โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แคว้นซานมาร์ติน

ดัชนี แคว้นซานมาร์ติน

แคว้นซานมาร์ติน (San Martín) เป็นแคว้นทางตอนเหนือของประเทศเปรู พื้นที่ส่วนใหญ่ของแคว้นตั้งอยู่เหนือป่าดิบชื้นแอมะซอน เมืองหลวงคือเมือง โมโยบัมบา และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเมือง ตาราโปโต ซานมาร์ติน.

2 ความสัมพันธ์: ประเทศเปรูป่าดิบชื้นแอมะซอน

ประเทศเปรู

ประเทศเปรู (Perú) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเปรู เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศเอกวาดอร์และประเทศโคลอมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศบราซิลและประเทศโบลิเวีย ทางทิศใต้ติดกับประเทศชิลี และทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศเปรูเป็นที่ตั้งของอารยธรรมการัล ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่อันหนึ่งของโลก และอาณาจักรอินคา จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาก่อนยุคโคลัมบัส ต่อมาภูมิภาคนี้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิสเปน และได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2364 ชื่อเปรูมาจากคำว่า "บีรู" (Birú) ซึ่งเป็นชื่อของผู้ปกครองท้องถิ่นบริเวณอ่าวซานมีเกลในปานามา โดยบริเวณนี้เป็นจุดใต้สุดที่ชาวยุโรปรู้จักเมื่อครั้งนักสำรวจชาวสเปนมาถึงในปี พ.ศ. 2065 ดังนั้นเมื่อฟรันซิสโก ปีซาร์โรเดินทางสำรวจต่อไปทางใต้ จึงเรียกภูมิภาคเหล่านั้นว่า บีรูหรือเปรูด้วย จักรวรรดิสเปนรับรองชื่อนี้ในปี..

ใหม่!!: แคว้นซานมาร์ตินและประเทศเปรู · ดูเพิ่มเติม »

ป่าดิบชื้นแอมะซอน

ป่าดิบชื้นแอมะซอนในประเทศบราซิล ป่าดิบชื้นแอมะซอน เป็นป่าใบกว้างชื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอ่งแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แอ่งนี้กินพื้นที่ 7 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งป่าดิบชื้นแอมะซอนกินพื้นที่ไป 5.5 ล้านตารางกิโลเมตร ภูมิภาคนี้รวมดินแดนที่เป็นของ 9 ประเทศ พื้นที่ป่าส่วนใหญ่ราวร้อยละ 60 อยู่ในประเทศบราซิล รองลงมา คือ เปรู ร้อยละ 13 และโคลอมเบีย ร้อยละ 10 และมีปริมาณเล็กน้อยในเวเนซุเอลา เอกวาดอร์ โบลิเวีย กายอานา ซูรินาม และเฟรนช์เกียนา ป่าแอมะซอนเป็นเนื้อที่กว่าครึ่งของป่าดิบชื้นที่ยังเหลืออยู่บนโลก และเป็นป่าดิบชื้นเขตร้อนขนาดใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก มีต้นไม้ประมาณ 390 พันล้านต้นและมีพันธุ์ไม้ประมาณ 16,000 ชน.

ใหม่!!: แคว้นซานมาร์ตินและป่าดิบชื้นแอมะซอน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

San Martín Region

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »