โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เหลิวมั้ม

ดัชนี เหลิวมั้ม

หลิวมั้ม หรือ ปลาร้าหม้อไฟ (lẩu mắm) เป็นอาหารเวียดนามชนิดหนึ่ง นิยมมากในเวียดนามภาคใต้ โดยเฉพาะบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เป็นการนำปลาร้าไปต้มกับหมูสามชั้น หอม กระเทียม ตะไคร้ พริกสับ กระชาย ต้มให้เดือด ใส่เนื้อสัตว์ลงไป ที่นิยมได้แก่ ปลาช่อน ปลาไหล กุ้ง หมึก หอยตลับ ผักที่นิยมคือมะเขือม่วง สะเดาดิน สายบัว ไหลบัว ผักพาย หัวปลี ผักบุ้ง ถั่วพู มะระ ดอกโสน ดอกแค และเห็ด ถ้านำไปรับประทานกับขนมจีนเรียก "บู๊นมั้ม" (bún mắm).

18 ความสัมพันธ์: บัวสายบัวหลวงกระชายกระเทียมมะระอันดับปลาไหลอาหารเวียดนามผักบุ้งถั่วพูขวงขนมจีนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงตะไคร้ตาลปัตรฤๅษีปลาช่อนปลาร้าแคโสน

บัวสาย

ัวสาย เป็นพืชน้ำชนิดหนึ่ง มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว หรือเหง้า ลักษณะคล้ายหัวเผือก ใบเดี่ยวแตกจากเหง้า ก้านใบยาว อ่อน ส่งใบขึ้นมาลอยบนผิวน้ำ แผ่นใบค่อนข้างกลม ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน ด้านล่างมีขนละเอียด ดอกเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกเหมือนก้านใบ ภายในมียางใสและท่ออากาศมาก ผลเรียกโตนดบัว รับประทานได้ มีแป้งมาก ก้านดอกเรียกสายบัว รับประทานได้.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและบัวสาย · ดูเพิ่มเติม »

บัวหลวง

ัวหลวง หรือ บัวหลวงอินเดีย (Indian Lotus, Sacred Lotus, Bean of India) เป็นพืชน้ำในสกุลบัวหลวง วงศ์บัว.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและบัวหลวง · ดูเพิ่มเติม »

กระชาย

กระชาย หรือ ขิงจีน เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกเลี้ยงกันในประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระชายมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระชายดำ (กลาง,มหาสารคาม) กะแอน (มหาสารคาม,เหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) จี๊ปู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) ซีพู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) เป๊าะซอเร้าะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ละแอน (เหนือ) และ ว่านพระอาทิตย์ (กทม.)ชื่อสามัญ กระชายมี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและกระชาย · ดูเพิ่มเติม »

กระเทียม

กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย กระเทียมมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้).

ใหม่!!: เหลิวมั้มและกระเทียม · ดูเพิ่มเติม »

มะระ

มะระ หรือ ผักไห่ เป็นไม้เลื้อยเขตร้อนในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) นิยมปลูกเพื่อใช้ผลและยอดเป็นอาหาร มีรสขม ที่รู้จักกันดีมี 2 สายพันธุ์ คือ มะระขี้นกและมะระจีน ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันคือ Momordica charantia สำหรับชื่อในภาษาอังกฤษมีหลายชื่อ เช่น balsam apple, balsam pear, bitter cucumber, bitter gourd, bitter melon (สำหรับชื่อ bitter gourd หรือ biiter melon นี้มีที่มาจากชื่อจีนที่เรียกว่า 苦瓜).

ใหม่!!: เหลิวมั้มและมะระ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาไหล

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและอันดับปลาไหล · ดูเพิ่มเติม »

อาหารเวียดนาม

ั๊ญแส่วหรือขนมเบื้องญวนในประเทศเวียดนาม อาหารเวียดนามเป็นอาหารประจำชาติของชาวเวียดนาม ซึ่งเป็นอาหารที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นของตัวเอง ชาวเวียดนามกินข้าวเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับชาติอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใช้เครื่องปรุงรสที่เป็นของหมักดองเช่นเดียวกัน เนื่องจากเวียดนามเคยถูกจีนและฝรั่งเศสปกครองจึงมีอิทธิพลของทั้งสองชาติปรากฏอยู่บ้าง นอกจากนั้น เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่ทอดยาวตามแนวชายฝั่ง ทำให้อาหารเวียดนามแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน อาหารเวียดนามที่คนไทยรู้จักดีและเป็นเอกลักษณ์คือแหนมเนืองและขนมเบื้องญวน.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและอาหารเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) พบทั่วไปในเขตร้อน และเป็นผักที่คนท้องถิ่น เช่น ไทย เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และกานา นิยมรับประทานเป็นอาหาร ผักบุ้งที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมี 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนาและผักบุ้งจีน โดยผักบุ้งไทยมักปลูกในน้ำเพราะเจริญเติบโตได้ดีกว่าบนบก ส่วนผักบุ้งจีนจะปลูกในดินเพราะต้องการธาตุอาหารจากในดินมากกว.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและผักบุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วพู

ั่วพู เป็นพืชล้มลุก ดอกสีขาวอมม่วง ผลเป็นฝักแบนยาวมี 4 ปีก ความยาวของฝักประมาณ 3-4 นิ้ว ภายในมีเมล็ดกลมเรียบ นิยมนำถั่วพูมาประกอบอาหารประเภทยำหรือกินสด ถั่วพูเป็นผักที่เสียเร็ว เหี่ยวง่ายและเกิดสีน้ำตาลเร็ว เก็บได้ไม่นาน คุณค่าทางอาหาร ถั่วพูมีคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน ไขมัน แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินเอ ซี อี บี1 บี2 ไนอะซิน สรรพคุณทางยาบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดเมื่อย แก้ตัวร้อน ลดไข้ ในอาหารไทยนำฝักอ่อนมาลวก กินกับน้ำพริก ยำ หั่นใส่ในแกงส้ม แกงป่าหรือกินกับขนมจีน หั่นผสมในทอดมัน ยอดอ่อนและดอกใช้จิ้มน้ำพริก ใบอ่อนทำสลัดหรือใส่ในแกงจืด เมล็ดแก่คั่วให้สุกรับประทานได้ หัวแก่ใช้เชื่อมเป็นของหวานหรือเผารับประทานเช่นเดียวกับมันเทศหรือมันสำปะหลัง ในพม่า นำหัวถั่วพูไปต้มจิ้มน้ำจิ้ม กินเป็นอาหารว่าง ใบอ่อนกินเป็นสลัด ในปาปัวนิวกินีนำหัวถั่วพูไปห่อใบตองหรือใบไผ่แล้วย่างรับประทาน ในอินโดนีเซียนำเมล็ดถั่วพูไปทำเทมเป้เช่นเดียวกับถั่วเหลือง หัวถั่วพูนำมาสับ ตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มต่างน้ำ เป็นยาบำรุงกำลัง ในทางสิ่งแวดล้อม ถั่วพูสามารถส่งเสริมการย่อยสลายแอนทราซีนและฟลูออรีนในไรโซสเฟียร์ได้ดี.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและถั่วพู · ดูเพิ่มเติม »

ขวง

วง, ผักขวง, สะเดาดิน หรือ ผักขี้ขวง (sweetjuice) เป็นชื่อไม้ล้มลุกชนิด Glinus oppositifolius A. DC.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและขวง · ดูเพิ่มเติม »

ขนมจีน

นมจีน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและขนมจีน · ดูเพิ่มเติม »

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

แผนที่แสดงตำแหน่งของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ถือเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ตรงบริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม โดยเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากที่ราบสูงทิเบตแล้วไหลมาทางทิศใต้ผ่าน 7 ประเทศ ไหลออกสู่ทะเลจีนใต้ที่บริเวณนี้ โดยบริเวณที่เกิดการสะสมตัวของตะกอนในลักษณะของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำนั้นพบว่าแม่น้ำโขงมีการแตกออกเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา ปัจจุบันพบว่าดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีความกว้างของดินดอนสามเหลี่ยมใหญ่ที่สุดที่หนึ่งของโลกและกินพื้นที่ 39,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นสัดส่วนโดยมากของพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม พื้นที่ของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงส่วนที่ถูกปกคลุมด้วยน้ำนั้นขึ้นกับแต่ละฤดู เพราะปริมาณน้ำไม่เท่ากัน จากการศึกษาพบว่าบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนั้นมีการพัดพาของน้ำมาประมาณ 470 ลูกบากศ์กิโลเมตรต่อปี ซึ่งน้ำที่ไหลมาในบริเวณนี้ได้พัดพาตะกอนมาตกสะสมประมาณ 790,000-810,000 ตารางกิโลเมตรต่อปี นอกจากนี้พบว่าเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่ผ่านมา มีการพอกของตะกอนในบริเวณนี้ในลักษณะการพอกคืบเข้าไปในทะเลคิดเป็น 200 กิโลเมตร รอบชายแดนของประเทศกัมพูชาและชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม โดยในปัจจุบันพบว่าลักษณะปรากฏของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนั้น มีรูปร่างคล้ายรูปสามเหลี่ยมที่กินเนื้อที่เป็นบริเวณกว้าง ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงได้มีการศึกษาเรื่องการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตบริเวณนี้ โดยพบว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งรวมสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่กว่า 10,000 สายพันธุ์ ซึ่งทำให้บริเวฯดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนี้นอกจากจะมีความน่าสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางธรณีวิทยาแล้วยังมีความน่าสนใจเป็นอย่างมากในการศึกษาเกี่ยวกับระบบชีววิทยาของพื้นที่ จากการสะสมตัวของตะกอนพบว่าตะกอนที่สะสมตัวในหุบเขาซึ่งทับอยู่บนชั้นตะกอนที่มีอายุสมัยไพลสโตซีน นั้นเกิดการสะสมตัวในช่วงที่มีเกิดเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลอย่างรวดเร็วครั้งล่าสุด ซึ่งพบว่าแม่น้ำโขงในช่วงยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุดหรือเมื่อประมาณ 18,000 ปีมาแล้วนั้น ตำแหน่งของทางน้ำอยู่ทางตะวันออกของบริเวณที่เป็นหุบเขาทำให้บริเวณหุบเขามีลักษณะเป็นปากแม่น้ำ ขณะที่น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจึงเกิดการสะสมตัวของตะกอนที่เป็นตะกอนปากแม่น้ำ เมื่อน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นปากแม่น้ำจึงย้ายเข้าไปในแผ่นดินมากขึ้นทำให้บริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากกระบวนการทางทะเลมากขึ้น จึงเกิดการสะสมตัวของที่ราบที่ได้รับผลจากน้ำขึ้น-น้ำลง หลังจากนั้นพบว่าเกิดการสะสมตัวของตะกอนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดและกำลังเริ่มลดลงเรื่อยๆ ทำให้พบลักษณะการเพิ่มขึ้นของขนาดเม็ดตะกอนเมื่อใกล้พื้นผิวมากขึ้น โดยเราสามารถแบ่งดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงออกเป็น 2 บริเวณตามอิทธิพลหลักที่มีผลต่อการสะสมตัวของตะกอนในแต่ละบริเวณ คือ.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

ตะไคร้

ตะไคร้; ชื่อท้องถิ่น: จะไคร (ภาคเหนือ), หัวซิงไค (ภาคอีสาน), ไคร (ภาคใต้), คาหอม (แม่ฮ่องสอน), เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้ว.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและตะไคร้ · ดูเพิ่มเติม »

ตาลปัตรฤๅษี

ตาลปัตรฤๅษี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Limnocharis flava (L.) Buchenau) หรือ ผักพาย หรือ ผักต้นจอง ของอิสาน มีชื่อพื้นเมืองอื่นได้แก่ บอนจีน นางกวัก หรือ ตาลปัตรยายชี เป็นไม้น้ำ เป็นไม้น้ำ พบบริเวณนาข้าว และบริเวณที่มีน้ำขัง ลำต้นเหง้าฝังจมอยู่ในโคลนเจริญเป็นต้น บางครั้งมีไหลสั้น ๆ จำนวนมาก ใบเป็นใบเดี่ยว รูปร่างกลมรี ยาว 15-18 ซม.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและตาลปัตรฤๅษี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อน

ปลาช่อน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร โดยปลาช่อนชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า "ปลาช่อนจำศีล" พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้, พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก เรียกกันว่า "ปลาช่อนแม่ลา" มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา โดยลักษณะเฉพาะของปลาช่อนแม่ลา คือ มีครีบหูหรือครีบอกสีชมพู ส่วนหางจะมีลักษณะมนเหมือนใบพัด ลำตัวอ้วน แต่หัวหลิม ไม่เหมือนปลาช่อนทั่วไป โดยเป็นปลาช่อนที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำลา อยู่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย ในเขตจังหวัดสิงห์บุรี เป็นแหล่งน้ำที่น้ำนิ่ง มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ใต้ท้องน้ำปกคลุมไปด้วยพืชน้ำและวัชพืช ทำให้น้ำเย็น ดินก้นลำน้ำยังเป็นโคลนตมที่มีอินทรียวัตถุ แร่ธาตุที่ไหลมารวมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาช่อนแม่ลาถึงมีรสชาติดีกว่าปลาช่อนที่อื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มีการสร้างเขื่อนและประตูเปิด-ปิดน้ำ ทำให้แม่น้ำลาตื้นเขิน ปลาช่อนแม่ลาที่เคยขึ้นชื่อใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว และมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเพื่อเป็นการอนุรักษ์ ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า "ปลาหลิม" ในภาษาเหนือ "ปลาค้อ" หรือ "ปลาก๊วน" ในภาษาอีสาน เป็นต้น และเมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบว่าเนื้อปลาช่อนมีสารที่เป็นส่วนหนึ่งของคอลลาเจน มีฤทธิในการห้ามเลือดและระงับความเจ็บปวดได้คล้ายมอร์ฟีน จึงเหมาะอย่างยิ่งแก่การปรุงเป็นอาหารของผู้ป่วยหรือผู้ที่เพิ่งได้รับการผ่าตัด นอกจากนี้แล้วในหลายพื้นที่ของไทย เช่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์, อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงในพื้นที่ตำบลหัวดวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีความเชื่อของผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั้นว่า ปลาช่อนสามารถขอฝนได้ โดยต้องทำตามพิธีตามแบบแผนโบราณ ซึ่งจะกระทำกันในช่วงเกิดภาวะแห้งแล้ง ด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์เบื้องหน้าองค์พระประธาน และมีการโยงสายสิญจน์กับอ่างที่มีปลาช่อน 9 ตัว และสวดคาถาปลาช่อน เชื่อกันว่าระหว่างทำพิธี หากปลาช่อนดิ้นกระโดดขึ้นมา เป็นสัญญาณว่าฝนจะตกลงมาในเร็ววันนี้ นอกจากนี้แล้ว ที่อินเดียก็มีความเชื่อและพิธีกรรมที่คล้ายคลึงแบบนี้เหมือนกัน.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและปลาช่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาร้า

องปลาร้าขณะหมัก ปลาร้า หรือ ปลาแดก (ปาแดก) ปลาน้อย ในภาษาอีสาน เป็นอาหารท้องถิ่นที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนลาว รวมถึงบางส่วนของเวียดนามและพม่า โดยแต่ละท้องถิ่นจะมีการทำปลาร้าเป็นเอกลักษณ์ของตน ปัจจุบัน ปลาร้าได้พัฒนาขึ้นไปสู่ระดับสากลมากขึ้น มีปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนด้วย หรือปลาร้าอนามัย แต่ส่วนใหญ่ ปลาร้าก็ยังนิยมทำแบบเดิม โดยตักขายตามน้ำหนักตามตลาดสดต่างๆ ในวรรณกรรมลาวโบราณบางเรื่องเรียกปลาร้าว่า ปลาแดกฮ้า หรือปลาแดกร้า ในลาวและอีสานมีวรรณกรรมที่กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับปลาร้าโดยตรงคือวรรณกรรมเรื่อง ปลาแดกปลาสมอ หรือลำบุษบา หรือท้าวกำพร้า คนไทยทางภาคเหนือนิยมเรียกปลาร้าว่า ฮ้า ดังนั้นคำว่าปลาร้าจึงเป็นภาษาลาวที่ชาวไทยภาคกลางและภาคเหนือรับอิทธิพลทางภาษามาจากชนชาติลาว.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและปลาร้า · ดูเพิ่มเติม »

แค

แค เป็นต้นไม้ขนาดเล็กในสกุลโสน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้: แคบ้าน (กลาง) แคขาว แคแดง (กทม. เชียงใหม่) แค (กลาง) แคดอกแดง แคดอกขาว.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและแค · ดูเพิ่มเติม »

โสน

น, โสนหิน หรือ โสนกินดอก เป็นพืชประจำถิ่นในทวีปเอเชียและแอฟริกา เป็นไม้ในตระกูลปาปิโอนีอี เป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติทั่วไปในที่ชื้นแฉะ โดยเฉพาะตามริมคลองและริมคันนา ชื่อสามัญอื่น ๆ คือ โสนดอกเหลือง ทางพายัพเรียก ผักฮองแฮง ทางกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก สีปรีหล.

ใหม่!!: เหลิวมั้มและโสน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เหลามั้ม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »