โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โคเปอร์นิเซียม

ดัชนี โคเปอร์นิเซียม

ปอร์นิเซียม (Copernicium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 112 สัญลักษณ์คือ Cn โคเปอร์นิเซียมเป็นธาตุหนักยิ่งยวด (superheavy) ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นไอโซโทปที่เสถียรของมันคือ Cn-285 มีครึ่งชีวิตประมาณ 11 นาที ก่อนการเปลี่ยนชื่อเป็นโคเปอร์นิเซียม โดย IUPAC เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ธาตุนี้เคยใช้ชื่อว่า "อูนอูนเบียม" (ununbium มาจากภาษาละติน ūnus + ūnus + bi- + -ium, หนึ่ง หนึ่ง สอง) มีสัญลักษณ์คือ Uub เป็นชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC โคเปอร์นิเซียมเป็นโลหะที่เป็นของเหลวและระเหยเร็วกว่าปรอท โคเปอร์นิเซียม ตั้งชื่อตาม นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ผู้เสนอทฤษฏีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล.

15 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2553ภาษาละตินสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศธาตุของเหลวปรอทนิโฮเนียมนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัสโลหะโลหะทรานซิชันเรินต์เกเนียมเรดอนเลขอะตอม1 E-25 kg19 กุมภาพันธ์

พ.ศ. 2553

ทธศักราช 2553 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2010 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 2010.

ใหม่!!: โคเปอร์นิเซียมและพ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: โคเปอร์นิเซียมและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ

หภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (International Union of Pure and Applied Chemistry, ย่อ: IUPAC /ไอยูแพ็ก/) เป็นสหพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งประกอบด้วยองค์กรที่เป็นตัวแทนของนักเคมีในแต่ละประเทศ สหภาพฯ เป็นสมาชิกของสภาสหภาพวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (ICSU) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานบริหาร หรือที่รู้จักกันในชื่อ "สำนักเลขาธิการ IUPAC" ตั้งอยู่ที่อุทยานสามเหลี่ยมวิจัย รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา สำนักงานบริหารแห่งนี้นำโดยผู้อำนวยการบริหารของ IUPAC IUPAC ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: โคเปอร์นิเซียมและสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุ

ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: โคเปอร์นิเซียมและธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ของเหลว

รูปทรงของของเหลวเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ ของเหลว (Liquid) เป็นสถานะของของไหล ซึ่งปริมาตร จะถูกจำกัดภายใต้สภาวะคงที่ของอุณหภูมิและความดัน และรูปร่างของมันจะถูกกำหนดโดยภาชนะที่บรรจุมันอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นของเหลวยังออกแรงกดดันต่อภาชนะด้านข้างและบางสิ่งบางอย่างในตัวของของเหลวเอง ความกดดันนี้จะถูกส่งผ่านไปทุกทิศทาง ถ้าของเหลวอยู่ในระเบียบของสนามแรงโน้มถ่วง ความดัน pที่จุดใด ๆ สามารถแสดงเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้ ที่ซึ่ง \rho เป็น ความหนาแน่น ของของเหลว (ซึ่งกำหนดให้คงที่) และ z คือความลึก ณ จุดใต้พื้นผิวของเหลวนั้น สังเกตว่าในสูตรนี้กำหนดให้ความดันที่ผิวบนเท่ากับ 0 และไม่ต้องคำนึงถึง ความตึงผิวของเหลวมีลักษณะเฉพาะของ แรงตึงผิว (surface tension) และ แรงยกตัว (capillarity) โดยทั่วไปของเหลวจะขยายตัวเมื่อถูกความร้อนและหดตัวเมื่อถูกความเย็น วัตถุที่จมอยู่ในของเหลวจะมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า แรงลอยตัว (buoyancy) ของเหลวเมื่อได้รับความร้อนจนถึง จุดเดือด จะเปลี่ยนสถานะเป็น ก๊าซ และเมื่อทำให้เย็นจนถึง จุดเยือกแข็งมันก็จะเปลี่ยนสถานะเป็น ของแข็ง โดย การกลั่นแยกส่วน (fractional distillation) ของเหลวจะถูกแยกจากกันและกันโดย การระเหย (vaporization) ที่ จุดเดือด ของของเหลวแต่ละชนิด การเก เนื่องจากโมเลกุลของของเหลวมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน การเคลื่อนที่ของแต่ละโมเลกุลจึงอยู่ภายใต้อิทธิพลของโมเลกุลอื่นที่อยู่ใกล้เคียง โมเลกุลที่อยู่ตรงกลางได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลอื่นที่อยู่ล้อมรอบเท่ากันทุกทิศทุกทาง ส่วนโมเลกุลที่ผิวหน้าจะได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลที่อยู่ด้านล่างและด้านข้างเท่านั้น โมเลกุลที่ผิวหน้าจึงถูกดึงเข้าภายในของเหลว ทำให้พื้นที่ผิวของของเหลวลดลงเหลอน้อยที่สุด จะเห็นได้จากหยดน้ำที่เกาะบนพื้นผิวที่เรียบและสะอาดจะมีลักษณะเป็นทรงกลมซึ่งมีพื้นที่ผิวน้อยกว่าน้ำที่อยู่ในลักษณะแผ่ออกไป ของเหลวพยายามจัดตัวเองให้มีพื้นที่ผิวน้อยที่สุด เนื่องจากโมเลกุลที่ผิวไม่มีแรงดึงเข้าทางด้านบน จึงจะมีเสถียรภาพน้อยกว่าโมเลกุลที่อยู่ตรงกลาง การลดพื้นที่ผิวเท่ากับเป็นการลดจำนวนโมเลกุลที่ผิวหน้า จึงทำให้ของเหลวเสถียรมากขึ้นในบางกรณีของเหลวมีความจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ผิว โดยที่โมเลกุลที่อยู่ด้านในของของเหลวจะเคลื่อนมายังพื้นผิว ในการนี้โมเลกุลเหล่านั้นต้องเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่อยูรอบ ๆ หรือกล่าวว่าต้องทำงาน งานที่ใช้ในการขยายพื้นที่ผิวของของเหลว 1 หน่วย เรียกว่า ความตึงผิว (Surface tension).

ใหม่!!: โคเปอร์นิเซียมและของเหลว · ดูเพิ่มเติม »

ปรอท

ปรอท (Mercury; Hydragyrum) เป็นธาตุเคมีสัญลักษณ์ Hg และเลขอะตอมเท่ากับ 80 รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ควิกซิลเวอร์ (quicksilver) และมีชื่อเดิมคือ ไฮดราเจอรัม (hydrargyrum) ปรอทเป็นโลหะหนักสีเงินในบล็อก-d เป็นธาตุโลหะชนิดเดียวที่เป็นของเหลวในที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ธาตุอื่นอีกธาตุหนึ่งที่เป็นของเหลวภายใต้สภาวะเช่นนี้คือ โบรมีน แม้ว่าโลหะอย่างซีเซียม แกลเลียม และรูบิเดียมจะละลายที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ปรอทพบได้ทั่วโลก ส่วนใหญ่พบในรูปซินนาบาร์ (เมอร์คิวริกซัลไฟด์) เมอร์คิวริกซัลไฟด์บริสุทธิ์เป็นผงสีแดงชาด ได้จากปฏิกิริยาของปรอท (เกิดจากรีดักชันจากซินนาบาร์) กับกำมะถัน หากสัมผัส สูดดมไอ หรือทานอาหารทะเลที่ปนเปื้อนปรอทที่ละลายน้ำ (เช่น เมอร์คิวริกคลอไรด์ หรือเมธิลเมอร์คิวรี) อาจเกิดเป็นพิษได้ ปรอทมักใช้ประโยชน์ในเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ มาโนมิเตอร์ สฟิกโมมาโนมิเตอร์ โฟลตวาล์ว สวิตช์ปรอท ปรอทรีเลย์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ และอุปกรณ์อื่น ๆ แม้ว่ายังมีประเด็นเรื่องพิษที่อาจทำให้เทอร์โมมิเตอร์และสฟิกโมมาโนมิเตอร์ไม่ถูกนำมาใช้อีก แต่จะใช้แอลกอฮอล์ หรือแก้วที่เติมกาลินสแตน หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเทอร์มิสเตอร์ หรืออินฟราเรดแทน เช่นเดียวกัน สฟิกโมมาโนมิเตอร์ถูกแทนด้วยเกจความดันเชิงกลและเกจรับความตึงอิเล็กทรอนิกส์ ปรอทยังคงมีใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และสารอะมัลกัมสำหรับอุดฟันในบางท้องที่ ปรอทนำมาใช้ผลิตแสงสว่าง กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านไอปรอทในหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์จะสร้างแสงอัลตราไวโอเลตคลื่นสั้น ก่อให้เกิดฟอสเฟอร์ ทำให้หลอดเรืองแสง และเกิดเป็นแสงสว่างขึ้นม.

ใหม่!!: โคเปอร์นิเซียมและปรอท · ดูเพิ่มเติม »

นิโฮเนียม

นิโฮเนียม (Nihonium; สัญลักษณ์ Nh) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 113 นิโฮเนียมเป็นธาตุหนักที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นใหม่ยังไม่รายละเอียดมากนัก มีอีกชื่อหนึ่งว่าเอกา-แทลเลียม (eka-thallium) ในเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: โคเปอร์นิเซียมและนิโฮเนียม · ดูเพิ่มเติม »

นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส

นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus Torinensis, Mikołaj Kopernik มีกอไว กอแปร์ญิก; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473 – 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ผู้คิดค้นแบบจำลองระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางสมบูรณ์ ซึ่งดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของเอกภพ มิใช่โลกLinton (2004, pp.) อย่างไรก็ดี โคเปอร์นิคัสมิใช่ผู้แรกที่เสนอระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางในบางรูปแบบ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวกรีกคนหนึ่ง ชื่อ อริสตาซูสแห่งซามอส ได้เสนอแนวคิดดังกล่าวมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลแล้ว กระนั้น มีหลักฐานน้อยมากว่าเขาเคยพัฒนาความคิดของเขาไกลเกินแบบร่างง่าย ๆ เท่านั้น (Dreyer, 1953,. การตีพิมพ์หนังสือ De revolutionibus orbium coelestium (ว่าด้วยการปฏิวัติของทรงกลมฟ้า) ของโคเปอร์นิคัส ก่อนหน้าที่เขาเสียชีวิตไม่นาน ถูกพิจารณาว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติโคเปอร์นิคัสและมีส่วนสำคัญต่อความรุ่งเรืองของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามมา ทฤษฎีระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางอธิบายกลไกของระบบสุริยะในเชิงคณิตศาสตร์ มิใช่ด้วยคำของอริสโตเติล โคเปอร์นิคัสเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักนิติศาสตร์ที่สำเร็จดุษฎีบัณฑิตในวิกฎหมาย นักฟิสิกส์ ผู้รู้สี่ภาษา นักวิชาการคลาสสิก นักแปล ศิลปิน สงฆ์คาทอลิก ผู้ว่าราชการ นักการทูตและนักเศรษฐศาสตร.

ใหม่!!: โคเปอร์นิเซียมและนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส · ดูเพิ่มเติม »

โลหะ

ลหะ คือ วัสดุที่ประกอบด้วยธาตุโลหะที่มีอิเล็กตรอนอิสระอยู่มากมาย นั่นคืออิเล็กตรอนเหล่านี้ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น.

ใหม่!!: โคเปอร์นิเซียมและโลหะ · ดูเพิ่มเติม »

โลหะทรานซิชัน

ลหะทรานซิชัน (transition metal) มีการนิยามความหมายของโลหะทรานซิชันในอนุกรมเคมี 2 ประการดังนี้.

ใหม่!!: โคเปอร์นิเซียมและโลหะทรานซิชัน · ดูเพิ่มเติม »

เรินต์เกเนียม

รินต์เกเนียม (Roentgenium; Röntgenium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 111 และสัญลักษณ์คือ Rg เรินต์เกเนียมเป็นธาตุที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น ไอโซโทปที่เสถียรของมันคือ Rg-280 มีครึ่งชีวิตประมาณ 3.6 วินาที เรินต์เกเนียมมีอีกชื่อหนึ่งว่าเอกา-โกลด์ (Eka-gold) หรืออูนอูนอูนเนียม (unununium) เรินต์เกเนียมเป็นโลหะหนักทรานซิชันมีลักษณะมันวาวเหมือนทองคำ.

ใหม่!!: โคเปอร์นิเซียมและเรินต์เกเนียม · ดูเพิ่มเติม »

เรดอน

รดอน (อังกฤษ: Radon) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 86 และสัญลักษณ์คือ Rn เรดอนเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นก๊าซเฉื่อย (radioactive noble gas) ได้จากการแยกสลายธาตุเรเดียม เรดอนเป็นก๊าซที่หนักที่สุดและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไอโซโทปของเรดอนคือ Rn-222 ใช้ในงานรักษาผู้ป่วยแบบเรดิโอเธอราปี (radiotherapy) ก๊าซเรดอนที่สะสมในบ้านเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดและทำให้ผู้ป่วยในสหภาพยุโรปเสียชีวิตปีละ 20,000 คน เรดอนถูกสร้างขึ้นโดยผ่านกระบวนการอีกขั้นหนึ่งของการย่อยสลายธาตุกัมมันตรังสีทั่วไป โดยที่ธอเรียมและยูเรเนียมซึ่งเป็นธาตุกัมมันตภาพดึกดำบรรพ์ที่มีอยู่ตั้งแต่ครั้งที่โลกเริ่มก่อตัวขึ้น ได้เกิดการสลายตัวของธาตุและให้ผลเป็นธาตุเรเดียม และการสลายตัวของเรเดียมจึงทำให้เกิดธาตุเรดอน ซึ่งเมื่อเรดอนสลายตัว ก็ทำให้เกิดธาตุ radon  daughter อันเป็นชื่อเรียกของธาตุกัมมันตรังสีใหม่ที่ได้มา ซึ่งต่างจากเรดอนที่มีสถานะเป็นแก๊ซตรงที่มีสถานะเป็นของแข็งและเกาะติดกับพื้นผิว.

ใหม่!!: โคเปอร์นิเซียมและเรดอน · ดูเพิ่มเติม »

เลขอะตอม

เลขอะตอม (atomic number) หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ หรือหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น ไฮโดรเจน (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1 เลขอะตอม เดิมใช้หมายถึงลำดับของธาตุในตารางธาตุ เมื่อ ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดลีเยฟ (Dmitry Ivanovich Mendeleev) ทำการจัดกลุ่มของธาตุตามคุณสมบัติร่วมทางเคมีนั้น เขาได้สังเกตเห็นว่าเมื่อเรียงตามเลขมวลนั้น จะเกิดความไม่ลงรอยกันของคุณสมบัติ เช่น ไอโอดีน (Iodine) และเทลลูเรียม (Tellurium) นั้น เมื่อเรียกตามเลขมวล จะดูเหมือนอยู่ผิดตำแหน่งกัน ซึ่งเมื่อสลับที่กันจะดูเหมาะสมกว่า ดังนั้นเมื่อเรียงธาตุในตารางธาตุตามเลขอะตอม ตารางจะเรียงตามคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ เลขอะตอมนี้ถึงแม้โดยประมาณ แล้วจะแปรผันตรงกับมวลของอะตอม แต่ในรายละเอียดแล้วเลขอะตอมนี้จะสะท้อนถึงคุณสมบัติของธาตุ เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการกระเจิงของ สเปกตรัมของรังสีเอ็กซ์ (x-ray) ของธาตุ และตำแหน่งที่ถูกต้องบนตารางธาตุ ในปี ค.ศ. 1913 ซึ่งต่อมาได้ถูกอธิบายด้วยเลขอะตอม ซึ่งอธิบายถึงปริมาณประจุในนิวเคลียส หรือ จำนวนโปรตอนนั่นเอง ซึ่งจำนวนของโปรตอนนี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ หมวดหมู่:อะตอม ลเขอะตอม ลเขอะตอม.

ใหม่!!: โคเปอร์นิเซียมและเลขอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

1 E-25 kg

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อมวลที่อยู่ระหว่าง 60.22 u และ 602.2 u (10-25 กก. และ 10-24 กก., หรือ 100 ยอคโตกรัม และ 1 เซปโตกรัม) ---- มวลที่น้อยกว่า ----.

ใหม่!!: โคเปอร์นิเซียมและ1 E-25 kg · ดูเพิ่มเติม »

19 กุมภาพันธ์

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 50 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 315 วันในปีนั้น (316 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: โคเปอร์นิเซียมและ19 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CoperniciumUnunbiumUubอุนอุนเบียมอูนอูนเบียมเอคา-เมอร์คิวรี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »