โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เฮเทปเฮอร์เนบติ

ดัชนี เฮเทปเฮอร์เนบติ

ทปเฮอร์เนบติ เป็นสมเด็จพระราชินีและพระมเหสีแห่งราชวงศ์ที่สามในช่วงราชอาณาจักรเก่าของอียิปต์โบราณ พระองค์เป็นพระองค์เดียวที่รู้จักว่าเป็นพระมเหสีของฟาโรห์โจเซอร์ พระนางเฮเทปเฮอร์เนบติและพระธิดาของพระองค์นามว่า ไอเนตคาเอส ได้ปรากฎอยู่ในแผ่นศิลาสลักที่ค้นพบที่พิระมิดขั้นบันไดที่ค้นพบอยู่ที่เมืองซัคคาราและที่เมืองเฮลิโอโพลิส ซึ่งสลักเป็นภาพทั้งสามพระองค์ พระองค์อาจจะเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์คาเซคเคมวีกับพระนางนิมาอัตเทป ดังนั้นพระองค์อาจจะเป็นพระขนิฐาหรือพระขนิษฐาต่างมารดากับฟาโรห์โจเซอร.

7 ความสัมพันธ์: ฟาโรห์โจเซอร์มเหสีราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์สมเด็จพระราชินีอียิปต์โบราณประเทศอียิปต์ไอเนตคาเวส

ฟาโรห์โจเซอร์

ฟาโรห์โจเซอร์ (อังกฤษ: Djoser) เป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่3 แห่งอียิปต์โบราณ ทรงครองราชในปี 2668-2649 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: เฮเทปเฮอร์เนบติและฟาโรห์โจเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มเหสี

มเหสี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เฮเทปเฮอร์เนบติและมเหสี · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่สาม แห่งอียิปต์โบราณเป็นราชวงศ์แรกของราชอาณาจักรเก่า และราชวงศ์อื่น ๆ ของราชอาณาจักรเก่ารวมถึงราชวงศ์ที่สี่ ราชวงศ์ที่ห้าและราชวงศ์ที่หก เมืองหลวงใหม่ในช่วงระยะเวลาของอาณาจักรเก่าคือเมืองเมมฟิส ปกครองระหว่าง 2686 - 2610 ปีก่อนคริสตกาล รวมเป็นเวลา 64 ปี มีฟาโรห์ 5 พระอง.

ใหม่!!: เฮเทปเฮอร์เนบติและราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินี

ระราชินีแมรี ในวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในปี พ.ศ. 2454 สมเด็จพระราชินี (Queen Consort) เป็นพระอิสริยยศสำหรับพระอัครมเหสีของสมเด็จพระราชาธิบดีที่ยังครองราชสมบัติอยู่ สมเด็จพระราชินีโดยมากจะทรงมีฐานันดรศักดิ์เทียบเท่าพระราชสวามี (ทั้งระบอบราชาธิปไตยที่ใช้กฎหมายซาลิก หรือ กึ่งซาลิก) และดำรงพระอิสริยยศสำหรับพระมเหสีซึ่งเทียบเท่าพระอิสริยยศกษัตริย์ของพระราชสวามีด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วสมเด็จพระราชินีจะไม่ทรงอำนาจทางการเมืองการปกครองใดทั้งสิ้น.

ใหม่!!: เฮเทปเฮอร์เนบติและสมเด็จพระราชินี · ดูเพิ่มเติม »

อียิปต์โบราณ

มมฟิสและสุสานโบราณ อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 5,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรกลาง" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่ยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์ชนพ่ายต่อการทำสงครามจากชาติอื่น ดังเช่นชาวอัสซีเรียและเปอร์เซีย จนกระทั่งเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตศักราช ก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยึดครองอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิมาซิโดเนีย อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ฟาโรห์มีอำนาจและโหดร้ายมาก ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 4,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป.

ใหม่!!: เฮเทปเฮอร์เนบติและอียิปต์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: เฮเทปเฮอร์เนบติและประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอเนตคาเวส

อเนตคาเวส หรือ ไอเนตคาเอส เป็นเจ้าหญิงชาวอียิปต์โบราณแห่งราชวงศ์ที่สามในช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่า เจ้าหญิงไอเนตคาเอส เป็นที่รู้จักกันดีแค่เพียงว่า เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ดโจเซอร์กับพระนางเฮเทปเฮอร์เนบติ และพระองค์เป็นพระราชนัดดาของฟาโรห์คาเซคเคมวีและพระนางนิมาอัตเทป พระองค์ได้ถูกกล่าวถึงในแผ่นศิลาสลักในพิระมิดขั้นบันไดของฟาโรห์ดโจเซอร์ (ของเหล่านี้จะพบได้ในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ) และหินศิลาสลักที่พบอยู่ที่เมืองเฮลิโอโพลิส (ตอนนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในตูริน) ซึ่งปรากฎเป็นภาพของฟาโรห์ดโจเซอร์ขึ้นครองราชย์พร้อมภาพสลักขนาดเล็กกว่าสองรูปก็เป็นของพระนางเฮเทปเฮอร์เนบติและพระนางไอเนตคาเว.

ใหม่!!: เฮเทปเฮอร์เนบติและไอเนตคาเวส · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »