โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลองจิจูด

ดัชนี ลองจิจูด

ลองติจูด (longitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นแวง แทนด้วยอักษรกรีก λ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางตะวันออกหรือตะวันตกจากเส้นสมมติในแนวเหนือ-ใต้ที่เรียกว่าเส้นเมริเดียนแรก พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ละติจูด ลองติจูดมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นเมริเดียนแรกไปทางตะวันออก +180 องศา และไปทางตะวันตก −180 องศา ลองติจูดต่างจากละติจูด ตรงที่ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ ลองติจูดจึงต้องกำหนดเส้นสมมติขึ้นมาหนึ่งเส้นสำหรับอ้างอิง ใน ค.ศ. 1884 การประชุมเมอริเดียนนานาชาติ (International Meridian Conference) จึงได้กำหนดให้เส้นเวลากรีนนิช เป็นเส้นเวลาไพร์มเมอริเดียน และเป็นลองติจูด 0 องศา หมวดหมู่:การเดินเรือ หมวดหมู่:ภูมิมาตรศาสตร์ *.

12 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2427ระบบพิกัดละติจูดองศา (มุม)ทิศตะวันออกทิศตะวันตกทิศใต้ทิศเหนือแลมดาโลกเส้นศูนย์สูตรเส้นเมริเดียนแรก

พ.ศ. 2427

ทธศักราช 2427 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1884 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ลองจิจูดและพ.ศ. 2427 · ดูเพิ่มเติม »

ระบบพิกัด

ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนสองมิติ ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนสามมิติ พิกัด หมายถึง ค่าของตัวเลขที่ใช้อธิบายตำแหน่งของจุดบนระนาบหรือปริภูมิ ตัวอย่างเช่น ระดับความสูงจากน้ำทะเลก็เป็นพิกัดอย่างหนึ่งที่อธิบายตำแหน่งของจุดเหนือระดับพื้นผิวโลก ส่วนระบบพิกัดคือวิธีการอย่างเป็นระบบที่มีการให้ค่าคู่อันดับหรือสามสิ่งอันดับแทนตำแหน่งของแต่ละจุดบนระนาบหรือปริภูมิ ซึ่งคู่อันดับหรือสามสิ่งอันดับหนึ่งชุดจะหมายถึงตำแหน่งเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น ดังตัวอย่าง สามสิ่งอันดับที่ประกอบด้วย ละติจูด ลองจิจูด และอัลติจูด (ระดับความสูง) เป็นระบบพิกัดที่ใช้ระบุตำแหน่งของจุดเหนือพื้นผิวโลก พิกัดอาจนิยามได้ในบริบททั่วไป เช่น ถ้าหากเราไม่สนใจความสูง ดังนั้นละติจูดและลองจิจูดจึงสามารถเป็นระบบพิกัดเหนือพื้นผิวโลกก็ได้ โดยสมมติให้โลกมีรูปร่างใกล้เคียงทรงกลม พิกัดเช่นนี้เป็นสิ่งสำคัญในดาราศาสตร์ ซึ่งใช้สำหรับอธิบายตำแหน่งของเทหวัตถุบนท้องฟ้าโดยไม่สนใจระยะทาง (ดูเพิ่มที่ระบบพิกัดทรงกลมฟ้า) อย่างไรก็ตาม บทความนี้จะมุ่งประเด็นไปที่ระบบพิกัดบนระนาบและปริภูมิสามมิติเท่านั้น เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในขอบเขตของคณิตศาสตร์มูลฐาน.

ใหม่!!: ลองจิจูดและระบบพิกัด · ดูเพิ่มเติม »

ละติจูด

ละติจูด (latitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นรุ้ง แทนด้วยอักษรกรีก φ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกและแบ่งเขตสภาวะอากาศโดยวัดจากเส้นศูนย์สูตร พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ลองจิจูด พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีภูมิอากาศ (climate) และสภาพอากาศ (weather) ต่างกัน ละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (นับเป็น 90 องศาเหนือหรือใต้) เนื่องจากเป็นการวัดมุมจากจุดสมมติที่เส้นศูนย์สูตรไปยังจุดขั้วโลกที่ 90 อง.

ใหม่!!: ลองจิจูดและละติจูด · ดูเพิ่มเติม »

องศา (มุม)

องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.

ใหม่!!: ลองจิจูดและองศา (มุม) · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันออก

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศตะวันออก (E) อยู่ทางขวา ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตก ขวามือของทิศเหนือ และซ้ายมือของทิศใต้ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันออกอยู่ด้านขวามือของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางซ้ายมือของแผนที่ดาว ทิศตะวันออกเป็นทิศที่โลกหมุนไป ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกพอดีในวันวิษุวัต.

ใหม่!!: ลองจิจูดและทิศตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันตก

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศตะวันตก (W) อยู่ทางซ้าย ทิศตะวันตก หรือ ทิศประจิม หรือ ทิศปัจฉิม เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออก ขวามือของทิศใต้ และซ้ายมือของทิศเหนือ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกอยู่ด้านซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ด้านขวาของแผนที่ดาว ดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตกพอดีในวันวิษุวัต.

ใหม่!!: ลองจิจูดและทิศตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ทิศใต้

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศใต้ (S) อยู่ด้านล่าง ทิศใต้ หรือ ทิศทักษิณ เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศเหนือ ขวามือของทิศตะวันออก และซ้ายมือของทิศตะวันตก โดยมากทิศใต้จะกำหนดให้อยู่ด้านล่างของแผนที่ อาจเขียนย่อด้วยอักษร ต หรืออักษร S ทิศใต้จริงเป็นทิศทางที่แกนหมุนของโลกชี้ไป ตรงกับขั้วโลกใต้ซึ่งอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ หมวดหมู่:การกำหนดทิศทาง.

ใหม่!!: ลองจิจูดและทิศใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทิศเหนือ

วงกลมแสดงทิศ (Compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศเหนือ (N) อยู่ด้านบน ทิศเหนือ หรือ ทิศอุดร เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ โดยมากทิศเหนือจะกำหนดอยู่ด้านบนของแผนที่ อาจเขียนย่อด้วยอักษร น หรืออักษร N.

ใหม่!!: ลองจิจูดและทิศเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

แลมดา

แลมบ์ดา (lambda) หรือ ลัมดา (λάμδα, ตัวใหญ่ Λ, ตัวเล็ก λ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 11 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 30 λ ในสมการต่างๆ -ฟิสิกส์ แทนความยาวคลื่น.

ใหม่!!: ลองจิจูดและแลมดา · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: ลองจิจูดและโลก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นศูนย์สูตร

้นศูนย์สูตรบนแผนที่โลก ในทางภูมิศาสตร์ เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก เป็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านเส้นศูนย์กลางวงกลม แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่า ๆ กัน ผู้สังเกตที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร มีระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนยาวนานเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี และเห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงของวันวิษุวัต เส้นศูนย์สูตรของโลกมีความยาวประมาณ 40,075 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นหนึ่งในละติจูด 5 เส้นสำคัญของโลก เป็นละติจูดที่เรียกว่า "Great Circle" ที่ลากแบ่งครึ่งโลกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางและมีรัศมีเท่า ๆ กัน เมื่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกเป็นระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ออกไปตัดทรงกลมฟ้า เกิดเป็นวงกลมใหญ่ เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator).

ใหม่!!: ลองจิจูดและเส้นศูนย์สูตร · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนแรก

แนวเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านเมืองกรีนิช เส้นเมริเดียนแรก (prime meridian) เป็นเส้นเมริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0° การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นเมริเดียนแรกในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมริเดียนสากล หรือ เส้นเมริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นเมริเดียนแรกเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่น ๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นเมริเดียนแรกเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน.

ใหม่!!: ลองจิจูดและเส้นเมริเดียนแรก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Longitudeลองติจูดเส้นแวง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »