โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แยกบางยี่เรือ

ดัชนี แยกบางยี่เรือ

แยกบางยี่เรือ (Bang Yi Ruea Junction) เป็นทางแยกแห่งหนึ่งในฝั่งธนบุรี เป็นสามแยกที่เป็นจุดที่ถนนเทอดไทบรรจบถนนอินทรพิทักษ์ อยู่ใกล้กับวงเวียนใหญ่ ในพื้นที่แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

11 ความสัมพันธ์: กรุงเทพมหานครรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครวงเวียนใหญ่ถนนอินทรพิทักษ์ถนนเทอดไททางแยกตลาดพลูแยกท่าพระแขวงบางยี่เรือเขตธนบุรี

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: แยกบางยี่เรือและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร ทางแยกต่างระดับ รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: แยกบางยี่เรือและรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร

ต (district หรือ khet) เป็นชื่อเรียกหน่วยการปกครองทางมหาดไทย อยู่ระดับเดียวกับอำเภอซึ่งอยู่รองจากจังหวัด แต่ใช้เฉพาะในกรุงเทพมหานครซึ่งไม่มีสถานะเป็นจังหวัด ในแต่ละเขตแบ่งออกเป็นแขวง.

ใหม่!!: แยกบางยี่เรือและรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วงเวียนใหญ่

วงเวียนใหญ่ เป็นวงเวียนที่ถนนประชาธิปก ถนนลาดหญ้า ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนอินทรพิทักษ์มาบรรจบกันในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี บริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ซึ่งเป็นสถานีต้นทางของทางรถไฟสายแม่กลอง (วงเวียนใหญ่-มหาชัย).

ใหม่!!: แยกบางยี่เรือและวงเวียนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอินทรพิทักษ์

นนอินทรพิทักษ์ (Thanon Intharaphithak) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนนขนาด 6 ช่องทางจราจร เขตถนนกว้าง 30 เมตร ระยะทางยาว 780 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ซึ่งเป็นที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไปทางทิศตะวันตก ผ่านแนวคลองบางไส้ไก่ ตัดกับถนนเทอดไทที่ทางแยกบางยี่เรือ ไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานเนาวจำเนียร (สะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่) โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนเพชรเกษมในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ ถนนอินทรพิทักษ์เป็น "ถนนสายที่ 4" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร พ.ศ. 2473 ได้กำหนดแนวเส้นทางถนนสายที่ 4 ไว้ตั้งแต่ท่าสินค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านถนนสายที่ 2 (ปัจจุบันคือถนนสมเด็จเจ้าพระยา) ถนนสายที่ 3 (ปัจจุบันคือถนนอิสรภาพ) และผ่านถนนสายที่ 1 (ปัจจุบันคือถนนประชาธิปกและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน) ที่วงเวียน ไปสิ้นสุดที่ท่าสินค้าริมคลองบางกอกใหญ่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนสายที่ 4 ของโครงการดังกล่าวตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเสนอว่า ถนนลาดหญ้า เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงคราวที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงยกทัพรบชนะกองทัพพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า แขวงเมืองกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2328กนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: แยกบางยี่เรือและถนนอินทรพิทักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเทอดไท

นนเทอดไทช่วงตลาดพลู ถนนเทอดไท (Thanon Thoet Thai) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นถนนในฝั่งธนบุรี ตัดผ่านตั้งแต่เขตธนบุรี, เขตจอมทอง, เขตภาษีเจริญ ไปสิ้นสุดที่เขตบางแค ถนนเทอดไทจัดเป็นถนนสายรอง บางส่วนเดิมมีชื่อว่า "ถนนพัฒนาการ" เป็นถนนที่มีจุดเริ่มต้นที่แยกบางยี่เรือ จุดตัดกับถนนอินทรพิทักษ์ ในเขตธนบุรี ไปสิ้นสุดลงที่แยกพัฒนาการ จุดตัดกับถนนบางแค ในเขตบางแ.

ใหม่!!: แยกบางยี่เรือและถนนเทอดไท · ดูเพิ่มเติม »

ทางแยก

ทางแยกในคาร์คิฟ ประเทศยูเครน ทางแยกในมากาตี ประเทศฟิลิปปินส์ ทางแยก (intersection) เป็นจุดตัดที่อยู่ในระดับเดียวกันของถนนสองสายขึ้นไปที่มาบรรจบกันหรือตัดข้ามกัน ได้แก่ สามแยก เช่น สามแยกรูปตัวที (T junction) หรือ สามแยกรูปตัววาย (Y junction) หรือสี่แยก ห้าแยก หรือมากกว่านั้น ทางแยกต่าง ๆ มักจะมีการควบคุมโดยไฟจราจร หรือมีการสร้างวงเวียน หรือทั้งสอง.

ใหม่!!: แยกบางยี่เรือและทางแยก · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดพลู

นนเทอดไท ถนนสายหลักของตลาดพลู สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ตลาดพลู ตลาดพลู เป็นชุมชนและทางแยกตั้งอยู่บริเวณถนนเทอดไท แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี ติดกับคลองบางหลวง หรือคลองบางกอกใหญ่ แต่เดิมนั้นเป็นพื้นที่ของชาวจีนที่มาตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ต่อมาเมื่อย้ายราชธานีไปยังฝั่งพระนคร ชาวจีนบางส่วนที่ตลาดพลูจึงได้ย้ายไปสำเพ็ง และมีชาวมุสลิมจากภาคใต้ที่เข้ามาแทนที่ ได้ริเริ่มการทำสวนพลูที่นี่ ซึ่งทั้งชาวมุสลิมและชาวจีนต่างทำสวนพลูจนเป็นอาชีพที่แพร่หลาย จนเป็นตลาดซื้อขายพลู ที่เรียกว่าตลาดพลู จนบัดนี้ ในอดีต ตลาดพลูเป็นย่านที่มีความคึกคักมาก มีโรงภาพยนตร์ 2 โรง จนมีคำกล่าวว่า "เยาวราชมีอะไร ตลาดพลูก็มีอย่างนั้น" ตลาดพลู ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องของเป็นแหล่งขายอาหารที่หลากหลาย โดยเฉพาะอาหารจีนที่เป็นอาหารริมทาง เช่น ข้าวหมูแดง, ไอศกรีมกะทิไข่แข็ง, ก๋วยเตี๋ยวและเกาเหลาเนื้อ, ขนมไทย, เย็นตาโฟ, หมี่กรอบ, ขนมเบื้องทั้งของไทยและญวน รวมถึง ขนมบดิน ขนมเค้กแบบดั้งเดิมของชาวมุสลิมด้านมัสยิดสวนพลู และที่มีชื่ออย่างมากคือ ขนมกุยช่าย ซึ่งเป็นอาหารกินเล่นหรือขนมของชาวแต้จิ๋ว.

ใหม่!!: แยกบางยี่เรือและตลาดพลู · ดูเพิ่มเติม »

แยกท่าพระ

แยกท่าพระ (Tha Phra Intersection) เป็นสี่แยกบริเวณจุดตัดระหว่างถนนเพชรเกษม, ถนนรัชดาภิเษกและถนนจรัญสนิทวงศ์ ในพื้นที่แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร นับเป็นสี่แยกที่มีความสำคัญต่อการจราจรในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ถือเป็นจุดเริ่มต้นของถนนจรัญสนิทวงศ์ และถนนรัชดาภิเษก ช่วงรัชดา-ท่าพระ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบถนนวงแหวนรอบในของกรุงเทพฯ อีกทั้งยังเป็นทางแยกแรกของถนนเพชรเกษมจากจุดเริ่มต้นบริเวณสะพานเนาวจำเนียรซึ่งทอดยาวลงสู่ภาคใต้ของไทย นับเป็นบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นมากอีกแห่งหนึ่งในพื้นที่ฝั่งธนบุรีรองจากวงเวียนใหญ่ แม้ในปัจจุบันจะมีการตัดถนนในพื้นที่ข้างเคียงอีกหลายสาย เช่นถนนราชพฤกษ์ ซึ่งสามารถแบ่งเบาปริมาณการจราจรจากย่านวงเวียนใหญ่เข้าสู่แยกท่าพระได้ในระดับหนึ่ง โดยชื่อ "ท่าพระ" อันทั้งชื่อของแยกและแขวงในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ด้วย นั้นมาจากชื่อของวัดท่าพระ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงด้านถนนจรัญสนิทวงศ์ เดิมมีชื่อว่า "วัดเกาะ" ต่อมาได้มีการพบหลวงพ่อเกษร อันเป็นประธานในวัดลอยมาติดที่ท่าน้ำ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดท่าพระดังเช่นในปัจจุบัน แยกท่าพระเดิมมีสภาพเป็นเพียงสามแยก ต่อมาทางด้านทิศใต้ได้มีการตัดถนนรัชดาภิเษกช่วงรัชดา-ท่าพระ จึงเปลี่ยนมาเป็นสี่แยก กระทั่งปี พ.ศ. 2534 มีการเปิดใช้สะพานลอยข้ามแยกตามแนวถนนเพชรเกษม ทำพิธีเปิดโดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น และในปี พ.ศ. 2544 มีการเปิดใช้อุโมงค์ลอดทางแยกตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์และถนนรัชดาภิเษก นับเป็นอุโมงค์ลอดทางแยกแห่งแรก ๆ ของกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการปิดซ่อมสะพานข้ามแยกระหว่างวันที่ 23 เมษายน ถึงวันที่ 7 กันยายน ซึ่งจากเดิมเปิดวันที่ 21 กรกฎาคม เนื่องจากสะพานตรงกลางแอ่นตัวในฝั่งขาออกและมาเปิดวันที่ 12 สิงหาคม แต่ไม่เสร็จและมาเปิดวันที่ 23 สิงหาคม และไม่เสร็จอีกจึงมาเปิดวันที่ 7 กันยายน นับเป็นสะพานข้ามแยกที่ 9 ที่ทางกรุงเทพมหานครปิดซ่อมและเปิดใช้.

ใหม่!!: แยกบางยี่เรือและแยกท่าพระ · ดูเพิ่มเติม »

แขวงบางยี่เรือ

ระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่วงเวียนใหญ่ บางยี่เรือ เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยชื่อ "บางยี่เรือ" เป็นคำที่เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "บังยิงเรือ" สืบเนื่องจากพื้นที่นี้ในอดีต ก่อนการสถาปนากรุงธนบุรี โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่นาน พระองค์ได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นตำบลดักซุ่มยิงเรือพม่าในสงครามคราวกู้เอกราช เนื่องจากเป็นพื้นที่ ๆ มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะอยู่ติดริมน้ำ คือ คลองบางหลวง (คลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบัน), คลองบางน้ำชน และคลองท่าพระ โดยมีชาวมอญหรือรามัญที่หลบหนีกองทัพพม่ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และปลูกบ้านเรือนอยู่แถบนี้เป็นกำลังสำคัญให้การช่วยเหลือด้วย ต่อมาในกรุงรัตนโกสินทร์ บางยี่เรือมีฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรี เดิมมีชื่อว่า "อำเภอราชคฤห์" ได้เปลี่ยนชื่อเมื่อปี..

ใหม่!!: แยกบางยี่เรือและแขวงบางยี่เรือ · ดูเพิ่มเติม »

เขตธนบุรี

ตธนบุรี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ใหม่!!: แยกบางยี่เรือและเขตธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »