มและการขับยานพานหะ หรือมีการร่วมประเวณีที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น การดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อร่างกายทุกส่วน แต่มีผลกระทบต่อสมอง หัวใจ ตับ ตับอ่อนและระบบภูมิคุ้มกันมากเป็นพิเศษ ซึ่งสามารถทำให้เกิดการป่วยทางจิต กลุ่มอาการเวอร์นิกเก–คอร์ซาคอฟ ภาวะหัวใจเสียจังหวะ โรคตับแข็ง และเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งกับโรคกลุ่มอื่น การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์สามารถเป็นอันตรายต่อทารกทำให้เกิดโรคสเปกตรัมทารกพิษสุราในครรภ์ โดยทั่วไปหญิงมีความไวต่อผลต่อกายและจิตท่ี่เป็นอันตรายของแอลกอฮอล์กว่าชาย ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและกรรมพันธุ์เป็นสององค์ประกอบที่สัมพันธ์กับโรคพิษสุรา โดยทั้งสององค์ประกอบมีผลอย่างละครึ่ง บุคคลที่มีบิดามารดาหรือพี่น้องที่มีโรคพิษสุรามีความเสี่ยงเป็นโรคพิษสุราเสียเองสูงกว่าบุคคลทั่วไปสามถึงสี่เท่า ปัจจัยสิ่งแวดล้อมได้แก่ อิทธิพลสังคม วัฒนธรรมและพฤติกรรม ระดับความเครียดสูง ความวิตกกังวล ร่วมกับราคาที่ไม่แพงและความหาได้ง่ายยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคพิษสุรา บุคคลอาจดื่มต่อไปส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการถอน หลังบุคคลหยุดดื่มแอลกอฮอล์ อาจมีอาการถอนระดับต่ำได้นานหลายเดือน ในทางการแพทย์ โรคพิษสุราถือว่าเป็นทั้งโรคทางกายและจิต แบบสำรวจและการทดสอบเลือดบางอย่างอาจตรวจพบบุคคลที่อาจเป็นโรคพิษสุรา มีการเก็บสารสนเทศเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย มาตรการป้องกันโรคพิษสุราอาจใช้การวางระเบียบและจำกัดการขายแอลกอฮอล์ การจัดเก็บภาษีแอลกอฮอล์เพื่อเพิ่มราคา และการจัดหาการรักษาที่ไม่แพง เนื่องจากปัญหาการแพทย์ที่เกิดได้ระหว่างอาการถอน การถอนพิษแอลกอฮอล์จึงควรมีการควบคุมอย่างระมัดระวัง วิธีที่ใช้กันบ่อยวิธีหนึ่งคือการใช้ยากลุ่มเบนไซไดอะซีพีน เช่น ไดอะซีแพม ซึ่งสามารุให้ระหว่างรับการรักษาในสถานพยาบาล หรือบางครั้งระหว่างที่บุคคลอยู่ในชุมชนโดยมีการควบคุมดูแลใกล้ชิด การป่วยทางจิตหรือการติดสารเสพติดอย่างอื่นอาจทำให้การรักษายุ่งยากขึ้น มีการใช้การสนับสนุนหลังถอนพิษ เช่น การบำบัดกลุ่มหรือกลุ่มสนับสนุนเพื่อป้องกันมิให้บุคคลกลับไปดื่มอีก อาจใช้ยาอะแคมโพรเสต (acamprosate) ไดซัลฟิแรม (disulfiram) หรือนัลเทร็กโซน (naltrexone) เพื่อช่วยป้องกันการดื่มอีก องค์การอนามัยโลกประมาณว่าในปี 2553 มีผู้ป่วยโรคพิษสุรา 208 ล้านคนทั่วไป (ร้อยละ 4.1 ของประชากรอายุมากกว่า 15 ปี) พบบ่อยในชายและผู้ใหญ่ตอนต้น พบน้อยกว่าในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ พบน้อยสุดในทวีปแอฟริกา (ร้อยละ 1.1) และสูงสุดในยุโรปตะวันออก (ร้อยละ 11) โรคพิษสุราส่งผลโดยตรงให้เกิดการเสียชีวิต 139,000 คนในปี 2556 เพิ่มขึ้นจาก 112,000 คนในปี 2533 เชื่อว่าการเสียชีวิตรวม 3.3 ล้านคน (ร้อยละ 5.9 ของการเสียชีวิตทั้งหมด) เกิดจากแอลกอฮอล์ มักลดความคาดหมายการคงชีพของบุคคลลงประมาณสิบปี หมวดหมู่:การติดสารเสพติด หมวดหมู่:การวินิจฉัยจิตเวช หมวดหมู่:วัฒนธรรมการดื่มแอลกอฮอล์ หมวดหมู่:การใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิด.

8 ความสัมพันธ์: การร่วมเพศอย่างปลอดภัยระบบภูมิคุ้มกันหัวใจเต้นผิดจังหวะองค์การอนามัยโลกตับอ่อนโรคสั่นเพ้อเหตุขาดสุราโรคตับแข็งเอทานอล

การร่วมเพศอย่างปลอดภัย

งยาง สามารถถูกใช้โดยผู้ชายเพื่อเซ็กส์ที่ปลอดภัย เขื่อนทันตกรรม (dental dam) สามารถใช้โดยบุคคลที่มีส่วนร่วมใน cunnilingus และ หรือ เอนิลิงกัส สำหรับการร่วมเพศที่ปลอดภัย การร่วมเพศอย่างปลอดภัย หรือ เซ็กส์ที่ปลอดภัย (safe sex) คือกิจกรรมทางเพศซึ่งผู้ร่วมมีความระมัดระวังในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี อาจถูกเรียกว่า เซ็กส์ที่ปลอดภัยกว่า หรือ เซ็กส์ที่มีการป้องกัน ขณะที่ เซ็กส์ไม่ปลอดภัย หรือ เซ็กส์ที่ไม่มีการป้องกัน หมายถึงกิจกรรมทางเพศกระทำอย่างไม่ระมัดระวังหรือไม่มีการป้องกัน โดยเฉพาะการร่วมเพศโดยไม่ใช่ถุงยางอนามัย แหล่งข้อมูลบางแห่งอาจใช้คำว่า เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยกว่า (safer sex) เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่การปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยลด แต่อาจไม่ได้กำจัดความเสี่ยงในการติดโรค การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) ได้กลายเป็นคำที่ใช้บ่อยกว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) ในทางการแพทย์เนื่องจากมีความหมายกว้างขึ้น คนอาจติดเชื้อและอาจส่งต่อเชื้อให้แก่คนอื่น ๆ โดยไม่แสดงอาการของโรค การร่วมเพศอย่างปลอดภัยแพร่หลายมากขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 เนื่องจากการระบาดของโรคเอดส์ การส่งเสริมเรื่องเพศที่ปลอดภัยขึ้นเป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายของการศึกษาเรื่องเพศ การร่วมเพศอย่างปลอดภัยถือเป็นกลยุทธ์การลดอันตรายที่มุ่งลดความเสี่ยง การร่วมเพศอย่างปลอดภัยอาจไม่ได้กำจัดความเสี่ยงทั้งหมด ตัวอย่างเช่น มีการประมาณว่าถุงยางอนามัยสามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีจากคู่นอนที่มีเลือดบวกได้ 4-5 เท.

ใหม่!!: โรคพิษสุราและการร่วมเพศอย่างปลอดภัย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที.

ใหม่!!: โรคพิษสุราและระบบภูมิคุ้มกัน · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะคือภาวะใดๆ ที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ทันที ชนิดอื่นซึ่งไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตนั้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกใจสั่น หรือไม่สบายตัวเล็กน้อย ความรู้สึกใจสั่นนี้อาจเกิดจากภาวะหัวใจเต้นแผ่วระรัวไม่ว่าจะเป็นห้องบนหรือห้องล่าง หรือการนำสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หรือภาวะอื่นๆ และบางชนิดอาจไม่มีอาการใดๆ เลย แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือทำให้เกิดความพิการได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจผิดปกติเพียงเล็กน้อยและมีผลเสียน้อยจนถือเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ถือเป็นโรค หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: โรคพิษสุราและหัวใจเต้นผิดจังหวะ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: โรคพิษสุราและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

ตับอ่อน

ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะซึ่งเป็นต่อมในระบบย่อยอาหารและระบบต่อมไร้ท่อในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในมนุษย์ ตับอ่อนอยู่ในช่องท้องหลังกระเพาะอาหาร เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด รวมถึงอินซูลิน กลูคากอน โซมาโตสเตติน และแพนคริเอติกพอลิเพพไทด์ซึ่งไหลเวียนอยู่ในเลือด ตับอ่อนยังเป็นอวัยวะย่อยอาหาร โดยหลั่งน้ำย่อยตับอ่อนซึเอนไซม์ย่อยอาหารที่ช่วยการย่อยและดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็ก เอนไซม์เหล่านี้ช่วยสลายคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและลิพิดในไคม์ (chyme) และตับอ่อนมักหลั่งเอนไซม์ คือ trypsinogen chymotrypsinogen procarboxypeptidase.

ใหม่!!: โรคพิษสุราและตับอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

โรคสั่นเพ้อเหตุขาดสุรา

รคสั่นเพ้อเหตุขาดสุรา หรือ กลุ่มอาการขาดแอลกอฮอล์(Alcohol withdrawal syndrome) เป็นกลุ่มอาการซึ่งอาจเกิดในผู้ติดสุรา อาการทั่วไปของผู้ป่วยได้แก่ วิตกกังวล, สั่น, เหงื่อออก, อาเจียน, อัตราชีพจรไว และมีไข้อ่อนๆ ส่วนอาการขั้นรุนแรงได้แก่ ชัก, ได้ยินเสียงหรือเห็นภาพหลอน และคลุ้มคลั่ง อาการมักจะเริ่มแสดงออกราว 6 ชั่วโมงภายหลังการดื่มสุราครั้งล่าสุด และจะมีอาการไปจนถึง 24 หรือ 72 ชั่วโมง อย่างเลวร้ายที่สุดอาจกินเวลาถึงเจ็ดวัน.

ใหม่!!: โรคพิษสุราและโรคสั่นเพ้อเหตุขาดสุรา · ดูเพิ่มเติม »

โรคตับแข็ง

รคตับแข็ง เป็นภาวะซึ่งเป็นผลจากโรคตับเรื้อรัง มีลักษณะเฉพาะคือการมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ ดึงรั้งเนื้อตับดีจนเป็นผิวตะปุ่มตะป่ำเรียกว่า regenerative nodule ทำให้ตับเสียการทำงานลงไป ตับแข็งมักเกิดขึ้นเป็นผลจากพิษสุราเรื้อรัง ตับอักเสบจากไวรัส (โดยเฉพาะจากไวรัสตับอักเสบบีและซี) และโรคตับคั่งไขมัน รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ภาวะแทรกซ้อนจากตับแข็งที่พบบ่อยคือภาวะท้องมาน ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการสูญเสียคุณภาพชีวิต เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และผลเสียในระยะยาว ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตคือโรคสมองที่เกิดจากตับ (hepatic encephalopathy) และการมีเลือดออกจากหลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร (esophageal varices) ตับแข็งนั้นเมื่อเกิดแล้วมักไม่สามารถกลับเป็นปกติได้ การรักษาจึงมักมุ่งไปที่การยับยั้งการดำเนินโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน หากเป็นมากอาจมีทางเลือกในการรักษาเพียงทางเดียวคือการผ่าตัดเปลี่ยนตั.

ใหม่!!: โรคพิษสุราและโรคตับแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

เอทานอล

อทานอล (ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) (สูตรเคมี C2H5OH) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการนำเอาพืชมาหมักเพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล จากนั้นจึงเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ โดยใช้เอนไซม์หรือกรดบางชนิดช่วยย่อย เมื่อทำให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% โดยการกลั่น ส่วนใหญ่ผลิตจากพืช สองประเภทคือ พืชประเภทน้ำตาล เช่นอ้อย บีทรูท และพืชจำพวกแป้งเช่น มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น.

ใหม่!!: โรคพิษสุราและเอทานอล · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »