โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โซเดียมไซคลาเมต

ดัชนี โซเดียมไซคลาเมต

ซเดียมไซคลาเมต (sodium cyclamate) หรือ ไซคลาเมต เป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีสูตรเคมีคือ C6H12NNaO3S มีเลขอีคือ E952 ไซคลาเมตเป็นเกลือโซเดียมหรือเกลือแคลเซียมของกรดไซคลามิกที่เตรียมได้จากปฏิกิริยาซัลเฟชันของไซโคลเฮกซิลเอมีน หรือให้ไซโคลเฮกซิลเอมีนทำปฏิกิริยากับกรดซัลเฟมิกหรือซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ โซเดียมไซคลาเมตมีความหวานกว่าซูโครส (น้ำตาลทราย) 30-50 เท่า ถูกค้นพบในปี..

15 ความสัมพันธ์: กระเพาะปัสสาวะกรดซัลเฟมิกกรดไซคลามิกมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์มะเร็งยาปฏิชีวนะวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลสูตรเคมีซูโครสแอบบอตต์แคลเซียมโรคซึมเศร้าโซเดียมเกลือ (เคมี)เลขอี

กระเพาะปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) เป็นอวัยวะซึ่งเก็บปัสสาวะที่ไตขับถ่ายออกมาก่อนกำจัดออกจากร่างกายโดยการถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยะยืดหยุ่นและเป็นกล้ามเนื้อแอ่ง อยู่ ณ ฐานเชิงกราน ปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะทางท่อไตและออกทางท่อปัสสาวะ ปริมาตรของกระเพาะปัสสาวะระบุไว้ระหว่าง 500 ถึง 1000 มิลลิลิตร เป็นอวัยวะที่อยู่ในช่องอุ้งเชิงกรานด้านหลังกระดูกหัวหน่าว มีลักษณะเป็นถุงกลวงยืดหยุ่นได้ ผนังของกระเพาะปัสสาวะมีกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น ที่คอของกระเพาะจะมีกล้ามเนื้อหูรูดทวารเบามัดใน (internal sphincter muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อลายอยู่ด้วย กระเพาะปัสสาวะจะทำหน้าที่เป็นที่เก็บสะสมน้ำปัสสาวะ จนกระทั่งมีน้ำปัสสาวะเกิน 250 มิลลิลิตร ก็จะรู้สึกปวด อยากถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะหดตัว ขับน้ำปัสสาวะออกมา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม การถ่ายปัสสาวะจะต้องประกอบไปด้ว.

ใหม่!!: โซเดียมไซคลาเมตและกระเพาะปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

กรดซัลเฟมิก

กรดซัลเฟมิก (Sulfamic acid) มักจะเรียกว่า 'กรดอะมิโดซัลโฟนิก,กรดอะมิโดซัลเฟอร์ริก, กรดอะมิโนซัลโฟนิก, และ กรดซัลเฟมิดิกเป็นสารประกอบโมเลกุลที่มีสูตร H3NSO3 ไม่มีสีละลายน้ำได้สารนี้พบว่าการใช้งานมาก กรดซัลเฟมิก ละลายที่ 205 ° C ก่อนที่จะสลายตัวที่อุณหภูมิสูงไปยัง H2O, SO3, SO2, และ N2 กรดซัลเฟมิก (H3NSO3) อาจมีการพิจารณาสารประกอบตรงกลางระหว่างกรดซัลฟิวริก (H2SO4) และซัลฟามิต (H4N2SO2).

ใหม่!!: โซเดียมไซคลาเมตและกรดซัลเฟมิก · ดูเพิ่มเติม »

กรดไซคลามิก

กรดไซคลามิก (cyclamic acid) หรือ กรดไซโคลเฮกซิลซัลเฟมิก (cyclohexylsulfamic acid) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีคือ C6H13NO3S มีเลขอีคือ E952 ลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการผลิตสีและพลาสติก รวมถึงเป็นตัวทำปฏิกิริยาในห้องปฏิบัติการ เกลือโซเดียมหรือเกลือแคลเซียมของกรดไซคลามิกใช้เป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลที่เรียกว่า "ไซคลาเมต".

ใหม่!!: โซเดียมไซคลาเมตและกรดไซคลามิก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์

อัลมามาเทอร์ สัญลักษณ์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ (University of Illinois at Urbana-Champaign, ตัวย่อ: UIUC) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ นิเทศศาสตร์ การเกษตร การบัญชี และ ครุศาสตร์ ตามการจัดอันดับของ ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต มหาวิทยาลัยประกอบไปด้วย 18 คณะ และมีภาควิชามากกว่า 150 ภาควิชา มีนักศึกษากว่า 40,000 คน มหาวิทยาลัยตั้งอยู่คร่อมเมืองสองเมือง คือเมืองเออร์แบนาและเมืองแชมเปญจน์ ในรัฐอิลลินอยส์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของชิคาโก ห่างประมาณ 200 กม.

ใหม่!!: โซเดียมไซคลาเมตและมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: โซเดียมไซคลาเมตและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: โซเดียมไซคลาเมตและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล

วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล หรือเรียกโดยย่อว่า น้ำตาลเทียม เป็นกลุ่มของวัตถุหรือสารที่มีรสหวานสามารถใช้ปรุงอาหารแทนน้ำตาลได้ ในทางวิชาการ วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหารกลุ่มหนึ่ง ที่มีสมาชิกอยู่หลายตัว เช่น แอสปาร์แตม แซกคารีน หญ้าหวาน.

ใหม่!!: โซเดียมไซคลาเมตและวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

สูตรเคมี

ูตรเคมี (chemical formula) เป็นวิธีรวบรัดที่ใช้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับอะตอมที่อยู่ในสารประกอบเคมีนั้นๆ สูตรเคมีจะแสดงเอกลักษณ์ของธาตุเคมีต่างๆ โดยใช้สัญลักษณ์ธาตุ และจำนวนอะตอมของธาตุนั้นๆที่มีอยู่ในหนึ่งโมเลกุลของสารประกอบ จำนวนอะตอมถ้ามีมากกว่าหนึ่งจะแสดงเป็นตัวห้อย (subscript) คือส่วนล่างของบรรทัด ที่อยู่ด้านหลังสัญลักษณ์ธาตุ สำหรับสารประกอบที่ไม่เป็นโมเลกุล ตัวห้อยจะแสดงเป็นอัตราส่วนของธาตุในสูตรเอมพิริคัล (empirical formula) สูตรเคมีที่ใช้สำหรับสารประกอบที่เป็นกลุ่มซีรีส์ซึ่งมีความแตกต่างกันที่ค่าคงที่ค่าหนึ่ง เราเรียกว่า สูตรทั่วไป และกลุ่มซีรี่เราเรียกว่า โฮโมโลกัส ซีรีส์ (homologous series) และสมาชิกในกลุ่มเราเรียกว่า โฮโมลอกส์ (homologs).

ใหม่!!: โซเดียมไซคลาเมตและสูตรเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ซูโครส

ซูโครส (Sucrose) เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง มีชื่อสามัญว่า น้ำตาลทราย (table sugar) ซูโครส 1 โมเลกุลประกอบด้วยมอโนแซ็กคาไรด์ 2 โมเลกุลได้แก่กลูโคสและฟรุคโต.

ใหม่!!: โซเดียมไซคลาเมตและซูโครส · ดูเพิ่มเติม »

แอบบอตต์

แอบบอตต์ แลบอราตอรี่ (Abbott Laboratories) เป็นบริษัทยาและเวชภัณฑ์ของสหรัฐอเมริกา กระจายอยู่ทั่วโลกใน 130 ประเทศ สำนักงานใหญ่ของบริษัทอยู่ที่ แอบบอตต์ ปาร์ก รัฐอิลินอยส์และศูนย์การผลิตตั้งอยู่ที่เมืองชิคาโก.

ใหม่!!: โซเดียมไซคลาเมตและแอบบอตต์ · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียม

แคลเซียม (Calcium) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Ca มีเลขอะตอมเป็น 20 แคลเซียมเป็นธาตุโลหะหนักประเภทอะคาไลที่มีสีเทาอ่อน มันถูกใช้เป็นสารรีดิวซิ่งเอเยนต์ในการสกัดธาตุ ทอเรียมเซอร์โคเนียม และยูเรเนียม แคลเซียมอยู่ในกลุ่ม 50 ธาตุที่มีมากที่สุดบนเปลือกโลก มันมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในระบบสรีระวิทยาของเซลล์และการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ แคลเซียมมีพื้นดินเป็นแหล่งรองรับจะถูกพืชดูดไปใช้เป็นประโยชน์และสัตว์กินพืชก็ได้รับสารประกอบแคลเซียมเข้าไปด้วย เมื่อสีตว์และพืชตาย แคลเซียมก็จะกลับลงสู่ดินอีก.

ใหม่!!: โซเดียมไซคลาเมตและแคลเซียม · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: โซเดียมไซคลาเมตและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียม

ซเดียม (Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาละติน) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน และอยู่ในกลุ่มโลหะแอลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะแฮไลต์) โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง ออกซิไดส์ในอากาศและทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำมากจนเกิดเปลวไฟได้ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมัน.

ใหม่!!: โซเดียมไซคลาเมตและโซเดียม · ดูเพิ่มเติม »

เกลือ (เคมี)

ผลึกเกลือ เมื่อส่องขยาย (เฮไลต์/เกลือแกง) ในทางเคมี เกลือ เป็นสารประกอบไอออนิก ประกอบด้วยแคตไอออนและแอนไอออน ทำให้ผลผลิตที่ได้เป็นกลาง (ประจุสุทธิเป็นศูนย์) ไอออนเหล่านี้อาจเป็นอนินทรีย์ (Cl−) กับอินทรีย์ (CH3COO−) หรือไอออนอะตอมเดี่ยว (F−) กับไอออนหลายอะตอม (SO42−) ก็ได้ เกลือจะเกิดขึ้นได้เมื่อกรดและเบสทำปฏิกิริยากัน.

ใหม่!!: โซเดียมไซคลาเมตและเกลือ (เคมี) · ดูเพิ่มเติม »

เลขอี

รละลายไรโบเฟลวิน (วิตามินบี2) (E101) ผลึกโมโนโซเดียมกลูตาเมต (E621) เลขอี (E number; E มาจากคำว่า "ยุโรป") เป็นรหัสที่ใช้บ่งชี้วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้ในสหภาพยุโรป และสวิตเซอร์แลนด์ โดยวัตถุเจือปนอาหารเหล่านี้ต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA).

ใหม่!!: โซเดียมไซคลาเมตและเลขอี · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »