สารบัญ
23 ความสัมพันธ์: มหาสมุทรอาร์กติกมหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรใต้รัฐมหาราษฏระรัฐมัธยประเทศรัฐอานธรประเทศรัฐอุตตราขัณฑ์รัฐอุตตรประเทศรัฐทมิฬนาฑูลองจิจูดออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีอักไสชินอ่าวเบงกอลทวีปแอนตาร์กติกาทวีปเอเชียทะเลคาราขั้วโลกใต้ขั้วโลกเหนือเส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนที่ 81 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนแรกเขตปกครองตนเองทิเบตเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
มหาสมุทรอาร์กติก
มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและมหาสมุทรอาร์กติก
มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและมหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรใต้
มหาสมุทรใต้(2002). มหาสมุทรใต้ (Southern Ocean) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นที่สุดท้ายที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) นิยามให้เป็นมหาสมุทรเมื่อปี พ.ศ.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและมหาสมุทรใต้
รัฐมหาราษฏระ
รัฐมหาราษฏระ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ ติดต่อกับกับทะเลอาหรับทางทิศตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อ มุมไบ ผลิตผลสำคัญ ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ฝ้าย และแร่แมงกานีส มีอุตสาหกรรมสิ่งทอ และวิศวกรรมไฟฟ้า ม หมวดหมู่:รัฐมหาราษฏระ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและรัฐมหาราษฏระ
รัฐมัธยประเทศ
รัฐมัธยประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ไม่มีเขตติดต่อกับทะเลเนื่องจากตั้งอยู่ตรงกลางประเทศ รัฐมัธยประเทศได้เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน..
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและรัฐมัธยประเทศ
รัฐอานธรประเทศ
รัฐอานธรประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ เป็นรัฐที่เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมในอินเดียใต้ อุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ ยานยนต์ พืชสวน เคมีภัณฑ์ เป็นแหล่งแร่ธาตุที่สำคัญเป็นอันดับสองในอินเดีย เมืองไฮเดอราบาดเป็นที่ตั้งของสนามบินระดับชาติและนานาชาต.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและรัฐอานธรประเทศ
รัฐอุตตราขัณฑ์
รัฐอุตตราขัณฑ์ เป็นรัฐหนึ่งประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ตอนเหนือของประเทศ มีเขตแดนทางทะเลติดต่อกับทิเบต ประเทศจีน ทางทิศเหนือ และประเทศเนปาลทางตะวันออก รัฐอุตตราขัณฑ์เป็นรัฐที่ 27 ของสาธารณรัฐอินเดีย เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและรัฐอุตตราขัณฑ์
รัฐอุตตรประเทศ
รัฐอุตตรประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่บริเวณส่วนบนของประเทศโดยมีเขตแดนติดต่อกับประเทศเนปาลทางทิศเหนือ เป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญในศาสนาฮินดู เช่น เมืองพาราณสี อโยธยา (เมืองเกิดของพระราม) มธุรา (เมืองเกิดของพระกฤษณะ) และอัลลาลาบัดหรือเมืองโกสัมพีในสมัยพุทธกาล อุตตรประเทศ หมวดหมู่:รัฐอุตตรประเทศ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและรัฐอุตตรประเทศ
รัฐทมิฬนาฑู
รัฐทมิฬนาฑู คือหนึ่งในรัฐของที่ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศอินเดีย มีเขตแดนทางทะเลติดต่อกับประเทศศรีลังกา และอ่าวเบงกอล เป็นดินแดนของชาวทมิฬ เป็นรัฐใหญ่อันอับ 11 ของประเทศ เมืองหลักคือเชนไนหรือมัทราส ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 22 เป็นเมืองหลักและฐานทัพเรือของอังกฤษ ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของอินเดีย และเป็นแหล่งผลิตภาพยนตร์ภาษาทมิฬ (Kollewood) ทม หมวดหมู่:รัฐทมิฬนาฑู หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและรัฐทมิฬนาฑู
ลองจิจูด
ลองติจูด (longitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นแวง แทนด้วยอักษรกรีก λ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางตะวันออกหรือตะวันตกจากเส้นสมมติในแนวเหนือ-ใต้ที่เรียกว่าเส้นเมริเดียนแรก พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ละติจูด ลองติจูดมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นเมริเดียนแรกไปทางตะวันออก +180 องศา และไปทางตะวันตก −180 องศา ลองติจูดต่างจากละติจูด ตรงที่ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ ลองติจูดจึงต้องกำหนดเส้นสมมติขึ้นมาหนึ่งเส้นสำหรับอ้างอิง ใน ค.ศ.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและลองจิจูด
ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี
ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี (Australian Antarctic Territory, AAT) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาที่ประเทศออสเตรเลียอ้างกรรมสิทธิ์ครอบครอง และเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดที่อ้างโดยชาติใดชาติหนึ่ง ที่ประกอบด้วยหมู่เกาะและดินแดนทางตอนใต้ของละติจูด 60° ใต้ และระหว่างลองจิจูด 45° ตะวันออกถึง 160° ตะวันออก ยกเว้นอาเดลีแลนด์ (ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองจิจูด 136° ตะวันออกถึง 142° ตะวันออก) ทำให้ดินแดนนี้ถูกแบ่งออกจากกันเป็น2ส่วน คือ เวสเทิร์นเอเอที (ส่วนที่ใหญ่กว่า) และอีสเทิร์นเอเอที โดยมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 5,896,500 ตารางกิโลเมตร ดินแดนนี้เป็นที่อาศัยของผู้ที่ทำงานกับสถานีวิจัยขั้วโลก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี
อักไสชิน
แผนที่แสดงอาณาเขตของอักไสชิน (สีแดง) อักไสชิน (Aksaichin;; अक्साई चिन, อักสาอี จิน; ภาษาอูรดู: اکسائی چن; اقصای چین) เป็นที่ราบสูงกว้างใหญ่ในลาดัก รัฐชัมมูและกัษมีระ ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาคุนหลุนของจีนกับเทือกเขาคาราโครัมทางเหนือของอินเดีย พื้นที่เป็นหินสีขาวขนาดใหญ่ ลาดชัน ขรุขระ แห้งแล้ง มีประชากรอยู่น้อยมาก เมื่อจีนยึดครองทิเบตมาอยู่ในการดูแลได้ใน..
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและอักไสชิน
อ่าวเบงกอล
แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งอ่าวเบงกอล เรือประมงในอ่าวเบงกอล เกาะเซนต์มาร์ติน อ่าวเบงกอล ชายหาดมารีนา เจนไน อ่าวเบงกอล (Bay of Bengal) เป็นอ่าวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรอินเดีย มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมล้อมรอบด้วยประเทศอินเดียและศรีลังกาทางด้านตะวันตก บังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดียทางด้านเหนือ (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ) และประเทศพม่า ภาคใต้ของประเทศไทย หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ทางด้านตะวันออก อาณาเขตด้านใต้แผ่ถึงเส้นเขตจินตนาการที่ลากจากดอนดราเฮดตอนใต้ของศรีลังกาไปถึงปลายด้านเหนือของเกาะสุมาตรา อ่าวเบงกอลมีเนื้อที่ 2,172,000 กม² มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลมาลงทะเล เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำโคทาวรี แม่น้ำมหานที แม่น้ำกฤษณา และแม่น้ำกาเวรี เมืองท่าสำคัญของอ่าวเบงกอล ได้แก่ กัททะลูร์ เจนไน กากีนาทะ มะจิลีปัตนัม วิศาขปัตนัม พาราทิพ โกลกาตา จิตตะกอง และย่างกุ้ง.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและอ่าวเบงกอล
ทวีปแอนตาร์กติกา
วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและทวีปแอนตาร์กติกา
ทวีปเอเชีย
แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและทวีปเอเชีย
ทะเลคารา
ที่ตั้งของทะเลคารา ทะเลคารา (Ка́рское мо́ре; Kara Sea) เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอาร์กติก ทางตอนเหนือของไซบีเรีย ทิศตะวันตกติดทะเลแบเร็นตส์ ทิศตะวันออกติดทะเลลัปเตฟ มีเกาะหลายเกาะ เช่น เกาะดิกสัน เกาะโอเลนี เป็นต้น เป็นพื้นที่ซึ่งมีการค้นพบปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ แต่ยังไม่ได้พัฒนามากนัก ทะเลคารามีความกว้าง 970 กิโลเมตร ยาว 1,450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 880,000 ตารางกิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 110 เมตร แม่น้ำหลักที่ไหลลงสู่ทะเลคารา ได้แก่ แม่น้ำอ็อบและแม่น้ำเยนีเซย์ คารา หมวดหมู่:ทะเลในประเทศรัสเซีย.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและทะเลคารา
ขั้วโลกใต้
ั้วโลกใต้ (South Pole) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและขั้วโลกใต้
ขั้วโลกเหนือ
ั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เป็นจุดที่ถือว่าอยู่ทางเหนือที่สุดของโลก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและขั้วโลกเหนือ
เส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันตก
ซด, รัฐเนแบรสกา เส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปอเมริกาเหนือ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันตก
เส้นเมริเดียนที่ 81 องศาตะวันออก
้นเมริเดียนที่ 81 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 81 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 99 องศาตะวันตก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 81 องศาตะวันออก
เส้นเมริเดียนแรก
แนวเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านเมืองกรีนิช เส้นเมริเดียนแรก (prime meridian) เป็นเส้นเมริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0° การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นเมริเดียนแรกในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมริเดียนสากล หรือ เส้นเมริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นเมริเดียนแรกเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่น ๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นเมริเดียนแรกเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนแรก
เขตปกครองตนเองทิเบต
ตปกครองตนเองทิเบต (ทิเบต:བོད་- โบด์; ซีจ้าง) เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศและอ๊อกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองทิเบต ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma) ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa).
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและเขตปกครองตนเองทิเบต
เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
ตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (شىنجاڭ ئۇيغۇر ئاپتونوم رايونى-; 新疆维吾尔自治区) เป็นเขตปกครองตนเองของจีนในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นเขตปกครองใหญ่ที่สุดของจีน เป็นเขตการปกครองชาติที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก กินพื้นที่กว่า 1.6 ล้านตารางกิโลเมตรและเป็นเขตการปกครองที่มีประชากรมากที่สุดติดอันดับหนึ่งในสิบ มีดินแดนพิพาทอักไสชินที่จีนบริหารอยู่ ซินเจียงมีพรมแดนติดต่อกับประเทศรัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิซสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถานและอินเดีย นอกจากนี้ยังมีพรมแดนติดต่อกับทิเบต มีน้ำมันสำรองอุดมสมบูรณ์และเป็นภาคที่ผลิตแก๊สธรรมชาติใหญ่ที่สุดของจีน.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 80 องศาตะวันออกและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์