โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แนวสเตรซา

ดัชนี แนวสเตรซา

แนวสเตรซา คือ การประชุมร่วมกันที่เมืองสเตรซา ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ และผู้นำอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี เมื่อวันที่ 14 เมษายน 1935 ซึ่งได้ถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่าเป็น คำประกาศสุดท้ายของที่ประชุมเมืองสเตรซา มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะรักษาสนธิสัญญาโลคาร์โน และประกาศยืนยันถึงความเป็นเอกราชของออสเตรีย และพร้อมที่จะต้านทานเยอรมนีถ้าหากเกิดการฝ่าฝืนสนธิสัญญาแวร์ซาย แนวสเตรซาได้ชื่อมาจาก ที่ประชุมเมืองสเตรซา ในอิตาลี ซึ่งใช้เป็นสถานที่ประชุม แนวสเตรซานั้นมีปัจจัยมาจากการที่เยอรมนีทำการสร้างกองทัพอากาศขึ้นใหม่ และเพิ่มขนาดของกองทัพบกเป็น 36 กองพล (หรือ 400,000 นาย) และทำการประกาศเกณฑ์ทหารเมื่อเดือนมีนาคม 1935 แนวสเตรซานั้นล้มเหลวดังที่เห็นได้จากเป้าหมายที่คลุมเครือ เป้าหมายไม่ชัดเจนและเป็นการยากที่จะส่งเสริมเอาไว้ มันถูกบัญญัติออกมาไว้เพื่อให้เกิดความคลุมเครือ และไม่สนใจการพาดพิงถึงเยอรมนี ซึ่งอังกฤษพยายามรับเข้ามาเป็นนโยบายคู่ อังกฤษนั้นถือว่าข้อพิพาทใดๆ ที่พาดพิงไปถึงเยอรมนีจะไม่สร้างความเป็นปรปักษ์ระหว่างฮิตเลอร์กับการเจรจาอังกฤษ-เยอรมัน ซึ่งทำให้ดูเหมือนกับว่าการประนีประนอมระหว่างอังกฤษกับเยอรมนีก็ค่อนข้างจะประสบความสำเร็จ ฮิตเลอร์นั้นได้ใช้ยุทธวิธีที่อังกฤษและฝรั่งเศสคาดเดาล่วงหน้าได้ยาก แต่ว่าแนวสเตรซาก็ทำให้ฮตเลอร์ต้องเดาบ้างว่าอังกฤษนั้นต้องการที่จะทำอะไร อย่างไรก็ตาม การเจรจากับเยอรมนีนั้น ไม่ได้ทำให้อังกฤษได้เปรียบเลยในข้อตกลงการเดินเรือระหว่างอังกฤษ-เยอรมนี อีกเหตผลหนึ่งที่นำไปสู่ความล้มเหลว ก็คือ ไม่มีชาติใดเลยในที่ประชุมสเตรซา (ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสและอิตาลี) ที่มีความต้องการที่จะรุกรานเยอรมนี และไม่ได้มีการตอบโต้กรณีที่เยอรมนีสร้างกำลังทหารขึ้นใหม่อย่างจริงจัง แต่ว่ารัฐบาลอังกฤษนั้นมีเจตจำนงว่าไม่ต้องการที่จะก่อสงครามตามความคิดเห็นของคนอังกฤษส่วนใหญ่ในเวลานั้น แนวร่วมดังกล่าวนั้นไม่ประสบความสำเร็จ ภายในสองเดือน สหราชอาณาจักรได้เซ็นสัญญาในข้อตกลงการเดินเรือระหว่างอังกฤษ-เยอรมนี ซึ่งเยอรมนีได้รับไฟเขียวให้สร้างกองทัพเรือขึ้นมาใหม่ และสามารถสร้างเรือดำน้ำขึ้นมาได้ โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องมีระวางน้ำหนักไม่เกิน 35% ของราชนาวีอังกฤษ อังกฤษนั้นไม่ได้ปรึกษาหารือใดๆ กับชาติร่วมประชุม ทำให้แนวร่วมดังกล่าวพบกับความเสียหายอย่างร้ายแรง ประเทศที่เข้าร่วมประชุมนั้นได้ดำเนินการตามทางของตัวเอง แนวสเตรซาจึงปราศจากความหมาย และถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงเมื่ออิตาลีรุกรานเอธิโอเปียในสงครามอิตาลี-อบัสซิเนียครั้งที่สอง มุสโสลินีนั้นมีความทะเยอทะยานที่จะครอบครองอะบิสซิเนีย มุสโสลินีเดือดดาลมากที่อังกฤษได้เซ็นสัญญาการเดินเรือระหว่างอังกฤษ-เยอรมัน เนื่องจากว่าอังกฤษไม่ยอมมาปรึกษากับเขาก่อน มุสโสลินีนั้นหันกลับไปสู่อผนการรุกรานอะบิสซิเนียซึ่งมีชายแดนติดต่อกับโซมาลิแลนด์ของฝรั่งเศสและอังกฤษ เขานั้นไม่มีความต้องการที่จะให้มิตรของเขาโกรธ แต่ว่าเขามีความรู้สึกว่าอังกฤษได้ทรยศหักหลังเขา เขายังเชื่อด้วยว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฐานะดังที่ได้ตกลงกันในแนวสเตรซา เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 1936 มุสโสลินีได้เปิดช่องว่างให้แก่ฮิตเลอร์ในการที่เขาจะส่งทหารเข้าไปประจำในไรน์แลนด์ และบอกว่าอิตาลีนั้นจะไม่ยอมทำตามสนธิสัญญาโลคาร์โนอย่างเด็ดขาด และเยอรมนีก็ควรที่จะทำเช่นนั้น หมวดหมู่:การประชุมระหว่างประเทศ.

6 ความสัมพันธ์: กองทัพบกกองทัพอากาศสนธิสัญญาแวร์ซายสนธิสัญญาโลคาร์โนประเทศเยอรมนีเบนิโต มุสโสลินี

กองทัพบก

กองทัพบก คือกองกำลังทหารที่ปฏิบัติการในภาคพื้นดินเป็นหลัก มีหน้าที่ป้องกันและปฏิบัติการรบในภาคพื้นดิน กองทัพบกนับเป็นกองกำลังทหารที่กำเนิดขึ้นเป็นประเภทแรก หน่วยรบหลักในกองทัพบกแบ่งออกเป็น 3 เหล่าคือ.

ใหม่!!: แนวสเตรซาและกองทัพบก · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพอากาศ

กองทัพอากาศ คือกองกำลังติดอาวุธที่ปฏิบัติการในอากาศหรือเกี่ยวข้องกับอากาศ โดยใช้อากาศยานเป็นส่วนใหญ่ มีหน้าที่ปกป้องน่านฟ้าของประเทศนั้น.

ใหม่!!: แนวสเตรซาและกองทัพอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาแวร์ซาย

''The Signing of the Peace Treaty of Versailles'' สนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles) เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการยุติสถานะสงครามระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนกลุ่มประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางอื่น ๆ ได้มีการตกลงยกเลิกสถานภาพสงครามด้วยสนธิสัญญาฉบับอื่น แม้จะได้มีการลงนามสงบศึกตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: แนวสเตรซาและสนธิสัญญาแวร์ซาย · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาโลคาร์โน

นธิสัญญาโลคาร์โน คือ ข้อตกลงเจ็ดประการซึ่งได้เจรจากันที่เมืองโลคาร์โน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม - 16 ตุลาคม 1925 และได้รับการลงนามอย่างเป็นทางการที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะให้ประเทศฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในยุโรปตอนกลางและตะวันออกธำรงรักษาเขตแดนของประเทศเหล่านั้น รวมไปถึงการคืนความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนี สนธิสัญญาดังกล่าวได้แบ่งทวีปยุโรปออกเป็นสองหมวด ก็คือ ยุโรปตะวันตก ซึ่งได้รับการรับรองจากสนธิสัญญาโลคาร์โน และยุโรปตะวันออกได้รับการพิจารณาใหม่อีกครั้ง.

ใหม่!!: แนวสเตรซาและสนธิสัญญาโลคาร์โน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: แนวสเตรซาและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

เบนิโต มุสโสลินี

นีโต อามิลกาเร อานเดรอา มุสโสลีนี (Benito Amilcare Andrea Mussolini) เรียกชื่อโดยทั่วไปว่า "อิลดูเช" (Il Duce) แปลว่า "ท่านผู้นำ" เป็นจอมเผด็จการและนายกรัฐมนตรีของประเทศอิตาลี (พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2486) เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 ในครอบครัวที่ยากจนที่เมืองโดวีอาดีเปรดัปปีโอ (Dovia di Predappio) ในจังหวัดฟอร์ลิ แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา แต่ด้วยเวลาไม่นาน มุสโสลีนีได้กลายเป็นนักสังคมนิยมยุวชนที่หลักแหลมและมีอันตราย แต่ต่อมาต้องลาออกจากพรรคสังคมนิยมอิตาลีเนื่องจากสนับสนุนการเข้าแทรกแซงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2462 มุสโสลีนีได้เข้าร่วมการก่อตั้งพรรคสันนิบาตการต่อสู้แห่งอิตาลี (Fasci Italiani di Combattimento) หรือพรรคฟาสซิสต์เพื่อเตรียมเป็นกองกำลังปฏิวัติ ในปี พ.ศ. 2465 ได้เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งฉลองชัยชนะด้วย "การสวนสนามแห่งโรม" (เดือนตุลาคม) ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2468 เขาได้สถาปนาตนเองเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ บังคับให้ยกเลิกระบบรัฐสภาทดแทนด้วย "รัฐบรรษัท" (Corporate State) และวางระบบรวบอำนาจอย่างเป็นทางการ ได้จัดตั้งนครรัฐวาติกัน (พ.ศ. 2472) บุกยึดอะบิสซิเนีย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2478-พ.ศ. 2479 ปัจจุบันคือเอธิโอเปีย) และแอลเบเนีย (พ.ศ. 2482) ไว้ในการครอบครอง พร้อมกับการประกาศเข้าร่วมเป็นฝ่ายอักษะกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งประเทศเยอรมนี มุสโสลินีถูกจับกุมตัวได้เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยกองกำลังปาร์ติซานของพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี ที่บริเวณใกล้ชายแดนอิตาลี-สวิสเซอร์แลนด์ ในขณะที่เขาพยายามจะหลบหนีออกจากอิตาลี และถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในข้อหาทรยศต่อชาติ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยคำตัดสินลับหลังของคณะลูกขุนแห่งคณะกรรมการปลดแอกแห่งชาติ ร่างของมุสโสลินี อนุภรรยา และผู้นิยมลัทธิฟาสซิสต์คนอื่นๆ อีกประมาณ 15 คน ได้ถูกนำไปยังเมืองมิลาโน เพื่อแขวนประจานต่อสาธารณชน.

ใหม่!!: แนวสเตรซาและเบนิโต มุสโสลินี · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »