สารบัญ
11 ความสัมพันธ์: การมีคนรักหลายคนการเป็นกลางทางเพศรักร่วมสองเพศรักร่วมเพศรักต่างเพศสถานะเพศหญิงรักร่วมเพศแพนเซ็กชวลโฮโมโฟเบียเพศเกย์
- รสนิยมทางเพศ
การมีคนรักหลายคน
หัวใจที่ไม่สิ้นสุด การมีคนรักหลายคน หรือ พอลีแอเมอรี (polyamory, จาก ภาษากรีก แปลว่า "หลากหลาย"และ ภาษาละติน แปลว่า "ความรัก") เป็นการปฏิบัติหรือความปรารถนา จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กันมากกว่าหนึ่งคนโดยที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องรับรู้ มีการอธิบายไว้ว่า เป็น "ความยินยอม จริยธรรม และการมีคู่ครองหลายคนอย่างมีความรับผิดชอบ" คนที่แสดงตัวเป็น พอลีแอเมอรี ปฏิเสธว่า มุมมองทางเพศและการมีความสัมพันธ์กับบุคคลเดียว เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความรัก และความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง ในระยะยาว รูปแบบของพอลีแอเมอรีมีความหลากหลาย สะท้อนถึงทางเลือกและปรัชญาของบุคคลที่เกี่ยวข้อง แต่ด้วยแก่นหรือค่านิยม เช่น ความรัก ความสนิทสนม ความซื่อสัตย์สุจริตความเท่าเทียมกัน การสื่อสารและข้อผูกมัด ความสับสนเกิดขึ้นเมื่อใช้พอลีแอเมอรีในความหมายที่กว้างขึ้น โดยใช้เป็นคำที่ครอบคลุมรูปแบบต่าง ๆ ของการมีหลายคู่ครองโดยสมัครใจ ความสัมพันธ์หลายคู่ (รวมถึงพอลีแอเมอรี) หรือความสัมพันธ์ทางเพศหรือโรแมนติกที่ไม่ผูกขาดกับบุคคลเดียว พอลีแอเมอรีในขบวนไพรด์พาเรดที่ลอนดอน ปี 2016.
ดู โมโนเซ็กชวลและการมีคนรักหลายคน
การเป็นกลางทางเพศ
ัญลักษณ์ห้องน้ำไม่ระบุเพศในสหรัฐ ปี 2016 การเป็นกลางทางเพศ หรือ การไม่ระบุเพศใดเพศหนึ่งชัดเจน (Gender neutrality หรือ gender-neutral) หมายถึงการที่นโยบาย ภาษาและสถาบันทางสังคมต่าง ๆ ควรหลีกแลี่ยงการแบ่งแยกบทบาทคนจากเพศสภาพ เพื่อลดการแบ่งแยกจากการมีบทบาททางเพศที่เพศใดจะเหมาะสมกว่าอีกเพศหนึ่ง.
ดู โมโนเซ็กชวลและการเป็นกลางทางเพศ
รักร่วมสองเพศ
รักร่วมสองเพศ หรือ ไบเซ็กชวล (Bisexual) เป็นรสนิยมทางเพศ ที่ชอบคนทั้ง 2 เพศ ทั้งชายและหญิง คนที่มีรสนิยมแบบไบเซ็กชวลอาจมีประสบการณ์ทางเพศ ภาวะอารมณ์ ความรัก กับทั้งเพศตัวเองและเพศตรงข้าม และยังมีความหมายถึงความรู้สึกส่วนตัวและอัตลักษณ์ทางสังคม โดยยึดจากความสนใจทางเพศ การแสดงออกทางพฤติกรรม และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคม และยังถือเป็น 1 ใน 4 ของการจำแนกเพศ ร่วมไปกับรักต่างเพศ รักเพศเดียวกัน และไม่ฝักใจทางเพศ จากการสำรวจของอัลเฟรด คินเซย์เกี่ยวกับเพศของมนุษย์ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 กล่าวว่า มีมนุษย์หลายคนที่ไม่ได้เป็นบุคคลรักเพศตรงข้าม และรักเพศเดียวกัน แต่อยู่ระหว่างนั้น มีการวัดความสนใจทางเพศและพฤติกรรม ความกว้าง 0-7 โดย 0 (รักเพศตรงข้าม) ถึง 6 (รักเพศเดียวกัน) จากการศึกษาพบว่ามีจำนวนมากที่อยู่ระหว่าง 1 ถึง 5 (ระหว่างรักเพศตรงข้ามและรักเพศเดียวกัน) แต่วิธีนี้ก็ได้รับการวิจารณ์ว่า เลขการวัดยังคงกว้างที่จะอธิบายเพศของมนุษย์ ไบเซ็กชวล ได้รับการสังเกตในสังคมมนุษย์หลายสังคม รวมไปถึงอาณาจักรสัตว์ด้วย จากประวัติการบันทึก เกี่ยวกับไบเซ็กชวล น่าจะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับ รักร่วมเพศ และรักเพศเดียวกัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 19.
ดู โมโนเซ็กชวลและรักร่วมสองเพศ
รักร่วมเพศ
รักร่วมเพศ (homosexuality) หมายถึงพฤติกรรมทางเพศหรือความสนใจของคนในเพศเดียวกันหรือรสนิยมทางเพศ ในเรื่องรสนิยมทางเพศหมายถึง "มีเพศสัมพันธ์หรือความรักในทางโรแมนติกพิเศษกับบุคคลในเพศเดียวกัน" และยังหมายถึง "ความรู้สึกส่วนตัวและการแสดงออกทางสังคมโดยยึดจากความชอบ พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออก และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา" รักร่วมเพศ, ไบเซ็กชวล และรักต่างเพศ ถือเป็นกลุ่มคนหลัก 3 ประเภทของรสนิยมทางเพศ สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักเพศเดียวกันค่อนข้างยากที่จะประเมินLeVay, Simon (1996).
รักต่างเพศ
รักต่างเพศ (Heterosexuality) หมายถึง ความรักทั้งในทางโรแมนติกและทางเพศ ระหว่างสองบุคคลที่เป็นเพศตรงข้าม รักต่างเพศถือเป็นรสนิยมทางเพศอย่างหนึ่ง ซึ่งตรงกันข้ามกับรักเพศเดียวกัน โดยจะมีความรักในทั้งทางโรแมนติกและทางเพศ กับบุคคลในเพศตรงข้าม หรือมีความรักเฉพาะในทางโรแมนติกเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีความสนใจในเรื่องเพศเลยก็ได้ หมวดหมู่:เพศภาวะ หมวดหมู่:มนุษยสัมพันธ์ หมวดหมู่:เพศศึกษา หมวดหมู่:รสนิยมทางเพศ หมวดหมู่:ความรัก.
สถานะเพศ
นะเพศ (gender) หรือ เพศสภาพ คือลักษณะต่างๆ ที่บ่งบอกความเป็นชาย (masculinity) และความเป็นหญิง (femininity) ซึ่งอาจหมายถึง เพศทางชีววิทยา (เช่น เพศชาย เพศหญิง เพศกำกวม) โครงสร้างทางสังคมที่อาศัยความเป็นเพศ (เช่น บทบาทประจำเพศ และบทบาททางสังคมด้านอื่นๆ) หรือ อัตลักษณ์ทางเพศ (หรือ เพศเอกลักษณ์, gender identity) แล้วแต่บริบท ผู้ที่ไม่มองว่าตนเองเป็นเพศชายหรือเพศหญิงมักเรียกรวมๆ ว่าเป็นเพศทางเลือก มีคำเรียกหลายอย่าง เช่น non-binary, genderqueer บางวัฒนธรรมจะมีบทบาทโดยเฉพาะของเพศที่สาม เช่น กลุ่มฮิจรา ในเอเชียใต้ เป็นต้น องค์การอนามัยโลก ให้ความหมายของสถานะเพศ เอาไว้ว่า ไว้ว่า "คุณลักษณะของผู้หญิงและผู้ชายในบทบาทประกอบสร้างทางสังคม พฤติกรรม กิจกรรมและคุณลักษณะที่ให้สังคมพิจารณาว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง" ในขณะที่คำว่า เพศ (Sex) มีความหมายในลักษณะทางชีววิทยาของบุคคล ที่แบ่งเป็นเพศหญิง และเพศชาย เพศภาวะมิใช่เป็นเพียงการแบ่งเพศชาย เพศหญิง ทางกายวิภาคและสรีรวิทยาเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการถูกกำหนดโดยสังคมและวัฒนธรรมที่กำหนดความเป็นหญิง-ชาย ความความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหญิงชาย ลักษณะเฉพาะประจำเพศ (gender stereotype) และความเป็นตัวตนของหญิงชายที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ส่วนภาษาไทย อาจมีคนแปลความหมายของคำว่า gender ว่า “เพศภาวะ” “ความเป็นชาย ความ เป็นหญิง” “บทบาทหญิงชาย” “มิติหญิงชาย” หรือ “เพศทางสังคม”.
หญิงรักร่วมเพศ
หญิงรักร่วมเพศ หรือ เลสเบียน (lesbian) เป็นการอธิบายความต้องการทางเพศและความต้องการฉันคู่รัก (romantic desire) ระหว่างหญิง"Lesbian",, Second Edition, 1989.
ดู โมโนเซ็กชวลและหญิงรักร่วมเพศ
แพนเซ็กชวล
แพนเซ็กชวล (Pansexuality หรือ omnisexuality) คือความรัก ความปรารถนาทางเพศ หรือแรงดึงดูดทางอารมณ์ต่อผู้อื่นโดยไม่สนใจเพศสภาพหรืออัตลักษณ์ทางเพศคนที่เป็นแพนเซ็กชวลมักบอกตัวเองบอดทางเพศ(gender-blind) หรือเพศไหนไม่สำคัญ กล่าวคือเพศไม่ใช่ปัจจัยในการเลือกคู่ ความรักหรือแรงดึงดูดทางเพศที่พวกเขามีต่อผู้อื่น แพนเซ็กชวลอาจเรียกได้ว่าเป็นรสนิยมทางเพศหรือเป็นสาขาย่อยของไบเซ็กชวลเพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ทางเพศอีกแบบหนึ่ง เพราะคนที่เป็นแพนเซ็กชวลเปิดกว้างกับคนที่ไม่ได้คิดว่าตนเป็นชายหรือหญิงเท่านั้น แพนเซ็กชวลจึงไม่เชื่อในการมีเพียงสองเพศ (gender binary) บางกล่าวว่าคำว่าแพนเซ็กชวลนั้นครอบคลุมมากกว่าไบเซ็กชวล แต่ขอบเขตของคำว่าไบเซ็กชวลนั้น ยังเป็นที่โต้เถียงกันในกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะกลุ่มไบเซ็กชวล.
โฮโมโฟเบีย
มโฟเบีย กลุ่มแสดงความเกลียดชังเกย์ โฮโมโฟเบีย (Homophobia) คือการกลัวอย่างไม่มีเหตุผล การเกลียดชัง หรือการเลือกปฏิบัติ ต่อพวกรักร่วมเพศหรือพฤติกรรมรักร่วมเพศ และยังอธิบายถึงความกลัวหรือดูถูกเลสเบียนและเกย์ รวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มาจากความรู้สึกในบางแห่งจำกัดความโดยไม่มีคำว่า "อย่างไม่มีเหตุผล" และดูมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมมากกว่าแรงกระตุ้น คำว่า โฮโมโฟเบีย มีใช้ครั้งแรกในยุคสมัยใหม่ในปี 1971 ถึงแม้ว่าคำนี้จะเกิดขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1950 ก็ตาม เป็นคำที่แสดงความเห็นกับพวกแสดงความเหยียดหยามกับกลุ่มที่มีทัศนะคติต่างกัน และกับนักวิจัยหลายคนเสนอความหมายของคำนี้อีกอย่างว่าเป็นการอธิบายถึง ความลำเอียงและการเลือกปฏิบัติ ต่อเกย์และเลสเบียน โดยทั่วไปแล้วโฮโมโฟเบียจะพบในกลุ่มคนรักต่างเพศ โดยนักจิตวิทยาบางส่วนเชื่อมโยงโฮโมโฟเบียกับความกลัวที่จะรักเพศเดียวกัน ซึ่งอาจมีผลมาจากแบบตายตัวทางเพศในครอบครัว ซึ่งมีผู้ชายเป็นใหญ่และผู้หญิงอุทิศตัวต่อสามีและลูก เป็นความเชื่อฝังใจต่อบทบาทที่ถูกต้องเหมาะสมตามครรลองทางธรรมชาติ และผู้ที่ยึดติดดังกล่าวอาจรู้สึกถึงการถูกคุกคามของการมีอยู่ของเกย์และเลสเบียน เพราะเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มทำให้บทบาททางเพศที่พวกเขาคิดว่าถูกต้องตามธรรมชาติเกิดความสับสนและอาจกลัว กลุ่มโฮโมโฟเบียรวมถึงกลุ่มที่ยึดถือบทบาททางเพศแบบตายตัวนี้ และกลุ่มคนที่เคร่งครัดตามคัมภีร์ทางศาสนา นอกจากนี้การเป็นโฮโมโฟเบียของชายรักต่างเพศบางคนก็อาจเกิดจากความกลัวหรือหวาดระแวงว่าจะถูกผู้ชายด้วยกันล่วงละเมิดทางเพศSpencer A.
เพศ
การสืบพันธุ์ที่สำเร็จ เกิดผมการรวมตัวกันของสเปิร์มและเซลล์ไข่ เพศ (sex) ในชีววิทยา คือ ขั้นตอนการเชื่อมโยงและการผสมผสานกลไกเฉพาะทางพันธุกรรม ที่มักมีผลให้เกิดในเพศชายหรือเพศหญิงที่แตกต่างกันไป.
เกย์
มชนเกย์ในอาร์เจนตินา เกย์ (Gay) มักหมายถึงบุคคลที่มีรสนิยมทางเพศแบบรักร่วมเพศ เดิมคำว่าเกย์ในภาษาอังกฤษมีความหมายว่า ไร้กังวล มีความสุข ความสำราญใจ เฉียบแหลมและน่าประทับใจ แต่ในทุกวันนี้คำว่าเกย์มีความหมายทางวัฒนธรรมย่อยของคนที่รักเพศเดียวกัน และอาจมีความหมายร่วมกระบวนทัศน์ความเป็นเกย์เช่น เพลงเกย์ หนังเกย์ เป็นต้น หรืออาจหมายถึงภาพรวมของความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน แม้คำว่าเกย์ไม่ได้จำกัดความทางเพศ แต่มักใช้เฉพาะกับกลุ่มผู้ชายรักเพศเดียวกัน ในขณะที่คำจำกัดความทางเพศอย่างเลสเบี้ยน ก็ใช้เฉพาะกลุ่มผู้หญิงรักเพศเดียวกัน การใช้คำว่าเกย์ในภาษาไทย จะหมายความถึงเฉพาะผู้ชายที่รักร่วมเพศเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ชายที่รักสองเพศ (รักและมีเพศสัมพันธ์ได้กับทั้งชายและหญิง; ไบเซ็กชวล) ก็มักถูกเรียกว่าเป็นเกย์เช่นกัน ในประเทศไทยมีการใช้คำว่าเกย์คิงและเกย์ควีน โดยทั่วไปเกย์คิงมักหมายถึงเกย์ที่เป็นฝ่ายรุก และเกย์ควีนมักหมายถึงเกย์ที่เป็นฝ่ายรั.
ดูเพิ่มเติม
รสนิยมทางเพศ
- รสนิยมทางเพศ
- รักต่างเพศ
- อัตลักษณ์ทางเพศ
- โมโนเซ็กชวล
หรือที่รู้จักกันในชื่อ MonosexualMonosexuality