เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

แบเรียมซัลเฟต

ดัชนี แบเรียมซัลเฟต

'''แบเรียมซัลเฟต'''ชนิดแกลนูล การถ่ายภาพทางการแพทย์โดยแสงเอกซ์ '''แบไรต์'''ในรูปผลึก แบเรียมซัลเฟต (Barium sulfate หรือ barium sulphate) เป็นสารประกอบไอออนิกใช้ในทางการแพทย์ เป็นสารทึบแสงหรือเรดิโอคอนทราสต์ (radiocontrast) สำหรับแสงเอกซ์ (X-ray) เพื่อการถ่ายภาพทางการแพทย์ สำหรับการวินิจฉัยโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคในช่องท้องและทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract) ซึ่งจะรู้จักกันในชื่อที่คุ้นเคยว่าอาหารแบเรียม (Barium meal) และนำเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยโดยการรับประทานหรือสวนทางทวารหนัก (enema) แบเรียมซัลเฟตจะอยู่ในรูปซัสเพนชัน (suspension) ของผงละเอียดที่กระจายตัวในสารละลายน้ำ ถึงแม้ว่าแบเรียมจะเป็นโลหะหนักที่สารประกอบของมันเมื่อละลายน้ำถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเป็นพิษสูง แต่เนื่องจากแบเรียมซัลเฟตละลายน้ำได้น้อยมากคนไข้จึงไม่ได้รับอันตรายจากพิษของมัน.

สารบัญ

  1. 17 ความสัมพันธ์: ชีวปริมาณออกฤทธิ์พลาสติกการละลายมวลโมเลกุลระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์สังกะสีออกไซด์สูตรเคมีสถานะ (สสาร)จุดหลอมเหลวทางเดินอาหารความหนาแน่นความถ่วงจำเพาะน้ำ (โมเลกุล)แบไรต์แบเรียมโซเดียมซัลเฟตเลขทะเบียน CAS

  2. ซัลเฟต
  3. สารทึบรังสี
  4. สารประกอบแบเรียม

ชีวปริมาณออกฤทธิ์

ีวปริมาณออกฤทธิ์ หรือ ชีวประสิทธิผล (bioavailability) ในทางเภสัชวิทยา หมายถึงส่วนของยาจากยาทั้งหมดที่นำเข้าสู่ร่างกายคนไข้ (administered dose) ที่สามารถเข้าสู่ ระบบไหลเวียนโลหิต ได้ ตามหลักข้อหนึ่งของเภสัชจลนศาสตร์ถ้าผู้ป่วยได้รับยาโดยการฉีดเข้าเส้น (intravenous) ชีวปริมาณออกฤทธิ์ของยาตัวนี้จะเท่ากับ 100% แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับยาโดยการรับประทานหรือทางปาก จำนวนยาที่เข้าสู่กระแสเลือดจะลดลงเหลือไม่ถึง 100% เนื่องจากการดูดซึมที่ไม่สมบูรณ์และเฟิร์สท-พาสส์ เมตาโบลิซึม (first-pass metabolism) ชีวปริมาณออกฤทธิ์จะเป็นเครื่องมือสำคัญในเภสัชจลนศาสตร์ ที่จะใช้คำนวณปริมาณยาที่จะให้คนไข้ในกรณีที่ไม่ใช่การให้โดยการฉี.

ดู แบเรียมซัลเฟตและชีวปริมาณออกฤทธิ์

พลาสติก

ลาสติก เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียม ใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบของยานพาหน.

ดู แบเรียมซัลเฟตและพลาสติก

การละลาย

ละลาย (Solubility) คือสมบัติหนึ่งของของแข็ง, ของเหลว หรือแก๊ส ในทางเคมีเรียกว่าสารละลายซึ่งสามารถละลายได้ในทั้งของแข็ง, ของเหลว และแก๊ส เพื่อที่จะทำให้ได้สารสถานะเดียวกับตัวทำละลาย การละลายของสสารโดยขั้นต้นแล้วจะขึ้นอยู่กับชนิดของตัวทำละลายเฉกเช่นเดียวกับอุณหภูมิและความดัน เมื่อการละลายถึงจุดอิ่มตัวแล้ว การเติมตัวละลายลงในตัวทำละลายที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกจะไม่มีผลใดๆ ต่อการละลาย กล่าวคือจะไม่ทำให้สารละลายเข้มข้นขึ้นหรือเจือจางลง โดยส่วนมากแล้วตัวทำละลายจะมีสถานะเป็นของเหลวทั้งในแบบสารบริสุทธิ์และสารประกอบ บางครั้งเกิดสารละลายในรูปของสารละลายของแข็ง แต่เกิดน้อยครั้งมากในกรณีที่เกิดในรูปของสารละลายแก.

ดู แบเรียมซัลเฟตและการละลาย

มวลโมเลกุล

มวลโมเลกุล (อังกฤษ: Molecular Mass) คือ มวลของสารนั้น ๆ 1 โมล โดยมวลโมเลกุลหาได้จากการเอามวลอะตอมของธาตุทั้งหมดในสูตรโมเลกุลนั้นมารวมกัน คำนี้ต่างจากน้ำหนักสูตร (Formula weight) ในกรณีที่สูตรของสารนั้นไม่ใช่สูตรโมเลกุล เช่น สารประกอบไอออนิก สารที่มีโครงสร้างผลึกร่างตาข่าย สารที่มีพันธะโลหะ หรือ พอลิเมอร์ ที่จะใช้สูตรอย่างง่ายแทนสูตรโมเลกุล และในกรณีที่ โมเลกุล อยู่ในรูป High polymer หรือมีการต่อพันธะเป็นพอลิเมอร์มาก จะมีการแสดงมวลโมเลกุลในรูปค่าเฉลี่ย เนื่องจากแต่ละโมเลกุลมี น้ำหนักไม่เท่ากัน หมวดหมู่:เคมี.

ดู แบเรียมซัลเฟตและมวลโมเลกุล

ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์

ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System; ATC) เป็นระบบการจัดกลุ่มยา ซึ่งควบคุมโดย องค์การอนามัยโลก Collaborating Centre for Drug Statistics Methodology พิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.

ดู แบเรียมซัลเฟตและระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์

สังกะสีออกไซด์

ังกะสีออกไซด์ (Zinc oxide) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมี ZnO มีลักษณะเป็นผงที่ไม่ละลายในน้ำและใช้ผสมในผลิตภัณฑ์หลายชนิดเช่น ยาง พลาสติก เซรามิก แก้ว น้ำมันเครื่อง สีทา สารยึดเกาะ อาหาร แบตเตอรี และอื่น ๆ ในธรรมชาติพบในรูปซินไซต์ แต่ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ Marcel De Liedekerke, "2.3.

ดู แบเรียมซัลเฟตและสังกะสีออกไซด์

สูตรเคมี

ูตรเคมี (chemical formula) เป็นวิธีรวบรัดที่ใช้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับอะตอมที่อยู่ในสารประกอบเคมีนั้นๆ สูตรเคมีจะแสดงเอกลักษณ์ของธาตุเคมีต่างๆ โดยใช้สัญลักษณ์ธาตุ และจำนวนอะตอมของธาตุนั้นๆที่มีอยู่ในหนึ่งโมเลกุลของสารประกอบ จำนวนอะตอมถ้ามีมากกว่าหนึ่งจะแสดงเป็นตัวห้อย (subscript) คือส่วนล่างของบรรทัด ที่อยู่ด้านหลังสัญลักษณ์ธาตุ สำหรับสารประกอบที่ไม่เป็นโมเลกุล ตัวห้อยจะแสดงเป็นอัตราส่วนของธาตุในสูตรเอมพิริคัล (empirical formula) สูตรเคมีที่ใช้สำหรับสารประกอบที่เป็นกลุ่มซีรีส์ซึ่งมีความแตกต่างกันที่ค่าคงที่ค่าหนึ่ง เราเรียกว่า สูตรทั่วไป และกลุ่มซีรี่เราเรียกว่า โฮโมโลกัส ซีรีส์ (homologous series) และสมาชิกในกลุ่มเราเรียกว่า โฮโมลอกส์ (homologs).

ดู แบเรียมซัลเฟตและสูตรเคมี

สถานะ (สสาร)

นะ (State of matter) เป็นความสัมพันธ์กับโครงสร้างทางเคมีและคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เช่น ความหนาแน่น, โครงสร้างผลึก (crystal structure), ดรรชนีหักเหของแสง (refractive index) และอื่นๆ สถานะที่คุ้นเคยกันมาก ได้แก่ ของแข็ง, ของเหลว, และแก๊ส ส่วนสถานะที่ไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก ได้แก่ พลาสมา และ พลาสมาควาร์ก-กลูออน, โบส-ไอน์สไตน์ คอนเดนเซต และ เฟอร์มิโอนิค คอนเดนเซต, วัตถุประหลาด, ผลึกเหลว, ซูเปอร์ฟลูอิด ซูเปอร์โซลิด พาราแมกเนติก, เฟอโรแมกเนติก, เฟสของ วัสดุ แม่เหล็ก.

ดู แบเรียมซัลเฟตและสถานะ (สสาร)

จุดหลอมเหลว

Kofler bench จุดหลอมเหลว คือ จุดที่สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว จุดหลอมเหลวนี้มีค่าเท่ากับจุดเยือกแข็ง เพียงแต่จุดเยือกแข็งใช้เรียกเมื่อสารเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ตัวอย่างเช่น น้ำ มีจุดหลอมเหลว เป็น 0 องศาเซลเซียส (Celsius) หมายความว่า น้ำแข็ง ซึ่งเป็นสถานะของแข็งของน้ำจะกลายสถานะเป็นของเหลวเมื่ออุณหภูมิมากกว่า 0 องศาเซลเซียส และน้ำก็มีจุดเยือกแข็งที่ 0 องศาเซลเซียส อธิบายว่า น้ำสถานะของเหลวจะกลายสถานะเป็นของแข็งเมื่ออุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 0 องศาเซลเซี.

ดู แบเรียมซัลเฟตและจุดหลอมเหลว

ทางเดินอาหาร

PAGENAME ทางเดินอาหาร (gut, alimentary canal หรือ alimentary tract) ในทางสัตววิทยา เป็นท่อซึ่งสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง (bilateria) ส่งอาหารไปยังอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ทางเดินอาหารในสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดใหญ่มักมีทางออกด้วย คือ ทวารหนัก ซึ่งเป็นช่องทางที่สัตว์ถ่ายของเสียออกมาเป็นของแข็ง ส่วนสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดเล็กมักไม่มีทวารหนักและขับของเสียออกด้วยวิธีการอื่น เช่น ทางปาก สัตว์ที่มีทางเดินอาหารถูกจัดเข้าเป็นพวกโปรโตสโตม (protostome) หรือดิวเทอโรสโตม (deuterostome) เพราะทางเดินอาหารวิวัฒนาการสองครั้ง เป็นตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการเบนเข้า (convergent evolution) การจำแนกดังกล่าวดูจากพัฒนาการของเอ็มบริโอ สัตว์พวกโปรโตสโตมจะวิวัฒนาปากก่อน ขณะที่ดิวเทอโรสโตมจะวิวัฒนาปากเป็นลำดับที่สอง โปรโตสโตม ได้แก่ พวกสัตว์ขาปล้อง (arthropod) สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา (mollusca) และแอนเนลิดา (annelida) ขณะที่พวกดิวเทอโรสโตม ได้แก่ สัตว์ในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา (echinodermata) และคอร์ดาตา (chordata).

ดู แบเรียมซัลเฟตและทางเดินอาหาร

ความหนาแน่น

วามหนาแน่น (อังกฤษ: density, สัญลักษณ์: ρ อักษรกรีก โร) เป็นการวัดมวลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ยิ่งวัตถุมีความหนาแน่นมากขึ้น มวลต่อหน่วยปริมาตรก็ยิ่งมากขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือวัตถุที่มีความหนาแน่นสูง (เช่น เหล็ก) จะมีปริมาตรน้อยกว่าวัตถุความหนาแน่นต่ำ (เช่น น้ำ) ที่มีมวลเท่ากัน หน่วยเอสไอของความหนาแน่นคือ กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m3) ความหนาแน่นเฉลี่ย (average density) หาได้จากผลหารระหว่างมวลรวมกับปริมาตรรวม ดังสมการ โดยที.

ดู แบเรียมซัลเฟตและความหนาแน่น

ความถ่วงจำเพาะ

วามถ่วงจำเพาะ (specific gravity, SG) คืออัตราส่วนระหว่างความหนาแน่นของสสารหนึ่ง ๆ ต่อความหนาแน่นของน้ำ เมื่อทั้งสองอย่างมีอุณหภูมิเท่ากัน ความถ่วงจำเพาะจึงเป็นปริมาณที่ไร้มิติ (ไม่มีหน่วย) วัตถุที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่าหนึ่ง หมายความว่าวัตถุนั้นมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ ดังนั้นวัตถุนั้นจะจมน้ำ (โดยไม่นับผลจากแรงตึงผิวของน้ำ) ในทางตรงข้าม หากความถ่วงจำเพาะน้อยกว่าหนึ่ง วัตถุนั้นจะลอยน้ำ ความถ่วงจำเพาะเป็นกรณีหนึ่งของความหนาแน่นสัมพัทธ์ (relative density) ซึ่งเป็นอัตราส่วนของสสารอย่างอื่นที่อาจไม่ใช่น้ำ และมักใช้แทนความหมายของความถ่วงจำเพาะในงานเขียนทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ การใช้ความถ่วงจำเพาะไม่เป็นที่นิยมในสาขาวิทยาศาสตร์ที่ต้องการความละเอียดสูง แต่ใช้ความหนาแน่นที่แท้จริงของสสารมากกว่า ความถ่วงจำเพาะ SG หรือ..

ดู แบเรียมซัลเฟตและความถ่วงจำเพาะ

น้ำ (โมเลกุล)

น้ำมี สูตรเคมี H2O, หมายถึงหนึ่ง โมเลกุล ของน้ำประกอบด้วยสองอะตอมของ ไฮโดรเจน และหนึ่งอะตอมของ ออกซิเจน เมื่ออยู่ในภาวะ สมดุลพลวัต (dynamic equilibrium) ระหว่างสถานะ ของเหลว และ ของแข็ง ที่ STP (standard temperature and pressure: อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน) ที่อุณหภูมิห้อง เป็นของเหลวเกือบ ไม่มีสี, ไม่มีรส, และ ไม่มีกลิ่น บ่อยครั้งมีการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ว่ามันเป็น ตัวทำละลายของจักรวาล และน้ำเป็นสารประกอบบริสุทธิ์ชนิดเดียวเท่านั้นที่พบในธรรมชาติทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ.

ดู แบเรียมซัลเฟตและน้ำ (โมเลกุล)

แบไรต์

แบไรต์ (Barite) เป็นชื่อแร่ที่มาจากภาษากรีก ซึ่งแปลว่า “หนัก” เนื่องจากเป็นแร่ที่มีความถ่วงจำเพาะสูง รูปผลึกระบบออร์โทรอมบิก ผลึกมักเป็นแผ่นหนา ยาวขนานไปกับฐานของผลึกหรือรูปแท่งเหลี่ยมๆ หรือพบเป็นผลึกเกิดร่วมเป็นกลุ่มเหมือนดอกกุหลาบเรียก “Crested Barite” หรือ “Barite Roses” อาจพบเป็นแผ่นบางซ้อนกันค่อนข้างหนา หรือเป็นมวลเมล็ด หรือแบเนื้อด้านเหมือนดิน มีแนวแตกรียบเด่นสมบูรณ์แข็ง 3-3.5..

ดู แบเรียมซัลเฟตและแบไรต์

แบเรียม

แบเรียม (Barium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 56 และสัญลักษณ์คือ Ba แบเรียมเป็นธาตุโลหะแอลคาไลน์เอิร์ทมีลักษณะเป็นสีเงินอ่อนนุ่มหลอมเหลวที่อุณหภูมิสูงมาก อ๊อกไซด์ของมันเรียกแบริตา (baryta) ตามธรรมชาติพบในแร่แบไรต์ไม่พบในสภาพบริสุทธิ์เพราะไวต่อปฏิกิริยาเคมีกับอาก.

ดู แบเรียมซัลเฟตและแบเรียม

โซเดียมซัลเฟต

ซเดียมซัลเฟต (Sodium sulfate) เป็นเกลือโซเดียมของกรดกำมะถัน เมื่อปราศจากน้ำจะเป็นผลึกสีขาว มีสูตร Na2SO4 เรียกว่าเกลือของ Glauber ของแข็งอีกรูปหนึ่งจะมีน้ำ 7 โมเลกุล ใช้ในทางอุตสาหกรรม เช่นในอุตสาหกรรมกระดาษ รูปที่พบในธรรมชาติจะมีน้ำ 10 โมเลกุล เกิดเป็นผลพลอยได้ในการผลิตกรดไฮโดรคลอริก โซเดียมซัลเฟตรูปที่มีโมเลกุลของน้ำ 10 โมเลกุลเรียกว่าดีเกลือไทย ได้มาจากการทำนาเกลือ ในตำรับยาโบราณใช้เป็นยาถ่าย ยาขับปัสสาวะ ใช้ผสมในน้ำแข็งเพื่อเพิ่มความเย็น ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้าและพิมพ์ผ้.

ดู แบเรียมซัลเฟตและโซเดียมซัลเฟต

เลขทะเบียน CAS

ลขทะเบียน CAS (อังกฤษ:CAS registry numbers) เป็นตัวเลขเฉพาะที่ใช้จำแนก สารประกอบเคมี, พอลิเมอร์, สารประกอบทางชีวภาพ, ของผสม และ โลหะผสม เลขทะเบียน CAS,CAS numbers,CAS RNs or CAS #s CAS ย่อมาจาก เคมิคัล แอบสแตรคต์ เซอร์วิส (Chemical Abstracts Service) เป็นหน่วนงานของ สมาคมเคมีอเมริกัน(American Chemical Society) กำหนดให้จำแนกสารประกอบเคมีทุกตัวโดยการลงทะเบียนในเอกสารที่จะใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อความสะดวกในงานวิจัยต่างๆ เพราะสารเคมีบางตัวมีหลายชื่อ เกือบทุกโมเลกุลในฐานข้อมูลปัจจุบันสามารถจะสืบค้นได้โดย เลขทะเบียนCAS จนถึง ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2553 นี้ปรากฏว่ามีสารประกอบที่ลงทะเบียนและมีหมาย เลขทะเบียน CAS ทั้งสิ้น 61,968,937 ตัวซึ่งสามารถตรวจสอบได้จาก โดยมีสารประกอบที่ลงทะเบียนเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 50 ตัว เคมิคัล แอบสแตคต์ เซอร์วิส ดูแลและขายฐานข้อมูลของสารประกอบเคมีเหล่านี้ ในนามของ เลขทะเบียน CAS(CAS registry).

ดู แบเรียมซัลเฟตและเลขทะเบียน CAS

ดูเพิ่มเติม

ซัลเฟต

สารทึบรังสี

สารประกอบแบเรียม