โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ดัชนี เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

การปะทะกันของทั้ง 2 ฝ่าย เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โดยแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) 15 คน และกลุ่มผู้ชุมนุม จำนวน 20,000 คน เคลื่อนขบวนจากท้องสนามหลวง ไปปิดล้อมบริเวณหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ บ้านพักรับรองสำหรับผู้บัญชาการระดับสูงของกองทัพบกไทย ซึ่ง พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ใช้พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร เพื่อกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมเชื่อว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารในประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ระหว่างเส้นทางการเคลื่อนขบวน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านสกัดในหลายจุด โดยใช้แผงเหล็กวางกั้น และจอดรถบรรทุกของกรุงเทพมหานครขวางถนน แต่กลุ่มผู้ชุมนุมก็ฝ่าผ่านไปได้ เมื่อขบวนเคลื่อนไปถึงหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ แกนนำ นปก.ใช้เครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่บนรถบรรทุก ปราศรัยโจมตีผู้เกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหารทั้งหมด ในขณะที่ผู้ชุมนุมกำลังอยู่ระหว่างพักรับประทานอาหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามฝ่าฝูงชนเข้าไปจับตัวแกนนำ แต่ไม่สำเร็จ และถูกกลุ่มผู้ชุมนุมผลักดัน จนต้องล่าถอยออกไป สักครู่ใหญ่ เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับมาอีกครั้ง พร้อมสเปรย์พริกไทย เพื่อเปิดทางเข้าไปจับตัวแกนนำบนรถปราศรัย แต่ก็ถูกผู้ชุมนุมผลักดันออกไปได้อีกครั้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจล่าถอยไปได้ไม่นาน ก็กลับมาพร้อมกับการยิงแก๊สน้ำตา จนทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมแตกฮือ แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถสลายกลุ่มผู้ชุมนุมได้ จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องล่าถอยออกไปอีก และกลับมาระดมยิงแก๊สน้ำตาอีกชุดใหญ่ พร้อมกับเสริมกำลังเข้ามามากขึ้น ทำให้สถานการณ์ตึงเครียด เพราะมีการตอบโต้จากฝ่ายผู้ชุมนุม หลายคนหยิบฉวยอะไรได้ ก็นำขึ้นมาใช้ตอบโต้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ว่าจะเป็นท่อนไม้ คันธง ขวดน้ำ อิฐตัวหนอนปูถนน แผงเหล็กกั้น และอุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงการขับรถพุ่งเข้าชนโดยภายหลังจับกุมตัวได้ ทราบชื่อคือนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล แกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006 เมื่อไม่สามารถต้านทานกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระดมกันมาได้ แกนนำจึงพากลุ่มผู้ชุมนุมถอยออกจากหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ เพื่อกลับไปยังท้องสนามหลวงตามเดิม ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ ทั้งในส่วนของผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถึงแม้จะไม่มีผู้สูญเสียชีวิตหรืออวัยวะจากการสลายการชุมนุม แต่เหตุการณ์ดังกล่าว ก็ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินต่างๆ ในบริเวณโดยรอบที่ชุมนุม อาทิ ป้อมยามตำรวจ, ร้านค้าสมาคมแม่บ้านทหารบก และมูลนิธิพระดาบส ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ต่อมาในวันรุ่งขึ้น (23 กรกฎาคม) เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อหาซ่องสุมเกินกว่า 10 คน ต่อแกนนำ นปก.

29 ความสัมพันธ์: ชัยเกษม นิติสิริบ้านสี่เสาเทเวศร์พ.ศ. 2549พ.ศ. 2550พัชรวาท วงษ์สุวรรณกรุงเทพมหานครกองทัพบกไทยมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับรัฐประหารรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549วันอาทิตย์วิภูแถลง พัฒนภูมิไทวีระกานต์ มุสิกพงศ์สเปรย์พริกไทยอภิวันท์ วิริยะชัยจรัล ดิษฐาอภิชัยจักรภพ เพ็ญแขจตุพร พรหมพันธุ์ทหารท้องสนามหลวงณัฐวุฒิ ใสยเกื้อตำรวจแก๊สน้ำตาแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติเหวง โตจิราการเปรม ติณสูลานนท์19 กันยายน22 กรกฎาคม23 กรกฎาคม

ชัยเกษม นิติสิริ

ตราจารย์พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตที่ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบ ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตอัยการสูงสุด อดีตอัยการอาวุโส (ที่ปรึกษาอัยการสูงสุด) สำนักงานอัยการสูงสุด ประธานกรรมการ คณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์หลักประเทศไทย ประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสถาบันเพื่อความยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) กรรมการและประธานกรรมการบริหารธนาคารอาคารสงเคราะห์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยเนชั่น กรรมการสภามหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น กรรมการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)อดีตกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย อดีตกรรมการบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) อดีตกรรมการบริหารบริษัท การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำกัด อดีตกรรมการ กรรมการตรวจสอบ และประธานกรรมการสรรหา บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน).

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และชัยเกษม นิติสิริ · ดูเพิ่มเติม »

บ้านสี่เสาเทเวศร์

้านสี่เสาเทเวศร์ บ้านสี่เสาเทเวศร์ ตั้งอยู่บนที่ดินของกองทัพบกไทย ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ใกล้กับสี่แยกสี่เสาเทเวศร์ (จุดตัดระหว่างถนนศรีอยุธยากับถนนสามเสน) มีหอสมุดแห่งชาติ สโมสรกองทัพบก และตลาดเทเวศร์เป็นสถานที่ใกล้เคียง ในอดีตเป็นบ้านพักของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก ปัจจุบันพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ และอดีตนายกรัฐมนตรี ใช้เป็นบ้านพักมาตั้งแต่สมัยที่เป็นผู้บัญชาการทหารบก.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และบ้านสี่เสาเทเวศร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

พัชรวาท วงษ์สุวรรณ

ลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ (เกิด 22 มีนาคม พ.ศ. 2492) ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) และ กรรมการอิสระ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาต.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และพัชรวาท วงษ์สุวรรณ · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพบกไทย

กองทัพบกไทย (คำย่อ: ทบ.; Royal Thai Army) เป็นเหล่าทัพที่มีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพไทย ก่อตั้งเป็นกองทัพสมัยใหม่ขี้นในปี พ.ศ. 2417.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และกองทัพบกไทย · ดูเพิ่มเติม »

มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ

นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ แกนนำและที่ปรึกษาแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วน พรรคเพื่อไทย และอดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา นายมานิตย์ เกิดวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2481 จบการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ วุฒิเนติบัณฑิตไทย เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ต่อมาในกรณีวิกฤตตุลาการในปี..

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหาร

รัฐประหาร (coup d'état กูเดตา) เป็นการใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลอย่างฉับพลันและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปกติเกิดจากสถาบันของรัฐที่มีอยู่เดิมขนาดเล็กเพื่อโค่นรัฐบาลซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้วเปลี่ยนเป็นองค์การปกครองใหม่ ไม่ว่าเป็นพลเรือนหรือทหาร รัฐประหารพิจารณาว่าสำเร็จแล้วเมื่อผู้ยึดอำนาจสถาปนาภาวะครอบงำ รัฐประหารไม่จำเป็นต้องเกิดความรุนแรงหรือเสียเลือดเนื้อ ศาลฎีกาตีความว่า รัฐประหารมิได้ขัดต่อกฎหมาย เพราะ "กฎหมายคือคำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์".

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และรัฐประหาร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

รัฐประหารในประเทศไท..

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

วันอาทิตย์

วันอาทิตย์ เป็นวันในสัปดาห์ที่อยู่ระหว่างวันเสาร์กับวันจันทร์ ตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของจูเดโอ-คริสเตียน วันอาทิตย์ถือเป็นวันแรกของสัปดาห์ แต่ต่อมาในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็มีการนับให้วันอาทิตย์เป็นวันที่ 7 ของสัปดาห์ (และให้วันจันทร์เป็นวันที่หนึ่งแทน) ตามที่ระบุไว้ใน ISO 8601 อย่างไรก็ตามในบางวัฒนธรรมยังกำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันแรกของสัปดาห์อยู.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และวันอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

วิภูแถลง พัฒนภูมิไท

วิภูแถลง พัฒนภูมิไท ชื่อเดิม แถลง รองขุน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นชาวพัทลุง ผู้ก่อตั้งและเป็นโฆษกกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน คมช. เป็นแนวร่วมกับกลุ่มวิทยุชุมชนคนรักทักษิณของชินวัตร หาบุญผาด ต่อมาเข้าร่วมเป็น 1 ใน 8 แกนนำกลุ่ม นปก. ที่เคลื่อนไหวต่อต้าน คมช.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และวิภูแถลง พัฒนภูมิไท · ดูเพิ่มเติม »

วีระกานต์ มุสิกพงศ์

วีระกานต์ มุสิกพงศ์ หรือชื่อเดิม วีระ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย มีฉายาว่า ไข่มุกดำ เป็นผู้นำเคลื่อนไหวต่อต้านเผด็จการทหาร เมื่อปี พ.ศ. 2550 และอดีตผู้ดำเนินรายการ ความจริงวันนี้ ทางเอ็นบีที.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และวีระกานต์ มุสิกพงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

สเปรย์พริกไทย

การใช้งาน สเปรย์พริกไทย สเปรย์พริกไทย รู้จักในชื่อ OC spray ซึ่งมาจาก “Oleoresin Capsicum” (น้ำมันจำพวกพริก), OC gas, capsicum spray (สเปรย์พริก) หรือ oleoresin capsicum) เป็นสารทำให้น้ำตาไหล (สารเคมีที่ทำให้ตาระคายเคือง น้ำตาไหล เจ็บปวด ตาบอดชั่วคราว) ใช้เพื่อควบคุมการจลาจล ฝูงชน และการป้องกันตัวเอง อันประกอบด้วยการป้องกันตัวจากหมีและหมา โดยสเปรย์พริกไทย ไม่เป็นสารที่ทำให้ตายได้ สารที่ทำหน้าที่ใน สเปรย์พริกไทย คือ capsaicin.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และสเปรย์พริกไทย · ดูเพิ่มเติม »

อภิวันท์ วิริยะชัย

ันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และอภิวันท์ วิริยะชัย · ดูเพิ่มเติม »

จรัล ดิษฐาอภิชัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรัล ดิษฐาอภิชัย (เกิด 6 กรกฎาคม 2490 ที่จังหวัดพัทลุง) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่ออดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยเป็นหนึ่งใน 11 คน ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดแรกของประเทศไทย ซึ่งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไท..

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และจรัล ดิษฐาอภิชัย · ดูเพิ่มเติม »

จักรภพ เพ็ญแข

ักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร อดีตผู้บริหารสถานีโทรทัศน์พีทีวี อดีตผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ อดีตนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศที่มีชื่อเสียง และเป็นผู้เปลี่ยนแปลงการบริหารงานสถานีโทรทัศน์แห่งชาติของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จากเดิมคือ Television of Thailand (Channel 11) ไปสู่ National Broadcasting Services of Thailand.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และจักรภพ เพ็ญแข · ดูเพิ่มเติม »

จตุพร พรหมพันธุ์

ตุพร พรหมพันธุ์ เป็นประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไท.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และจตุพร พรหมพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทหาร

ทหารในประเทศเคนยา ทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ นักรบ ผู้เป็นกำลังรักษาความมั่นคงและบำรุงประเทศและผู้เป็นกำลังรบและทำหน้าที่อื่นๆ ในยามสงคราม.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และทหาร · ดูเพิ่มเติม »

ท้องสนามหลวง

ท้องสนามหลวง ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 74 ไร่ 63 ตารางวา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และท้องสนามหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ

ณัฐวุฒิ (คนขวา) บนรถปราศรัยของ นปก. ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย, แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์, อดีตผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์พีทีวี, อดีตผู้ดำเนินรายการความจริงวันนี้, อดีตรองโฆษกพรรคไทยรักไท.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ตำรวจ

ตำรวจในประเทศอิตาลี ตำรวจ เป็นชื่อเรียกของเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย เรียกชื่อตามหน้าที่รับผิดชอบ เช่น ตำรวจกองปราบ ตำรวจดับเพลิง ตำรวจน้ำ ตำรวจตระเวนชายแดน ตำรวจรถไฟ ตำรวจป่าไม้ ตำรวจจราจร ตำรวจนครบาล ตำรวจทางหลวง ตำรวจภูธร ตำรวจลับ ตำรวจวัง ตำรวจสภา ตำรวจสันติบาล ตำรวจหลวง.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และตำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สน้ำตา

แก๊สน้ำตาในบรรจุภัณฑ์ชนิดหนึ่ง ตำรวจปราบจลาจลยิงแก๊สน้ำตา แก๊สน้ำตา (Lachrymatory agent, Lachrymator หรือ Tear gas) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาและแก้วตาดำ ทำให้มีน้ำตาไหลออกมาก เยื่อบุตาจะแดงและแก้วตาดำจะบวม ตามองไม่เห็น น้ำมูกน้ำลายไหล ไอ หายใจลำบาก ส่วนใหญ่จะหายเองภายในหนึ่งชั่วโมง แก๊สน้ำตาถูกใช้เป็นอาวุธประเภทก่อกวนในการปราบจลาจลเพื่อสลายการชุมนุม การใช้งานมีทั้งการยิงจากเครื่องยิงแก๊สน้ำตา และใช้แบบระเบิดขว้าง ในประเทศไทย แก๊สน้ำตาถูกนำเข้ามาใช้ครั้งแรกในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน โดยกระทรวงมหาดไทย มีการแถลงข่าวสาธิตการใช้ที่สนามเป้า และสามเสน ทางกรมวิทยาศาสตร์ทหารบกได้ทำวิจัยลูกระเบิดขว้างแก๊สน้ำตา มีระยะเวลาการเกิดควัน 50 วินาที ครอบคลุมพื้นที่ 150 ตารางเมตร.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และแก๊สน้ำตา · ดูเพิ่มเติม »

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (ชื่อย่อ: นปช.; United Front of Democracy Against Dictatorship; UDD) มีชื่อเดิมว่า แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (ชื่อย่อ: นปก.; Democratic Alliance Against Dictatorship: DAAD) เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ ดร.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เหวง โตจิราการ

นายแพทย์ เหวง โตจิราการ (1 เมษายน พ.ศ. 2494 -) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน และแกนนำสมาพันธ์ประชาธิปไตย เป็นอดีตนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และเหวง โตจิราการ · ดูเพิ่มเติม »

เปรม ติณสูลานนท์

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 16 ดำรงตำแหน่ง 3 สมัย ระหว่างปี..

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และเปรม ติณสูลานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

19 กันยายน

วันที่ 19 กันยายน เป็นวันที่ 262 ของปี (วันที่ 263 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 103 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และ19 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

22 กรกฎาคม

วันที่ 22 กรกฎาคม เป็นวันที่ 203 ของปี (วันที่ 204 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 162 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และ22 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

23 กรกฎาคม

วันที่ 23 กรกฎาคม เป็นวันที่ 204 ของปี (วันที่ 205 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 161 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550และ23 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติบุกบ้านสี่เสาเทเวศน์เหตุการณ์ 22 กรกฎา นปก.บุกบ้านสี่เสาเทเวศร์เหตุการณ์ นปก. บุกบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์เหตุการณ์ตำรวจสลายการชุมนุมของ นปก.หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550เหตุการณ์ตำรวจปราบจราจลสลายม็อบ นปก. หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550เหตุการณ์ตำรวจปราบจราจลปะทะกับ นปก. หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550เหตุการณ์ตำรวจปราบจราจลปะทะกับม็อบ นปก. หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550เหตุการณ์ตำรวจปราบจลาจลสลายม็อบ นปก. หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550เหตุการณ์นปก.บุกบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »