เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

โรคกลัวการขาดมือถือ

ดัชนี โรคกลัวการขาดมือถือ

ผู้ชมกำลังดูสมาร์ตโฟนในพิพิธภัณฑ์ โรคกลัวการขาดมือถือ (Nomophobia) หรือ โนโมโฟเบีย เป็นชื่อที่มีการเสนอของโรคกลัวชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยกลัวการไม่มีโทรศัพท์มือถือหรือการไม่ได้สัมผัสมือถือCharlie D'Agata.

สารบัญ

  1. 5 ความสัมพันธ์: หัวใจเต้นเร็วความภูมิใจแห่งตนคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตโรคกลัวโรคตื่นตระหนก

หัวใจเต้นเร็ว

หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) เป็นภาวะซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นไปจากภาวะปกติ โดยทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ อัตราการเต้นของหัวใจที่ถือว่าเร็วคือมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที ภาวะที่มีหัวใจเต้นเร็วนี้อาจเกิดขึ้นตามปกติ (เช่น หลังการออกกำลังกาย) หรือผิดปกติ (เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติแบ่งตามจุดกำเนิดในหัวใจได้ 2 ชนิด คือ supraventricular tachycardia (SVT) เกิดในหัวใจห้องบน และ ventricular tachycardia (VT) เกิดในหัวใจห้องล่าง.

ดู โรคกลัวการขาดมือถือและหัวใจเต้นเร็ว

ความภูมิใจแห่งตน

ในสังคมวิทยาและจิตวิทยา ความภูมิใจในตน หรือ ความภูมิใจแห่งตน หรือ การเคารพตนเอง หรือ การเห็นคุณค่าในตัวเอง (self-esteem) เป็นการประเมินคุณค่าตนเองโดยทั่วไปที่เป็นอัตวิสัยและอยู่ในใจ เป็นทั้งการตัดสินและทัศนคติต่อตนเอง ความภูมิใจในตนอาจรวมความเชื่อ (เช่น ฉันเก่ง ฉันมีคุณค่า) และอารมณ์ความรู้สึก เช่น การได้ชัยชนะ ความซึมเศร้า ความภูมิใจ และความอับอาย หนังสือปี 2550 ให้คำนิยามว่า "ความภูมิใจในตนเป็นการประเมินในเชิงบวกหรือเชิงลบเกี่ยวกับตัวเอง คือ เรารู้สึกกับตัวเองอย่างไร" เป็นแนวคิดทางจิตวิทยา (psychological construct) ที่น่าสนใจเพราะว่านักวิจัยเชื่อว่ามันเป็นตัวพยากรณ์ที่ทรงอิทธิพลต่อผลบางอย่าง เช่น การเรียนเก่งS.

ดู โรคกลัวการขาดมือถือและความภูมิใจแห่งตน

คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต

ู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, ย่อ: DSM) เป็นหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตซึ่งจัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) ซึ่งถูกอ้างอิงอย่างกว้างขวางโดยแพทย์ นักวิจัย ผู้ผลิตและผู้ตรวจสอบคุณภาพยาในทางจิตเวช และบริษัทประกันภัยทั้งในสหรัฐอเมริกาและที่อื่นๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ในปัจจุบันฉบับปรับปรุงล่าสุดคือเป็นฉบับที่ 4 เรียกว่า DSM-IV ในปี พ.ศ.

ดู โรคกลัวการขาดมือถือและคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต

โรคกลัว

รคกลัว, อาการกลัว หรือ โฟเบีย (phobia, φόβος "กลัว") เป็นความกลัวชนิดที่ไม่ปกติ มักจะเกิดกับความกลัวสิ่งของ บุคคล การกระทำ หรือเหตุการณ์ต่างๆ การกลัวมีความรุนแรงทางอารมณ์ เป็นพฤติกรรมเชิงอารมณ์ที่รุนแรงที่จะปฏิเสธต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ภายนอกที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่ตนเอง โฟเบียนี้จะแตกต่างกับความกลัว (Fear) ที่ไม่มีการแสดงอารมณ์ที่รุนแรง อย่างการร้องไห้ฟูมฟายหรืออาเจียน และแตกต่างกับความวิตกกังวล เพราะกรณีของโฟเบียเรารู้ว่าตัวเรากลัวอะไร แต่เราไม่รู้ว่าเราเป็นกังวลในเรื่องอะไร.

ดู โรคกลัวการขาดมือถือและโรคกลัว

โรคตื่นตระหนก

โรคตื่นตระหนก (panic disorder) เป็นโรควิตกกังวลอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะเกิดอาการตื่นตระหนกกระทันหัน (panic attack) เป็นซ้ำ ทำให้เกิดช่วงวิตกกังวลสุดขีดเข้มข้นเป็นชุดระหว่างอาการตื่นตระหนกกระทันหัน อาจรวมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างสำคัญกินเวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือนและความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความนัยหรือความกังวลว่าจะมีอาการครั้งต่อ ๆ ไป โรคตื่นตระหนกมิใช่อย่างเดียวกับโรคกลัวที่โล่ง (agoraphobia) แม้ผู้ป่วยโรคตื่นตระหนกจำนวนมากยังเป็นโรคกลัวที่โล่งด้วย อาการตื่นตระหนกกระทันหันไม่สามารถทำนายได้ ฉะนั้นบุคคลจึงอาจเครียด วิตกกังวลหรือกังวลสงสัยว่าจะเกิดอาการครั้งถัดไปเมื่อไร โรคตื่นตระหนกอาจแยกได้เป็นภาวะทางการแพทย์ หรือภาวะเสียดุลเคมี DSM-IV-TR อธิบายโรคตื่นตระหนกและความวิตกกังวลไว้แยกกัน ขณะที่ความวิตกกังวลจะมีสิ่งกระตุ้นความเครียด (stressor) เรื้อรังนำมา ซึ่งสร้างปฏิกิริยาปานกลางซึ่งกินเวลาได้หลายวัน สัปดาห์หรือเดือน แต่อาการตื่นตระหนกเป็นเหตุการณ์เฉียบพลันซึ่งเกิดจากสาเหตุกระทันหันและไม่ได้คาดหมาย ระยะเวลาสั้นและอาการรุนแรงกว่ามาก อาการตื่นตระหนกกระทันหันเกิดในเด็กได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ อาการตื่นตระหนกในเยาวชนอาจเป็นทุกข์เป็นพิเศษ เพราะเด็กมีแนวโน้มเข้าใจน้อยกว่าว่าเกิดอะไรขึ้น และบิดามารดายังมีแนวโน้มประสบความทุกข์เมื่อเกิดอาการ หมวดหมู่:โรควิตกกังวล หมวดหมู่:ปัญหาอารมณ์ หมวดหมู่:โรคประสาท เกี่ยวข้องกับความเครียดหรือโซมาโตฟอร์ม หมวดหมู่:ความกลัว หมวดหมู่:การวินิจฉัยจิตเวช.

ดู โรคกลัวการขาดมือถือและโรคตื่นตระหนก

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Nomophobiaโนโมโฟเบีย