โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แฟลบปีเบิร์ด

ดัชนี แฟลบปีเบิร์ด

แฟลบปีเบิร์ด (Flappy Bird) เป็นเกมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2556 พัฒนาโดยผู้พัฒนาเหวียน ฮา ดอง ชาวเวียดนาม และจัดจำหน.เกียส์สตูดิโอส์ (.GEARS Studios) บริษัทผู้พัฒนาเกมอิสระขนาดเล็กซึ่งมีฐานในประเทศเวียดนามเช่นกัน ตัวเกมมีรูปแบบเลื่อนหน้าจอข้างและผู้เล่นควบคุมนกตัวหนึ่ง โดยพยายามบินระหว่างแถวท่อสีเขียวไม่ให้นกไปชน ผู้พัฒนาสร้างเกมนี้ใช้เวลาหลายวัน โดยใช้ตัวเอกนกที่เขาออกแบบมาสำหรับเกมที่ได้ยกเลิกไปในปี 2555 เกมนี้ถูกปล่อยเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 แต่ได้รับความนิยมอย่างฉับพลันเมื่อต้นปี 2557 เกมนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องระดับความยากและถูกกล่าวหาว่าลอกเลียนกราฟิกและกลไกของเกม ขณะที่ผู้วิจารณ์พบว่าเกมนี้ทำให้ติด เมื่อปลายเดือนมกราคม 2557 เกมนี้เป็นเกมไม่เสียค่าใช้จ่ายที่มีการดาวน์โหลดสูงสุดในไอโอเอสแอปสโตร์ (iOS App Store) ระหว่างช่วงนี้ ผู้พัฒนาอ้างว่า แฟลบปีเบิร์ด ทำรายได้ 50,000 ดอลล่าร์สหรัฐต่อวันจากโฆษณาในแอป ผู้สร้างเกมได้นำ แฟลบปีเบิร์ด ออกจากทั้งแอปสโตร์ของแอปเปิลและกูเกิลเพลย์เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 เนื่องจากรู้สึกผิดต่อสิ่งที่เขาพิจารณาว่าเป็นธรรมชาติที่ทำให้ติดของเกม ความนิยมของเกมและการถอนฉับพลันนี้ทำให้โทรศัพท์ที่มีตัวเกมติดตั้งอยู่ถูกวางขายในราคาสูงทางอินเทอร์เน็ต เกมคล้ายกับ แฟลบปีเบิร์ด ได้รับความนิยมทางไอทูนส์แอปสโตร์หลังการนำเกมออก และทั้งแอปเปิลและกูเกิลได้นำหลายเกมออกจากแอปสโตร์ของตนเนื่องจากคล้ายกับเกมต้นฉบับมากเกินไป เกมนี้ยังมีการกระจายผ่านช่องทางไม่เป็นทางการในหลายแพลตฟอร์ม.

1 ความสัมพันธ์: โจรกรรมทางวรรณกรรม

โจรกรรมทางวรรณกรรม

รกรรมทางวรรณกรรม หรือ การลอกเลียนวรรณกรรม (plagiarism) หมายถึง การลอกงานเขียน ความคิดหรืองานสร้างสรรค์ดั้งเดิมทั้งหมดหรือบางส่วนที่เหมือนหรือเกือบเหมือนงานดั้งเดิมของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นงานดั้งเดิมของตนเอง ในวงวิชาการ โจรกรรมทางวรรณกรรมโดยนิสิตนักศึกษา อาจารย์หรือนักวิจัยถือเป็น “ความไม่สุจริตทางวิชาการ” (en:academic dishonesty) หรือ “การฉ้อฉลทางวิชาการ” (en:academic fraud) และผู้กระทำผิดจะต้องถูกตำหนิทางวิชาการ (academic censure) โจรกรรมทางวรรณกรรมในงานสื่อสารมวลชนถือเป็นละเมิดจรรยาบรรณทางวารสารศาสตร์ (en:journalistic ethics) นักข่าวที่ถูกจับได้โดยทั่วไปจะถูกลงโทษทางวินัยตั้งแต่พักงานถึงการถูกให้ออกจากงาน สำหรับบุคคลทั่วไปที่ถูกจับได้ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมทางวิชาการหรือทางงานหนังสือพิมพ์มักอ้างว่าได้กระทำลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยลืมใส่อ้างอิง หรือใส่คำประกาศกิตติคุณ (en:citation) ที่เหมาะสมไว้ ปัญหาโจรกรรมทางวรรณกรรมเป็นปัญหาที่เกิดมานานนับศตวรรษมาแล้วซึ่งเป็นแบบรูปเล่ม การพัฒนาทางอินเทอร์เน็ตที่บทความปรากฏในรูปของอีเล็กทรอนิกส์ ทำให้งานคัดลอกทำได้เพียง “ลอก” ข้อความในเว็บมา “ใส่” ไว้ในอีกเว็บหนึ่งอย่างง่ายดายที่เรียกว่า “การคัดลอก-แปะ” (en:copying and pasting) โจรกรรมทางวรรณกรรมต่างกับการละเมิดลิขสิทธิ์แม้ทั้งสองคำนี้ใช้กับพฤติกรรมที่คล้าย ๆ กัน เพียงแต่เน้นการละเมิดที่ต่างมุมกัน การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดสิทธิ์ด้วยการไม่บอกกล่าวกับผู้ถือลิขสิทธิ์ แต่ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่งโจรกรรมทางวรรณกรรมเกี่ยวข้องกับการสร้างชื่อเสียงให้ตนเองของผู้กระทำด้วยการแอบอ้างว่าตนเป็นผู้เขียน.

ใหม่!!: แฟลบปีเบิร์ดและโจรกรรมทางวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Flappy Bird

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »