โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แร้งเครา

ดัชนี แร้งเครา

แร้งเครา (Bearded vulture, Lammergeier, Ossifrage) นกล่าเหยื่อขนาดใหญ่จำพวกแร้งชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทแร้งโลกเก่า โดยเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Gypaetus แร้งเครา เป็นแร้งขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับแร้งชนิดอื่น ๆ จะมีขนาดใหญ่กว่า และมีลักษณะที่แตกออกไปจากแร้งทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด คือ ส่วนหัวจะมีขนปุกปุยต่างจากแร้งทั่วไปที่หัวและลำคอจะล้านเลี่ยน สีของขนตามลำตัวเป็นสีเหลือง ส่วนหัวสีขาวเป็นสัญลักษณะบ่งบอกว่า แร้งตัวนั้นโตเต็มวัยแล้ว และมีกระจุกขนสีดำบริเวณจะงอยปากล่างแลดูคล้ายเครา อันเป็นที่มาของชื่อ แร้งเครา มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 95–125 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 4.5–9.9 กิโลกรัม ความยาวปีกเมื่อกางเต็มที่เกือบ 10 ฟุต มีเอกลักษณะในการบินเฉพาะตัว มีสายตารวมถึงประสาทในการดมกลิ่นอย่างดีเยี่ยม กระจายพันธุ์ตามเทือกเขาสูงในทวีปยุโรปตอนใต้, แอฟริกา จนถึงอินเดีย และทิเบต เช่น เทือกเขาแอลป์ ทำรังและวางไข่บนหน้าผาสูงสำหรับใช้หลบหลีกจากสัตว์นักล่าชนิดต่าง ๆ ที่มารังควาญได้ นอกจากจะกินเนื้อและซากสัตว์ต่าง ๆ เหมือนแร้งชนิดอื่นแล้ว แร้งเครายังมีพฤติกรรมและชื่นชอบอย่างมากในการกินกระดูกด้วย สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะอาหารขาดแคลนด้วยปัจจัยของถิ่นที่อยู่อาศัยที่ทำให้หาอาหารได้ยากและสภาพอากาศที่หนาวเย็น เคยมีผู้พบแร้งเคราคาบกระดูกสัตว์ชิ้นใหญ่ เชื่อว่าเป็นกระดูกของแกะบินขึ้นไปในอากาศที่จุดสูงสุด และทิ้งลงไปให้แตกเป็นชิ้นละเอียดกับพื้น ก่อนจะบินลงมากินทั้งหมดลงไปในกร.

11 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2301ยุโรปใต้วงศ์เหยี่ยวและอินทรีสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกอันดับเหยี่ยวคาโรลัส ลินเนียสแร้งแร้งโลกเก่าเทือกเขาแอลป์

พ.ศ. 2301

ทธศักราช 2301 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: แร้งเคราและพ.ศ. 2301 · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปใต้

รปใต้ ยุโรปใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งในทวีปยุโรป ซึ่งมีดินแดนติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอยู่ในคาบสมุทรใหญ่ 3 คาบสมุทรคือ คาบสมุทรไอบีเรีย คาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรบอลข่าน อยู่ในละติจูดที่ 35 องศาเหนือถึง 47 องศาเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 1,316,290 ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเชื้อสายเมดิเตอร์เรเนียน ประกอบไปด้วย 16 ประเทศดังนี้.

ใหม่!!: แร้งเคราและยุโรปใต้ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี (วงศ์: Accipitridae) เป็นหนึ่งในสองวงศ์หลักของอันดับ Accipitriformes (นกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน) นกในวงศ์มีขนาดเล็กถึงใหญ่ มีปากเป็นตะขอแข็งแรง มีสัณฐานต่างกันไปตามอาหารการกิน เหยื่อเป็นตั้งแต่แมลงถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลาง บางชนิดกินซากสัตว์ และสองสามชนิดกินผลไม้เป็นอาหาร วงศ์เหยี่ยวและอินทรีสามารถพบได้ทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา บางชนิดพบได้บนหมู่เกาะ และบางชนิดเป็นนกอพยพ นกในวงศ์นี้ ประกอบไปด้วย เหยี่ยวนกเขา, อินทรี, เหยี่ยวรุ้ง, เหยี่ยวไคต์ และ แร้งโลกเก่า, เหยี่ยวออสเปรนั้นโดยปกติแล้วจะถูกวางไว้ในอีกวงศ์ (Pandionidae) รวมถึง นกเลขานุการ (Sagittariidae), และ แร้งโลกใหม่ที่ปัจจุบันได้รับการพิจารณาเป็นวงศ์และอันดับที่แยกออกไป ข้อมูลแคริโอไทป์แสดงว่า การวิเคราะห์เหยี่ยวและนกอินทรีจนบัดนี้เป็นกลุ่มจากชาติพันธุ์เดียวที่แยกกันอย่างเด่นชัด แต่ถึงกระนั้นกลุ่มนี้ควรพิจารณาวงศ์ของอันดับเหยี่ยวปีกแหลมหรือหลายอันดับแยกออกมาเป็นของตัวเอง.

ใหม่!!: แร้งเคราและวงศ์เหยี่ยวและอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: แร้งเคราและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: แร้งเคราและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: แร้งเคราและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเหยี่ยว

อันดับเหยี่ยว (Accipitriformes) เป็นอันดับที่ประกอบด้วยนกล่าเหยื่อเวลากลางวันส่วนมาก เช่น เหยี่ยวนกเขา, อินทรี และ แร้ง มีประมาณ 225 ชนิด ในอดีตจะรวมเหยี่ยวในอันดับ Falconiformes แต่ผู้แต่งบางคนแยกมาไว้ในอันดับ Accipitriformes การศึกษา DNA ในปัจจุบันแสดงว่า เหยี่ยวปีกแหลมไม่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกับนกในอันดับ Accipitriformes แต่ใกล้ชิดกับนกแก้วและนกเกาะคอน ตั้งแต่การแบ่งแยก (แต่ก็ไม่ได้วางเหยี่ยวถัดจากนกแก้วหรือนกเกาะคอน) ได้รับการยอมรับโดยคณะกรรมการการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาใต้แห่งสมาคมนักปักษีวิทยาแห่งอเมริกา (American Ornithologists' Union) (SACC), คณะกรรมการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาเหนือ (NACC), และ การประชุมปักษีนานาชาติ (IOC) บนพื้นฐานของ DNA และการจัดประเภทของ NACC และ IOC ได้จัดแร้งโลกใหม่ใน Accipitriformes, ขณะที่ SACC ได้จัดแร้งโลกใหม่อยู่ในอันดับอื่น การจัดวางแร้งโลกใหม่นั้นยังคงเป็นปัญหามาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1990.

ใหม่!!: แร้งเคราและอันดับเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: แร้งเคราและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

แร้ง

แร้งสีน้ำตาล (''Gyps indicus'') แร้ง หรือ อีแร้งบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: แร้งเคราและแร้ง · ดูเพิ่มเติม »

แร้งโลกเก่า

แร้งโลกเก่า (Old world vulture) เป็นวงศ์ย่อยของนกล่าเหยื่อในอันดับเหยี่ยว (Accipitriformes) ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) ใช้ชื่อวงศ์ย่อยว่า Aegypiinae จัดเป็นแร้งจำพวกหนึ่ง นกในวงศ์ย่อยนี้ มีความแตกต่างไปจากนกจำพวกอื่นในวงศ์เดียวกัน คือ จะไม่กินสัตว์ที่มียังมีชีวิตอยู่ แต่จะกินเฉพาะสัตว์ที่ตายไปแล้ว หรือซากสัตว์ มีรูปร่างโดยรวมคือ ปีกกว้าง หางสั้น มีคอที่ยาว หัวเล็ก บริเวณต้นคอมีขนสีขาวรอบเหมือนสวมพวงมาลัย มีลักษณะเด่นคือ ขนที่หัวและลำคอแทบไม่มีเลยจนดูเหมือนโล้นเลี่ยน สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะพฤติกรรมการกินซากสัตว์ จึงไม่มีขนเพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของเชื้อโรค และเพื่อความสะดวกในการในการมุดกินซากด้วย แต่ก็มีบางชนิดที่ชอบกินลูกปาล์ม ขนาดลำตัวและปีกเฉลี่ยแล้วนับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดานกในวงศ์นี้ วางไข่ทำรังบนหน้าผาสูงหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้ใหญ่ วางไข่ครั้งละ 1 ฟอง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ บนอยู่เหนือท้องฟ้า และมองหาอาหารด้วยสายตา ด้วยการบินวนเป็นวงกลม เมื่อร่อนลงเพื่อกินซาก อาจจะแย่งกันและส่งเสียงดังเอะอะกันในฝูง แต่เมื่อเวลาบินขึ้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่และปีกที่กว้าง จำต้องวิ่งไปไกลถึง 20 ฟุต เหมือนเครื่งบินเวลาทะยานขึ้น และความเป็นสัตว์กินซา่ก แร้งโลกเก่าจึงเป็นนกที่ใช้เวลานอกเหนือจากการกินอาหารไซ้ขน รวมทั้งกางปีก ผึ่งแดด เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกเก่า ได้แก่ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป ในช่วงฤดูหนาวมีการอพยพลงซีกโลกทางใต้เพื่อหนีหนา่ว ปัจจุบัน แร้งโลกเก่าหลายชนิดอยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกรุกราน และสภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนไป ทำให้จำนวนหนึ่งต้องตายลงเนื่องจากไม่มีอาหารกิน ในอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลายตัวต้องตายลงเนื่องจากไปกินซากสัตว์ที่ปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ แร้ง - ชีวิตพิศดารของสัตว์ (๒) โดย ประพันธ์ บุญกลิ่นขจร: ต่วยตูน เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๐ ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙ ไข่ของแร้งโลกเก.

ใหม่!!: แร้งเคราและแร้งโลกเก่า · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอลป์

ทือกเขาแอลป์ระบบดิจิตอล เทือกเขาแอลป์ในประเทศออสเตรีย เทือกเขาแอลป์ (Alpen; Alpes; Alpi; สโลวีเนีย: Alpe; Alps) เป็นเทือกเขาที่ใหญ่สุดของทวีปยุโรปโดยครอบคลุมตั้งแต่ออสเตรีย, อิตาลี และสโลวีเนียทางด้านตะวันออก ไปจนถึงสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, เยอรมนี และฝรั่งเศสทางด้านตะวันตก เทือกเขาแอลป์เป็นเทือกเขาอายุน้อย เกิดขึ้นเมื่อแผ่นทวีปแอฟริกามุดใต้แผ่นทวีปยูเรเซีย (อนุทวีปสเปนและอิตาลีชนกับแผ่นดินใหญ่) ภูเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาแอลป์คือ ยอดเขามองต์บลังก์ ที่ความสูง 4,807 เมตร บริเวณชายแดนฝรั่งเศสกับอิตาลี.

ใหม่!!: แร้งเคราและเทือกเขาแอลป์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Bearded vultureGypaetusGypaetus barbatusLammergeierOssifrageแร้งเครายาว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »