เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เอ็นเอ็มแอล หงส์

ดัชนี เอ็นเอ็มแอล หงส์

วเอ็นเอ็มแอล ไซจไน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดาวเอ็นเอ็มแอล ไซจ (NML Cygni หรือ NML Cyg) เป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวยักษ์ใหญ่แดงอยู่ในกลุ่มดาวหงส์ และเป็นดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจักรวาลเท่าที่ทราบในปัจจุบัน โดยใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ถึง อยู่ที่ประมาณ 2,208 เท่าโดย ดาวยูวาย กลุ่มดาวโล่ใหญ่กว่าเพียง1,708เท่าและวีวาย สุนัขใหญ่ใหญ่กว่าเพียง1,420เท่าและดาวเอ็นเอ็มแอล ไซจไนเป็นหนึ่งในดาวยักษ์ที่ส่องสว่างมากที่สุด โดยมีระยะห่างจากโลกอยู่ที่ประมาณ 1,700 พาร์เซก หรือประมาณ 5,500 ปีแสง ดาวดวงนี้มีสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยฝุ่นละอองอยู่รอบ ๆ ดาว ดาวดวงนี้มีลักษณะเป็นเนบิวลาอสมมาตรที่มีรูปร่างเหมือนถั่ว ซึ่งบังเอิญตรงกับการกระจายตัวของเมเซอร์ไอน้ำของดาว เป็นดาวแปรแสงแบบกึ่งปกติที่มีรอบการหมุนประมาณ 940 วัน.

สารบัญ

  1. 8 ความสัมพันธ์: พาร์เซกกลุ่มดาวหงส์กลุ่มดาวโล่วีวาย หมาใหญ่ดาวยักษ์แดงดาวฤกษ์ปีแสงเนบิวลา

  2. กลุ่มดาวหงส์
  3. วัตถุทางดาราศาสตร์ที่ค้นพบในปี พ.ศ. 2508

พาร์เซก

ร์เซก (Parsec; มาจาก parallax of one arcsecond ตัวย่อ: pc) เป็นหน่วยวัดระยะทางทางดาราศาสตร์ เท่ากับความสูงของสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีเส้นฐานยาว 1 หน่วยดาราศาสตร์และมีมุมยอด 1 พิลิปดา มีค่าประมาณ 3.2616 ปีแสง (3.26 ปีแสง)หรือ 206,265 หน่วยดาราศาสตร์ มักใช้วัดระยะทางภายในดาราจักร การวัดระยะจากโลกถึงดาวฤกษ์คือการวัดแพรแลกซ์ของดาวฤกษ์ แพรัลแลกซ์ คือ ปรากฏการณ์ที่ผู้สังเกตมองจาก 2 จุด แล้วเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับวัตถุอ้างอิง ทดลองได้โดยใช้มือถือวัตถุยื่นไปข้างหน้า แล้วสังเกตวัตถุดังกล่าวด้วยตาซ้าย และขวาจะสังเกตเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปหรือไม่ หมวดหมู่:หน่วยความยาว หมวดหมู่:มาตรดาราศาสตร์.

ดู เอ็นเอ็มแอล หงส์และพาร์เซก

กลุ่มดาวหงส์

กลุ่มดาวหงส์ เป็นกลุ่มดาวในซีกเหนือของทรงกลมฟ้า เป็นหนึ่งในจำนวนกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี (Ptolemy) และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล บางครั้งมีผู้เรียกกลุ่มดาวนี้ว่า กลุ่มดาวกางเขนเหนือ เพื่อให้เข้าคู่กับกลุ่มดาวกางเขนใต้ กลุ่มดาวนี้ มักวาดภาพให้เป็นรูปหงส์กางปีกบินตามแนวของทางช้างเผือก และหันหัวไปทางทิศใต้ หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวหงส์.

ดู เอ็นเอ็มแอล หงส์และกลุ่มดาวหงส์

กลุ่มดาวโล่

กลุ่มดาวโล่ เป็นกลุ่มดาวขนาดเล็ก ตั้งชื่อโดยโจแฮนเนส เฮเวลีอุส ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวโล่.

ดู เอ็นเอ็มแอล หงส์และกลุ่มดาวโล่

วีวาย หมาใหญ่

วีวายหมาใหญ่ (VY Canis Majoris) คือดาวฤกษ์ชนิดไฮเปอร์ไจแอนท์สีแดง ตั้งอยู่บริเวณกลุ่มดาวหมาใหญ่ มีขนาดประมาณ 1,420 เท่าของรัศมีของดวงอาทิตย์ (8.4-9.8 หน่วยดาราศาสตร์/เส้นผ่านศูนย์กลาง ~2,000 ล้านกิโลเมตร/2,000,000,000,000 เมตร หรือ 2.00 เทระเมตร)(มีขนาดประมาณวงโคจรของดาวเสาร์) ตั้งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 1.5 กิโลพาร์เซก (4,900 ปีแสง) วีวาย สุนัขใหญ่ เป็นดาวฤกษ์เดี่ยว ซึ่งแตกต่างจากดาวไฮเปอร์ไจแอนท์ส่วนใหญ่ที่มักจะเป็นดาวคู่ หรืออยู่ในระบบดาวหลายดวง ดาวดวงนี้ถูกจัดประเภทเป็นดาวแปรแสงกึ่งปกติ และมีความหนาแน่นโดยประมาณ 0.000005 ถึง 0.000010 กก./ม.

ดู เอ็นเอ็มแอล หงส์และวีวาย หมาใหญ่

ดาวยักษ์แดง

นาดของดวงอาทิตย์ปัจจุบัน (อยู่บนแถบลำดับหลัก) เปรียบเทียบกับขนาดโดยประมาณหากอยู่ในสภาวะดาวยักษ์แดง ดาวยักษ์แดง (Red Giant) เป็นดาวฤกษ์มวลน้อยหรือมวลปานกลางขนาดยักษ์ที่ส่องสว่างมาก (มวลโดยประมาณ 0.5-10 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาท้ายๆ ของวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ บรรยากาศรอบนอกของดาวจะลอยตัวและบางมาก ทำให้รัศมีของดาวขยายใหญ่ขึ้นมาก และอุณหภูมิพื้นผิวก็ต่ำ อาจอยู่ที่ประมาณ 5000 เคลวินหรือน้อยกว่านั้น ภาพปรากฏของดาวยักษ์แดงจะมีสีตั้งแต่เหลืองส้มออกไปจนถึงแดง ครอบคลุมระดับสเปกตรัมในชั้น K และ M อาจบางทีรวมถึงชั้น S และดาวคาร์บอนจำนวนมากด้วย ดาวยักษ์แดงส่วนใหญ่โดยทั่วไปมักเรียกกันเป็น red giant branch stars (RGB) ซึ่งยังมีปฏิกิริยาหลอมไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียมอยู่ แต่ที่แกนกลางจะเป็นฮีเลียมที่ไม่มีปฏิกิริยาแล้ว แต่ยังมีดาวยักษ์แดงอีกพวกหนึ่งคือ asymptotic giant branch stars (AGB) ที่สร้างคาร์บอนจากฮีเลียมด้วยกระบวนการทริปเปิล-อัลฟา ดาวยักษ์แดงประเภท AGB จะเป็นดาวคาร์บอนประเภท C-N หรือ C-R ช่วงปลายๆ ดาวยักษ์แดงที่สว่างและโดดเด่นในยามค่ำคืน ได้แก่ ดาวอัลดิบาแรน ดาวอาร์คตุรุส และแกมมาครูซิส เป็นต้น ขณะที่ดาวที่ใหญ่ยิ่งกว่านั้นคือดาวอันแตร์ส (อัลฟาสกอร์ปิไอ) และดาวบีเทลจุส เป็นดาวยักษ์ใหญ่แดง (red supergiant).

ดู เอ็นเอ็มแอล หงส์และดาวยักษ์แดง

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ดู เอ็นเอ็มแอล หงส์และดาวฤกษ์

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

ดู เอ็นเอ็มแอล หงส์และปีแสง

เนบิวลา

อ็นจีซี 604 (NGC 604) เป็นเนบิวลาที่อยู่ภายในแขนของดาราจักรเอ็ม 33 (M33) ในกลุ่มดาวสามเหลี่ยม อยู่ห่างจากโลก 2.7 ล้านปีแสง เนบิวลานี้เป็นบริเวณก่อตัวของดาวฤกษ์ดวงใหม่ เนบิวลานาฬิกาทราย (MyCn18) เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์อายุน้อย อยู่ห่างจากโลกประมาณ 8,000 ปีแสง ภาพนี้ถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพที่ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขององค์การนาซา เนบิวลา (Nebula - มาจากภาษาละติน nebula (พหูพจน์ nebulae) หมายถึง "หมอก") เป็นกลุ่มเมฆหมอกของฝุ่น แก๊ส และพลาสมาในอวกาศ เดิมคำว่า "เนบิวลา" เป็นชื่อสามัญ ใช้เรียกวัตถุทางดาราศาสตร์ที่เป็นปื้นบนท้องฟ้าซึ่งรวมถึงดาราจักรที่อยู่ห่างไกลออกไปจากทางช้างเผือก (ตัวอย่างเช่น ในอดีตเคยเรียกดาราจักรแอนดรอเมดาว่าเนบิวลาแอนดรอเมดา).

ดู เอ็นเอ็มแอล หงส์และเนบิวลา

ดูเพิ่มเติม

กลุ่มดาวหงส์

วัตถุทางดาราศาสตร์ที่ค้นพบในปี พ.ศ. 2508

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดาวเอ็นเอ็มแอล หงส์ดาวเอ็นเอ็มแอล ไซจไน