โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตก

ดัชนี เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปอเมริกาเหนือ มหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลแคริบเบียน ทวีปอเมริกาใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ สำหรับเขตเวลาตะวันออก (ขณะที่ใช้มาตรฐานเวลาที่ UTC−05:00) เส้นนี้ถือเป็นเส้นฐานของเวลาสุริยะเฉลี่ย เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 105 องศาตะวันออก.

28 ความสัมพันธ์: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีมหาสมุทรอาร์กติกมหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรแปซิฟิกมหาสมุทรใต้รัฐออนแทรีโอรัฐควิเบกรัฐนิวยอร์กรัฐนิวเจอร์ซีย์รัฐเพนซิลเวเนียลองจิจูดอ่าวเดลาแวร์ทวีปอเมริกาใต้ทวีปอเมริกาเหนือทวีปแอนตาร์กติกาทะเลแคริบเบียนขั้วโลกใต้ขั้วโลกเหนือนูนาวุตแคว้นอวงกาเบลีกาแคว้นอาเรกีปาแคว้นโลเรโตเกาะนาแวสซาเกาะเอลสเมียร์เส้นเมริเดียนที่ 105 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนแรกเขตเวลาตะวันออกUTC−05:00

บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี หรือ ดินแดนแอนตาร์กติกาของสหราชอาณาจักร (British Antarctic Territory) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาซึ่งสหราชอาณาจักรประกาศอ้างสิทธิครอบครอง มีขอบเขตตั้งแต่ขั้วโลกใต้จนถึงละติจูดที่ 60 องศาเหนือ และช่วงระหว่างลองติจูด 20 องศาตะวันตก ถึงลองติจูด 80 องศาตะวันตก แม้ว่าสหราชอาณาจักรจะเริ่มอ้างสิทธิในพื้นที่นี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ก็ตาม แต่การจัดตั้งเขตการปกครองได้มีขึ้นภายหลังเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2505 พื้นที่ของดินแดนแห่งนี้ครอบคลุมดินแดนต่าง ๆ ซึ่งเคยอยู่ในความดูแลของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ถึง 3 ส่วนคือ เกรอัมแลนด์ (Graham Land) หมู่เกาะเซาท์ออร์กนีย์ (South Orkney Islands) และหมู่เกาะเซาท์เชตแลนด์ (South Shetland Islands) และทับซ้อนกับดินแดนทวีปแอนตาร์กติกาที่ประกาศอ้างสิทธิโดยอาร์เจนตินา (อาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกา) และชิลี (จังหวัดอันตาร์ตีกาชีเลนา) ผู้ที่พำนักอยู่ในดินแดนนี้ได้แก่เจ้าหน้าที่วิจัยและสนับสนุนการสำรวจทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของคณะสำรวจทวีปแอนตาร์ติกาของสหราชอาณาจักร (British Antarctic Survey) รวมทั้งองค์กรและสถานีสำรวจของอาร์เจนตินา ชิลี และประเทศอื่น ๆ หมวดหมู่:ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร หมวดหมู่:ทวีปแอนตาร์กติกา.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและมหาสมุทรอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรใต้

มหาสมุทรใต้(2002). มหาสมุทรใต้ (Southern Ocean) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นที่สุดท้ายที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) นิยามให้เป็นมหาสมุทรเมื่อปี พ.ศ. 2543 แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันมาก่อนหน้านั้นในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการสมุทรศาสตร์นานแล้ว โดยในอดีต มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย มีขอบเขตไกลลงไปถึงทวีปแอนตาร์กติกา มหาสมุทรใต้มีรูปร่างเป็นวงกลมล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา นับจากละติจูด 60° ใต้ ลงไปถึงชายฝั่งแอนตาร์กติกา อย่างไรก็ตาม นิยามนี้ไม่ได้ใช้ตรงกันทั่วโลก ในประเทศออสเตรเลีย มหาสมุทรใต้ยังรวมถึงพื้นที่ที่เป็นผืนน้ำระหว่างชายฝั่งทางใต้ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กับทวีปแอนตาร์กติกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนที่ชายฝั่งของเกาะทัสมาเนียและออสเตรเลียใต้ ที่ระบุพื้นที่นั้นว่าเป็น มหาสมุทรใต้ แทนที่จะเป็น มหาสมุทรอินเดีย ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับกันของคนทั่วไป.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและมหาสมุทรใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐออนแทรีโอ

รัฐออนแทรีโอ (Ontario) เป็นรัฐ ตอนกลางของประเทศแคนาดา มีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบจากจำนวนประชากร และใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากรัฐควิเบก เมื่อเทียบจากพื้นที่ ออนแทรีโอมีเขตติดต่อกับรัฐแมนิโทบาทางตะวันตก และรัฐควิเบกทางตะวันออก และสหรัฐอเมริกา (ทางตะวันตกและทางตะวันออก) ของรัฐมินนิโซตา, รัฐมิชิแกน, รัฐโอไฮโอ, รัฐเพนซิลเวเนีย (ฝั่งตรงข้ามของทะเลสาบอีรี) และรัฐนิวยอร์กทางตอนใต้และตะวันออก พรมแดนระหว่างรัฐออนแทรีโอและสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่จะเป็นเขตแดนทางธรรมชาติ เริ่มจาก Lake of the Woods และต่อเนื่องกับเกรตเลกส์ ทั้ง 4: สุพีเรีย, ฮูรอน (รวมถึงอ่าวจอร์เจียน), อิรี และ ออนแทรีโอ จากนั้นก็แม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ ใกล้กับคอร์นวอลล์ รัฐออนแทรีโอถือเป็นรัฐเดียวที่ติดต่อกับเกรตเลกส์ เมืองหลวงของรัฐออนแทรีโอคือ เมืองโทรอนโต เป็นเมืองที่มีพลเมืองหนาแน่นที่สุดในแคนาดา และเป็นเขตเมืองใหญ่ เมืองออตตาวาซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศแคนาดา ก็ตั้งอยู่ในรัฐออนแทรีโอนี้ และจากการสำรวจจำนวนประชากรในปี 2006 พบว่ามีประชากร 12,960,282 ครัวเรือน ในรัฐออนแทรีโอ ซึ่งนับเป็น 38.5% ของพลเมืองทั้งหม.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและรัฐออนแทรีโอ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐควิเบก

วิเบก (Québec, Quebec) หรือ เกแบ็ก (Québec) เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของแคนาดาอยู่ทางตะวันออกของประเทศ และเป็นรัฐเดียวที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการในระดับรัฐ แต่ใช้ภาษาฝรั่งเศสแทน รัฐควิเบกมีเมืองหลวงในชื่อเดียวกันคือควิเบก และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือมอนทรีออล.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและรัฐควิเบก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนิวยอร์ก

รัฐนิวยอร์ก (New York) เป็นรัฐที่อยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา เป็นรัฐที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากรัฐแคลิฟอร์เนีย และรัฐเทกซัส รัฐนิวยอร์กอาณาเขตติดต่อกับ รัฐเวอร์มอนต์ รัฐคอนเนตทิคัต รัฐแมสซาชูเซตส์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ รัฐโรดไอแลนด์ และ รัฐเพนซิลเวเนีย และในทิศเหนือติดต่อกับประเทศแคนาดา กับรัฐควิเบกและรัฐออนแทรีโอ เมืองขนาดใหญ่ในรัฐนิวยอร์กได้แก่ นครนิวยอร์ก (ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ) บัฟฟาโล รอเชสเตอร์ ยังเกอรส์ และ ซีราคิวส์ ในขณะที่เมืองหลวงของรัฐคือ ออลบานี สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงได้แก่ น้ำตกไนแอการา และในเขตนครนิวยอร์ก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและรัฐนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนิวเจอร์ซีย์

รัฐนิวเจอร์ซีย์ (New Jersey) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุด ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศ โดยอยู่ติดกับรัฐนิวยอร์ก ชื่อนิวเจอร์ซีย์มาจากชื่อของเกาะเจอร์ซีย์ บริเวณช่องแคบอังกฤษในยุโรป ชื่อเล่นของรัฐมีชื่อว่า "การ์เดนสเตต" (Garden State) ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ตั้งรกรากในนิวเจอร์ซีย์คือ ชาวสวีเดน และชาวเยอรมัน เมืองสำคัญในรัฐนิวเจอร์ซีย์ได้แก่ นูอาร์ก (น้วก) เจอร์ซีซิตี และ แอตแลนติกซิตี ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ นิวยอร์ก ไจแอนต์, นิวยอร์ก เจ็ต, นิวเจอร์ซีย์ เน็ต, นิวเจอร์ซีย์ เดวิลส์ และ เมโทรสตารส์ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและรัฐนิวเจอร์ซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเพนซิลเวเนีย

รัฐเพนซิลเวเนีย รัฐทางตอนกลาง ของสหรัฐอเมริกา เครือรัฐเพนซิลเวเนีย (Commonwealth of Pennsylvania) เป็นรัฐที่อยู่ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา รัฐเพนซิลเวเนียเป็นรัฐหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาเกี่ยวข้องที่สุดรัฐหนึ่ง เป็นที่ประกาศอิสรภาพของอเมริกา โดยมีฟิลาเดลเฟียเป็นเมืองหลวงชั่วคราวของสหรัฐอเมริกาก่อนการจัดตั้งวอชิงตัน ดีซี ชื่อของรัฐมาจากภาษาละติน ตั้งโดย เควกเกอร์ วิลเลียม เพนน์ เมืองหลวงของรัฐคือ แฮร์ริสเบิร์ก และเมืองสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ฟิลาเดลเฟีย และพิตส์เบิร์ก รวมไปถึงเมืองเฮอร์ชีย์ที่ตั้งของโรงงานชอกโกแลตเฮอร์ชีย์ มหาวิทยาลัยที่สำคัญในรัฐได้แก่ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน มหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก และ มหาวิทยาลัยลีไฮฮ์ ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ ฟิลาเดลเฟีย อีเกิลส์ และ พิตส์เบิร์ก สตีลเลอรส์ ในปี 2550 เพนซิลเวเนียมีประชากร 12,432,792 คน.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและรัฐเพนซิลเวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ลองจิจูด

ลองติจูด (longitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นแวง แทนด้วยอักษรกรีก λ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางตะวันออกหรือตะวันตกจากเส้นสมมติในแนวเหนือ-ใต้ที่เรียกว่าเส้นเมริเดียนแรก พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ละติจูด ลองติจูดมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นเมริเดียนแรกไปทางตะวันออก +180 องศา และไปทางตะวันตก −180 องศา ลองติจูดต่างจากละติจูด ตรงที่ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ ลองติจูดจึงต้องกำหนดเส้นสมมติขึ้นมาหนึ่งเส้นสำหรับอ้างอิง ใน ค.ศ. 1884 การประชุมเมอริเดียนนานาชาติ (International Meridian Conference) จึงได้กำหนดให้เส้นเวลากรีนนิช เป็นเส้นเวลาไพร์มเมอริเดียน และเป็นลองติจูด 0 องศา หมวดหมู่:การเดินเรือ หมวดหมู่:ภูมิมาตรศาสตร์ *.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและลองจิจูด · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเดลาแวร์

อ่าวเดลาแวร์ อ่าวเดลาแวร์ คืออ่าวที่ใหญ่ของมหาสมุทรแอตแลนติก อยู่ที่ปากแม่น้ำเดลาแวร์ของสหรัฐอเมริกา ติดกับรัฐนิวเจอร์ซีย์ ทางเหนือ และรัฐเดลาแวร์ทางใต้ ด หมวดหมู่:รัฐเดลาแวร์ หมวดหมู่:อ่าวในมหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและอ่าวเดลาแวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแคริบเบียน

แผนทีภูมิภาคอเมริกากลางและทะเลแคริบเบียน ทะเลแคริบเบียนมองจากอวกาศ (ด้านบนซ้าย) ทะเลแคริบเบียน (Caribbean Sea, หรือ; Mar Caribe) เป็นทะเลเขตร้อนในซีกโลกตะวันตก ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเม็กซิโก ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแผ่นเปลือกโลกแคริบเบียน โดยทางทิศใต้จดทวีปอเมริกาใต้ ทางทิศตะวันตกและทิศใต้จดประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลาง และทางทิศเหนือและทิศตะวันออกจดหมู่เกาะแอนทิลลีส ได้แก่ เกาะคิวบา เกาะฮิสปันโยลา เกาะจาเมกา และเกาะเปอร์โตริโกในหมู่เกาะเกรตเตอร์แอนทิลลีสทางทิศเหนือ ส่วนหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (เช่น เกาะแองกวิลลา เกาะดอมินีกา เกาะเซนต์ลูเซีย) อยู่ทางทิศตะวันออก พื้นที่ทั้งหมดของทะเลแคริบเบียน หมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลนี้ และชายฝั่งที่ติดต่อกัน รวมเรียกกันในชื่อภูมิภาคแคริบเบียน ทะเลแคริบเบียนเป็นหนึ่งในทะเลที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ 2,754,000 ตารางกิโลเมตร (1,063,000 ตารางไมล์) จุดที่ลึกที่สุดของทะเลนี้คือ Cayman Trough อยู่ระหว่างคิวบากับจาเมกา ที่ความลึก 7,686 เมตร (25,220 ฟุต) ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ชายฝั่งแคริบเบียนมีอ่าวอยู่หลายแห่ง เช่น อ่าวเวเนซุเอลา อ่าวดาริเอน อ่าวโมสกิโตส และอ่าวฮอนดูรั.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและทะเลแคริบเบียน · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกใต้

ั้วโลกใต้ (South Pole) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและขั้วโลกใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกเหนือ

ั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เป็นจุดที่ถือว่าอยู่ทางเหนือที่สุดของโลก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและขั้วโลกเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

นูนาวุต

นูนาวุต (Nunavut) เป็นดินแดนที่ใหญ่ที่สุดและใหม่ที่สุดของสหพันธรัฐของแคนาดา แยกออกมาอย่างเป็นทางการจากนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ เมื่อวันที่ 1 เมษายนน ค.ศ. 1999 ผ่านกฎหมายนูนาวุต และกฎหมายยินยอมอ้างสิทธิ์ดินแดนนูนาวุต (Nunavut Land Claims Agreement Act) กับพื้นที่จริงที่เกิดขึ้นในปี 1993 นูนาวุตประกอบด้วยพื้นที่ใหญ่ 2 ส่วนของแคนาดาเหนือ ส่วนมากอยู่ในพื้นที่หมู่เกาะอาร์กติก นูนาวุตยังเป็นรัฐหรือดินแดนของแคนาดาที่ใหญ่ที่สุด แต่มีประชากรน้อยที่สุด มีราว 29,474 คน.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและนูนาวุต · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอวงกาเบลีกา

แคว้นอวงกาเบลีกา (Huancavelica) เป็นแคว้นในประเทศเปรู มีพื้นที่ 22,131.47 กม² และมีประชากร 454,797 คน (ค.ศ. 2007) เมืองหลวงคือเมือง อวงกาเบลีกา แคว้นอวงกาเบลีกาติดกับแคว้นลิมาและแคว้นอีกาทางทิศตะวันตก ติดกับแคว้นคูนินทางทิศเหนือ และติดกับแคว้นไออากูโชทางทิศตะวันออก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและแคว้นอวงกาเบลีกา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอาเรกีปา

แคว้นอาเรกีปา (Arequipa) เป็นแคว้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเปรู ติดกับแคว้นอีกา แคว้นไออากูโช แคว้นอาปูรีมัก และแคว้นกุสโก ทางทิศเหนือ ติดกับแคว้นปูโนทางทิศตะวันออก ติดกับแคว้นโมเกกวาทางทิศใต้ และติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตก มีเมืองหลวงคือ อาเรกีปา เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเปรู อาเรกีปา.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและแคว้นอาเรกีปา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นโลเรโต

แคว้นโลเรโต (Loreto) เป็นแคว้นในเปรู ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่เกือบ 1 ใน 3 ของประเทศ เป็นแคว้นที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรเบาบางที่สุดเนื่องจากตั้งอยู่ในเขตป่าฝนแอมะซอน เมืองหลวงของแคว้นชื่อเมือง อีกีโตส ลโลเรโต หมวดหมู่:แคว้นโลเรโต.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและแคว้นโลเรโต · ดูเพิ่มเติม »

เกาะนาแวสซา

กาะนาแวสซา เกาะนาแวสซา (Navassa Island) หรือ ลานาวาซ (La Navase) เป็นเกาะร้างขนาดเล็กในทะเลแคริบเบียนอยู่ภายใต้การดูแลของสหรัฐอเมริกาผ่านองค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐ (US Fish and Wildlife Service) นอกจากนั้นเฮติได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะแห่งนี้เช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและเกาะนาแวสซา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเอลสเมียร์

กาะเอลสเมียร์ เกาะเอลสเมียร์ (Ellesmere Island) เป็นเกาะของประเทศแคนาดา ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก นับเป็นเกาะใหญ่อันดับสิบของโลก และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศแคนาดา มีพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็ง ตั้งอยู่เหนืออาร์กติกเซอร์เคิล จึงถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของขั้วโลกเหนือ.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและเกาะเอลสเมียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 105 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 105 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 105 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและเส้นเมริเดียนที่ 105 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนแรก

แนวเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านเมืองกรีนิช เส้นเมริเดียนแรก (prime meridian) เป็นเส้นเมริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0° การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นเมริเดียนแรกในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมริเดียนสากล หรือ เส้นเมริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นเมริเดียนแรกเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่น ๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นเมริเดียนแรกเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและเส้นเมริเดียนแรก · ดูเพิ่มเติม »

เขตเวลาตะวันออก

ตเวลาตะวันออก (สีแดงอ่อน) เขตเวลาตะวันออก (Eastern Time Zone) เป็นเขตเวลาที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา, แคนาดา และประเทศในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ สถานที่ที่ใช้เวลามาตรฐานตะวันออกได้ เมื่อเวลามาตรฐานของประเทศนั้นๆ ช้ากว่าเวลามาตรฐานสากลเชิงพิกัดอยู่ 5 ชั่วโมง (UTC-05.00).

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและเขตเวลาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

UTC−05:00

UTC−05:00 เป็นออฟเซตเวลาสากลเชิงพิกัด ที่ ลบ 5 ชั่วโมงจากเวลามาตรฐานสากล (UTC).

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตกและUTC−05:00 · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »