สารบัญ
3 ความสัมพันธ์: กุ้งสายใยอาหารอันตรกิริยาชีวภาพ
- นิเวศวิทยาระบบ
กุ้ง
กุ้ง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในซอกมืด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช ส่วนประกอบของเปลือกกุ้งส่วนใหญ่เป็นไคติน รองลงมาก็เป็นจำพวกแร่ธาตุ โปรตีน ส่วนของไขมัน เป็นต้น.
สายใยอาหาร
สายใยอาหารน้ำจืดและบนบก สายใยอาหาร หรือวัฏจักรอาหาร บรรยายความสัมพันธ์แบบการกินกันในชุมชนนิเวศวิทยา นักนิเวศวิทยาสามารถรวบรวมรูปแบบชีวิตทุกชนิดอย่างกว้างขวางเป็นหนึ่งในสองหมวดหมู่ที่เรียกว่า ระดับหรือลำดับขั้นการกินอาหาร ได้แก่) ออโตทรอพ และ 2) เฮเทโรทรอพ ในการบำรุงเลี้ยงร่างกาย การเจริญเติบโต การพัฒนา และเพื่อสืบพันธุ์ของพวกออโตทรอพผลิตอินทรีย์สารจากอนินทรีย์สาร รวมถึงทั้งแร่ธาตุและแก๊ส เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ปฏิกิริยาเคมีเหล่านี้ต้องอาศัยพลังงาน ซึ่งมาจากดวงอาทิตย์เป็นหลักและส่วนใหญ่โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง แม้ปริมาณน้อยมากมาจากปล่องไฮโดรเทอร์มอลและน้ำพุร้อน มีการไล่ระหว่างระดับการกินอาหารตั้งแต่ออโตทรอพสมบูรณ์ซึ่งมีแหล่งคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศเพียงแหล่งเดียว ไปจนถึงมิกโซทรอพ (เช่น พืชกินสัตว์) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตออโตทรอพที่ได้รับอินทรีย์สารบางส่วนจากแหล่งอื่นนอกเหนือจากบรรยากาศ และเฮเทโรทรอพสมบูรณ์ซึ่งได้รับอินทรีย์สารโดยการกินออโตทรอพและเฮเทโรทรอพอื่น สายใยอาหารเป็นการแสดงหลากหลายวิธีการกินอย่างง่าย ซึ่งเชื่อมโยงระบบนิเวศเข้าด้วยกันเป็นระบบการแลกเปลี่ยนรวม มีความสัมพันธ์การกินกันหลายประเภทซึ่งสามารถแบ่งได้อย่างหยาบ ๆ เป็นการกินพืช กินสัตว์ กินซาก และภาวะปรสิต อินทรีย์สารบางอย่างที่กินโดยเฮเทโรทรอพ เช่น น้ำตาล ให้พลังงาน ออโตทรอพและเฮเทโรทรอพมีทุกขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นไปจนถึงหนักหลายตัน จากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินไปจนถึงต้นไม้ยักษ์ และจากไวรัสไปจนถึงวาฬสีน้ำเงิน ชาลส์ เอลตันบุกเบิกแนวคิดของสายใยอาหาร ห่วงโซ่อาหาร และขนาดอาหารในหนังสือคลาสสิก "นิเวศวิทยาสัตว์" ใน ค.ศ.
อันตรกิริยาชีวภาพ
อันตรกิริยาชีวภาพ (biological interaction) เป็นผลของสิ่งมีชีวิตในกลุ่มประชากร (community) ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอีกตัวหนึ่ง ในโลกธรรมชาติ ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดอยู่โดดเดี่ยวอย่างสมบูรณ์ ฉะนั้นสิ่งมีชีวิตทุกตัวจึงต้องมีอันตรกิริยากับสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตอื่น อันตรกิริยาของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเป็นรากฐานของการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตนั้นและการทำหน้าที่ของระบบนิเวศทั้งหมด ในนิเวศวิทยา อันตรกิริยาชีวภาพสามารถเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกัน (อันตรกิริยาภายในชนิดเดียวกัน) หรือสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์ก็ได้ (อันตรกิริยาระหว่างชนิด) สามารถจำแนกออกได้อีกเป็นกลไกของอันตรกิริยา หรือความเข้ม ระยะเวลาและทิศทางของผลลัพธ์ สปีชีส์อาจมีอันตรกิริยาครั้งหนึ่งในรุ่น (เช่น การถ่ายเรณู) หรืออาศัยอย่างสมบูรณ์ในสิ่งมีชีวิตอื่น (เช่น สมชีพภายใน) ผลลัพธ์มีตั้งแต่การบริโภคสิ่งมีชีวิตอื่น (การล่าเหยื่อ การกินพืชหรือการกินคน) ไปจนถึงการได้ประโยชน์ร่วมกัน (ภาวะพึ่งพากัน) อันตรกิริยาไม่จำเป็นต้องเป็นโดยตรง สิ่งมีชีวิตปัจเจกอาจมีผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่นผ่านตัวกลางอย่างทรัพยากรหรือศัตรูร่วมก็ได้.
ดู โซ่อาหารและอันตรกิริยาชีวภาพ
ดูเพิ่มเติม
นิเวศวิทยาระบบ
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Food chainห่วงโซ่อาหาร