โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แอลฟาโกะพบอี เซ-ดล

ดัชนี แอลฟาโกะพบอี เซ-ดล

แอลฟาโกะพบอี เซ-ดลเป็นแมตช์หมากล้อม (โกะ) ห้าเกมระหว่างผู้เล่นหมากล้อมอาชีพชาวเกาหลีใต้ อี เซ-ดล และแอลฟาโกะ โปรแกรมโกะคอมพิวเตอร์ที่กูเกิล ดีปไมด์พัฒนา ระหว่างวันที่ 9 ถึง 15 มีนาคม 2559 แอลฟาโกะชนะรวดยกเว้นเกมที่ 4 ทุกเกมชนะโดยอีกฝ่ายถอนตัว มีการเปรียบเทียบแมตช์นี้กับแมตช์หมากรุกประวัติศาสตร์ระหว่างดีปบลูและแกรี คาสปารอฟในปี 2540 มีรางวัลสำหรับผู้ชนะ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากแอลฟาโกะเป็นผู้ชนะ จะบริจาครางวัลให้การกุศลซึ่งรวมยูนิเซฟ อี เซ-ดลจะได้ 170,000 ดอลลาร์สหรัฐ (150,000 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับเข้าแข่งขันทั้งห้าเกม และอีก 20,000 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับชนะในเกมที่ 4) แมตช์นี้เล่นในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ โดยใช้กฎจีนโคมิ 7.5 แต้ม แต่ละสองฝ่ายมีเวลาคิด 2 ชั่วโมงบวกช่วงเบียวโยมิ 60 วินาที 3 ครั้ง.

7 ความสัมพันธ์: กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติกูเกิล ดีปไมด์หมากล้อมอี เซ-ดลดีปบลูพบคาสปารอฟโซลเดอะการ์เดียน

กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ

องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (United Nations Children's Fund - UNICEF) เป็นหน่วยงานของสหประชาชาติเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม, พัฒนาการ, สุขภาพรวมถึงความเป็นอยู่ของเด็กและแม่ในประเทศกำลังพัฒนา ก่อตั้งโดยสมัชชาสามัญแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ด้วยชื่อในขณะนั้นว่า United Nations International Children's Emergency Fund หรือ กองทุนฉุกเฉินสำหรับเด็กแห่งสหประชาชาต.

ใหม่!!: แอลฟาโกะพบอี เซ-ดลและกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล ดีปไมด์

กูเกิล ดีปไมด์ (Google DeepMind) เป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษด้านปัญญาประดิษฐ์ เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2011 ในชื่อ ดีปไมด์ เทคโนโลยี และกูเกิลเข้ามาซื้อกิจการในปี ค.ศ. 2014.

ใหม่!!: แอลฟาโกะพบอี เซ-ดลและกูเกิล ดีปไมด์ · ดูเพิ่มเติม »

หมากล้อม

หมากล้อม หรือ โกะ (เหวยฉี) เป็นเกมหมากกระดานชนิดหนึ่ง เป็นเกมกลยุทธ์ซึ่งผู้เล่นสองคนต่างมุ่งหมายล้อมเอาพื้นที่ในกระดานให้ได้มากกว่าคู่แข่ง เดิมถือกำเนิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว เป็นสิ่งแสดงถึงความเก่าแก่และลึกซึ้งของอารยธรรมจีน เหวยฉีเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ปัญญาชนชั้นสูงและขุนนางผู้บริหารประเทศ ในสมัยนั้น เหวยฉีหรือหมากล้อมเป็นหมากกระดานประจำชาติจีน ถูกจัดเป็น 1 ใน 4 ศิลปะประจำชาติจีน (ได้แก่ หมากล้อม ดนตรี กลอน ภาพ) เป็นภูมิปัญญาจีนแท้ ในขณะที่หมากรุกจีนยังมีเค้าว่ารับมาจากอินเดียและเพิ่งจะแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ถังเท่านั้น ต่อมา เหวยฉี ได้แพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ที่ญี่ปุ่นนี้เอง ที่เป็นแผ่นดินทองของ "โกะ" ซึ่งเป็นคำที่ญี่ปุ่นใช้เรียกเหวยฉีหรือหมากล้อม โกะรุ่งเรืองอย่างมากในญี่ปุ่น สมัยโชกุนโทะกุงะวะ ได้สนับสนุนให้ทหารเล่นโกะ เปลี่ยนวิธีการรบด้วยกำลังเป็นการรบด้วยปัญญา และยังสนับสนุนให้โกะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นอีก โชกุนโทะกุงะวะได้ตั้งสำนักโกะขึ้น 4 สำนัก เพื่อคัดเลือกผู้เป็นยอดฝีมือโกะของญี่ปุ่น โดยจัดให้สำนักทั้ง 4 คือ ฮงอินโบ, อิโนะอูเอะ, ยาสุอิ และ ฮายาชิ ส่งตัวแทนมาประลองฝีมือเพื่อชิงตำแหน่ง "เมย์จิน" จากการส่งเสริมโกะของญี่ปุ่น ทำให้อีกประมาณ 100 ปีต่อมา มาตรฐานฝีมือนักเล่นโกะของญี่ปุ่นก็ก้าวนำจีน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของโกะรวมทั้งประเทศเกาหลีไปไกลแล้ว ปัจจุบันทั่วโลกเล่นโกะกันอย่างแพร่หลาย โกะเรียกเป็นสากลว่า "Go" ปัจจุบัน โกะแพร่หลายในกว่า 50 ประเทศ ทวีปออสเตรเลียและอเมริกาเหนือทุกประเทศ อเมริกาใต้, ยุโรป, เอเชีย เกือบทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย ในทวีปแอฟริกาแพร่หลายในประเทศแอฟริกาใต้ ประชากรที่เล่นโกะในจีนประมาณว่ามี 10 ล้านคน, ญี่ปุ่น 10 ล้านคน, เกาหลีใต้ 10 ล้านคน (เกาหลีใต้มีประชากรทั้งหมด 44 ล้านคน ประชากรที่เล่นโกะมีถึงเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรประเทศ), ในไต้หวัน 1 ล้านคน, สหรัฐอเมริกา 1 ล้านคน สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งญี่ปุ่น (Japan Go Association) ได้จัดการแข่งขันหมากล้อมสมัครเล่นชิงแชมป์โลกขึ้นครั้งแรกในปี 2522 มีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมแข่งขัน 15 ประเทศ และเพิ่มเป็น 29 ประเทศในปี 2525 จึงได้มีการจัดตั้งสหพันธ์หมากล้อมนานาชาติ (International Go Federation) ขึ้น ต่อมามีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2558 มีสมาชิกจำนวน 75 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์หมากล้อมนานาชาติ ตั้งแต่ปี 2526 และต่อมาในปี 2527 ได้มีการส่งตัวแทนไปแข่งครั้งแรกที่กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น สำหรับการก่อตั้งสมาคมอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งมีการก่อตั้ง ชมรมหมากล้อม (โกะ) ประเทศไทย โดยนายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ทำให้มีคนไทยเล่นมากขึ้น มีการบรรจุเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อปี 2544 จึงมีการจดทะเบียนเป็น สมาคมกีฬาหมากล้อม และต่อมาในปี 2546 ได้กลายเป็น สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย สำนักงานตั้งอยู่ที่ ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ทำให้กีฬาหมากล้อมในประเทศไทยมีการแพร่หลายมากขึ้นจนได้รับการบรรจุในกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ ได้ทำการศึกษาวิจัยโครงการ การศึกษาผลของการเล่นหมากล้อมที่มีต่อเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการเผชิญปัญหา และความคิดเชิงระบบ เพื่อศึกษาวิจัยและวัดผลจากการเล่นหมากล้อมต่อ 4 ทักษะ คือ เชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และความคิดเชิงระบบของเยาวชนไทยในระดับมัธยมศึกษาพบว่า เยาวชนที่เล่นกีฬาหมากล้อมมีการเปลี่ยนแปลงทางบวกในด้านพัฒนาเชาวน์ปัญญาความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงระบบ ช่วยให้ผู้เล่นมีสมาธิและความจดจำดีขึ้น รวมถึงความสามารถในการวางแผนเพิ่มขึ้น.

ใหม่!!: แอลฟาโกะพบอี เซ-ดลและหมากล้อม · ดูเพิ่มเติม »

อี เซ-ดล

อี เซ-ดล (이세돌; Lee Sedol; 2 มีนาคม ค.ศ. 1983 —) เป็นนักหมากล้อมระดับอาชีพชาวเกาหลีใต้ ที่อยู่ในระดับ 9 ดั้ง.

ใหม่!!: แอลฟาโกะพบอี เซ-ดลและอี เซ-ดล · ดูเพิ่มเติม »

ดีปบลูพบคาสปารอฟ

การแข่งขันหมากรุกระหว่างดีปบลู-คาสปารอฟ เป็นแมตช์ของคู่แข่งขันระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงจำนวนหกเกม ฝ่ายหนึ่งคือซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ดีปบลู ซึ่งพัฒนาโดยไอบีเอ็ม อีกฝ่ายหนึ่งคือแชมป์หมากรุกระดับโลก แกรี คาสปารอฟ แมตช์แรกเล่นในฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อเดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: แอลฟาโกะพบอี เซ-ดลและดีปบลูพบคาสปารอฟ · ดูเพิ่มเติม »

โซล

ซล (ซออุล) ชื่ออย่างเป็นทางการ นครพิเศษโซล เป็นเมืองหลวงและมหานครที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน เป็นปริมณฑลที่ใหญ่ มีประชากรประมาณ 25 ล้านคนซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งประกอบด้วยบริเวณมหานครอินช็อนและจังหวัดคย็องกี เกือบหนึ่งในสี่ของประชากรชาวเกาหลีใต้อาศัยอยู่ในโซลและชาวต่างชาติอีกประมาณ 275, 000 คน นครโซลได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ระดับหลายเหตุการณ์ โดยการใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเพิ่มอิทธิพลในฐานะประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติมากเป็นอันดับที่ 5 ในปี 2553 โซลได้รับการโหวตให้เป็นเป้าหมายยอดนิยมในการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวจีน, ญี่ปุ่นและไทย 3 ปีต่อเนื่องกันในปี 2554 สถานีรถไฟโซลเป็นสถานีปลายทางหลักของรถไฟความเร็วสูงเคทีเอ๊กซ์และสถานีรถไฟใต้ดินโซลยังเป็นสถานีที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอับดับที่สองของโลกโดยมีลักษณะเป็นสายวงรอบที่ยาวที่สุดและและมีเส้นทางรถไฟไต้ดินจนสุดสายที่ยาวเป็นอับดับที่สองของโลก โซลนั้นได้รวมระบบขนส่งมวลชนเข้ากับเมืองอินช็อนและจังหวัดคย็องกี โดยสามารถให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟไต้ดินได้อย่างอิสระโดยใช้บัตรที-มันนี่และเชื่อมต่อโดยทางเอเร็กซ์เพื่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ซึ่งถูกจัดเป็นสนามบินยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี 2548 โดยสภาการท่าอากาศยานนานาชาติ โซลเคยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 1986, โอลิมปิกฤดูร้อน 1988, ฟุตบอลโลก 2002 และการประชุมสุดยอด จี-20 2010 โซลได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการออกแบบในปี 2553 โดยสมาคมออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาต.

ใหม่!!: แอลฟาโกะพบอี เซ-ดลและโซล · ดูเพิ่มเติม »

เดอะการ์เดียน

อะการ์เดียน (The Guardian) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันฝ่ายซ้ายกึ่งสายกลางแห่งชาติอังกฤษ ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: แอลฟาโกะพบอี เซ-ดลและเดอะการ์เดียน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

แอลฟาโกะพบอี เซดลแอลฟาโกะพบอี เซดอล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »