สารบัญ
วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล
วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล หรือเรียกโดยย่อว่า น้ำตาลเทียม เป็นกลุ่มของวัตถุหรือสารที่มีรสหวานสามารถใช้ปรุงอาหารแทนน้ำตาลได้ ในทางวิชาการ วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหารกลุ่มหนึ่ง ที่มีสมาชิกอยู่หลายตัว เช่น แอสปาร์แตม แซกคารีน หญ้าหวาน.
ดู โฟรซเซนโยเกิร์ตและวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล
ครีม
วดนมที่บรรจุครีมเต็มขวด ครีม (cream) คือผลิตภัณฑ์นมที่ประกอบด้วยชั้นไขมันเนยตักออกจากส่วนบนของนมก่อนกระบวนการรวมเป็นเนื้อเดียวกัน (homogenization) ในนมที่ไม่ผ่านกระบวนการนั้น ไขมันซึ่งหนาแน่นน้อยกว่าจะฟูขึ้นด้านบนในที่สุด ในอุตสาหกรรมกระบวนการผลิตครีม กระบวนการนี้จะเร่งด้วยเครื่องหมุนเหวี่ยง เรียกว่า "เครื่องแยก" ในหลายประเทศ ครีมมีขายในหลายเกรดขึ้นกับเนื้อไขมันเนยรวม ครีมอาจแห้งและกลายเป็นผงได้ในระหว่างการขนส่งสู่ตลาดระยะไกล ครีมที่ตักออกจากนมอาจเรียกว่า "สวีตครีม" (sweet cream) หรือ "ครีมหวาน" เพื่อแยกตัวจากครีมหางนมที่ตักจากหางนม ซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากการทำเนยแข็ง ครีมหางนมจะมีเนื้อไขมันต่ำกว่าและมีรสเค็ม เปรี้ยว และ "รสเนย" (cheesy) ครีมที่ผลิตจากวัว (โดยเฉพาะวัวเจอร์ซีย์) ที่กินหญ้าตามทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์จะมีสารแคโรทีนอยด์ธรรมชาติที่สกัดจากพืชที่พวกมันกิน ทำให้ครีมมีสีออกเหลืองอ่อน จึงเรียกสีขาวออกเหลืองดังกล่าวว่า สีครีม ครีมจากนมแพะ หรือจากวัวที่เลี้ยงในที่ร่มให้กินธัญพืช หรือเม็ดอาหารที่สกัดจากธัญพืช จะมีสีขาว.
นม
นมในแก้ว นม หรือ น้ำนม หมายถึงของเหลวสีขาวที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ออกมาจากเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นมจะประกอบไปด้วยสารอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กหรือสัตว์เกิดใหม่ ซึ่งนมสามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ ครีม เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส นอกจากนี้นมยังสามารถหมายถึงเครื่องดื่มอื่นที่นำมาใช้ทดแทนนม เช่น นมถั่วเหลือง นมข้าว นมข้าวโพด นมแอลมอนด์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ให้นม อาทิ วัว มนุษย์ แพะ ควาย แกะ ม้า ลา อูฐ จามรี ยามา เรนเดียร์ ฯลฯ โดยนมจากม้าและลาเป็นนมที่มีไขมันต่ำ ในขณะที่นมจากแมวน้ำจะมีไขมันสูงถึง 50% นอกจากนี้ในประเทศรัสเซียและประเทศสวีเดน มีการกินนมกวางมูส มีบางคนที่ไม่มีน้ำย่อยแลกโทส จะไม่สามารถดื่มนมวัวได้ ก็จะหันมาดื่มนมสัตว์ชนิดอื่นแทน เช่น นมแ.
นมเปรี้ยว
กิร์ต ผู้ขายโยเกิร์ตในกรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1940 นมเปรี้ยว หรือ โยเกิร์ต (yoghurt, yogurt, yoghourt (ภาษาอังกฤษใช้คำนี้เรียกรวม ๆ ทั้งนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต)) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนมสด นมพร่องมันเนย หรือ นมถั่วเหลือง โดยการใช้แบคทีเรีย แลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และสเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส เป็นหลักใส่ลงไปหมักผลิตภัณฑ์นมต่าง ๆ แบคทีเรียเหล่านี้ช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลคติค ทำให้มีภาวะกรดและมีรสเปรี้ยวโดยมีความเป็นกรด-เบสอยู่ระหว่าง 3.8-4.6 นมเปรี้ยว มี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเป็นนมเปรี้ยวที่มีลักษณะเป็นน้ำคล้ายเครื่องดื่ม อีกชนิดหนึ่งเป็นนมเปรี้ยวที่มีลักษณะเหลวข้นที่เรียกว่า โยเกิร์ต.
ดู โฟรซเซนโยเกิร์ตและนมเปรี้ยว
ไอศกรีม
อศกรีมแบล็กวอลนัต ไอศกรีม (ice cream) หรือภาษาปากว่า ไอติม เป็นของหวานแช่แข็งชนิดหนึ่ง ได้จากการผสมส่วนผสม นำไปผ่านการฆ่าเชื้อ แล้วนั้นนำไปปั่นในที่เย็นจัด เพื่อเติมอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับการลดอุณหภูมิ โดยอาศัยเครื่องปั่นไอศกรีม ไอศกรีมตักโดยทั่วไปจะต้องผ่านขั้นตอนการแช่เยือกแข็งอีกครั้งก่อนนำมาขายหรือรับประทาน ไอศกรีม (อ่านว่า ไอ-สะ-กฺรีม) มาจากคำภาษาอังกฤษว่า ice-cream พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้เขียนเป็นภาษาไทยว่า ไอศกรีม ซึ่งเป็นคำที่เขียนกันมาแต่เดิม.
ไขมัน
มัน หมายถึง สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ แต่ไม่ละลายน้ำ ไขมันในทางเคมี คือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไตรเอสเทอร์ของกลีเซอรอลกับกรดไขมัน สถานะของไขมันที่อุณหภูมิห้องมีทั้งของแข็งและของเหลว ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและองค์ประกอบของไขมันนั้น แม้คำว่า "น้ำมัน", "ไขมัน" และ "ลิพิด" ล้วนถูกใช้หมายถึงไขมัน แต่โดยทั่วไป "น้ำมัน" ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง "ไขมัน" หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง "ลิพิด" หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็ง ตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ไขมันเป็นลิพิดชนิดหนึ่ง ซึ่งแยกแยะได้จากโครงสร้างทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพ โมเลกุลไขมันสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยทำหน้าที่ทั้งเชิงโครงสร้างและเมแทบอลิซึม ไขมันเป็นส่วนสำคัญในอาหารของเฮเทอโรโทรปส่วนมาก (รวมทั้งมนุษย์) ในร่างกาย ไขมันหรือลิพิดถูกย่อยโดยเอนไซม์ชื่อ ไลเปส ซึ่งสร้างจากตับอ่อน ตัวอย่างไขมันสัตว์ที่กินได้ เช่น มันหมู น้ำมันปลา เนยเหลว และชั้นไขมันวาฬ ไขมันเหล่านี้ได้มาจากนมและเนื้อ ตลอดจนจากใต้หนังของสัตว์ ตัวอย่างไขมันพืชที่กินได้ เช่น น้ำมันถั่วลิสง เต้าเจี้ยว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และเนยโกโก้ สำหรับเนยขาวซึ่งถูกใช้ในการอบขนมปังและเนยเทียมเป็นหลัก หรือใช้ทาขนมปัง สามารถดัดแปลงจากไขมันข้างต้นได้โดยปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน ไขมันจำแนกได้เป็นไขมันอิ่มตัวกับไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวยังสามารถจำแนกต่อได้อีกเป็นไขมันซิส ซึ่งพบทั่วไปในธรรมชาติ และไขมันทรานส์ ซึ่งพบได้ยากในธรรมชาติ แต่พบในน้ำมันพืชที่ได้ทำไฮโดรจิเนชันไปแล้วบางส่วน.
เจลาติน
ลาติน (gelatin) มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า gélatine เป็นของแข็งโปร่งแสง ไม่มีสี เปราะ และแทบไม่มีรสชาติ ได้มาจากการแปรรูปคอลลาเจน (collagen) ที่มีอยู่ในผิวหนัง กระดูก รวมทั้งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของสัตว์ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่นิยมนำมาทำการผลิต เจลาตินจัดอยู่ในกลุ่มอาหาร มี E number คือ E441 มีการนำเจลาตินมาใช้ในการเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น เครื่องสำอาง ยา อาหาร และฟิล์มถ่ายรูป โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมอาหารซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเจลาตินโดยเจลาตินส่วนนี้เรียกว่า edible gelatin ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารชนิดต่างๆ เช่น ขนมหวาน ไอศครีม โยเกิร์ต เป็นต้น ตลาดที่ใหญ่รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตยาโดยใช้เจลาตินในการเคลือบเม็ดยาและผลิตเป็นแคปซูล ทั้งชนิดแคปซูลแข็งและแคปซูลนิ่ม เจลาตินเป็นโปรตีนที่ได้การไฮโดรไลซ์คอลลาเจนด้วยความร้อนหรือใช้สารอื่นช่วย เช่น กรดหรือเบส ทำให้โครงสร้างคอลลาเจนถูกทำลายและเปลี่ยนแปลงเป็นสารเจลาติน ในการสลายพันธะในคอลลาเจน ส่วนประกอบหลักที่พบในเจลาตินเป็นสายเกลียวของ α β และ γ วัตถุดิบในการสกัดเจลาตินคือกระดูก เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และลำไส้บางส่วนของสัตว์เช่น โคกระบือ สุกร และม้า เป็นต้น พันธะระหว่างโมเลกุลของคอลลาเจนถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่จัดเรียงตัวได้ง่ายขึ้น เจลาตินหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อนและแข็งตัวกลับเมื่อได้รับความเย็น เจลาตินสามารถก่อเจลแบบกึ่งของแข็งร่วมกับน้ำ เมื่อละลายเจลาตินในน้ำจะได้สารละลายที่มีความหนืดสูงและก่อเจลเมื่อทำให้เย็น องค์ประกอบทางเคมีของเจลาตินแทบจะเหมือนคอลลาเจนเริ่มต้น เจลาตินเป็นสารประเภท Heterogenous polypeptide ที่ผสมกันระหว่าง α-Chain (one chain) β-Chain (two α-Chain covalent crosslink) และ γ-chain (three α-Chain covalent crooslink)ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน 50.5% ออกซิเจน 25.2% ไนโตรเจน 17% ไฮโดรเจน 6.8% ซึ่งเกิดจากการสูญเสียสภาพตามธรรมชาติหรือสกัดจากคอลลาเจนที่สามารถหาได้จาก กระดูก หนังสัตว์เช่น หมู วัว ปลา โดยการใช้กรดและความร้อนเพื่อทำให้คอลลาเจนเสียสภาพและมีโมเลกุลเล็กลงจนกลายเป็นเจลาติน ดังนั้นโครงสร้างของเจลาตินจึงมีความคล้ายกับคอลลาเจน หรือกล่าวคือเป็นโมโนเมอร์ของคอลลาเจน (Collagen monomer) เรียกว่าโทรโปคอลลาเจน (Tropocollagen) เกิดจากพันธะโพลีเปปไทด์ 3 สายพันกันเป็นเกลียว (Triple helix) ที่มีหมู่อะมิโนจำนวนมาก.
ดูเพิ่มเติม
นมเปรี้ยว
- นมเปรี้ยว
- โฟรซเซนโยเกิร์ต
- โยเกิร์ตกรอง
ไอศกรีม
- คุลฟี
- ซอฟต์เสิร์ฟ
- เจลาโต
- โฟรซเซนโยเกิร์ต
- ไอศกรีม
หรือที่รู้จักกันในชื่อ โฟรโยโฟรโย่