เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตก

ดัชนี เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปอเมริกาใต้ มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 130 องศาตะวันออก.

สารบัญ

  1. 25 ความสัมพันธ์: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีกรีนแลนด์มหาสมุทรอาร์กติกมหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรใต้รัฐมีนัสเชไรส์รัฐรีอูกรันดีดูซูลรัฐอามาปารัฐซานตากาตารีนารัฐปารารัฐปารานารัฐโกยาสรัฐโตกันชีนส์รัฐเซาเปาลูลองจิจูดอาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกาทวีปอเมริกาใต้ทวีปแอนตาร์กติกาขั้วโลกใต้ขั้วโลกเหนือแม่น้ำแอมะซอนเกาะมาราฌอเส้นเมริเดียนที่ 130 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 51 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนแรก

บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี หรือ ดินแดนแอนตาร์กติกาของสหราชอาณาจักร (British Antarctic Territory) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาซึ่งสหราชอาณาจักรประกาศอ้างสิทธิครอบครอง มีขอบเขตตั้งแต่ขั้วโลกใต้จนถึงละติจูดที่ 60 องศาเหนือ และช่วงระหว่างลองติจูด 20 องศาตะวันตก ถึงลองติจูด 80 องศาตะวันตก แม้ว่าสหราชอาณาจักรจะเริ่มอ้างสิทธิในพื้นที่นี้มาตั้งแต่ พ.ศ.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

กรีนแลนด์

กรีนแลนด์ (Kalaallit Nunaat; Grønland เกฺรินลันฺด) เป็นดินแดนทางเหนือสุดของโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 2,175,900 ตารางกิโลเมตร มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและกรีนแลนด์

มหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและมหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและมหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรใต้

มหาสมุทรใต้(2002). มหาสมุทรใต้ (Southern Ocean) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นที่สุดท้ายที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) นิยามให้เป็นมหาสมุทรเมื่อปี พ.ศ.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและมหาสมุทรใต้

รัฐมีนัสเชไรส์

รัฐมีนัสเชไรส์ (Minas Gerais) เป็น 1 ใน 26 รัฐของบราซิล เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 และร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับ 2 มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับ 4 เมืองหลวงของรัฐคือเมืองเบโลโอรีซอนตี ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของรัฐ รัฐเป็นผู้ผลิตหลักทางด้านกาแฟและนม ของประเทศ ยังมีมรดกสถาปัตยกรรมและศิลปะอาณานิคมในเมืองประวัติศาสตร์อย่างเช่น Ouro Preto, Diamantina, Tiradentes และ Serro ทางทิศใต้ของรัฐเป็นจุดท่องเที่ยว สปาน้ำแร่ อย่างในเมือง Caxambu, São Lourenço, São Thomé das Letras, Monte Verde และมีอุทยานแห่งชาติ Caparaó, Canastra, Ibitipoca และ Aiuruoca ภูมิประเทศของรัฐประกอบด้วยภูเขา หุบเขาและมีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์อย่างกว้างขวาง ส่วนในเมือง Serra do Cipó, Sete Lagoas, Cordisburgo และ Lagoa Santa มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอย่าง ถ้ำและน้ำตก มีถ้ำที่มีชื่อเสียงอยู่ในรัฐนี้มากม.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและรัฐมีนัสเชไรส์

รัฐรีอูกรันดีดูซูล

รีอูกรันดีดูซูล (Rio Grande do Sul) เป็น 1 ใน 26 รัฐของประเทศบราซิล ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศ ติดกับรัฐซันตากาตารีนาทางทิศเหนือ และติดกับประเทศอาร์เจนตินาทางทิศตะวันตก และติดกับประเทศอุรุกวัยทางทิศใต้ และติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันออกและใต้ รัฐรีอูกรันดีดูซูลมีพื้นที่ 281,748 ตร.กม.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและรัฐรีอูกรันดีดูซูล

รัฐอามาปา

รัฐอามาปา (Amapá) เป็นรัฐในประเทศบราซิล ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุด ติดกับชายแดนซูรินามและเฟรนช์เกียนาทางตอนเหนือ ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันออก และติดกับรัฐปาราทางตอนใต้และตะวันตก ทางตอนเหนือของรัฐมีแม่น้ำโอยาป็อกเป็นพรมแดนกั้นบราซิลกับเฟรนช์เกียนา ลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นในบริเวณนี้ คือร้อยละ 90 ของรัฐเป็นพื้นที่ป่าฝนแอมะซอนขนาดใหญ่ ยังเป็นพื้นที่บนเส้นศูนย์สูตร การเดินทางถึงรัฐนี้ไปสู่เมืองหลวงของรัฐที่ชื่อ เมืองมากาปา ทำได้โดยทางเรือหรือเครื่องบินเท่านั้น.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและรัฐอามาปา

รัฐซานตากาตารีนา

ซานตากาตารีนา (Santa Catarina) เป็นรัฐทางภาคใต้ของประเทศบราซิล เป็นหนึ่งในที่ที่มีมาตรฐานการครองชีพสูงสุดในลาตินอเมริกา มีเมืองหลวงของรัฐชื่อเมืองโฟลเรียนอโปลิส ซึ่งเกือบทั้งหมดของเมืองตั้งอยู่บนเกาะซานตากาตารีนา รัฐติดกับรัฐรีโอกรันดีดูซูลทางทิศใต้ และติดกับรัฐปารานาทางทิศเหนือ ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันออก และติดกับรัฐมีซีโอเนสของอาร์เจนตินาทางทิศตะวันตก ประชากรส่วนมากของรัฐมีเป็นผู้อพยพเชื้อสายโปรตุเกส เยอรมัน และอิตาลี รัฐมีชายหาดยาว 561 กิโลเมตร (348 ไมล์) เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เมืองหลวงของรัฐ โฟลเรียนอโปลิส ตั้งอยู่บนเกาะ เป็นหนึ่งในเมืองของบราซิลที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยว.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและรัฐซานตากาตารีนา

รัฐปารา

ปารา (Pará) เป็นรัฐในประเทศบราซิล ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ พื้นที่ที่ติดกับรัฐปารา (หมุนตามเข็มนาฬิกา จากทางเหนือ) คือรัฐอามาปา รัฐมารันเยา รัฐโตกันตินส์ รัฐมาตูโกรสซู รัฐอามาโซนัส และรัฐรอไรมา ทางทิศเหนือติดกับชายแดนประเทศกายอานาและประเทศซูรินาม รัฐปาราเป็นรัฐที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากรัฐอามาโซนัส (เคยเป็นที่ 3 จนรัฐมาตูโกรสซูโดซูลแยกจากรัฐมาตูโกรสซู ไปในปี ค.ศ.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและรัฐปารา

รัฐปารานา

รัฐปารานา (Paraná) เป็น 1 ในรัฐของประเทศบราซิล ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ติดกับรัฐเซาเปาโลทางทิศเหนือ ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันออก ติดกับรัฐซันตากาตารีนาและจังหวัดมีซีโอเนสของอาร์เจนตินาทางทิศใต้ ติดกับรัฐมาตูโกรสซูโดซูลและประเทศปารากวัยทางทิศตะวันตก โดยมีแม่น้ำปารานาแบ่งเขตแดน เมืองหลวงของรัฐคือเมือง กูรีตีบา ถือเป็นเมืองที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อเทียบกับเมืองอื่น บริเวณชายแดนของรัฐที่ติดกับอาร์เจนตินามีอุทยานแห่งชาติอีกัวซู ที่ยูเนสโกประกาศเป็นมรดกโลก นอกจากนั้นยังมีน้ำตกการาตาตัสโดอีกัวซูที่มีนักท่องเที่ยวราว 7 ล้านคนต่อปี.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและรัฐปารานา

รัฐโกยาส

รัฐโกยาส หรือ รัฐกอยยาส (Goiás) เป็นรัฐในประเทศบราซิล ตั้งอยู่ทางใต้กลางของประเทศ ชื่อของรัฐมาจากชื่อกลุ่มคนพื้นเมือง รัฐโกยาสเป็นรัฐอยู่ตรงกลางสุดและบราซิลและเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในภาคกลางและตะวันตก ด้วยความแห้งแล้งอย่างสูงในฤดูแห้งแล้ง ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน ไม่มีฝนตกทำให้ระดับแม่น้ำอาราไกวยา ลงลึกไปถึงเกือบ 2 กิโลเมตร บริเวณชายหาด ทำให้เป็นจุดท่องเที่ยวของรัฐ รัฐใกล้เคียง (หมุนตามเข็มนาฬิกาจากทางเหนือ) คือรัฐโตกันตินส์, รัฐบาเยีย, รัฐมีนัสเชไรส์, เฟเดอรัลดิสตริกต์, รัฐมาตูโกรสซูโดซูล และรัฐมาตูโกรสซู ในอุทยานแห่งชาติ Chapada dos Veadeiros เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ประกอบด้วยแคนยอน, หุบเขา, สายน้ำเชี่ยวและน้ำตก สถานท่องเที่ยวอื่นเช่นเมืองประวัติศาสตร์โกยาสห่างจากเมืองโกยาเนีย ก่อตั้งในช่วงต้นคริสต์ศวรรษที่ 18 และเมือง Caldas Novas กับบ่อน้ำร้อนที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว 1 ล้านคนต่อปี.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและรัฐโกยาส

รัฐโตกันชีนส์

ตกันชีนส์ (Tocantins) เป็นหนึ่งในรัฐของประเทศบราซิล รัฐก่อตั้งในปี..

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและรัฐโตกันชีนส์

รัฐเซาเปาลู

รัฐเซาเปาลู (São Paulo) เป็นรัฐในบราซิล มีความสำคัญด้านอุตสาหกรรมและมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจบราซิล ตั้งชื่อตาม พอลแห่งทาร์ซัส ถือเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุด ร่ำรวยที่สุด และเมืองหลวงของรัฐ เซาเปาลู เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ มักถูกขนานนามว่า "หัวรถจักรแห่งบราซิล" เพียงรัฐเดียวมีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อยู่ที่ 33.9% เป็นรัฐที่มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสูงสุด นอกจากนั้นยังมีดัชนีการพัฒนามนุษย์มากที่สุด และมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวเป็นอันดับ 2 มีอัตราการตายแรกเกิดต่ำสุดอันดับ 2 และมีอัตราการไม่รู้หนังสือต่ำสุดอันดับ 4 ในเหล่ารัฐของบราซิล.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและรัฐเซาเปาลู

ลองจิจูด

ลองติจูด (longitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นแวง แทนด้วยอักษรกรีก λ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางตะวันออกหรือตะวันตกจากเส้นสมมติในแนวเหนือ-ใต้ที่เรียกว่าเส้นเมริเดียนแรก พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ละติจูด ลองติจูดมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นเมริเดียนแรกไปทางตะวันออก +180 องศา และไปทางตะวันตก −180 องศา ลองติจูดต่างจากละติจูด ตรงที่ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ ลองติจูดจึงต้องกำหนดเส้นสมมติขึ้นมาหนึ่งเส้นสำหรับอ้างอิง ใน ค.ศ.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและลองจิจูด

อาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกา

อาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกา (arjentine Antarctica) หรือ อันตาร์ตีแอนตาร์กติกา (Antártida arjentine) เป็นส่วนหนึ่งของแอนตาร์กติกาที่อาร์เจนตินาใช้อ้างสิทธิ์ว่าเป็นของตน ประกอบด้วยคาบสมุทรแอนตาร์กติกและส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมยื่นไปถึงขั้วโลกใต้ จำกัดขนาดโดยเมอริเดียน 25° ตะวันตก และ 74° ตะวันตก และเส้นขนาน 60° ใต้.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและอาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกา

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและทวีปอเมริกาใต้

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและทวีปแอนตาร์กติกา

ขั้วโลกใต้

ั้วโลกใต้ (South Pole) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและขั้วโลกใต้

ขั้วโลกเหนือ

ั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เป็นจุดที่ถือว่าอยู่ทางเหนือที่สุดของโลก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและขั้วโลกเหนือ

แม่น้ำแอมะซอน

แม่น้ำแอมะซอน แม่น้ำแอมะซอน (Amazon River; Rio Amazonas; Río Amazonas) เป็นแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเปรู และไหลออกมหาสมุทรที่ประเทศบราซิล มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 6,992 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของโลก (รองลงมาคือแม่น้ำไนล์) และยังเป็นแม่น้ำที่มีปากแม่น้ำกว้างที่สุดในโลก ซึ่งอยู่บริเวณทางเหนือของบราซิล แม่น้ำแอมะซอนเป็นแม่น้ำสายที่มีปริมาณน้ำมากที่สุด ปริมาณน้ำที่ไหลออกยังมหาสมุทรแอตแลนติกมากถึง 45 ล้านแกลลอนต่อวินาทีในฤดูฝน ฝนที่ตกในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนเฉลี่ยปีละ 3 เมตร (สูงสุด 6 เมตร) แต่ฝนจะตกเพียงไม่กี่เดือน ต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนตุลาคม น้ำจะลดปริมาณลงจนเห็นสันทรายและเกิดเป็นทะเลสาบต่าง ๆ บางแห่งตัดขาดจากกัน ในฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมป่าทุกปี ในเนื้อที่ประมาณ 90,000 ตารางกิโลเมตร ขนาดเท่าประเทศอังกฤษ และยังถือเป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำมากถึง 1 ใน 5 ส่วนของโลก มีแม่น้ำสาขาที่แยกออกจากแอมะซอนมากกว่า 1,100 สาขา อีกทั้งยังถือเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก เป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ปลามากที่สุดในโลก กว่า 3,000 ชนิด ซึ่งนับว่ามากกว่ามหาสมุทรแอตแลนติกเสียอีก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและแม่น้ำแอมะซอน

เกาะมาราฌอ

right เกาะมาราฌอ (ilha do Marajó) ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแอมะซอนในประเทศบราซิล จัดเป็นเกาะที่อยู่ในแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ 40,100 ตารางกิโลเมตร ถึงแม้ทางด้านตะวันออกจะติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก แต่บริเวณเกาะก็ล้อมรอบไปด้วยน้ำจื.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและเกาะมาราฌอ

เส้นเมริเดียนที่ 130 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 130 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ออสเตรเลีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 130 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและเส้นเมริเดียนที่ 130 องศาตะวันออก

เส้นเมริเดียนที่ 51 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 51 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปอเมริกาใต้ มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 51 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 129 องศาตะวันออก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและเส้นเมริเดียนที่ 51 องศาตะวันตก

เส้นเมริเดียนแรก

แนวเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านเมืองกรีนิช เส้นเมริเดียนแรก (prime meridian) เป็นเส้นเมริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0° การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นเมริเดียนแรกในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมริเดียนสากล หรือ เส้นเมริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นเมริเดียนแรกเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่น ๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นเมริเดียนแรกเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 50 องศาตะวันตกและเส้นเมริเดียนแรก