โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โจรกรรม

ดัชนี โจรกรรม

รกรรม (ศัพท์ทางศาสนาเรียกว่า ไถยกรรม) หมายถึงการกระทำที่นำเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยเจตนา เพื่อยึดทรัพย์สินนั้นมาเป็นของตน ซึ่งเจ้าของทรัพย์สินไม่ได้อนุญาตหรือยินยอม คำนี้สามารถเรียกแทนอาชญากรรมบางประเภทที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินอาทิ การลักทรัพย์ (ขโมย) การลักทรัพย์ในเคหสถาน (ย่องเบา/ยกเค้า) การลักทรัพย์ในร้านค้า การยักยอก การชิงทรัพย์ (ปล้น) การฉกชิงทรัพย์ (ปล้นสะดม) และการฉ้อโกง ในบางเขตอำนาจศาล "โจรกรรม" (theft) มีความหมายเหมือนกับ "การลักทรัพย์" (larceny) โจร หมายถึงผู้ที่กระทำโจรกรรมดังกล่าว ภาษาพูดอาจเรียกว่า ผู้ร้าย โบราณเรียก ฎางการ ก็มี ราชบัณฑิตยสถาน.

18 ความสัมพันธ์: พระครูสุนทรธรรมวิมล (ทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร)กฎหมายตราสามดวงการฉกชิงทรัพย์มนัส โอภากุลสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอาชญากรรมจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดตรังทรัพย์สินคาบสมุทรมลายูโจรกรรมโจรสลัดเสือฝ้ายเสือมเหศวรเสือใบเจตนา

พระครูสุนทรธรรมวิมล (ทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร)

ระครูสุนทรธรรมวิมล นามเดิม ทวีศักดิ์ ฉายา ชุตินฺธโร เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม..

ใหม่!!: โจรกรรมและพระครูสุนทรธรรมวิมล (ทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร) · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายตราสามดวง

กฎหมายตราสามดวง ตราประจำตำแหน่ง 3 ดวงที่ประทับในกฎหมายตราสามดวง กฎหมายตราสามดวง คือ ประมวลกฎหมายในรัชกาลที่ 1 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายเก่าที่มีมาแต่ครั้งโบราณ แล้วรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายขึ้นเมื่อจุลศักราช 1166 ตรงกับ พ.ศ. 2347 โปรดให้เรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” ให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกสามชุด แต่ละชุดประทับตรา 3 ดวง คือ ตราพระราชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหนายก) 1 ตราพระคชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม) 1 และตราบัวแก้ว (สำหรับตำแหน่งโกษาธิบดี หมายถึงพระคลัง ซึ่งดูแลรวมทั้งกิจการด้านต่างประเทศ) ไว้ทุกเล่มเก็บไว้ ณ ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง และศาลหลวงอีกชุดหนึ่ง กฎหมายตราสามดวงนี้ ได้ใช้อาลักษณ์หลายท่านเขียนขึ้น โดยแยกเป็น “ฉบับหลวง” และ “ฉบับรองทรง” โดยสันนิษฐานว่า สำหรับฉบับหลวง ชุดหนึ่งเป็นสมุดไทย 41 เล่ม เมื่อรวม 3 ชุด จึงมีทั้งสิ้น 123 เล่ม แต่เท่าที่พบ ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 79 เล่ม โดยเก็บไว้ที่กระทรวงยุติธรรม 37 เล่ม และที่หอสมุดแห่งชาติ 41 เล่ม ส่วนอีก 44 เล่ม ไม่ทราบว่าขาดหายไปด้วยประการใด ส่วน ฉบับรองทรง นั้น ก็คือ กฎหมายตราสามดวงที่อาลักษณ์ชุดเดียวกับที่เขียนฉบับหลวง ได้เขียนขึ้น โดยเขียนในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยฉบับหลวง เขียนในปีฉลู..1167 (พ.ศ. 2348) ส่วนฉบับรองทรงเขียนขึ้นในปี..

ใหม่!!: โจรกรรมและกฎหมายตราสามดวง · ดูเพิ่มเติม »

การฉกชิงทรัพย์

การฉกชิงทรัพย์ เป็นการยึดสินค้าแบบไม่เลือกด้วยกำลังโดยเป็นส่วนหนึ่งของชัยชนะทางทหารหรือการเมือง หรือระหว่างมหันตภัย เช่น สงคราม ภัยพิบัติธรรมชาติ หรือการจลาจล การฉกชิงทรัพย์นี้ต่างจากการรวบรวมขยะ (scavenging) ในแง่สิ่งที่ยึดไป การรวบรวมขยะส่อความว่าเป็นการยึดสิ่งของสำคัญ เช่น อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัยหรือวัสดุอื่นที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ขณะที่การฉกชิงทรัพย์ส่อความถึงของฟุ่มเฟือยหรือไม่จำเป็นต่อการดำรงชีพ เช่น งานศิลปะ โลหะมีค่าหรือสิ่งมีค่าอื่น ๆ หมวดหมู่:ศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: โจรกรรมและการฉกชิงทรัพย์ · ดูเพิ่มเติม »

มนัส โอภากุล

นายมนัส โอภากุล (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 - 4 มกราคม พ.ศ. 2554) หรือชื่อที่ชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เรียกติดปากว่า "อาจารย์มนัส" เป็นนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจังหวัดสุพรรณบุรี.

ใหม่!!: โจรกรรมและมนัส โอภากุล · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: โจรกรรมและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: โจรกรรมและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อาชญากรรม

อาชญากรรม คือ การกระทำผิด โดยทำให้เกิดความเดือดร้อน เสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน หรือ บุคคล เป็นการเรียกการกระทำทางคดีอาญาแบบทั่วไป ตัวอย่าง อาชญากรรม เช่น การฆ่าคนตาย ปล้นทรัพย์ ข่มขืน ซึ่งกฎหมายโดยทั่วไปของทุกสังคมมักกำหนดบทลงโทษของผู้ก่ออาชญากรรม (เรียกว่า อาชญากร).

ใหม่!!: โจรกรรมและอาชญากรรม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุพรรณบุรี

รรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี.

ใหม่!!: โจรกรรมและจังหวัดสุพรรณบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอำนาจเจริญ

อำนาจเจริญ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานจากการค้นพบแหล่งชุมชนโบราณ โบราณสถาน และโบราณวัตถุตามที่กรมศิลปากรค้นพบและสันนิษฐานไว้ตามหลักฐานทางโบราณคดี (ใบเสมาอายุราว 1,000 ปี) และได้ตั้งเป็นเมืองมานานหลายร้อยปี ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พร้อมกับจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดสระแก้ว เดิมเป็นอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยอำเภออำนาจเจริญ (ปัจจุบันคืออำเภอเมืองอำนาจเจริญ) อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอหัวตะพาน อำเภอเสนางคนิคม และกิ่งอำเภอลืออำนาจ (ปัจจุบันคืออำเภอลืออำนาจ) คำว่าอำนาจเจริญเป็นภาษาเขมร มีความหมายตามตัว คือ อำนาจเจริญ เมืองที่มีสมญานามว่า เมืองข้าวหอมโอชา ถิ่นเสมาพันปี.

ใหม่!!: โจรกรรมและจังหวัดอำนาจเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตรัง

ตรัง เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ตรังหรือเมืองทับเที่ยงเป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้.

ใหม่!!: โจรกรรมและจังหวัดตรัง · ดูเพิ่มเติม »

ทรัพย์สิน

ทรัพย์ (thing) หมายถึง วัตถุมีรูปร่าง ซึ่งได้แก่สิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา สัมผัสได้ด้วยมือ อาทิ โต๊ะ ตู้ ตั่ง เตียง ช้าง มา วัว ควาย เป็นคำมาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า "ทฺรวฺย"ราชบัณฑิตยสถาน, 2551: ออนไลน.

ใหม่!!: โจรกรรมและทรัพย์สิน · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรมลายู

มุทรมลายู คาบสมุทรมลายู หรือ แหลมมลายู (Semenanjung Tanah Melayu; Malay Peninsula) เป็นคาบสมุทรขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางตัวเกือบอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ และเป็นจุดที่อยู่ใต้สุดของทวีปเอเชีย ส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายู คือ คอคอดกระ ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้แยกออกจากเกาะสุมาตราด้วยช่องแคบมะละกา มีเกาะบอร์เนียวอยู่ทางตะวันออกในทะเลจีนใต้.

ใหม่!!: โจรกรรมและคาบสมุทรมลายู · ดูเพิ่มเติม »

โจรกรรม

รกรรม (ศัพท์ทางศาสนาเรียกว่า ไถยกรรม) หมายถึงการกระทำที่นำเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยเจตนา เพื่อยึดทรัพย์สินนั้นมาเป็นของตน ซึ่งเจ้าของทรัพย์สินไม่ได้อนุญาตหรือยินยอม คำนี้สามารถเรียกแทนอาชญากรรมบางประเภทที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินอาทิ การลักทรัพย์ (ขโมย) การลักทรัพย์ในเคหสถาน (ย่องเบา/ยกเค้า) การลักทรัพย์ในร้านค้า การยักยอก การชิงทรัพย์ (ปล้น) การฉกชิงทรัพย์ (ปล้นสะดม) และการฉ้อโกง ในบางเขตอำนาจศาล "โจรกรรม" (theft) มีความหมายเหมือนกับ "การลักทรัพย์" (larceny) โจร หมายถึงผู้ที่กระทำโจรกรรมดังกล่าว ภาษาพูดอาจเรียกว่า ผู้ร้าย โบราณเรียก ฎางการ ก็มี ราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: โจรกรรมและโจรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

โจรสลัด

รสลัด (Pirate, Buccaneer, Frigate) คือบุคคลที่ปล้นหรือโจรกรรมในทะเล หรือบางครั้งตามชายฝั่งหรือท่าเรือต่างๆ โจรสลัดในปัจจุบันจะแตกต่างกับโจรสลัดในอดีตที่มีลักษณะเฉพาะคือจะมีผ้าคาดหัว ใช้ดาบใบกว้างหรือปืนพกและเรือโจรสลัดขนาดใหญ่ ในปัจจุบันโจรสลัดนิยมใช้เรือเร็ว และใช้ปืนกลแทนที่ดาบ เป้าหมายส่วนใหญ่ที่โจรสลัดเลือกคือเรือสินค้าและเรือโดยสาร สำหรับรูปแบบที่ใช้ในการบุกเข้าปล้นมีทั้งชูธงหลอกล่อเป้าหมายว่าเป็นเรือสินค้าบ้าง เรือของกองทัพหรือของศาสนจักรบ้าง หรือแม้กระทั่งใช้กำลังบุกเข้าโจมตีโดยตรงเลยก็มี.

ใหม่!!: โจรกรรมและโจรสลัด · ดูเพิ่มเติม »

เสือฝ้าย

ือฝ้าย มีชื่อจริงว่า ฝ้าย เพ็ชนะ เป็นชาวอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจอมโจรชื่อดังในแถบภาคกลางหลังยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ร่วมสมัยกับ เสือดำ เสือใบ เสือหวัด และเสือมเหศวร ได้รับสมญาว่า "พ่อเสือ" บ้าง "จอมพลเสือฝ้าย" บ้าง "ครูฝ้าย" บ้าง.

ใหม่!!: โจรกรรมและเสือฝ้าย · ดูเพิ่มเติม »

เสือมเหศวร

ือมเหศวร มีชื่อจริงว่า ศวร เภรีวงษ์ เป็นจอมโจรชื่อดังในแถบภาคกลางหลังยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ร่วมสมัยกับเสือดำ, เสือหวัด, เสือฝ้าย และเสือใบ เสือมเหศวรเกิดเมื่อ..

ใหม่!!: โจรกรรมและเสือมเหศวร · ดูเพิ่มเติม »

เสือใบ

ือใบ (22 สิงหาคม พ.ศ. 2464 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558) มีชื่อจริงว่า ใบ สะอาดดี เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจอมโจรชื่อดังในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่โด่งดัง ร่วมสมัยกับ เสือดำ, เสือหวัด, เสือฝ้าย, เสือมเหศวร โดยเวลาออกปล้นจะแต่งชุดสีดำ สวมหมวกดำ และปล้นด้วยความสุภาพ จนได้รับฉายาว่า สุภาพบุรุษเสือใบ และในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยังได้เข้าร่วมกับขบวนการไทยถีบ ดักปล้นและถีบสินค้าหรืออาวุธของทางทหารญี่ปุ่นจากขบวนตู้รถไฟด้วย เสือใบ ได้กลายเป็นจอมโจรที่มีชื่อเสียงในราวปี..

ใหม่!!: โจรกรรมและเสือใบ · ดูเพิ่มเติม »

เจตนา

ตนา /เจดตะนา/ หมายถึง ความตั้งใจ ความจงใจ หรือความมุ่งหมาย หรือหมายถึงกิริยาเช่นนั้นก็ได้ ในทางวิชาการมีรายละเอียดตามแต่สาขา โปรดดูตามนั้น.

ใหม่!!: โจรกรรมและเจตนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

TheftTheifThiefการลักการลักทรัพย์ลักทรัพย์ขโมยโจร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »