เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2

ดัชนี แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2

อ-7 คอร์แซร์ 2 (A-7 Corsair II) เป็นเครื่องบินโจมตีขนาดเบาบนเรือบรรทุกเครื่องบินที่เริ่มเข้ามาแทนที่เอ-4 สกายฮอว์คของกองทัพเรือสหรัฐและเข้ารวมรบในสงครามเวียดนาม คอร์แซร์ถูกใช้โดยกองทัพอากาศสหรัฐเช่นเดียวกับกองกำลังรักษาดินแดนทางอากาศ เพื่อเข้าแทนที่เอ-1 สกายไรเดอร์ เอฟ-100 ซูเปอร์เซเบอร์ และเอฟ-105 ธันเดอร์ชิฟ คอร์แซร์ยังถูกใช้โดยกรีซในทศวรรษที่ 1970 และโปรตุเกสและไทยในทศวรรษที่ 1980 โครงสร้างของเอ-7 มีพื้นฐานมาจากเอฟ-8 ครูเซเดอร์ที่ผลิตโดยวูท มันเป็นหนึ่งในเครื่องบินรบรุ่นแรกๆ ที่มีหน้าจอแบบฮัด (head-up display) ระบบนำร่อง และเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน.

สารบัญ

  1. 14 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2508กองทัพอากาศสหรัฐกองทัพเรือสหรัฐกองทัพเรือไทยสงครามเวียดนามอาวุธดักลาส เอ-1 สกายเรเดอร์ดักลาส เอ-4 สกายฮอว์คประเทศกรีซประเทศโปรตุเกสประเทศไทยปืนเอฟ-8 ครูเซเดอร์26 กันยายน

  2. อากาศยานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน
  3. เครื่องบินวอท

พ.ศ. 2508

ทธศักราช 2508 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1965 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2และพ.ศ. 2508

กองทัพอากาศสหรัฐ

กองทัพอากาศสหรัฐ (United States Air Force; USAF) คือกองกำลังพิเศษทางอากาศและอวกาศของกองทัพสหรัฐ และเป็นกองกำลังหนึ่งในเจ็ดของหน่วยงานที่ใส่เครื่องแบบของสหรัฐ ในอดีตวันที่ 1 สิงหาคม..

ดู แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2และกองทัพอากาศสหรัฐ

กองทัพเรือสหรัฐ

ระวังสับสนกับ กระทรวงทหารเรือสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐ (อังกฤษ: United States Navy, USN) เป็นกองกำลังทางทะเลในสังกัดกองทัพสหรัฐ และหนึ่งในเจ็ดองค์กรในเครื่องแบบของสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐเป็นกองทัพเรือที่ใหญ่ และมีความสามารถมากที่สุดในโลก โดยมีขนาดกองเรือตามน้ำหนักที่มากที่สุด กองทัพเรือสหรัฐมีกองเรือบรรทุกอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเรือบรรทุกอากาศยาน 10 ลำในสถานะประจำการ อีก 2 ลำในสถานะกองเรือสำรอง และกำลังก่อสร้างเรือบรรทุกอากาศยานใหม่อีก 3 ลำ กองทัพเรือสหรัฐมีกำลัง 323,792 นายในสถานะประจำการ และอีก 108,515 นายในกองทัพเรือสำรอง มีเรือรบพร้อมประจำการ 274 ลำ และมีอากาศยานที่ใช้การได้มากกว่า 3,700 ลำ ตามข้อมูลในเดือนตุลาคม..

ดู แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2และกองทัพเรือสหรัฐ

กองทัพเรือไทย

กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวีไทย (คำย่อ: ทร., Royal Thai Navy) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือมีจำนวนกำลังพลประจำการเป็นลำดับ 2 (รองจากกองทัพบก) ซึ่งมีเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 74 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม กองทัพเรือมีพื้นที่ปฏิบัติการหลักทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตามแนวเขตแดนระหว่างประเทศในทะเลความยาวกว่า 1,680 ไมล์ และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 1,500 ไมล์ หน่วยต่างๆ ในสังกัดกองทัพเรือมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วยที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก โดยเฉพาะในหน่วยกำลังรบ คือ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (กบร.

ดู แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2และกองทัพเรือไทย

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ดู แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2และสงครามเวียดนาม

อาวุธ

อาวุธ คือเครื่องมือที่ใช้ระหว่างการรบเพื่อสังหารหรือทำลายทรัพย์สินและทรัพยากร จนไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้ อาจใช้ในการโจมตี การป้องกัน อาธิ เล่น ดิวโและการข่มขู่ ถูกแบ่งไว้2ประเภทคือ (1) อาวุธที่เป็นอาวุธโดยลักษณะเช่น ดาบ หอก กระบี่ สนับมือ ปืน เครื่องระเบิด เป็นต้น (2) อาวุธที่มิใช่อาวุธโดยลักษณะแต่ใช้ได้เสมือนดัง อาวุธ มีบันทึกการใช้อาวุธปรากฏในภาพเขียนบนผนังถ้ำ การศึกษากระบวนการในการต่อสู้ ทำให้เกิดทั้งศิลปะการต่อสู้และหลักยุทธศาสตร์ โดยอุปมา ทุกสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหาย (แม้ทางจิตวิทยา) สามารถจัดให้เป็นอาวุธได้ อาจเป็นอาวุธอย่างง่ายจำพวกกระบองไปจนถึงที่ซับซ้อนอย่างขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) หมวดหมู่:อาวุธ หมวดหมู่:การรักษาความปลอดภัย.

ดู แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2และอาวุธ

ดักลาส เอ-1 สกายเรเดอร์

อ-1 สกายไรเดอร์ (A-1 Skyraider) เครื่องบินโจมตีเครื่องยนต์เดี่ยวซึ่งใช้รบในสงครามเกาหลี,สงครามเวียดนาม เอ-1 เป็นเครื่องบินโจมตีใบพัดในยุคไอพ่นเครื่องบิน เอ-1 ใช้งานไปจนถึงปี 2528 โดยมีเอ-7 คอร์แซร์ 2 มาแทนที่ในกองทัพเรือสหรั.

ดู แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2และดักลาส เอ-1 สกายเรเดอร์

ดักลาส เอ-4 สกายฮอว์ค

อ-4 สกายฮอว์ค (A-4 Skyhawk) เป็นเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินบนเรือบรรทุกเครื่องบินที่ออกแบบมาให้กับกองทัพเรือสหรัฐและกองนาวิกโยธินสหรัฐ มันเป็นเครื่องบินปีกสามเหลี่ยมที่มีเครื่องยนต์ไอพ่นหนึ่งเครื่องที่ออกแบบและผลิตโดยดักลาส แอร์คราฟท์ คอมพานี (เป็นแมคดอนเนลล์ ดักลาสในเวลาต่อมา) สกายฮอว์คเดิมทีมีชื่อว่าเอ4ดีตามระบบระบุชื่อของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในปี..

ดู แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2และดักลาส เอ-4 สกายฮอว์ค

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ดู แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2และประเทศกรีซ

ประเทศโปรตุเกส

ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ.

ดู แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2และประเทศโปรตุเกส

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ดู แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2และประเทศไทย

ปืน

ูเอสเอส ไอโอว่า ยิงปืนขณะทำการฝึกยิงใกล้เกาะวีคูส์ เปอร์โต ริโค เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1984 ปืน คืออาวุธสำหรับยิงลูกกระสุนปืน เพื่อให้เข้าสู่เป้าหมาย โดยอาศัยหลักการเผาไหม้ของดินปืนให้เกิดแก๊สผลักดันลูกกระสุนให้ออกจากปากลำกล้องด้วยความเร็วสูง ลูกกระสุนที่ออกจากปากลำกล้องจะการเคลื่อนที่ในแนววิถีราบ ส่วนปืนที่มีขนาดใหญ่ เช่น ปืนใหญ่นิยมใช้การเคลื่อนที่วิถีโค้ง ปืนมีทั้งที่เป็นอาวุธประจำกายเช่น ปืนสั้น ปืนลูกซอง ปืนไรเฟิล ปืนกล หรือ เป็นอาวุธติดตั้งกับพาหนะเช่น ปืนใหญ่รถถัง ปืนกลอากาศในเครื่องบิน ปืนประจำเรือ หรือเป็นอาวุธหนักในสนามรบเช่น ปืนใหญ.

ดู แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2และปืน

เอฟ-8 ครูเซเดอร์

อฟ-8 ครูเซเดอร์ เดิมทีชื่อ เอฟ8ยู (F-8 Crusader) เป็นเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์เดียวบนเรือบรรทุกเครื่องบินที่สร้างโดย วอท มันเข้ามาแทนที่เอฟ-7 คัทลาส เอฟ-8 ลำแรกได้ทำการบินเมื่อเดือนกุมภาพัน..

ดู แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2และเอฟ-8 ครูเซเดอร์

26 กันยายน

วันที่ 26 กันยายน เป็นวันที่ 269 ของปี (วันที่ 270 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 96 วันในปีนั้น.

ดู แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2และ26 กันยายน

ดูเพิ่มเติม

อากาศยานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน

เครื่องบินวอท

หรือที่รู้จักกันในชื่อ A-7A-7E/TA-7Cเอ-7 คอร์แซร์ 2เอ-7 คอร์แซร์ II