เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

แยกหัวลำโพง

ดัชนี แยกหัวลำโพง

แยกหัวลำโพง (Hua Lamphong Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน และแขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกที่เป็นทางตัดกันของถนนพระราม 4, ถนนรองเมือง, ถนนมหาพฤฒาราม รวมถึงสะพานเจริญสวัสดิ์ 36 ซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม เป็นสี่แยกที่อยู่ด้านหน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือสถานีรถไฟหัวลำโพง.

สารบัญ

  1. 10 ความสัมพันธ์: กรุงเทพมหานครรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครสะพานพิทยเสถียรสถานีรถไฟกรุงเทพถนนพระรามที่ 4ถนนมหาพฤฒารามทางพิเศษศรีรัชคลองผดุงกรุงเกษมเขตบางรักเขตปทุมวัน

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ดู แยกหัวลำโพงและกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร ทางแยกต่างระดับ รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ.

ดู แยกหัวลำโพงและรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

สะพานพิทยเสถียร

นพิทยเสถียร สะพานพิทยเสถียร เป็นหนึ่งในสะพานที่สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ในพื้นที่แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยมีประวัติและที่มาควบคู่ไปกับสะพานดำรงสถิต หรือที่นิยมเรียกว่าสะพานเหล็ก ที่ข้ามคลองโอ่งอ่าง ในเขตพระนคร สะพานพิทยเสถียรตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุงช่วงที่มาจากเขตบางรัก ในช่วงที่ตัดกับถนนมหาพฤฒาราม ที่มุ่งหน้ามาจากถนนพระราม 4 ใกล้กับแยกไมตรีจิตต์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อโปรดให้ประกาศบอกบุญผู้ที่มีจิตศรัทธา ให้ช่วยกันสร้างสะพานข้ามคูคลองในพระนครนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงค์ (ช่วง บุนนาค) ได้สร้างเป็นสะพานโครงเหล็กคู่กับสะพานดำรงสถิต เรียกว่า "สะพานเหล็กล่าง" (ในขณะที่สะพานดำรงสถิต เรียกว่า "สะพานเหล็กบน") พื้นสะพานข้างล่างมีล้อ และรางเหล็กสำหรับเปิดสะพานให้แยกจากกันได้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้กรมโยธาธิการสร้างใหม่ในพุทธศักราช 2442 เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้เช่นเดียวกันกับสะพานดำรงสถิต พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ซึ่งมีวังที่ประทับอยู่ในบริเวณใกล้เคียง สร้างเสร็จในพุทธศักราช 2443 ในรัชกาลที่ 6 โปรดให้ปรับปรุงสะพานนี้ใหม่ ซึ่งคือสะพานที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน สภาพสะพานเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก มีสถาปัตยกรรมแบบเวนีเชียน มีคานล่างเป็นรูปโค้ง สะพานนี้มีลวดลายตกแต่งประณีตงดงามมาก โดยเฉพาะเสาลูกกรง เสาโคมไฟฟ้าทั้ง 8 ต้น ตลอดจนลายหัวสิงห์ที่ปลายรอดสะพาน ทั้งสะพานพิทยเสถียรและสะพานดำรงสถิต ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกรมศิลปากรตั้งแต่พุทธศักราช 2518.

ดู แยกหัวลำโพงและสะพานพิทยเสถียร

สถานีรถไฟกรุงเทพ

นอกสถานีรถไฟกรุงเทพ ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด สร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.

ดู แยกหัวลำโพงและสถานีรถไฟกรุงเทพ

ถนนพระรามที่ 4

นนพระรามที่ 4 ช่วงสวนลุมพินี ถนนพระรามที่ 4 (Thanon Rama IV) เป็นถนนในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ทางแยกหมอมี (แยกจากถนนเจริญกรุง) ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สะพานเจริญสวัสดิ์ ผ่านสถานีหัวลำโพง สามย่าน ไปบรรจบถนนสุขุมวิท.

ดู แยกหัวลำโพงและถนนพระรามที่ 4

ถนนมหาพฤฒาราม

นนมหาพฤฒาราม (Thanon Maha Phruettharam) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่อยู่ในพื้นที่เขตปทุมวัน, เขตสัมพันธวงศ์ และเขตบางรัก ถนนมหาพฤฒาราม ได้ชื่อมาจากวัดมหาพฤฒาราม (ชื่อเดิม: วัดท่าเกวียน, วัดตะเคียน) วัดแห่งหนึ่งที่ถนนเส้นนี้ตัดผ่าน เป็นถนนสายสั้น ๆ จากแยกหัวลำโพงตัดกับถนนพระราม 4 ในแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน บริเวณหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง จากนั้นทอดยาวเข้าพื้นที่แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ โดยเลียบไปกับคลองผดุงกรุงเกษม ไปสิ้นสุดลงที่เชิงสะพานพิทยเสถียรตัดกับถนนเจริญกรุง ในลักษณะเป็นสามแยก ในพื้นที่แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก.

ดู แยกหัวลำโพงและถนนมหาพฤฒาราม

ทางพิเศษศรีรัช

ทางพิเศษศรีรัช หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วนในเมือง) เป็นทางพิเศษในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างและเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กันยายน..

ดู แยกหัวลำโพงและทางพิเศษศรีรัช

คลองผดุงกรุงเกษม

ลองผดุงกรุงเกษมบริเวณสะพานเจริญสวัสดิ์ (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5) คลองผดุงกรุงเกษม ในปัจจุบัน คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองรอบพระนครชั้นนอก ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเมื่อ..

ดู แยกหัวลำโพงและคลองผดุงกรุงเกษม

เขตบางรัก

ตบางรัก เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตลุมพินี ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต.

ดู แยกหัวลำโพงและเขตบางรัก

เขตปทุมวัน

ตปทุมวัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานครและที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง.

ดู แยกหัวลำโพงและเขตปทุมวัน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ สี่แยกหัวลำโพง