โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557

ดัชนี แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557

แผ่นดินไหวในอีกีเก หรือ แผ่นดินไหวในนอร์เตกรัน..

39 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2557กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคมหาสมุทรแปซิฟิกมาตราริกเตอร์มาตราขนาดโมเมนต์มาตราเมร์กัลลีรัฐฮาวายร่องลึกเปรู-ชิลีวิทยาแผ่นดินไหวศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอันโตฟากัสตาอิกิเกจังหวัดอิวาเตะจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวคลื่นสึนามิซานเตียโกประเทศชิลีประเทศกัวเตมาลาประเทศญี่ปุ่นประเทศฮอนดูรัสประเทศคอสตาริกาประเทศนิการากัวประเทศโบลิเวียประเทศเม็กซิโกประเทศเอกวาดอร์ประเทศเอลซัลวาดอร์ประเทศเปรูแผ่นดินไหวแผ่นดินไหวตามแผ่นดินไหวนำแผ่นดินไหวในชิลี พ.ศ. 2553แคว้นอาเรกีปาแคว้นโมเกกวาเวลามาตรฐานไทยเวลาในประเทศชิลีเทือกเขาแอนดีสUTC−03:001 เมษายน

พ.ศ. 2557

ทธศักราช 2557 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2014 วันแรกของปีตรงกับวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2014 ตามกำหนดสากลศักราช และปีที่ 2557 ตามกำหนดพุทธศักร.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และพ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial infarction; MI) หรือรู้จักกันว่า อาการหัวใจล้ม (heart attack) เกิดเมื่อเลือดไหลสู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวใจลดลงหรือหยุดไหล ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ อาการที่พบมากที่สุด คือ เจ็บอกหรือแน่นหน้าอกซึ่งอาจร้าวไปไหล่ แขน หลัง คอหรือกราม บ่อยครั้งเจ็บบริเวณกลางอกหรืออกด้านซ้ายและกินเวลาไม่ใช่เพียงไม่กี่นาที อาการแน่นหน้าอกบางทีอาจรู้สึกคล้ายอาการแสบร้อนกลางอก อาการอื่น ได้แก่ การหายใจลำบาก คลื่นไส้ รู้สึกหมดสติ เหงื่อแตก หรือรู้สึกล้า ผู้ป่วยประมาณ 30% มีอาการไม่ตรงแบบ หญิงมักมีอาการไม่ตรงแบบมากกว่าชาย ในผู้ป่วยอายุกว่า 75 ปีขึ้นไป ประมาณ 5% เคยมี MI โดยไม่มีหรือมีประวัติอาการเพียงเล็กน้อย MI ครั้งหนึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเสียจังหวะ ช็อกเหตุหัวใจ หรือหัวใจหยุด MI ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด กินอาหารเลวและบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินเป็นต้น กลไกพื้นเดิมของ MI ปกติเกิดจากการแตกของแผ่นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerotic plaque) ทำให้เกิดการอุดกั้นสมบูรณ์หลอดเลือดหัวใจ MI ที่เกิดจากการบีบเกร็งของหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจเกิดได้จากโคเคน ความเครียดทางอารมณ์อย่างสำคัญ และความเย็นจัด เป็นต้น นั้นพบน้อย มีการทดสอบจำนวนหนึ่งเป็นประโยชน์ช่วยวินิจฉัยรวมทั้งภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบเลือด และการบันทึกภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจ ECG ซึ่งเป็นบันทึกกัมมันตภาพไฟฟ้าของหัวใจ อาจยืนยัน MI ชนิด ST ยก (STEMI) หากมีการยกของ ST การทดสอบที่ใช้ทั่วไปมีทั้งโทรโปนินและครีเอตีนไคเนสเอ็มบีที่ใช้น้อยกว่า การรักษา MI นั้นสำคัญที่เวลา แอสไพรินเป็นการรักษาทันทีี่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สงสัยเป็น MI อาจใช้ไนโตรกลีเซอรีนหรือโอปิออยด์เพื่อช่วยระงับอาการเจ็บอก ทว่า ยาทั้งสองไม่ได้เพิ่มผลลัพธ์โดยรวมของการรักษา การให้ออกซิเจนเสริมอาจให้ในผู้ป่วยระดับออกซิเจนต่ำหรือหายใจกระชั้น ในผู้ป่วย STEMI การรักษาเป็นไปเพื่อพยายามฟื้นฟูการไหลเวียนโลหิตสู่หัวใจ และอาจรวมถึงการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention, PCI) ซึ่งมีการผลักหลอดเลือดแดงให้เปิดออกและอาจถ่ายขยาย หรือการสลายลิ่มเลือด ซึ่งมีการใช้ยาเพื่อขจัดบริเวณที่เกิดการอุดกั้น ผู้มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดแบบไม่มี ST ยก (NSTEMI) มักรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเฮปาริน และการใช้ PCI อีกครั้งในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจหลายเส้นและโรคเบาหวาน อาจแนะนำการผ่าตัดทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจแทนศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด หลังเป็น MI ตรงแบบแนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการรักษาระยะยาวด้วยแอสไพริน เบตาบล็อกเกอร์ และสแตติน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดทั่วโลกประมาณ 15.9 ล้านครั้งในปี 2558 กว่า 3 ล้านคนมี MI ชนิด ST ยก และกว่า 4 ล้านคนเป็น NSTEMI สำหรับ STEMI เกิดในชายมากกว่าหญิงสองเท่า มีผู้ป่วย MI ประมาณหนึ่งล้านคนทุกปีในสหรัฐ ในประเทศพัฒนาแล้ว โอกาสเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI อยู่ี่ประมาณ 10% อัตรา MI สำหรับอายุต่าง ๆ ลดลงทั่วโลกระหว่างปี 2533 ถึง 2553 ในปี 2554 MI เป็นภาวะที่มีราคาแพงที่สุดห้าอันดับแรกระหว่างการให้เข้าโรงพยาบาลผู้ป่วยในในสหรัฐ โดยมีมูลค่าประมาณ 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการรักษาในโรงพยาบาล 612,000 ครั้ง.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค

แผนที่แสดงแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลก การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเดิมที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานนี้ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลายหลังจากการเสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500) โครงสร้างส่วนนอกของโลกนั้นแบ่งตามคุณสมบัติของชั้นหินต่อคลื่นไหวสะเทือนได้สองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นธรณีภาคชั้นดินแข็ง (lithosphere) อันประกอบด้วยเปลือกโลกและเนื้อโลก (mantle) ชั้นบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและแข็งเกร็ง ชั้นล่างลงไปคือชั้นฐานธรณีภาคชั้นดินอ่อน (asthenosphere) ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งแต่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนที่ได้คล้ายของเหลวเมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง ธรณีภาคแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นประกอบกัน ในกรณีของโลกสามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เคลื่อนที่สัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ขอบของเปลือกโลกสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทตามลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสัมพัทธ์ของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนั้น คือ ขอบเปลือกโลกที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเปลือกโลกที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มาตราริกเตอร์

มาตราริกเตอร์ (Richter magnitude scale) หรือที่รู้จักกันว่า มาตราท้องถิ่น (local magnitude scale; ML) เป็นการกำหนดตัวเลขเพื่อบอกปริมาณของพลังงานแผ่นดินไหวที่ปลดปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวครั้งหนึ่ง มันเป็นมาตราส่วนเชิงลอการิทึมฐานสิบ ซึ่งสามารถคำนวณได้จากลอการิทึมของแอมพลิจูดการสั่นของการกระจัดที่มีค่ามากที่สุดจากศูนย์บนเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวบางประเภท (Wood–Anderson torsion) ยกตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่สามารถวัดค่าได้ 5.0 ตามมาตราริกเตอร์จะมีแอพลิจูดการสั่นมากเป็น 10 เท่าของแผ่นดินไหวที่วัดค่าได้ 4.0 ตามมาตราริกเตอร์ ขีดจำกัดบนที่มีประสิทธิภาพของการวัดตามมาตราริกเตอร์นี้ควรต่ำกว่า 9 และต่ำกว่า 10 สำหรับมาตราโมเมนต์แมกนิจูด เมื่อตรวจวัดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ปัจจุบันมาตราริกเตอร์ถูกแทนที่ด้วยมาตราขนาดโมเมนต์ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่จะให้ค่าที่โดยทั่วไปแล้วจะมีค่าใกล้เคียงกันสำหรับแผ่นดินไหวขนาดกลาง (3-7 แมกนิจูด) แต่ที่ไม่เหมือนกับมาตราริกเตอร์คือ มาตราโมเมนต์แมกนิจูดจะรายงานสมบัติพื้นฐานของแผ่นดินไหวจากข้อมูลเครื่องตรวจวัด แทนที่จะเป็นการรายงานข้อมูลเครื่องตรวจวัด ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ในแผ่นดินไหวทุกครั้ง และค่าที่ได้จะไม่สมบูรณ์ในแผ่นดินไหวความรุนแรงสูง เนื่องจากมาตราโมเมนต์แมกนิจูดมักจะให้ค่าที่ใกล้เคียงกันกับมาตราริกเตอร์ แมกนิจูดของแผ่นดินไหวที่ได้รับรายงานในสื่อมวลชนจึงมักจะรายงานโดยไม่ระบุว่าเป็นการวัดความรุนแรงตามมาตราใด พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาของแผ่นดินไหว ซึ่งสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพลังทำลายล้างของมัน สามารถวัดได้จาก 3/2 เท่าของแอมพลิจูดการสั่น ดังนั้น แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงแตกต่างกัน 1 แมกนิจูดจึงมีค่าเท่ากับพหุคูณของ 31.6 (.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และมาตราริกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มาตราขนาดโมเมนต์

มาตราขนาดโมเมนต์ (moment magnitude scale; MMS, Mw) เป็นหน่วยที่นักวิทยาแผ่นดินไหวใช้เพื่อวัดขนาดของแผ่นดินไหวในแง่ของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมา แมกนิจูดนั้นขึ้นอยู่กับโมเมนต์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ซึ่งเท่ากับความคงรูปของโลกคูณกับค่าเฉลี่ยของการเลื่อนบนรอยแยกและขนาดของพื้นที่ที่เลื่อน มาตราดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นมาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 เพื่อใช้แทนมาตราริกเตอร์ ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 แม้ว่าสูตรในการคำนวณจะต่างกัน แต่มาตราใหม่นี้ยังคงให้ค่าแมกนิจูดที่ใกล้เคียงตามที่จำกัดความไว้โดยมาตราริกเตอร์เดิม มาตราโมเมนต์แมกนิจูดนี้ใช้เพื่อประเมินแมกนิจูดสำหรับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่สมัยใหม่ทั้งหมดโดยสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และมาตราขนาดโมเมนต์ · ดูเพิ่มเติม »

มาตราเมร์กัลลี

มาตราเมร์กัลลี (Mercalli scale) เป็นมาตราสำหรับใช้กำหนดขั้นความรุนแรงของแผ่นดินไหว คิดค้นโดยจูเซปเป เมร์กัลลี (Giuseppe Mercalli) ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวชาวอิตาลี เมื่อ พ.ศ. 2445 โดยแบ่งไว้ 10 อันดับ ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 แฮร์รี โอ.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และมาตราเมร์กัลลี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฮาวาย

รัฐฮาวาย (Hawaii,, ภาษาฮาวาย: Hawaii) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ในหมู่เกาะฮาวายในมหาสมุทรแปซิฟิก ฮาวายได้รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับสุดท้ายคือลำดับที่ 50 ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) โดยฮาวายตั้งห่างจากชายฝั่งสหรัฐอเมริกาประมาณ 3,700 กม.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และรัฐฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

ร่องลึกเปรู-ชิลี

ร่องลึกเปรู-ชิลี ร่องลึกเปรู-ชิลี (Peru-Chile Trench) หรือร่องลึกอาทากามา ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของประเทศเปรูและประเทศชิลี มีความยาวประมาณ 5,900 กิโลเมตร จุดที่ลึกที่สุดลึก 8,065 เมตร หมวดหมู่:ประเทศเปรู หมวดหมู่:ประเทศชิลี หมวดหมู่:ร่องลึกบาดาล หมวดหมู่:มหาสมุทรแปซิฟิก.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และร่องลึกเปรู-ชิลี · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาแผ่นดินไหว

วิทยาแผ่นดินไหว (seismology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแผ่นดินไหว และการกระจายตัวaของคลื่นแผ่นดินไหวภายใต้เปลือกโลก โดยเป็นสาขาหนึ่งของธรณีฟิสิกส์ geophysics) โดยมีนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาวิชานี้ เรียกว่า นักวิทยาแผ่นดินไหว (seismologist)ศึกษาวิทยาแผ่นดินไหว ช่วยให้มนุษยสามารถเข้าใจโครงสร้าง องค์ประกอบ และสถานะของส่วนภายในของโลกเราได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถพยากรณ์การเกิดผลกระทบจากแผ่นดินไหว เพื่อการเตือนภัยล่วงหน้า วิทยาแผ่นดินไหวยังศึกษาความไหวสะเทือนของโลก ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณู เป็นต้น.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และวิทยาแผ่นดินไหว · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

ูนย์เกิดแผ่นดินไหวคือตำแหน่งใต้ผิวโลกที่เกิดการปลดปล่อยพลังงาน จุดเกิดแผ่นดินไหว (focus) หมายถึงตำแหน่งที่เกิดแผ่นดินไหวและเป็นศูนย์กลางที่เกิดการปลดปล่อยความเครียดและพลังงานซึ่งถูกกักเก็บไว้ในชั้นหิน จุดนี้เป็นจุดเดียวกับที่รอยเลื่อนเริ่มต้นการเคลื่อน ความลึกจุดเกิดแผ่นดินไหวสามารถคำนวณได้จากการวัดซึ่งขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์คลื่นแผ่นดินไหว ด้วยปรากฏการณ์คลื่นทั้งหมดในทางฟิสิกส์ มีความไม่แน่นอนอยู่ในการวัดปริมาณดังกล่าวเพิ่มยิ่งขึ้นตามความยาวคลื่น ดังนั้นความลึกจุดเกิดแผ่นดินไหวของแหล่งที่มาของคลื่นที่มีความยาวนี้ (ความถี่ต่ำ) จึงเป็นการยากที่จะตรวจสอบให้แน่ชัด แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงมากจะส่งพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาส่วนใหญ่ในรูปของคลื่นแผ่นดินไหวที่มีความยาวคลื่นมาก และดังนั้น แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงมากขึ้นเท่าใดก็เป็นการปลดปล่อยพลังงานจากหินที่มีมวลมากยิ่งขึ้นเท่านั้น.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และศูนย์เกิดแผ่นดินไหว · ดูเพิ่มเติม »

อันโตฟากัสตา

อันโตฟากัสตา (Antofagasta) เป็นเมืองท่าทางทะเลทางตอนเหนือของประเทศชิลี ตั้งอยู่ห่างจากกรุงซานเตียโกไปทางทิศเหนือ 700 ไมล์ (1,130 กม.) เป็นเมืองหลวงของแคว้นอันโตฟากัสตา จากข้อมูลประชากรในปี..

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และอันโตฟากัสตา · ดูเพิ่มเติม »

อิกิเก

อิกิเก (Iquique) เป็นเมืองท่าในประเทศชิลี และเป็นเทศบาลทางตอนเหนือของประเทศชิลี เป็นเมืองหลักของแคว้นตาราปากาและจังหวัดอิกิเก เมืองตั้งอยู่บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกของปัมปาเดลตามารูกัล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลทรายอาตากามา เมืองมีประชากร 180,601 คน (ค.ศ. 2012) เมืองพัฒนามาจากยุครุ่งเรืองของการทำเหมืองดินประสิวในทะเลทรายอาตากามา ในช่วงศตวรรษที่ 19 เดิมเป็นเมืองของประเทศเปรู ต่อมาถูกชิลียึดครองโดยเป็นผลจากสงครามแปซิฟิก (ค.ศ. 1879–1883).

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และอิกิเก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอิวาเตะ

ังหวัดอิวาเตะ เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในภูมิภาคโทโฮะกุ (東北地方 Tōhoku-chihō) หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บนเกาะฮนชู (本州 Honshū) มีเมืองเอกคือ เมืองโมะริโอะกะ (盛岡市 Morioka-shi).

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และจังหวัดอิวาเตะ · ดูเพิ่มเติม »

จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

'''จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว'''คือตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือจุดโฟกัสของการเกิดแผ่นดินไหว (ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว) จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (epicenter, epicentre จาก epicentrum หรือ ἐπίκεντρος) คือจุดบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว หรือจุดโฟกัส (ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางที่เกิดการถ่ายเทพลังงานเมื่อเกิดแผ่นดินไหว) ตามที่ได้นิยามไปข้างต้น จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเป็นจุดบนผิวโลกที่อยู่ในแนวดิ่งเหนือจุดที่รอยเลื่อนเกิดจากแตกหัก โดยทั่วไปจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวนี้จะเป็นจุดที่เกิดความเสียหายสูงสุดเนื่องจากแผ่นดินไหว อย่างไรก็ดีสำหรับในแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ๆ ความยาวของการแตกหักของรอยเลื่อนสามารถกินระยะทางที่ยาวกว่าและก่อให้เกิดความเสียหายตลอดรอยเลื่อน ตัวอย่างเช่นแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ในปี 2545 ที่เดนาลี อะแลสกา ซึ่งมีจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในบริเวณตะวันตกของรอยแตก แต่ความเสียหายสูงสุดกลับพบที่ระยะห่างออกไป 330 กิโลเมตรที่จุดสิ้นสุดของบริเวณรอยแตก.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นสึนามิ

แสดงคลื่นสึนามิพัดขึ้นฝั่ง คลื่นสึนามิ เป็นกลุ่มคลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ของปริมาตรน้ำก้อนใหญ่ คือ มหาสมุทรหรือทะเลสาบขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟและการระเบิดใต้น้ำอื่นๆ (รวมทั้งการจุดวัตถุระเบิดหรือวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ) ดินถล่ม ธารน้ำแข็งไถล อุกกาบาตตกและการรบกวนอื่น ไม่ว่าเหนือหรือใต้น้ำ ล้วนอาจก่อให้เกิดเป็นคลื่นสึนามิได้ทั้งสิ้น คลื่นสึนามิไม่เหมือนกับคลื่นทะเล(tidal wave)ตามปกติ เพราะมีความยาวคลื่นยาวกว่ามาก แทนที่จะเป็นคลื่นหัวแตก (breaking wave) ตามปกติ คลื่นสึนามิเริ่มแรกอาจดูเหมือนกับว่าคลื่นน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุนี้ คลื่นสึนามิจึงมักเรียกว่าเป็นคลื่นยักษ์ โดยทั่วไป คลื่นสึนามิประกอบด้วยกลุ่มคลื่นซึ่งมีคาบเป็นนาทีหรืออาจมากถึงชั่วโมง มากันเรียกว่าเป็น "คลื่นขบวน" (wave train) ความสูงของคลื่นหลายสิบเมตรนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ขนาดใหญ่ แม้ผลกระทบของคลื่นสึนามินั้นจะจำกัดอยู่แค่พื้นที่ชายฝั่ง แต่อำนาจทำลายล้างของมันสามารถมีได้ใหญ่หลวงและสามารถมีผลกระทบต่อทั้งแอ่งมหาสมุทร คลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คน ใน 14 ประเทศที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ธูซิดดิดีส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก เสนอเมื่อ 426 ปีก่อนคริสตกาล ว่า คลื่นสึนามิเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวใต้ทะเลThucydides: แต่ความเข้าใจในธรรมชาติของคลื่นสึนามิยังมีเพียงเล็กน้อยกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 และยังมีอีกมากที่ยังไม่ทราบในปัจจุบัน ขณะที่แผ่นดินไหวที่รุนแรงน้อยกว่ามากกลับก่อให้เกิดคลื่น พยายามพยากรณ์เส้นทางของคลื่นสึนามิข้ามมหาสมุทรอย่างแม่นยำ และยังพยากรณ์ว่าคลื่นสึนามิจะมีปฏิสัมพันธ์กับชายฝั่งแห่งหนึ่ง ๆ อย่างไร.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และคลื่นสึนามิ · ดูเพิ่มเติม »

ซานเตียโก

ทือกเขาแอนดีสที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะ เหนือย่านกลางกรุงซานเตียโก ซานเตียโกเดชีเล (Santiago de Chile) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศชิลี ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 520 เมตร (1,700 ฟุต) ในหุบเขาตอนกลางของประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นมหานครซานเตียโก แม้ว่าซานเตียโกจะเป็นเมืองหลวง แต่หน่วยงานราชการทางนิติบัญญัติกลับตั้งอยู่ใกล้กับเมืองบัลปาราอีโซ เกือบสามศตวรรษที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องได้เปลี่ยนให้ซานเตียโกเป็นเขตนครหลวงที่สมัยใหม่ที่สุดแห่งหนึ่งในลาตินอเมริกา พร้อม ๆ กับการพัฒนาเขตชานเมืองอย่างกว้างขวาง ศูนย์การค้าหลายสิบแห่ง และสถาปัตยกรรมที่น่าประทับใจ รวมทั้งมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของลาตินอเมริกาเป็นที่เชิดหน้าชูตา เช่น ซานเตียโกเมโทร (Santiago Metro) และระบบใหม่ "โกสตาเนรานอร์เต (Costanera Norte)" เป็นระบบขนส่งของย่านกลางกรุง เชื่อมระหว่างด้านตะวันออกสุดไปด้านตะวันตกสุดของเขตเมืองภายในเวลา 15 นาที นอกจากนี้ ซานเตียโกยังเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทสำคัญหลายแห่งและเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของภูมิภาคอีกด้ว.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และซานเตียโก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศชิลี

ลี (Chile ชีเล) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐชิลี (Republic of Chile; República de Chile) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ มีเนื้อที่ติดชายฝั่งทะเลยาวระหว่างเทือกเขาแอนดีสกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีอาณาเขตจรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศตะวันออก จรดโบลิเวียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และจรดเปรูทางทิศเหนือ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกของประเทศมีความยาว 6,435 กิโลเมตร ซีไอเอ ชิลีมีดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยครอบครองหมู่เกาะควนเฟร์นันเดซ เกาะซาลาอีโกเมซ หมู่เกาะเดสเบนตูราดัส และเกาะอีสเตอร์ในโพลินีเซีย ชิลียังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาด้ว.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และประเทศชิลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัวเตมาลา

กัวเตมาลา (Guatemala) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐกัวเตมาลา (República de Guatemala) เป็นประเทศในภูมิภาคอเมริกากลาง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ มีชายฝั่งติดกับทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน พรมแดนด้านตะวันตกจรดเม็กซิโก ตะวันออกเฉียงเหนือจรดเบลีซ และตะวันออกเฉียงใต้จรดฮอนดูรัสและเอลซัลวาดอร.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และประเทศกัวเตมาลา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฮอนดูรัส

อนดูรัส (อังกฤษและHonduras) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฮอนดูรัส (Republic of Honduras; República de Honduras) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคอเมริกากลาง (ลาตินอเมริกา) ครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่า สแปนิช ฮอนดูรัส เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับ บริติช ฮอนดูรัส ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเบลิซ มีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้คือ ทิศตะวันตกติดต่อกับกัวเตมาลา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับเอลซัลวาดอร์ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับนิการากัว ทิศใต้จรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศเหนือจรดอ่าวฮอนดูรัสและทะเลแคริบเบียน และอยู่ห่างจากเบลีซ 75 กิโลเมตร (50 ไมล์) ตามชายฝั่งอ่าวฮอนดูรัส ฮอนดูรัสเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญหลายแห่ง ที่โด่งดังก็คือ มายา ถูกพิชิตโดยสเปนซึ่งได้เข้ามามีอิทธิพลซึ่งส่งผลถึงปัจจุบันทั้งทางด้านภาษาและขนบธรรมเนียมในหลายด้านตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ฮอนดูรัสประกาศเอกราชเมื่อปี 1821 และกลายเป็นสาธารณรัฐเมื่อหมดยุคของสเปน ประเทศมีขนาด 112,492 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 8 ล้านคน เมืองหลวงชื่อว่า เตกูซิกัลปา บางส่วนทางตอนเหนือเป็นส่วนหนึ่งของแคริบเบียนตะวันตก ฮอนดูรัสมีชื่อเสียงทางด้านการส่งออกแร่ กาแฟ ผลไม้เมืองร้อน อ้อย และล่าสุดกับการส่งออกเสื้อผ้าไปยังตลาดนานาชาติมากขึ้น.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และประเทศฮอนดูรัส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคอสตาริกา

อสตาริกา (Costa Rica) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคอสตาริกา (República de Costa Rica) เป็นประเทศในภูมิภาคอเมริกากลาง มีอาณาเขตจรดประเทศนิการากัว ทางทิศเหนือ จรดประเทศปานามาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จรดมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และจรดทะเลแคริบเบียนทางทิศตะวันออก ประเทศนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของภูมิภาคในเรื่องการมีเสถียรภาพทางการเมือง และบางครั้งได้ชื่อว่าเป็น "สวิตเซอร์แลนด์ของอเมริกากลาง".

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และประเทศคอสตาริกา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนิการากัว

นิการากัว (Nicaragua) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐนิการากัว (República de Nicaragua) เป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในอเมริกากลาง แต่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุด มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศฮอนดูรัส ทางใต้จรดประเทศคอสตาริกา ชายฝั่งตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนชายฝั่งตะวันออกจรดทะเลแคริบเบียน ชื่อของประเทศมาจากการสนธิระหว่างคำว่า "นีการาโอ" (Nicarao) เป็นชื่อชนเผ่าพื้นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดขณะที่ชาวสเปนมาถึง กับคำว่า "อะกวา" (Agua) ซึ่งเป็นคำในภาษาสเปน แปลว่าน้ำ.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และประเทศนิการากัว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโบลิเวีย

ลิเวีย (Bolivia) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐพหุชนชาติแห่งโบลิเวีย เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตจรดประเทศบราซิลทางทิศเหนือและทิศตะวันออก จรดประเทศปารากวัยและอาร์เจนตินาทางทิศใต้ และจรดประเทศชิลีและเปรูทางทิศตะวันตก.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และประเทศโบลิเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเม็กซิโก

ม็กซิโก (Mexico; México) หรือชื่อทางการคือ สหรัฐเม็กซิโก (United Mexican States; Estados Unidos Mexicanos) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ มีพรมแดนทางทิศเหนือจรดสหรัฐอเมริกา ทิศใต้และทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดกัวเตมาลา เบลีซ และทะเลแคริบเบียน ส่วนทิศตะวันออกจรดอ่าวเม็กซิโก เนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ถึงเกือบ 2 ล้านตารางกิโลเมตร เม็กซิโกจึงเป็นประเทศที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของทวีปอเมริกา และเป็นอันดับที่ 15 ของโลก นอกจากนี้ยังมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก โดยมีการประมาณไว้ว่า เมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ประเทศนี้มีจำนวนประชากร 128,632,000 ล้านคน.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และประเทศเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอกวาดอร์

อกวาดอร์ (Ecuador) หรือ สาธารณรัฐเอกวาดอร์ (República del Ecuador) เป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับโคลอมเบียทางทิศเหนือ ติดต่อกับเปรูทางทิศตะวันออกและทางทิศใต้ และจรดมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตก ประเทศนี้มีอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะกาลาปาโกส (หมู่เกาะโกลอน) ในแปซิฟิก ตั้งอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ไปทางทิศตะวันตก 965 กิโลเมตร (ประมาณ 600 ไมล์) เนื่องจากบริเวณนี้ตั้งอยู่บริเวณที่เส้นศูนย์สูตรพาดผ่าน จึงได้รับการตั้งชื่อตามคำในภาษาสเปนว่า Ecuador ซึ่งก็ตรงกับ "equator" ในภาษาอังกฤษนั่นเอง เอกวาดอร์มีพื้นที่ 272,045 ตารางกิโลเมตร (105,037 ตารางไมล์) เมืองหลวงคือกรุงกีโต (Quito).

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และประเทศเอกวาดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอลซัลวาดอร์

อลซัลวาดอร์ (El Salvador) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์ (สเปน: República de El Salvador) เป็นประเทศในแถบอเมริกากลาง มีจำนวนประชากรเกือบ 6.7 ล้านคน เป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดในแผ่นดินใหญ่ของ (ทวีป) อเมริกา (โดยเฉพาะในเขตเมืองหลวงซานซัลวาดอร์) และเป็นประเทศที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมมากที่สุดในภูมิภาค ประเทศเอลซัลวาดอร์ได้ยกเลิกสกุลเงินโกลอนและเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแทนในปี ค.ศ. 2001.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และประเทศเอลซัลวาดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเปรู

ประเทศเปรู (Perú) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเปรู เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศเอกวาดอร์และประเทศโคลอมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศบราซิลและประเทศโบลิเวีย ทางทิศใต้ติดกับประเทศชิลี และทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศเปรูเป็นที่ตั้งของอารยธรรมการัล ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่อันหนึ่งของโลก และอาณาจักรอินคา จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาก่อนยุคโคลัมบัส ต่อมาภูมิภาคนี้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิสเปน และได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2364 ชื่อเปรูมาจากคำว่า "บีรู" (Birú) ซึ่งเป็นชื่อของผู้ปกครองท้องถิ่นบริเวณอ่าวซานมีเกลในปานามา โดยบริเวณนี้เป็นจุดใต้สุดที่ชาวยุโรปรู้จักเมื่อครั้งนักสำรวจชาวสเปนมาถึงในปี พ.ศ. 2065 ดังนั้นเมื่อฟรันซิสโก ปีซาร์โรเดินทางสำรวจต่อไปทางใต้ จึงเรียกภูมิภาคเหล่านั้นว่า บีรูหรือเปรูด้วย จักรวรรดิสเปนรับรองชื่อนี้ในปี..

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และประเทศเปรู · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหว

แผนที่โลกแสดงจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวระหว่างปี พ.ศ. 2506–2541 ทั้งสิ้น 358,214 จุด แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์สั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปจะไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา เรียกว่า วิทยาแผ่นดินไหว เมื่อจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อยู่นอกชายฝั่ง อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ นอกจากนี้ แผ่นดินไหวยังอาจก่อให้เกิดดินถล่ม และบางครั้งกิจกรรมภูเขาไฟตามมาได้ แผ่นดินไหววัดโดยใช้การสังเกตจากไซสโมมิเตอร์ (seismometer) มาตราขนาดโมเมนต์เป็นมาตราที่ใช้มากที่สุดซึ่งทั่วโลกรายงานแผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่าประมาณ 5 สำหรับแผ่นดินไหวอีกจำนวนมากที่ขนาดเล็กกว่า 5 แมกนิจูด สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวแต่ละประเทศจะวัดด้วยมาตราขนาดท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียก มาตราริกเตอร์ สองมาตรานี้มีพิสัยความถูกต้องคล้ายกันในเชิงตัวเลข แผ่นดินไหวขนาด 3 หรือต่ำกว่าส่วนใหญ่แทบไม่รู้สึกหรือรู้สึกได้เบามาก ขณะที่แผ่นดินไหวตั้งแต่ขนาด 7 อาจก่อความเสียหายรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง ขึ้นอยู่กับความลึก แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มีขนาดมากกว่า 9 เล็กน้อย แม้จะไม่มีขีดจำกัดว่าขนาดจะมีได้ถึงเท่าใด แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุดที่มีขนาด 9.0 หรือมากกว่า คือ แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 และเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกในญี่ปุ่น ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนวัดโดยมาตราเมร์กัลลีที่ถูกดัดแปลง หากตัวแปรอื่นคงที่ แผ่นดินไหวที่อยู่ตื้นกว่าจะสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างมากกว่าแผ่นดินไหวที่อยู่ลึกกว.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และแผ่นดินไหว · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวตาม

แผ่นดินไหวตาม หรือทับศัพท์ว่า อาฟเตอร์ช็อก (aftershock) เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กที่เกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีก่อนหน้า ในพื้นที่เดียวกับพื้นที่ไหวหลัก หากแผ่นดินไหวตามมีความรุนแรงกว่าการไหวหลัก แผ่นดินไหวตามจะได้รับการระบุว่าเป็นการไหวหลัก ส่วนการไหวหลักก่อนหน้านั้นจะได้รับการระบุให้เป็นฟอร์ช็อกแทน ทั้งนี้ แผ่นดินไหวตามเกิดขึ้นเนื่องจากแผ่นเปลือกโดยรอบได้เคลื่อนย้ายจากรอยเลื่อนเพื่อปรับผลกระทบที่มาจากการไหวหลัก.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และแผ่นดินไหวตาม · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวนำ

แผ่นดินไหวนำ หรือทับศัพท์ว่า ฟอร์ช็อก (foreshock) เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (แผ่นดินไหวหลัก) ที่มีความเกี่ยวข้องกันทั้งในช่วงเวลาและพื้นที่ โดยชื่อเรียกของการเกิดแผ่นดินไหว ทั้งแผ่นดินไหวนำ, แผ่นดินไหวหลัก หรือแผ่นดินไหวตาม จะเกิดขึ้นตามลำดับของเหตุการณ.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และแผ่นดินไหวนำ · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวในชิลี พ.ศ. 2553

แผ่นดินไหวในประเทศชิลี..

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และแผ่นดินไหวในชิลี พ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอาเรกีปา

แคว้นอาเรกีปา (Arequipa) เป็นแคว้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเปรู ติดกับแคว้นอีกา แคว้นไออากูโช แคว้นอาปูรีมัก และแคว้นกุสโก ทางทิศเหนือ ติดกับแคว้นปูโนทางทิศตะวันออก ติดกับแคว้นโมเกกวาทางทิศใต้ และติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตก มีเมืองหลวงคือ อาเรกีปา เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเปรู อาเรกีปา.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และแคว้นอาเรกีปา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นโมเกกวา

แคว้นโมเกกวา (Moquegua) เป็นแคว้นทางตอนใต้ของประเทศเปรู ชื่อของแคว้นมาจากภาษาเกชัว มีความหมายว่า "สถานที่ที่เงียบ" เมืองหลวงของแคว้นคือเมือง โมเกกวา มีเมืองท่าสำคัญคือเมืองอีโล มโมเกกวา หมวดหมู่:แคว้นโมเกกวา.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และแคว้นโมเกกวา · ดูเพิ่มเติม »

เวลามาตรฐานไทย

ประเทศไทยใช้เวลามาตรฐานโดยนับจากเวลาสากลเชิงพิกัด แล้วเพิ่มไปอีก 7 ชั่วโมง (ก่อนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2463 โดยนับจากเวลาสากลเชิงพิกัด แล้วเพิ่มไปอีก GMT+6:42:04 ชั่วโมง) เวลามาตรฐานไทยเป็นเวลาเดียวกับเวลามาตรฐานฮอฟด์ เวลามาตรฐานอินโดนีเซียตะวันตก เวลาเกาะคริสต์มาส (ออสเตรเลีย) และเวลาครัสโนยาสค์ ซึ่งประเทศไทยใช้เขตเวลาเดียวกันทั้งปีทั่วประเทศโดยไม่มีเวลาออมแสง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และเวลามาตรฐานไทย · ดูเพิ่มเติม »

เวลาในประเทศชิลี

ซาลัสอีโกเมซ เวลาในประเทศชิลี แบ่งเขตเวลาออกเป็น 3 แบบ ได้แก.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และเวลาในประเทศชิลี · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอนดีส

ทือกเขาแอนดีสระหว่างชิลีและอาร์เจนตินา right เทือกเขาแอนดีส เป็นเทือกเขาที่วางตัวขนานกับด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก พาดผ่าน 7 ประเทศตั้งแต่ เวเนซุเอลา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย อาร์เจนตินา และชิลี เทือกเขาเกิดจากแนวรอยปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นปะทะกันเป็นเวลานานหลายล้านปี โดยแผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้กดทับแผ่นเปลือกโลกนาซกา โดยแนวเทือกเขาแอนดิสจะมีความสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีและมียอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาอากอนกากัว เทือกเขาแอนดิสบริเวณประเทศโบลิเวียมีที่ราบสูงที่ชาวโบลีเวียเรียกว่า อัลติพลาโน (altiplano) หรือที่ราบสูงโบลิเวีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของประเทศโบลิเวียชื่อลาปาซซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลก และบริเวณที่ราบสูงโบลิเวียนี้ก็เป็นที่ตั้งของทะเลสาบติติกากาซึ่งตั้งอยู่พรมแดนระหว่างประเทศเปรูกับประเทศโบลิเวีย และได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลกด้วย แนวเขาในเขตประเทศเปรูเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำอเมซอนที่ความยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ บริเวณตอนใต้ของเทือกเขาแอนดิสเป็นที่ราบเชิงเขาอยู่เขตรอยต่อระหว่างประเทศอาร์เจนตินากับประเทศชิลี และเรียกบริเวณนั้นว่าที่ราบสูงปาตาโกเนีย บริเวณเทือกเขาแอนดีนั้นเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรอินคา และเป็นแหล่งกำเนิดของตัวลาม.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และเทือกเขาแอนดีส · ดูเพิ่มเติม »

UTC−03:00

UTC−03: สีฟ้า (มกราคม), สีส้ม (กรกฎาคม), สีเหลือง (ตลอดทั้งปี), สีฟ้าอ่อน '''UTC−03:00''' คือ ออฟเซตเวลาสากลเชิงพิกัด ที่หักค่า 3 ชั่วโมงของเวลาสากลเชิงพิกัด (UTC).

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และUTC−03:00 · ดูเพิ่มเติม »

1 เมษายน

วันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 91 ของปี (วันที่ 92 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 274 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557และ1 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »