โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอมิล ดูร์ไกม์

ดัชนี เอมิล ดูร์ไกม์

วิด เอมิล ดูร์ไกม์ (David Émile Durkheim) (15 เมษายน ค.ศ. 1858 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917) เป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของสังคมวิทยาสมัยใหม่ เขายังเป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาสังคมวิทยาแห่งแรกในยุโรปในปี..

7 ความสัมพันธ์: บรรทัดฐานการฆ่าตัวตายมักซ์ เวเบอร์สมัยใหม่สังคมวิทยาโรมันคาทอลิกโปรเตสแตนต์

บรรทัดฐาน

การจับมือกันหลังเสร็จสิ้นการแข่งขันเป็นตัวอย่างหนึ่งของบรรทัดฐานในสังคมตะวันตก บรรทัดฐาน ปทัสถาน หรือ ปทัฏฐาน (Norm) ในทางสังคมวิทยาหมายถึง พฤติกรรมและบทบาทภายในสังคมหรือกลุ่ม คำนี้มีการจำกัดความว่าเป็น "กฎซึ่งกลุ่มใช้สำหรับแยกแยะค่านิยม ทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม กฎดังกล่าวอาจบอกอย่างชัดเจนหรือเป็นนัยก็ได้ ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคมอาจได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง ซึ่งอาจนำไปสู่การกีดกันออกไปจากกลุ่ม" นอกจากนี้ยังมีการอธิบายว่าเป็น "กฎธรรมเนียมของพฤติกรรมที่ประสานปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น" บรรทัดฐานทางสังคมบ่งชี้ถึงแนวทางสังคมยอมรับในการกระทำ การแต่งกาย การพูดจาหรือรูปลักษณ์ภายนอก บรรทัดฐานนี้มีความแตกต่างกันมากและมีวิวัฒนาการไม่เฉพาะแต่ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความแตกต่างของวัย ชนชั้นทางสังคมและกลุ่มทางสังคมด้วย บรรทัดฐานของกลุ่มหนึ่งอาจไม่ได้รับการยอมรับในอีกกลุ่มหนึ่งก็ได้ การปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคมนำมาซึ่งการได้รับความยอมรับและความเป็นที่นิยมภายในกลุ่ม การเพิกเฉยต่อบรรทัดฐานของสังคมอาจทำให้ผู้หนึ่งไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่ม ไม่ได้รับความยอมรับ หรืออาจถึงขั้นขับออกจากกลุ่มเลยก็เป็นได้ บรรทัดฐานทางสังคมมักเป็นตัวภาษาหรือการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูดระหว่างบุคคลในสังคมทั่วไป การทราบว่าสิ่งใดควรพูด หรือควรใช้คำใดโดยเฉพาะเป็นพิเศษ ควรพูดคุยถึงหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง ควรใส่เสื้อผ้าแบบใด และเมื่อใดที่ไม่ควร ความรู้ดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการการแสดงออก ซึ่งเป็นระเบียบสำหรับปัจเจกชนในการแสดงพฤติกรรมโดยไม่ใช้คำพู.

ใหม่!!: เอมิล ดูร์ไกม์และบรรทัดฐาน · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าตัวตาย

การฆ่าตัวตาย หรือ อัตวินิบาตกรรม เป็นการกระทำให้ตนเองถึงแก่ความตายอย่างตั้งใจ การฆ่าตัวตายมักเกิดจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเภท ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง โรคพิษสุรา หรือการใช้สารเสพติด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดเช่นความลำบากทางการเงิน หรือปัญหากับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็มีส่วนเช่นกัน ความพยายามป้องกันการฆ่าตัวตายหมายรวมถึงการจำกัดการฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ปืน และสารพิษ การรักษาอาการทางจิตและการใช้สารเสพติด และการปรับปรุงสถานะทางการเงิน แม้ว่าบริการที่ปรึกษาสายด่วนจะมีทั่วไป แต่แทบไม่มีหลักฐานว่าวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพ วิธีการฆ่าตัวตายที่พบได้บ่อยที่สุดแตกต่างกันไปตามประเทศและส่วนหนึ่งจะขึ้นกับความเป็นไปได้ วิธีการทั่วไปได้แก่ การแขวนคอ การวางยาด้วยสารฆ่าสัตว์รังควาน และอาวุธปืน การฆ่าตัวตายคร่าชีวิตคน 842,000 คนใน..

ใหม่!!: เอมิล ดูร์ไกม์และการฆ่าตัวตาย · ดูเพิ่มเติม »

มักซ์ เวเบอร์

ร์ล เอมิล มักซิมิเลียน "มักซ์" เวเบอร์ (Karl Emil Maximilian "Max" Weber) (21 เมษายน ค.ศ. 1864 – 14 มิถุนายน ค.ศ. 1920) เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมืองและนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ถือกันว่าเวเบอร์เป็นผู้ก่อตั้งวิชาสังคมวิทยาสมัยใหม่และรัฐประศาสนศาสตร์ งานชิ้นหลัก ๆ ของเขาเกี่ยวข้องกับสังคมวิทยาศาสนาและสังคมวิทยาการปกครอง นอกจากนี้เขายังมีงานเขียนอีกหลายชิ้นในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ งานที่ผู้คนจดจำได้มากที่สุดของเวเบอร์คือ ความเรียงเรื่อง จริยธรรมโปรเตสแตนต์และจิตวิญญาณแห่งทุนนิยม ซึ่งเป็นงานชิ้นแรกของเขาในสาขาสังคมวิทยาศาสนา ในงานชิ้นดังกล่าว เวเบอร์เสนอว่าศาสนาเป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ ที่นำไปสู่เส้นทางการพัฒนาทางวัฒนธรรมที่ต่างกันระหว่างโลกประจิม (the Occident) กับโลกบูรพา (the Orient) ในงานที่มีชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งของเขาที่ชื่อการเมืองในฐานะวิชาชีพ (Politik als Beruf) เวเบอร์นิยามรัฐว่ารัฐคือหน่วยองค์ (entity) ซึ่งผูกขาดการใช้กำลังทางกายภาพที่ถูกกฎหมาย ซึ่งนิยามนี้ได้กลายเป็นจุดศูนย์กลางในการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ในเวลาต่อม.

ใหม่!!: เอมิล ดูร์ไกม์และมักซ์ เวเบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยใหม่

กาลิเลโอ กาลิเลอี บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ สมัยใหม่ เป็นช่วงเวลาหนึ่งของอารยธรรมต่างๆ ซึ่งในช่วงนี้ อารยธรรมนั้น ๆ จะเริ่มมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เริ่มมีแนวคิดที่ยึดหลักความจริง หลุดพ้นจากความเชื่องมงายหลายอย่างในอดีต นักวิชาการได้กำหนดช่วงเวลาที่เป็น "สมัยใหม่" ของสากลโลกไว้ให้เป็นช่วง ค.ศ. 1453-ค.ศ. 1945 โดยเริ่มนับจากการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์และสิ้นสุดลงหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ นับตั้งแต่สมัยกลางตอนปลายเป็นต้นมา ผู้คนเริ่มสงสัยในความเชื่อและเนื้อหาตำราเรียนแบบเก่า ๆ ที่เชื่อกันมายาวนาน และไม่นาน ความเชื่อเก่าๆ และอำนาจการปกครองที่เด็ดขาดของศาสนจักรเริ่มเสื่อมถอยลง ผู้คนเริ่มคิดได้ว่ามนุษย์สามารถลิขิตชีวิตของตนได้ด้วยการกระทำของตนเอง จึงเริ่มดิ้นรนเพื่อชีวิตที่ดีกว่า และมีการคิดค้นทฤษฎี สิ่งประดิษฐ์ รวมไปถึงศิลปะขึ้นมากมาย ทำให้เข้าสู่สมัยใหม่ในที่สุด ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่อยู่ในช่วงปลายสมัยกลางถึงต้นสมัยใหม่ ซึ่งการเริ่มต้นของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในช่วงปลายสมัยกลาง เป็นปัจจัยสำคัญที่ชักนำโลกเข้าสู่สมัยใหม่ คือ วิทยาการต่างๆ จากโรมัน เริ่มถูกฟื้นฟูขึ้นมาและแผ่กระจายไปในแถบยุโรป เทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนในช่วงปลายของสมัยใหม่ วิทยาการถูกใช้ไปในทางการเข่นฆ่ากันเองของมนุษย์ เกิดสงครามโลก สังหารผู้คนไปหลายสิบล้านคน จนในที่สุดก็มีการตระหนักถึงการใช้วิทยาการอย่างถูกทาง และมีการควบคุมเทคโนโลยีที่อาจก่ออันตราย แต่ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สมัยใหม่สิ้นสุดลง และเข้าสู่ สมัยปัจจุบัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1945 เป็นต้นมา หมวดหมู่:ยุคสมัยในประวัติศาสตร์.

ใหม่!!: เอมิล ดูร์ไกม์และสมัยใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

สังคมวิทยา

ังคมวิทยา (อังกฤษ: sociology) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตทางสังคมของมนุษย์, กลุ่มคน, และสังคม สิ่งที่สาขาวิชานี้สนใจคือ กฎเกณฑ์ และกระบวนการทางสังคม ที่ยึดเหนี่ยวหรือแบ่งแยกผู้คน ทั้งในสภาวะที่เป็นปัจเจก และในฐานะของสมาชิกของสมาคม, กลุ่ม, หรือสถาบัน สังคมวิทยาสนใจพฤติกรรมมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตทางสังคม ดังนั้นการศึกษาทางด้านนี้ จึงครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์การพบปะกันของคนที่ไม่รู้จักกันบนท้องถนน ไปจนถึงการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมในระดับโลก.

ใหม่!!: เอมิล ดูร์ไกม์และสังคมวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: เอมิล ดูร์ไกม์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: เอมิล ดูร์ไกม์และโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Émile Durkheimอีมิล เดอร์ไคหม์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »