สารบัญ
13 ความสัมพันธ์: ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะวิธีการบังคับต่อประเทศอิหร่านสหภาพยุโรปสหรัฐสหราชอาณาจักรทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประเทศฝรั่งเศสประเทศรัสเซียประเทศอิหร่านประเทศจีนประเทศเยอรมนีเวียนนา
- ความตกลงระหว่างประเทศ
- ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐ
- ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศจีน
- ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศอิหร่าน
- ความสัมพันธ์รัสเซีย–สหรัฐ
- ความสัมพันธ์สหรัฐ–สหราชอาณาจักร
- ความสัมพันธ์สหรัฐ–อิหร่าน
- นโยบายอาวุธนิวเคลียร์
- โครงการนิวเคลียร์อิหร่าน
ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ
ัดส่วนของยูเรเนียม-238 (ฟ้า) และยูเรเนียม-235 (แดง) ที่พบตามธรรมชาติกับเกรดเสริมสมรรถนะ ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ (Enriched uranium) เป็นยูเรเนียมชนิดหนึ่งซึ่งอัตราส่วนของยูเรเนียม-235 มีปริมาณสูงขึ้นด้วยวิธีการการแยกไอโซโทป (isotope separation) ยูเรเนียมตามธรรมชาติมีไอโซโทป 238U อยู่ 99.284% และมี 235U ประมาณ 0.711% ของน้ำหนัก 235U เป็นเพียงไอโซโทปที่มีอยู่ในธรรมชาติ (ในผลรวมที่พอประเมินค่าได้) ไอโซโทปเดียวที่เป็นวัสดุฟิสไซล์กับนิวตรอนความร้อน ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศจึงพยายามที่จะดูแลและควบคุมอุปทานของยูเรเนียมเสริมสมรรถนะและดำเนินการในผลกระทบของเครื่องกำเนิดไฟฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เพื่อให้แน่ใจถึงความปลอดภัยและควบคุมการเพิ่มจำนวนของอาวุธนิวเคลียร์ ในระหว่างโครงการแมนฮัตตัน ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะถูกตังชื่อรหัสว่า oralloy (โอราลลอย) มาจากการย่อคำของ Oak Ridge alloy (โลหะเจือโอ๊ก ริดจ์) ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานสมรรถนะยูเรเนียมเสริม คำว่า oralloy บางครั้งยังคงถูกใช้เรียกยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ มียูเรเนียมเสริมสมรรถนะเกรดสูงอยู่ประมาณ 2,000 ตันในโลก ส่วนมากถูกผลิตขึ้นสำหรับอาวุธนิวเคลียร์, แรงขับเคลื่อนของเรือ, และจำนวนน้อยๆสำหรับการวิจัยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 238U ที่เหลือหลังจากการเสริมสมรรถนะหรือที่เรียกว่าหางยูเรเนียม (depleted uranium, DU) ซึ่งถูกพิจารณาว่ามีกัมมันตภาพรังสีน้อยกว่ายูเรเนียมธรรมชาติ หางยูเรเนียมจะถูกนำไปผลิตเป็นกระสุนเจาะ หรือใช้เป็นเกราะสะท้อนนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และในระเบิดนิวเคลียร์ หรือใช้ถ่วงท้องเรือเดินสมุทรป้องกันเรือโคลง ใช้ถ่วงสมดุลในเครื่องบิน.
ดู แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมและยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ
วิธีการบังคับต่อประเทศอิหร่าน
หลังจากการปฏิวัติอิหร่านในปี 2522 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกากำหนดวิธีการบังคับต่อประเทศอิหร่านและขยายวิธีการบังคับให้รวมบริษัทห้างร้านที่ทำข้อตกลงกับรัฐบาลอิหร่านด้วยในปี 2538 ในปี 2549 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติที่ 1696 และกำหนดวิธีการบังคับหลังอิหร่านไม่ยอมระงับโครงการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมของตน วิธีการบังคับของสหรัฐทีแรกมุ่งเป้าไปการลงทุนด้านน้ำมัน แก๊สและปิโตรเคมี การส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกลั่น และธุรกิจที่ทำข้อตกลงกับเหล่าพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน ซึ่งรวมธุรกรรมการธนาคารและการประกันภัย (ซึ่งรวมถึงธนาคารกลางอิหร่าน) การขนส่งสินค้าทางเรือ บริการเว็บโฮสต์ติงในเชิงพาณิชย์ และบริการจดทะเบียนชื่อโดเมน เมื่อเวลาล่วงไป วิธีการบังคับมีผลร้ายแรงต่อเศรษฐกิจและประชาชนอิหร่าน นับแต่ปี 2522 สหรัฐเป็นผู้นำความพยายามนานาชาติในการใช้วิธีการบังคับเพื่อให้มีอิทธิพลต่อนโยบายของอิหร่าน ซึ่งรวมโครงการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมของอิหร่าน ซึ่งรัฐบาลตะวันตกเกรงว่าเจตนาพัฒนาขีดความสามารถเพื่อผลิตอาวุธนิวเคลียร์ อิหร่านตอบโต้ว่าโครงการนิวเคลียร์ของตนเป็นไปเพื่อความมุ่งหมายทางพลเรือน ซึ่งรวมถึงการผลิตไฟฟ้าและวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ เมื่อการเจรจานิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านและรัฐบาลตะวันตกสะดุดและถูกมองว่าล้มเหลว ยิ่งถูกอ้างเป็นเหตุผลการบังคับใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิหร่านที่หนักข้อขึ้น วันที่ 2 เมษายน 2558 พี5+1 และอิหร่าน ซึ่งประชุมในโลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ บรรลุความตกลงชั่วคราวเรื่องกรอบซึ่งเมื่อเสร็จสมบูรณ์และนำไปปฏิบัติแล้วจะยกเลิกวิธีการบังคับส่วนมากเพื่อแลกกับการจำกัดโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านซึ่งกินเวลาอย่างน้อยสิบปี ผลทำให้วิธีการบังคับของสหประชาชาติถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2559.
ดู แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมและวิธีการบังคับต่อประเทศอิหร่าน
สหภาพยุโรป
หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.
ดู แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมและสหภาพยุโรป
สหรัฐ
หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).
ดู แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมและสหรัฐ
สหราชอาณาจักร
หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..
ดู แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมและสหราชอาณาจักร
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency, ย่อ: IAEA) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมุ่งส่งเสริมการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ และห้ามการใช้สำหรับความมุ่งหมายทางทหารทั้งปวง ซึ่งรวมถึงอาวุธนิวเคลียร์ IAEA ตั้งขึ้นเป็นองค์การที่เป็นอิสระเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2500 แม้ทบวงการฯ จะสถาปนาขึ้นเป็นเอกเทศจากสหประชาชาติผ่านสนธิสัญญาระหว่างประเทศขององค์การเอง คือ บทกฎหมาย IAEA แต่ IAEA รายงานต่อทั้งสมัชชาใหญ่และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ IAEA มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเวียนนา IAEA มี "สำนักงานพิทักษ์ภูมิภาค" สองแห่งซึ่งตั้งอยู่ในโตรอนโต ประเทศแคนาดาและในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น IAEA ยังมีสำนักงานติดต่อประสานงานสองแห่งตั้งอยู่ในนครนิวยอร์ก สหรัฐ และในเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ IAEA มีห้องปฏิบัติการสามแห่งตั้งอยู่ในกรุงเวียนนาและไชเบอร์ซดอร์ฟ ประเทศออสเตรียและในโมนาโก IAEA เป็นสมัชชาระหว่างรัฐบาลเพื่อความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคในการใช้เทคโนโลยีนิวเคียร์และพลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติทั่วโลก โครงการของ IAEA สนับสนุนการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติ การจัดหาการพิทักษ์ระหว่างประเทศต่อการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์และวัสดุนิวเคลียร์ในทางที่ผิดและส่งเสริมความปลอดภัยนิวเคลียร์ (รวมการป้องกันรังสี) และมาตรฐานแความปลอดภัยนิวเคลียร์และการนำไปปฏิบัติ IAEA และอดีตผู้อำนวยการใหญ่ มุฮัมมัด อัลบะรอดะอี เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพร่วมกันเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2548.
ดู แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมและทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
ณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council; UNSC) เป็นหนึ่งใน 6 เสาหลักของสหประชาชาติ และเป็นองค์กรในสหประชาชาติที่มีอิทธิพลรองลงมาจากสมัชชาใหญ่ เป็นองค์กรที่มีอำนาจในการเรียกระดมพลจากรัฐสมาชิกในสหประชาชาติเพื่อจัดตั้งเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพในประเทศและสงครามต่างๆ และยังมีอำนาจในการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อประเทศต่าง.
ดู แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
ประเทศฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.
ดู แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมและประเทศฝรั่งเศส
ประเทศรัสเซีย
รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..
ดู แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมและประเทศรัสเซีย
ประเทศอิหร่าน
อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..
ดู แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมและประเทศอิหร่าน
ประเทศจีน
ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..
ดู แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมและประเทศจีน
ประเทศเยอรมนี
ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.
ดู แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมและประเทศเยอรมนี
เวียนนา
วียนนา (Vienna) หรือ วีน (Wien) เป็นเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย และเป็นชื่อเขตการปกครองในออสเตรียด้วย เวียนนาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรีย เป็นศูนย์กลางทั้งเศรษฐกิจและการปกครอง มีประชากรประมาณ 1.8 ล้านคน มีแม่น้ำดานูบไหลผ่าน เวียนนายังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานในสหประชาชาติหลายแห่ง เช่น United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) และองค์กรระดับนานาชาติหลายแห่ง เช่น โอเปก (OPEC).
ดู แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมและเวียนนา
ดูเพิ่มเติม
ความตกลงระหว่างประเทศ
- บันทึกความเข้าใจ
- แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม
ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐ
- การทูตปิงปอง
- การผ่อนคลายความตึงเครียด
- การเยือนประเทศจีนของนิกสัน พ.ศ. 2515
- ขบวนการทิเบตเอกราชนานาชาติ
- นโยบายจีนเดียว
- สงครามเย็นครั้งที่สอง
- แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศจีน
- การผ่อนคลายความตึงเครียด
- นโยบายจีนเดียว
- สงครามเย็นครั้งที่สอง
- แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศอิหร่าน
- การผ่อนคลายความตึงเครียด
- นโยบายต่างประเทศของอิหร่าน
- วิธีการบังคับต่อประเทศอิหร่าน
- แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม
ความสัมพันธ์รัสเซีย–สหรัฐ
- การผ่อนคลายความตึงเครียด
- การวางยาพิษเซียร์เกย์และยูเลีย สกรีปาล
- การแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐของรัสเซีย พ.ศ. 2559
- รัฐอะแลสกา
- สงครามเย็นครั้งที่สอง
- สถานีอวกาศนานาชาติ
- สายตรงมอสโก–วอชิงตัน
- แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม
- โครงการกระสวยอวกาศ–มีร์
ความสัมพันธ์สหรัฐ–สหราชอาณาจักร
- กฎบัตรแอตแลนติก
- ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ
- ดีเอโกการ์ซีอา
- สนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน
- แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม
- แพนแอม เที่ยวบินที่ 103
- ให้ยืม-เช่า
ความสัมพันธ์สหรัฐ–อิหร่าน
- การปฏิวัติอิหร่าน
- การผ่อนคลายความตึงเครียด
- คำสั่งของฝ่ายบริหารที่ 13769
- วิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน
- วิธีการบังคับต่อประเทศอิหร่าน
- สงครามอิรัก–อิหร่าน
- อิหร่านแอร์ เที่ยวบินที่ 655
- แกนแห่งความชั่วร้าย
- แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม
นโยบายอาวุธนิวเคลียร์
- การประชุมสุดยอดว่าด้วยความมั่นคงทางนิวเคลียร์
- คำประกาศเจตนารัสเซลล์–ไอน์สไตน์
- สถาบันวิจัยเพื่อการลดอาวุธแห่งสหประชาชาติ
- สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์
- สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์
- แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม
โครงการนิวเคลียร์อิหร่าน
- ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1929
- แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม
- โรงไฟฟ้านิวเคลียร์บูเชห์
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Joint Comprehensive Plan of Action