โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โกลเมอรูลัส

ดัชนี โกลเมอรูลัส

กลเมอรูลัส หรือ โกลเมอรูไล (glomerulus พหูพจน์ glomeruli) อาจหมายถึง.

13 ความสัมพันธ์: สมองหลอดเลือดฝอยหน่วยไตจุดประสานประสาทปัสสาวะป่องรู้กลิ่นนิวโรพิลใยประสาทนำเข้าโกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)โกลเมอรูลัส (ไต)ไตเซลล์ไมทรัลTufted cell

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: โกลเมอรูลัสและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดฝอย

หลอดเลือดฝอย (capillary) คือ หลอดเลือดที่ขนาดเล็กมากแตกแขนงจากหลอดเลือดใหญ่ไปตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย มีผนังบาง ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวเป็นที่แลกเปลี่ยนแก๊สและสารต่าง ๆ ระหว่างเซลล์กับเลือ.

ใหม่!!: โกลเมอรูลัสและหลอดเลือดฝอย · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยไต

หน่วยไต (nephron) เป็นโครงสร้างพื้นฐานและหน่วยทำงานพื้นฐานของไต มีหน้าที่หลักคือควบคุมสมดุลของสารน้ำและสารต่างๆ ในร่างกาย เช่นโซเดียม ผ่านการกรองเลือดที่ผ่านหน่วยไต ดูดกลับสารที่ต้องการ และขับสารที่ไม่ต้องการทิ้งผ่านทางปัสสาวะ หน้าที่ของหน่วยไตนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานของร่างกาย ซึ่งจะถูกควบคุมโดยระบบต่อมไร้ท่อผ่านทางฮอร์โมนต่างๆ เช่น ฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะ อัลโดสเตอโรน และพาราไทรอยด์ เป็นต้น ไตปกติข้างหนึ่งของมนุษย์จะมีหน่วยไตอยู่ประมาณ 800,000 ถึง 1.5 ล้านหน่วยไต.

ใหม่!!: โกลเมอรูลัสและหน่วยไต · ดูเพิ่มเติม »

จุดประสานประสาท

องไซแนปส์เคมี ซึ่งเป็นการติดต่อกันระหว่างเซลล์ประสาทเพื่อเปลี่ยนกระแสประสาทเป็นสารสื่อประสาทในการนำสัญญาณประสาทไปยังเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ ไซแนปส์ (Synapse) หรือ จุดประสานประสาท เป็นช่องว่างพิเศษระหว่างส่วนแรก คือ เซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ กับส่วนที่สองที่อาจเป็นเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์หรือเซลล์ชนิดอื่น เช่น เซลล์กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ของต่อม เป็นต้น เพื่อสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลในการทำงานของระบบประสาท ในทางประสาทวิทยาศาสตร์ ไซแนปส์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: โกลเมอรูลัสและจุดประสานประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ปัสสาวะ

ตัวอย่างปัสสาวะมนุษย์ปัสสาวะ (ภาษาปากว่า ฉี่, เยี่ยว หรือ เบา) เป็นของเสียในรูปของเหลวที่ร่างกายขับถ่ายออกมาโดยไต ด้วยกระบวนการกรองจากเลือดและขับออกทางท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการสร้างและสลายในระดับเซลล์ (cellular metabolism) แล้วทำให้เกิดสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นของเสียจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดออกจากกระแสเลือ.

ใหม่!!: โกลเมอรูลัสและปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ป่องรู้กลิ่น

granule cell #granule cell --> ป่องรู้กลิ่น หรือ ป่องรับกลิ่น (olfactory bulb, bulbus olfactorius, ตัวย่อ OB) เป็นโครงสร้างทางประสาทแบบเป็นชั้น ๆ ที่สมองส่วนหน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (โดยในมนุษย์จะอยู่ที่ด้านหน้าส่วนล่าง) ซึ่งมีบทบาทในการได้กลิ่น ป่องรับกลิ่นรับข้อมูลขาเข้ามาจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นที่เยื่อรับกลิ่นซึ่งบุโพรงจมูกเป็นบางส่วน แล้วส่งข้อมูลขาออกผ่านลำเส้นใยประสาท lateral olfactory tract ไปยังเปลือกสมองส่วนการรู้กลิ่น แม้การแปลผลกลิ่นอย่างแม่นยำของป่องรู้กลิ่นจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่ามันทำหน้าที่เป็นตัวกรอง/ฟิลเตอร์ ที่อาจมีบทบาทต่าง ๆ รวมทั้ง แยกแยะกลิ่น, เพิ่มความไวการตรวจจับกลิ่น, กรองกลิ่นพื้นหลังเพื่อเพิ่มสัญญาณกลิ่นที่เลือก, และอำนวยให้สมองระดับสูงควบคุมระดับสัญญาณจากป่องรับกลิ่นตามสภาวะทางสรีรภาพของสัตว.

ใหม่!!: โกลเมอรูลัสและป่องรู้กลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

นิวโรพิล

นิวโรพิล (Neuropil, Neuropile) เป็นส่วนไหนในระบบประสาทก็ได้ที่ประกอบด้วยแอกซอนซึ่งไม่หุ้มปลอกไมอีลิน, เดนไดรต์, และส่วนยื่นของเซลล์เกลียโดยมาก กลายเป็นบริเวณที่หนาแน่นไปด้วยไซแนปส์โดยมีตัวเซลล์ค่อนข้างน้อย เขตที่หนาแน่นไปด้วยนิวโรพิลมากที่สุดก็คือสมอง แม้จะไม่ใช่นิวโรพิลเพียงอย่างเดียว แต่ก็ยังมีส่วนนิวโรพิลที่ใหญ่สุดและมีไซแนปส์หนาแน่นที่สุดในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น ทั้งคอร์เทกซ์ใหม่และป่องรับกลิ่นต่างก็มีนิวโรพิล เนื้อขาวซึ่งเป็นแอกซอนและเซลล์เกลียโดยมาก โดยทั่วไปจะไม่จัดเป็นส่วนของนิวโรพิล thumb คำภาษาอังกฤษว่า Neuropil มาจากคำภาษากรีก คือ neuro ที่แปลว่า "เอ็น ประสาท" และ pilos ที่แปลว่า ผ้าขนสัตว์ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: โกลเมอรูลัสและนิวโรพิล · ดูเพิ่มเติม »

ใยประสาทนำเข้า

เซลล์ประสาท เดนไดรต์ (Dendrite) เป็นแขนงประสาทประเภทหนึ่งของเซลล์ประสาท (neuron) ซึ่งยื่นออกมาจากส่วนที่เป็นตัวเซลล์ (soma) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทเข้าสู่เซลล์ประสาท ซึ่งกระแสประสาทดังกล่าวเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเคมีที่เกิดจากการกระตุ้นจากเซลล์ประสาทอื่นๆ (ทั้งนี้อาจเกิดจากสัญญาณจากรีเซปเตอร์ การกระตุ้นด้วยขั้วไฟฟ้าโดยมนุษย์ ฯลฯ) ซึ่งช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทตรงบริเวณที่มีการถ่ายทอดกระแสประสาทไปสู่กันได้นั้น เรียกว่าไซแนปส์ (synapse) และเมื่อเดนไดรต์รับสัญญาณประสาทมาแล้ว ก็จะมีการส่งต่อไปยังเซลล์อื่นๆต่อไปโดยผ่านไปทางปลายแอกซอน ทั้งนี้แขนงของเดนดริติกเซลล์ (dendritic cells) ในระบบภูมิคุ้มกันก็เรียกว่าเดนไดรต์ แต่ไม่มีความสามารถในการนำกระแสประสาท หรือกระแสไฟฟ้าเคมีใดๆ หมวดหมู่:ประสาทสรีรวิทยา หมวดหมู่:เซลล์ประสาท หมวดหมู่:ระบบประสาท หมวดหมู่:ประสาทวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: โกลเมอรูลัสและใยประสาทนำเข้า · ดูเพิ่มเติม »

โกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น)

กลเมอรูลัส (glomerulus พหูพจน์ glomeruli) เป็นโครงสร้างนิวโรพิลรูปกลมในป่องรับกลิ่นของสมอง เป็นที่เกิดไซแนปส์ระหว่างปลายฆานประสาท (olfactory nerve) และเดนไดรต์ของเซลล์ไมทรัล, ของเซลล์ประสาทรอบโกลเมอรูลัส (periglomerular cell), และของ tufted cell โกลเมอรูลัสแต่ละอันจะล้อมรอบไปด้วยเซลล์ประสาทใกล้ ๆ รวมทั้งเซลล์ประสาทรอบโกลเมอรูลัส, เซลล์แอกซอนสั้น (short axon), tufted cell ส่วนนอก, และเซลล์เกลีย โกลเมอรูลัสทั้งหมดจะอยู่ใกล้ส่วนผิวของป่องรับกลิ่น แต่ป่องรับกลิ่นก็ยังรวมส่วนหนึ่งของ anterior olfactory nucleus ซึ่งก็ส่งแอกซอนไปทาง olfactory tract ด้วย โกลเมอรูลัสเป็นส่วนแรกที่ประมวลผลข้อมูลกลิ่นที่มาจากจมูกผ่านการเชื่อมต่อของไซแนปส์ ประกอบด้วยแอกซอนที่รวมตัวกันจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นเป็นพัน ๆ ตัว และประกอบด้วยเดนไดรต์จากเซลล์ไมทรัล, tufted cell, กับเซลล์อื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ โกลเมอรูลัสรวมทั้ง tufted cell ส่วนนอก, เซลล์ประสาทรอบโกลเมอรูลัส, short axon cell, และแอสโทรไซต์ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โกลเมอรูลัสปกติจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 50-120 ไมโครเมตร (100-200) และมีจำนวนระหว่าง 1,100-2,400 อันขึ้นอยู่กับสปีชีส์ โดยมนุษย์มี 1,100-1,200 อัน จำนวนโกลเมอรูลัสในมนุษย์จะลดลงตามอายุ มนุษย์อายุมากกว่า 80 ปีเกือบจะไม่มีเลย โกลเมอรูลัสแต่ละอันอาจแบ่งเป็นสองเขต คือเขตประสาทรับกลิ่น (olfactory nerve zone) และเขตที่ไม่ใช่เซลล์ประสาทรับลิ่น (non-olfactory nerve zone) เขตประสาทรับกลิ่นมีทั้งเส้นประสาทส่วนก่อนปลายและส่วนปลาย เป็นที่ที่เซลล์ประสาทรับกลิ่นสร้างไซแนปส์เพื่อเชื่อมกับเซลล์เป้าหมาย เขตที่ไม่ใช่เซลล์ประสาทรับกลิ่นประกอบด้วยการเชื่อมต่อทำงานประสานกันระหว่างเดนไดรต์-เดนไดรต์ของเซลล์ประสาทในป่องรับกลิ่นต่าง.

ใหม่!!: โกลเมอรูลัสและโกลเมอรูลัส (ระบบรู้กลิ่น) · ดูเพิ่มเติม »

โกลเมอรูลัส (ไต)

โกลเมอรูลัส (glomerulus) เป็นกระจุกหลอดเลือดฝอย ทำหน้าที่กรองเลือดขั้นแรก อยู่ที่จุดเริ่มต้นของหน่วยไต (nephron) ซึ่งเป็นโครงสร้างรูปท่อที่มีหน้าที่กรองเลือดแล้วสร้างเป็นปัสสาวะในไต โกลเมอรูลัสมีโบว์แมนแคปซูล (Bowman's capsule) ล้อมอยู่ น้ำเลือดกรองผ่านหลอดเลือดฝอยของโกลเมอรูลัสเข้าสู่โบว์แมนแคปซูล แล้วโบว์แมนแคปซูลไล่ของเหลวที่ผ่านการกรองเข้าสู่หลอดไตฝอย (renal tubule) ซึ่งยังเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยไต โกลเมอรูลัสรับเลือดมาเลี้ยงจากหลอดเลือดแดงจิ๋วนำเข้า (afferent arteriole) ซึ่งเป็นการไหลเวียนเลือดไต โกลเมอรูลัสเทเลือดเข้าสู่หลอดเลือดแดงจิ๋วนำออก (efferent arteriole) ไม่ใช่หลอดเลือดดำเล็ก ซึ่งต่างจากแคปิลารีเบด (capillary bed) อื่นส่วนใหญ่ ความต้านทานของหลอดเลือดแดงจิ๋วเหล่านี้ส่งผลให้มีความดันภายในโกลเมอรูลัสสูง ซึ่งช่วยส่งเสริมกระบวนการอัลตราฟิลเตรชัน (ultrafiltration) ซึ่งของเหลวและสารที่ละลายได้ในเลือดถูกไล่ออกนอกหลอดเลือดฝอยเข้าสู่โบว์แมนแคปซูล โกลเมอรูลัสและโบว์แมนแคปซูลที่ล้อมรอบรวมกันเป็นเม็ดไต (renal corpuscle) ซึ่งเป็นหน่วยกรองพื้นฐานของไต อัตราที่เลือดถูกกรองผ่านโกลเมอรูลัสทั้งหมด และเป็นการวัดการทำงานของไตโดยรวม คือ อัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (GFR) หมวดหมู่:ไต.

ใหม่!!: โกลเมอรูลัสและโกลเมอรูลัส (ไต) · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: โกลเมอรูลัสและไต · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ไมทรัล

ซลล์ไมทรัล (Mitral cell) เป็นเซลล์ประสาทในระบบรู้กลิ่น โดยอยู่ในป่องรับกลิ่นของระบบประสาทกลางในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และได้ข้อมูลจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นซึ่งส่งแอกซอนไปยุติเป็นไซแนปส์ที่นิวโรพิลซึ่งเรียกว่า โกลเมอรูลัส ในป่องรับกลิ่น แอกซอนของเซลล์ไมทรัลจะส่งข้อมูลไปยังเปลือกสมองส่วนการรู้กลิ่นเขตต่าง ๆ รวมทั้ง piriform cortex, entorhinal cortex และอะมิกดะลา เซลล์ไมทรัลได้รับสัญญาณขาเข้าแบบเร้า (excitatory) จากเซลล์ประสาทรับกลิ่นที่เดนไดรต์หลัก เทียบกับสัญญาณแบบยับยั้ง (inhibitory) ที่ได้จากทั้ง granule cell ที่เดนไดรต์ด้านข้างและตัวเซลล์ และจากเซลล์รอบโกลเมอรูลัส (periglomerular cell) ที่ตรงปอยผมของเดนไดรต์ (dendritic tuft) เซลล์ไมทรัลพร้อมกับ tufted cell จะเป็นเซลล์รีเลย์ซึ่งส่งต่อข้อมูลกลิ่นที่มาจากฆานประสาท (olfactory nerve) ออกจากป่องรับกลิ่น แต่ก็ไม่ได้ส่งข้อมูลอย่างแพสซีฟที่ไม่ได้แปลผลเลย ในหนูหริ่ง เซลล์ไมทรัลแต่ละตัวจะส่งเดนไดรต์หลักอันเดียว ไปยังโกลเมอรูลัสอันเดียวซึ่งรับข้อมูลขาเข้าจากกลุ่มเซลล์รับกลิ่นที่แสดงออกยีนหน่วยรับกลิ่นชนิดเดียวกัน แต่โกลเมอรูลัสแต่ละอันซึ่งมีเดนไดรต์จากเซลล์ไมทรัลประมาณ 20-40 ตัว (ซึ่งอาจเรียกว่า เซลล์ไมทรัลพี่น้อง) ก็มีสัญญาณการตอบสนองต่อกลิ่นคือ tuning curve ที่ไม่เหมือนกับสัญญาณขาเข้า และเซลล์ไมทรัลพี่น้องก็ยังตอบสนองไม่เหมือนกันอีกด้วย อย่างไรก็ดี การประมวลผลที่เซลล์ไมทรัลทำต่อข้อมูลขาเข้าก็ยังไม่ชัดเจน สมมติฐานเด่นอันหนึ่งก็คือ เซลล์ไมทรัลจะเปลี่ยนความแรงของกลิ่นให้เป็นรหัสโดยเวลา (timing code) โดยเข้ารหัสเป็นการยิงสัญญาณตามวงจรการดมกลิ่น (sniff cycle) สมมติฐานที่สอง (ซึ่งอาจจะไม่ได้แยกต่างหากจากสมมติฐานแรก) ก็คือ การทำกลิ่นต่าง ๆ ให้แตกต่าง (decorrelation) ภายในเครือข่ายป่องรับกลิ่น ที่เครือข่ายประสาทในป่องรับกลิ่นจะทำงานเป็นระบบพลวัต และการทำงานในระยะยาวจะเพิ่มความต่างทางการตอบสนองแม้ต่อกลิ่นที่คล้ายกันมาก หลักฐานสนับสนุนสมมติฐานที่สองโดยหลักมาจากงานวิจัยในปลาม้าลาย (ที่ไม่สามารถแยกเซลล์ไมทรัลจาก tufted cell ได้).

ใหม่!!: โกลเมอรูลัสและเซลล์ไมทรัล · ดูเพิ่มเติม »

Tufted cell

Tufted cell เป็นเซลล์ประสาทสามกลุ่มในป่องรับกลิ่น คือ ส่วนนอก (external) ส่วนกลาง (middle) และส่วนลึก (deep) ส่วนนอกอยู่ที่โกลเมอรูลัสของป่องรับกลิ่นและเชื่อมต่อกับเซลล์อื่น ๆ ภายในป่อง ส่วนกลางและส่วนลึกอยู่ในชั้น external plexiform ของป่อง โดยมีการจัดระเบียบและการส่งแอกซอนไปยังเขตสมองที่สูงกว่าคล้ายกับของเซลล์ไมทรัล เซลล์ได้รับข้อมูลแบบเร้าจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นในเยื่อรับกลิ่นที่บุบางส่วนของโพรงจมูก เซลล์ส่วนกลางและส่วนลึกเป็น projection neuron ของป่องรับกลิ่นเหมือนกับเซลล์ไมทรัล และเป็นตัวส่งข้อมูลจากโกลเมอรูลัสไปยังส่วนต่อ ๆ ไปของสมอง ข้อมูลที่ส่งอาจปรับให้ชัดหรือกรองผ่านกระบวนการที่เรียกว่า lateral inhibition (การยับยั้งจากเซลล์ข้าง ๆ) ซึ่ง internueron ในป่องรับกลิ่นที่เรียกว่า เซลล์รอบโกลเมอรูลัส (periglomerular cell) และ granule cell เป็นตัวอำนวย ดังนั้น projection neuron เหล่านี้จริง ๆ จึงส่งข้อมูลกลิ่นที่ปรับให้ชัดขึ้นไปยังส่วนลึกขึ้น ๆ ในสมอง.

ใหม่!!: โกลเมอรูลัสและTufted cell · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

GlomeruliGlomerulusโกลเมอรูไล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »