โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอโดกาวะ รัมโป

ดัชนี เอโดกาวะ รัมโป

ทาโร่ ฮิไร (平井 太郎 Hirai Tarō, 21 ตุลาคม ค.ศ.1894 – 28 มิถุนายน ค.ศ.1965), เป็นที่รู้จักในนามแฝงเอโดกาวะ รัมโป (江戸川 乱歩 Edogawa Ranpo) เป็นนักเขียนนิยายชาวญี่ปุ่นและนักวิจารณ์ ที่มีส่วนในการพัฒนาวงการนิยายสืบสวนของญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก งานเขียนของเขาส่วนมากจะมีตัวเอกเป็นนักสืบที่ชื่อว่า โคโกโร่ อาเคจิ ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าของกลุ่มนักสืบเด็กหนุ่มที่ใช้ชื่อว่า “ขบวนการนักสืบเยาวชน” (少年探偵団 Shōnen tantei dan) รัมโป เป็นผู้ที่ชื่นชมนักเขียนนวนิยายสืบสวนของตะวันตก โดยเฉพาะ เอดการ์ แอลลัน โพ นามปากกาของเขาจึงเป็นการเล่นคำจากชื่อของโพ นักเขียนคนอื่นที่มีอิทธพลต่อเขาได้แก่ นักเขียนชาวญี่ปุ่น รุยโก คุโรอิวะ และ เซอร์ อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ซึ่งเป็นคนที่เขียนหนังสือที่เขาต้องแปลในสมัยที่เป็นนักศึกษาที่ มหาวิทยาลัยวะเซ.

16 ความสัมพันธ์: ฟูชู (จังหวัดโตเกียว)มหาวิทยาลัยวะเซะดะมานุษยวิทยารักร่วมเพศอักษรเบรลล์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์จังหวัดมิเอะคะเมะยะมะซามูไรนามแฝงนาโงยะโรคพาร์คินสันโรคหลอดเลือดแดงแข็งโซบะเลือดออกในสมองใหญ่เอดการ์ แอลลัน โพ

ฟูชู (จังหวัดโตเกียว)

ฟูชู เป็นเมืองในเขตทะมะ ทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน..

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและฟูชู (จังหวัดโตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวะเซะดะ

ในบริเวณมหาวิทยาลัยวะเซะดะ มหาวิทยาลัยวะเซะดะ หรือมักจะเรียกย่อว่า โซได (早大) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนตั้งอยู่ในเขตชินจูกุในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) ถือว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น และอยู่ในลำดับต้น ๆ ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น วะเซะดะมีชื่อเสียงในด้านเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจและรัฐศาสตร์ และในด้านอื่นหลายด้านซึ่งวะเซะดะมักจะถูกเทียบกับมหาวิทยาลัยเคโอ ที่มีชื่อเสียงมากเช่นกันในญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองมหาวิทยาลัยจะมีกีฬาเบสบอลแข่งกันของทั้งสองมหาวิทยาลัยคล้าย ๆ กับมหาวิทยาลัย Oxford-Cambridge ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของฝั่งอังกฤษและที่มีกีฬาพายเรือแข่งกัน มหาวิทยาลัยวะเซะดะ ยังอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ Tokyo 6 Universities Alliance ซึ่งเทียบเคียงได้กับกลุ่มมหาวิทยาลัยไอวีลีกในประเทศสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและมหาวิทยาลัยวะเซะดะ · ดูเพิ่มเติม »

มานุษยวิทยา

มานุษยวิทยา (anthropology) คือ วิชาที่เกี่ยวกับมนุษย์ มานุษยวิทยา เกิดจาก วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร.

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและมานุษยวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

รักร่วมเพศ

รักร่วมเพศ (homosexuality) หมายถึงพฤติกรรมทางเพศหรือความสนใจของคนในเพศเดียวกันหรือรสนิยมทางเพศ ในเรื่องรสนิยมทางเพศหมายถึง "มีเพศสัมพันธ์หรือความรักในทางโรแมนติกพิเศษกับบุคคลในเพศเดียวกัน" และยังหมายถึง "ความรู้สึกส่วนตัวและการแสดงออกทางสังคมโดยยึดจากความชอบ พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออก และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา" รักร่วมเพศ, ไบเซ็กชวล และรักต่างเพศ ถือเป็นกลุ่มคนหลัก 3 ประเภทของรสนิยมทางเพศ สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักเพศเดียวกันค่อนข้างยากที่จะประเมินLeVay, Simon (1996).

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและรักร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเบรลล์

ตัวอย่างอักษรเบรลล์ คำว่า Premier อักษรเบรลล์ (Braille) เป็นอักษรสำหรับคนตาบอด ประดิษฐ์โดย หลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) ครูตาบอดชาวฝรั่งเศส มีลักษณะเป็นจุดนูนเล็กๆ ใน 1 ช่องประกอบด้วยจุด 6 ตำแหน่ง ซึ่งนำมาจัดสลับกันไปมาเป็นรหัสแทนอักษรตาดีหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โน้ตดนตรี ฯลฯ การเขียนใช้เครื่องมือเฉพาะเรียก สเลต (Slate) และดินสอ (Stylus) การพิมพ์ใช้เครื่องพิมพ์เรียก เบรลเลอร์ (Brailler) ใช้กระดาษหนาขนาดกระดาษวาดรูป.

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและอักษรเบรลล์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์

อาร์เธอร์ อิกเนเชียส โคนัน ดอยล์ (Arthur Ignatius Conan Doyle) เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ในเมืองเอดินบะระ แคว้นสกอตแลนด์ แห่งสหราชอาณาจักร และถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 เป็นนักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย ประวัติศาสตร์ และแพทย์คนสำคัญของสกอตแลนด์ แต่ผลงานที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุด คือนิยายรหัสคดีชุด "เชอร์ล็อก โฮมส์" โคนัน ดอยล์ได้รับการศึกษาจากคณะเยซูอิต ที่วิทยาลัยสโตนีเฮิสต์ และจบการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ เมื่อปี ค.ศ. 1881 แล้วประกอบอาชีพแพทย์ตามที่ได้ร่ำเรียนมา ขณะเดียวกันก็ได้เริ่มงานเขียนเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ เรื่องสั้นเรื่องแรกของเขาได้รับตีพิมพ์ในวารสารแชมเบอร์ (Chambers) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1879 และเขียนสารคดีเรื่องแรก ในวารสารการแพทย์ "British Medical Journal" ในเดือนเดียวกัน เรื่องที่ไม่ได้ตีพิมพ์เรื่องหนึ่งในช่วงนั้น แสดงถึงการทดลองด้วยคุณลักษณะ 2 อย่าง คือ การใช้ตัวเอกที่มีความรู้ในศาสตร์ลับ และคนเล่าเรื่องที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านใด แต่พัฒนาการของแนวคิดดังกล่าวก้าวถึงจุดสูงสุดเมื่อปี ค.ศ. 1886 และสร้างสีสันมีชีวิตชีวามาก จากเรื่อง "A Study in scarlet" เป็นเรื่องของนักสืบชื่อเชอร์ล็อก โฮลมส์ และเพื่อนชื่อหมอวัตสัน ด้วยการสร้างบทสนทนาที่สนุกสนาน น่าติดตาม ทำให้เรื่องของเขาเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง และตีพิมพ์เป็นเรื่องสั้นกว่า 56 เรื่อง และนวนิยาย 4 เรื่อง โดยได้รับแนวคิดจาก "Socrates and his disciples" ของเพลโต และ "Don Quixote" ของเซอร์บันเตส เป็นต้น โคนัน ดอยล์ยังถือว่าเป็นหนี้ความรู้ของเอ็ดก้าร์ แอลลแลน โป (Edgar Allan Poe) บิดาแห่งรหัสคดี แต่การสร้างสรรค์เรื่องของโคนัน ดอยล์ทำให้นวนิยายชุดเชอร์ล็อก โฮมส์มีความแตกต่างจากนิยายสืบสวนทั่วไป และกลายเป็นนิยายรหัสคดียิ่งใหญ่ในชั่วเวลาไม่นาน เขาให้เขียนให้โฮมส์เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1893 เพื่อจบนิยายชุดนี้ แต่ต้องแต่งเรื่องให้โฮมส์กลับมาอีกครั้ง ตามคำเรียกร้องของบรรดานักอ่านของเขา เรื่องยาวของโคนัน ดอยล์ได้แก่เรื่องเล่าสมัยกลาง เกี่ยวกับทหารในคริสต์ศตวรรษที่ 14 การปฏิวัติรัฐประหารในประเทศต่าง ๆ แต่ดูเหมือนเรื่องสั้นของเขาจะเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากกว่า งานของเขายังมีเรื่องราวการผจญภัยกึ่งนิยายวิทยาศาสตร์ อย่างเรื่องสั้นชุด "Professor Challenger" เป็นต้น โคนัน ดอยล์นั้นได้ทำหน้าที่เป็นแพทย์เรื่อยมาตั้งแต่จบการศึกษา และเลิกอาชีพนี้ไปทำงานด้านวรรณกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1891 จากนั้นย้ายไปอยู่ที่ลอนดอน และต่อมาได้ย้ายไปที่เมืองซัสเซ็กซ์ และเอสเซ็กซ์ เมื่อ ปี ค.ศ. 1902 โคนัน ดอยล์ได้รับพระราชทานยศอัศวิน อันเนื่องมาจากการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะในสงครามแอฟริกา หลังจากบุตรชายของเขาเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ซึ่งเขาได้เขียนประวัติเหตุการณ์ต่าง ๆ เอาไว้) เขาเริ่มสนใจเรื่องธรรมะ ซึ่งมีผลต่อเรื่องสยองขวัญของเขาด้วย โคนัน ดอยล์เสียชีวิตเมื่อปี 1930 อายุได้ 71 ปี ผ่านการสมรส 2 ครั้ง และมีบุตร 5 คน.

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและอาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดมิเอะ

ังหวัดมิเอะ เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคคิงกิบนเกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น เมืองเอกคือเมืองทสึ.

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและจังหวัดมิเอะ · ดูเพิ่มเติม »

คะเมะยะมะ

มะยะมะ เป็นเมืองในจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น สถาปนาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและคะเมะยะมะ · ดูเพิ่มเติม »

ซามูไร

ซามูไรในชุดเกราะ ถ่ายในช่วงทศวรรษที่ 1860 โดย เฟรีเช บีอาโต ซามูไร แปลเป็นภาษาไทยว่าทหาร คำว่า ซามูไร มีต้นกำเนิดจากคำว่า ซะบุระอุ ซึ่งเป็นคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณ ที่มีความหมายว่า รับใช้ ฉะนั้น ซามูไรก็คือคนรับใช้นั่นเอง.

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและซามูไร · ดูเพิ่มเติม »

นามแฝง

นามแฝง หรือ ฉายา (alias, pseudonym ชื่อปลอม) หมายถึง ชื่อที่ปรุงแต่งหรือตั้งขึ้น เพื่อใช้เรียกแทนชื่อจริงของบุคคลเป็นการส่วนตัว บางครั้งนามแฝงสามารถใช้อ้างถึงบุคคลในทางกฎหมายได้ บุคคลที่มีชื่อเสียงบางคนอาจใช้นามแฝงในการแสดงหรือการเขียนหนังสือมากกว่าใช้ชื่อจริงของตน.

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและนามแฝง · ดูเพิ่มเติม »

นาโงยะ

นครนาโงยะ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคชูบุ และมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกบนเกาะฮนชู เป็นเมืองเอกของจังหวัดไอชิและเป็นหนึ่งในเมืองท่าหลักของญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย โตเกียว, โอซะกะ, โคเบะ, โยะโกะฮะมะ, ชิบะ และ คิตะกีวชู นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของเขตมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับสามของญี่ปุ่นที่เรียกว่า เขตมหานครชูเกียว ซึ่งมีประชากรกว่า 9.1 ล้านคน.

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและนาโงยะ · ดูเพิ่มเติม »

โรคพาร์คินสัน

รคพาร์คินสันเป็นความผิดปรกติการเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลาง อาการของโรคพากินสันเกิดจากเซลล์ที่ผลิตโดปามีนในซับสแตนเชียไนกรา อันเป็นบริเวณหนึ่งในสมองส่วนกลาง ตาย ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุของการตายของเซลล์นี้ ในช่วงที่เป็นโรคใหม่ ๆ อาการเด่นชัดที่สุดเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ซึ่งรวมการสั่น สภาพแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้าและเดินและท่าเดินลำบาก ต่อมา อาจเกิดปัญหาการคิดและพฤติกรรมได้ โดยภาวะสมองเสื่อมเกิดได้ทั่วไปในระยะท้ายของโรค ขณะที่ภาวะซึมเศร้าเป็นอาการจิตเวชที่พบบ่อยที่สุด อาการอื่นมีปัญหารับความรู้สึก การหลับและอารมณ์ โรคพาร์คินสันพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยส่วนมากเกิดอาการหลังอายุ 50 ปี อาการสั่งการหลักเรียกรวมว่า พาร์คินสันนิซึม (parkinsonism) หรือ กลุ่มอาการพาร์คินสัน (parkinsonian syndrome) โรคพาร์คินสันมักนิยามเป็นกลุ่มอาการพาร์คินสันที่เกิดเอง (ไม่มีสาเหตุที่ทราบ) แม้ผู้ป่วยนอกแบบบางคนมีสาเหตุจากพันธุกรรม มีการสืบสวนปัจจัยเสี่ยงและป้องกันหลายอย่าง หลักฐานชัดเจนที่สุด คือ ผู้ที่สัมผัสยาฆ่าแมลงบางชนิดจะมีความเสี่ยงต่อโรคพาร์คินสันมากขึ้น แต่ผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงลดลง พยาธิสภาพของโรคเป็นลักษณะของการสะสมโปรตีนชื่อ แอลฟา-ไซนิวคลีอิน (alpha-synuclein) ในอินคลูชันบอดี (inclusion body) เรียก เลวีบอดี (Lewy body) ในเซลล์ประสาท และจากการสร้างและกัมมันตภาพของโดปามีนที่ผลิตในเซลล์ประสาทบางชนิดในหลายส่วนของสมองส่วนกลางไม่เพียงพอ เลวีบอดีเป็นเครื่องหมายพยาธิวิทยาของโรคนี้ และการกระจายของเลวีบอดีตลอดสมองของผู้ป่วยแตกต่างกันไปตามบุคคล การกระจายทางกายวิภาคศาสตร์ของเลวีบอดีมักสัมพันธ์โดยตรงกับการแสดงออกและระดับอาการทางคลินิกของแต่ละบุคคล การวินิจฉัยผู้ป่วยตรงแบบอาศัยอาการเป็นหลัก โดยใช้การทดสอบอย่างการสร้างภาพประสาท (neuroimaging) เพื่อยืนยัน.

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและโรคพาร์คินสัน · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง

รคหลอดเลือดแดงแข็ง หรือ โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดกับหลอดเลือดแดง เกิดจากปฏิกิริยาการอักเสบเรื้อรังที่ผนังหลอดเลือดแดง ส่วนใหญ่เป็นจากการสะสมของเม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจและถูกกระตุ้นโดยไขมันแอลดีแอลโดยไม่มีการกำจัดไขมันและคอเลสเตอรอลออกที่ดีพอจากการทำงานของแมคโครฟาจโดยไขมันเอชดีแอล.

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและโรคหลอดเลือดแดงแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

โซบะ

ซบะ เป็นอาหารญี่ปุ่นที่ได้ความนิยมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งบักวีต (ไม่ใช่แป้งสาลี) มีลักษณะเป็นเส้นยาว สีน้ำตาล โซบะนิยมรับประทานทั้งแบบเย็น จุ่มกับซอส และแบบร้อนในซุป ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวิธีนำเส้นโซบะไปประกอบอาหารนั้น นอกจากนี้ ในประเทศญี่ปุ่นเองยังนิยมเรียกอาหารเส้นที่เป็นเส้นขนาดเล็กว่า โซบะ อีกด้วย ซึ่งต่างจากอูดงซึ่งมีลักษณะเส้นหนา ทำจากแป้งสาลี โซบะมีขายในหลากหลายสถานที่ ตั้งแต่ในร้านอาหารจานด่วนราคาถูกตามสถานีรถไฟต่าง ๆ ไปจนถึงร้านอาหารหรูหราราคาแพง นอกจากนี้ เส้นโซบะยังมีขายแบบเส้นแห้งและบะหมี่สำเร็จรูปตามซูเปอร์มาร์เก็ตอีกด้วย ในประเทศไทย มักเรียกเส้นบะหมี่ฮกเกี้ยนซึ่งมีลักษณะเส้นใหญ่ หนา สีเหลืองว่า เส้นโซบะ เนื่องจากร้านอาหารในประเทศไทยนิยมนำบะหมี่ชนิดนี้มาผัด คล้ายอาหารญี่ปุ่นที่เรียกว่า ยากิโซ.

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและโซบะ · ดูเพิ่มเติม »

เลือดออกในสมองใหญ่

เลือดออกในสมองใหญ่ (cerebral/intracerebral hemorrhage) เป็นภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในเนื้อสมอง อาจเกิดจากการบาดเจ็บต่อสมอง หรือเกิดขึ้นเองในลักษณะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ก็ได้ หมวดหมู่:การบาดเจ็บของระบบประสาท หมวดหมู่:โรคหลอดเลือดสมอง.

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและเลือดออกในสมองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เอดการ์ แอลลัน โพ

อดการ์ แอลลัน โพ (Edgar Allan Poe; 19 มกราคม ค.ศ. 1809 – 7 ตุลาคม ค.ศ. 1849) เป็นนักเขียน กวี บรรณาธิการ และนักวิจารณ์วรรณกรรมชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดจากงานรหัสคดี และเรื่องสยองขวัญ โพเป็นนักเขียนคนแรก ๆ ที่เขียนเรื่องสั้นและได้รับการนับถือว่าเป็นผู้ริเริ่มเขียนเรื่องแต่งแนวสืบสวนสอบสวน เขายังได้รับการยอมรับว่ามีส่วนสำคัญในการพัฒนาเรื่องแนวนิยายวิทยาศาสตร์ซึ่งเพิ่งถือกำเนิดในช่วงนั้นอีกด้วย เขาเป็นนักเขียนชาวอเมริกันชื่อดังคนแรกที่พยายามหาเลี้ยงชีพด้วยการเขียนหนังสืออย่างเดียวเท่านั้น อันเป็นผลให้ชีวิตและอาชีพการงานของเขาเต็มไปด้วยปัญหาทางการเงิน เขาเกิดมาในชื่อ เอดการ์ โพ ที่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ บิดามารดาของเขาเสียชีวิตตั้งแต่เขาอายุยังน้อย เขาได้รับการเลี้ยงดูโดยจอห์น (John) และฟรานเซส (Frances) แอลลัน แห่งเมืองริชมอนด์ รัฐเวอร์จิเนีย แต่ทั้งคู่ไม่ได้ทำเรื่องรับอุปการะเขาอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด หลังจากใช้เวลาสั้นๆในมหาวิทยาลัยแห่งเวอร์จิเนีย (University of Virginia) และพยายามไต่เต้าอาชีพการงานในกองทัพอยู่ระยะหนึ่ง โพก็แยกตัวจากครอบครัวแอลลัน อาชีพนักเขียนของเขาเริ่มต้นด้วยหนังสือรวมกวีนิพนธ์นิรนาม Tamerlane and Other Poems (1827) และใช้เพียงนามปากกาว่า “ชาวบอสตันคนหนึ่ง” โพหันเหความสนใจของเขาไปยังงานร้อยแก้วและใช้เวลาหลายปีหลังจากนั้นทำงานให้วารสารและนิตยสารวรรณกรรมจนเป็นที่รู้จักจากรูปแบบการวิจารณ์วรรณกรรมของเขาเอง การทำงานของเขาทำให้เขาต้องโยกย้ายไปมาระหว่างหลายเมือง ซึ่งรวมถึงบอลทิมอร์, ฟิลาเดลเฟีย และนครนิวยอร์ก ที่เมืองบอลทิมอร์ ปี..

ใหม่!!: เอโดกาวะ รัมโปและเอดการ์ แอลลัน โพ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »