โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โทโซะ

ดัชนี โทโซะ

) 3 ใบ โทโซะ (屠蘇 Toso) หรือ โอโตโซะ (お屠蘇 O-toso) เป็นชุดสาเกแบบพิเศษที่ผสมสมุนไพรและเครื่องเทศลงไป ซึ่งชาวญี่ปุ่นจะนำมาดื่มกันในเทศกาลปีใหม่ของญี่ปุ่น ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ชาวญี่ปุ่นจะดื่มโทโซะจนเมา ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยล้างโรคภัยไข้เจ็บของปีก่อนหน้าให้ออกไป และปรารถนาชีวิตที่ยืนยาว ในผู้สูงวัยนั้นมีคำกล่าวที่ว่า "หากใครดื่มสิ่งนี้แล้วครอบครัวของเขาจะไม่ล้มป่วย" และโทโซะนี้เองก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของโอเซจิ อาหารสำหรับปีใหม่ของชาวญี่ปุ่น โทโซะได้จากการรวบรวมสมุนไพรหลากหลายอย่างมารวมกัน เรียกว่า โทโซซัง (屠蘇散 Tososan) มีรสเผ็ดเล็กน้อย หลังจากนั้นก็จะนำไปแช่ในสาเกหรือมิริง หากแช่ในมิริงนั้น มิริงจะมีรสหวาน เหมาะสำหรับการดื่ม ถ้วยเคลือบ 3 ใบตามภาพนั้นเรียกว่า ซากาซูกิ (盃) เริ่มต้นด้วยขนาดเล็กสุดไปจนใหญ่สุด สำหรับนำมาใช้กับสมาชิกในครอบครัวหรือแขก การจิบนั้นจะจิบทีละเล็กน้อย ซึ่งวิธีการจิบจะแตกต่างกันไปตามภูมิภาค แต่โดยพิธีการที่เป็นทางการแล้ว จะให้คนอายุน้อยที่สุดจิบก่อนไปจนถึงคนที่อายุมากที่สุด ในปัจจุบันจะพบโอโตโซะส่วนมากได้เฉพาะภูมิภาคคันไซและภาคตะวันตกของญี่ปุ่นเท่านั้น การฉลองในภูมิภาคอื่น ๆ อาจจะจะพบโอโตโซะได้แต่ไม่มีโทโซซัง.

8 ความสัมพันธ์: ชาวญี่ปุ่นมิริงสมุนไพรสาเก (สุรา)คันไซตรุษญี่ปุ่นโอเซจิเครื่องเทศ

ชาวญี่ปุ่น

วญี่ปุ่น มีประมาณ 140-150 ล้านคนทั่วโลก เป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บนเกาะญี่ปุ่น"人類学的にはモンゴロイドの一。皮膚は黄色、虹彩は黒褐色、毛髪は黒色で直毛。言語は日本語。" และที่ต่างๆทั่วโลก เช่น ฮาวาย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ภาษาที่ใช้คือภาษาญี่ปุ่น ศาสนาที่สำคัญคือศาสนาพุทธ และลัทธิชินโต กลุ่มชาวญี่ปุ่นในปัจจุบัน ประกอบขึ้นด้วยกลุ่มบุคคลในอดีตได้แก่ชาวยามาโตะและชาวรีวกีว.

ใหม่!!: โทโซะและชาวญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

มิริง

มใส่มิริง มิริง เป็นเครื่องปรุงอาหารที่จำเป็นในการประกอบอาหารของญี่ปุ่น ประกอบด้วยน้ำตาล 40-50% เป็นประเภทไวน์ข้าวคล้ายกับสาเก แต่จะลดปริมาณแอลกอฮอล์ลงจากราว 20% เหลือเพียง 14% โดยมิริงนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.

ใหม่!!: โทโซะและมิริง · ดูเพิ่มเติม »

สมุนไพร

ต้นหอม สมุนไพรที่ใช้ในการปรุงอาหาร สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ" หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: โทโซะและสมุนไพร · ดูเพิ่มเติม »

สาเก (สุรา)

ก สาเก เป็นคำเรียกของคำว่า "สุรา" ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสามารถหมายถึงเหล้าได้หลายชนิด โดยทั่วไป สาเกจะหมายถึงเหล้าที่ทำมาจากข้าว ในขณะที่บางท้องที่จะหมายถึงเหล้าที่กลั่นจากมันสำปะหลังหรืออ้อย หรือในบางครั้งจะหมายถึงโชจูหรือที่รู้จักในชื่อ "วอดกาญี่ปุ่น" ต้นกำเนิดของสาเกมีกล่าวไว้หลายทฤษฎี ได้แก่ นำเข้าจากจากประเทศจีนสู่ประเทศญี่ปุ่น หรืออีกทฤษฎีว่ามีต้นกำเนิดในญี่ปุ่นเอง คำว่า สาเก ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษมักจะเรียกผิดเป็น "สากี".

ใหม่!!: โทโซะและสาเก (สุรา) · ดูเพิ่มเติม »

คันไซ

ันไซ หรือเรียก คิงกิ (近畿) เป็นเขตแดนทางภูมิศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นบนเกาะฮนชู โดยเขตคันไซประกอบไปด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ เฮียวโงะ เคียวโตะ โอซะกะ ชิงะ นะระ วะกะยะมะ และมิเอะ คันไซมีขนาดประมาณ 27,335.11 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 22,757,897 คน (พ.ศ. 2553) อัตราความหนาแน่น 755.39 คน/ตารางกิโลเมตร ภูมิภาคคินคิ หรือที่คนส่วนใหญ่จะเรียกกันในนามของภูมิภาคคันไซ หรือภาคกลางตอนใต้ของญี่ปุ่น ภูมิภาคคันไซแห่งนี้เป็นอีกภูมิภาคที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น นอกเหนือจากภูมิภาคคันโตซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงโตเกียวเมืองหลวง ภูมิภาคคันไซนับเป็นภูมิภาคที่ความเจริญมาช้านานเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของญี่ปุ่นในยุคแรก ๆ ประวัติศาสตร์คือ เมืองนะระและเมืองเคียวโตะ เมืองหลวงทั้งสองแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการบริหารประเทศญี่ปุ่นมานับพันปี มีพระราชวังที่ประทับองค์จักรพรรดิหรือพระราชวังอิมพีเรียล ณ เมืองเคียวโตะ ก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่กรุงโตเกียว นอกจากจะเป็นศูนย์กลางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นแล้ว ภูมิภาคแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของเมืองอุตสาหกรรมหลายแห่ง ได้แก่ นครโอซะกะ ศูนย์กลางการค้าและอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศเป็นเมืองใหญ่อันดับสามรองจากกรุงโตเกียวและโยะโกะฮะมะ เมืองเคียวโตะและนารา เมืองหลวงเก่าที่ยังคงอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญและงดงามเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงเมืองโคเบะซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น.

ใหม่!!: โทโซะและคันไซ · ดูเพิ่มเติม »

ตรุษญี่ปุ่น

มะสึ ตรุษญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในเทศกาลประจำปีที่สำคัญที่สุด ด้วยประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ และมีการเฉลิมฉลองมาหลายศตวรรษแล้ว เนื่องจากความสำคัญของวันหยุดและการเตรียมการที่ต้องมี วันก่อนหน้าตรุษญี่ปุ่นจึงค่อนข้างยุ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันก่อนวันตรุษ ซึ่งรู้จักกันว่า โอมิโซกะ ตรุษญี่ปุ่นมีการเฉลิมฉลองตั้งแต..

ใหม่!!: โทโซะและตรุษญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

โอเซจิ

อเซจิ (御節/ お節) หรือ โอเซจิเรียวริ (御節料理/ お節料理) (เรียวริ แปลว่า การทำอาหาร) เป็นสำรับอาหารสำหรับเทศกาลปีใหม่ในญี่ปุ่น เป็นขนบประเพณีที่มีมาตั้งแต่ยุคเฮอัง โอเซจิ นั้นจะถูกจัดเรียงอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยม 3-4 กล่องที่เรียกว่า จูบาโกะ (重箱) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกล่องเบ็นโต จูบาโกะจะถูกซ้อนเก็บไว้ทั้งก่อนการใช้งานและหลังใช้งาน โอเซจินั้นมักรับประทานร่วมกับโทโซะ ชาวญี่ปุ่นจะรับประทานโอเซจิเรียวริกันในช่วงเวลา 3 วันหลังวันขึ้นปีใหม่ (1 มกราคม) ซึ่งนิยมรับประทานโอเซจิเรียวริเป็นมื้อแรกของปีพร้อมกับครอบครัว.

ใหม่!!: โทโซะและโอเซจิ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องเทศ

รื่องเทศนานาชนิด เครื่องเทศ หมายถึง ส่วนต่างๆ ของพืชเช่น เมล็ด เปลือกเมล็ด ผล ผิวนอกของผล ใบ ราก ลำต้น ฯลฯ ที่ทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหาร เพื่อให้ได้รสชาติ สีสัน กลิ่น หรือคุณสมบัติอื่นๆ ที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้เราจึงมีเครื่องเทศเป็นจำนวนมาก เช่น กระวาน กานพลู จันทน์เทศ ดีปลี ยี่หร่า หญ้าฝรั่น มะกรูด พริก พริกไทย อบเชย แม้กระทั่ง งา เครื่องเทศมีปรากฏในหลายวัฒนธรรมมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เครื่องเทศของไทยแต่เดิมอาศัยพืชผักที่ปรากฏเฉพาะในท้องถิ่นของเรา แต่เมื่อได้ติดต่อกับต่างชาติ ทำให้เรารับเอาเครื่องเทศจากชาติอื่นมาใช้ด้วย ขึ้นชื่อว่าเครื่องเทศมีอยู่ 1 ชนิดที่ถูกกล่าวขานกันว่าเป็นราชาของเครื่องเทศนั้นก็คือพริกไทยมีรสชาติเผ็ดร้อนนิยมใช้กันเป็นเครื่องปรุงและเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารชนิดต่างๆ อย่างไรก็ตามในชาติตะวันตก ถือว่าเครื่องเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหาร จึงมีการเดินทางเสาะหาเครื่องเทศจากทั่วโลก ทำให้เกิดการค้าเครื่องเทศขึ้นอย่างจริงจัง และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเดินทางสำรวจโลกของชาติตะวันตก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิด "เส้นทางสายเครื่องเทศ" ขึ้นอีกด้ว.

ใหม่!!: โทโซะและเครื่องเทศ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tosoโทะโซะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »