เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออก

ดัชนี เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันตก เส้นเมริเดียนนี้มีความหมาย คือ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นแบ่งเขตแดนของนามิเบียกับบอตสวานาและแอฟริกาใต้ เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นขีดจำกัดด้านตะวันออกของนิวสวาเบียในควีนมอดแลนด์, แอนตาร์กติก.

สารบัญ

  1. 27 ความสัมพันธ์: มหาสมุทรอาร์กติกมหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรใต้ลองจิจูดสฟาลบาร์สปิตส์เบอร์เกนอ่าวบอทเนียทวีปยุโรปทวีปแอฟริกาทวีปแอนตาร์กติกาทะเลบอลติกทะเลนอร์วีเจียนทะเลแบเร็นตส์ทะเลไอโอเนียนทะเลเมดิเตอร์เรเนียนขั้วโลกใต้ขั้วโลกเหนือควีนม็อดแลนด์ประเทศบอตสวานาประเทศนามิเบียประเทศแอฟริกาใต้นอร์ดออสต์ลานเดตแคว้นคาลินินกราดเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนที่ 19 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนแรก

มหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและมหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและมหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและมหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรใต้

มหาสมุทรใต้(2002). มหาสมุทรใต้ (Southern Ocean) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นที่สุดท้ายที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) นิยามให้เป็นมหาสมุทรเมื่อปี พ.ศ.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและมหาสมุทรใต้

ลองจิจูด

ลองติจูด (longitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นแวง แทนด้วยอักษรกรีก λ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางตะวันออกหรือตะวันตกจากเส้นสมมติในแนวเหนือ-ใต้ที่เรียกว่าเส้นเมริเดียนแรก พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ละติจูด ลองติจูดมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นเมริเดียนแรกไปทางตะวันออก +180 องศา และไปทางตะวันตก −180 องศา ลองติจูดต่างจากละติจูด ตรงที่ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ ลองติจูดจึงต้องกำหนดเส้นสมมติขึ้นมาหนึ่งเส้นสำหรับอ้างอิง ใน ค.ศ.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและลองจิจูด

สฟาลบาร์

แผนที่สฟาลบาร์ สฟาลบาร์ (Svalbard; Шпицбе́рген, Свальбард) เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรอาร์กติก ตั้งอยู่ทางเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ระหว่างนอร์เวย์และขั้วโลกเหนือ ตั้งแต่ละติจูด 74 ถึง 81 องศาเหนือ สฟาลบาร์เป็นส่วนหนึ่งของประเทศนอร์เวย์ โดยเป็นส่วนที่อยู่เหนือที่สุดของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่บนสามเกาะคือ สปิตส์เบอร์เกน บีเยอร์เนอยา และโฮเปน แรกเริ่ม สฟาลบาร์ได้ถูกใช้เป็นฐานล่าวาฬในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 หลังจากนั้นหมู่เกาะดังกล่าวได้ถูกปล่อยร้าง การทำเหมืองถ่านหินเริ่มต้นขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และชุมชนถาวรหลายแห่งได้รับการจัดตั้งขึ้น สนธิสัญญาสฟาลบาร์ ใน..

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและสฟาลบาร์

สปิตส์เบอร์เกน

ปิตส์เบอร์เกน (Spitsbergen หรือเดิมชื่อ West Spitsbergen; นอร์เวย์: Vest Spitsbergen, Vestspitsbergen) เป็นเกาะใหญ่ที่สุดและเกาะเดียวที่มีคนอาศัยอยู่ในหมู่เกาะสฟาลบาร์ ประเทศนอร์เวย์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของหมู่เกาะ ติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทะเลนอร์วีเจียน และทะเลกรีนแลนด์ เกาะมีพื้นที่ 39,044 ตร.กม.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและสปิตส์เบอร์เกน

อ่าวบอทเนีย

วเทียมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2545 อ่าวบอทเนียซึ่งอยู่ทางเหนือของทะเลบอลติกกลายเป็นน้ำแข็ง อ่าวบอทเนีย (Gulf of Bothnia; Pohjanlahti; Bottniska viken) อยู่ทางตอนเหนือของทะเลบอลติก ขนาบข้างด้วยประเทศสวีเดนทางทิศตะวันตกกับประเทศฟินแลนด์ทางทิศตะวันออก อ่าวบอทเนียมีพื้นที่ราว 117,000 ตารางกิโลเมตร ความยาวในแนวเหนือ-ใต้ประมาณ 725 กิโลเมตร ความกว้างในแนวตะวันออก-ตะวันตกประมาณ 240 กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ยเพียง 60 เมตร จุดที่ลึกที่สุด (295 เมตร) อยู่ทางทิศตะวันตกของอ่าว อ่าวบอทเนียได้รับน้ำจืดจากแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำแองเจอร์แมน อูเม ลูเล ทอร์เน เกมิ และแม่น้ำโอวลุ ทำให้น้ำทะเลในอ่าวมีความเค็มต่ำมากจนสามารถจับตัวเป็นน้ำแข็งได้นานประมาณ 5 เดือนในแต่ละปี ภายในอ่าวมีเกาะขนาดเล็กหลายแห่งทำให้การเดินเรือทำใด้ยาก เมืองท่าที่สำคัญในอ่าวบอทเนีย ได้แก่ โปริ วาซา และโอวลุในประเทศฟินแลนด์ รวมไปถึงลูเล่ว(Luleå) แฮร์เนอแซนด์ ซุนด์สวอน(Sundsvall) และเยฟเล (Gävle) ในสวีเดน.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและอ่าวบอทเนีย

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและทวีปยุโรป

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและทวีปแอฟริกา

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและทวีปแอนตาร์กติกา

ทะเลบอลติก

ทะเลบอลติก (Baltic Sea) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปเหนือ ห้อมล้อมด้วยคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคยุโรปเหนือ ภูมิภาคยุโรปตะวันออก ภูมิภาคยุโรปกลาง และหมู่เกาะของประเทศเดนมาร์ก ทะเลนี้เชื่อมเข้าสู่ช่องแคบแคตทีแกต (Kattegat) ผ่านทางช่องแคบเออเรซุนด์ (Öresund) ช่องแคบเกรตเบลต์ (Great Belt) และช่องแคบลิตเทิลเบลต์ (Little Belt) ซึ่งหากผ่านช่องแคบแคทีแกตต่อไปก็จะพบช่องแคบสแกเกอร์แรก (Skagerrak) ที่จะเข้าสู่ทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลบอลติกยังเชื่อมต่อกับทะเลขาวด้วยคลองไวต์ซี (White Sea) และเชื่อมต่อกับทะเลเหนือโดยผ่านทางคลองคีล (Kiel).

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและทะเลบอลติก

ทะเลนอร์วีเจียน

ทะเลนอร์เวย์ ทะเลนอร์วีเจียน (Norskehavet; Norwegian Sea) เป็นทะเลที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศนอร์เวย์ ระหว่างทะเลเหนือกับทะเลกรีนแลนด์ ทะเลนอร์วีเจียนติดกับตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก และทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแบเร็นตส์ (Barents Sea) และแยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกโดยสันใต้ทะเลที่แล่นระหว่างไอซ์แลนด์และหมู่เกาะแฟโร ทางตอนเหนือสันยานไมเอนแยกทะเลนอร์เวย์ออกจากทะเลกรีนแลนด์ ทะเลนอร์วีเจียนและทะเลกรีนแลนด์บางครั้งก็เรียกรวมกันว่า ทะเลนอร์ดิก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและทะเลนอร์วีเจียน

ทะเลแบเร็นตส์

ที่ตั้งของทะเลแบเร็นตส์ ทะเลแบเร็นตส์ (Barents Sea; Barentshavet; Баренцево море) เป็นทะเลที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอาร์กติกที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์และประเทศรัสเซีย เป็นทะเลที่มีไหล่ทวีป (Continental shelf) ที่ค่อนข้างลึก (เฉลี่ยความลึกราว 230 เมตร และที่บริเวณที่ลึกที่สุดลึก 450 เมตร) โดยมีทะเลนอร์เวย์ทางตะวันตก เกาะสฟาลบาร์ของนอร์เวย์ทางตะวันตกเฉียงเหนือและเกาะฟรันซ์โจเซฟแลนด์ (Franz Josef Land) และเกาะโนวายาเซมเลีย (Novaya Zemlya) ของรัสเซียทางตะวันออกเฉียงเหนือและทางตะวันออก เกาะโนวายาเซมเลียแยกทะเลคาราออกจากทะเลแบเร็นตส์ ในยุคกลาง ทะเลนี้มีชื่อเรียกว่า ทะเลมูร์มัน (murmansk Sea) ส่วนชื่อของทะเลในปัจจุบันมาจากชื่อนักเดินเรือชาวดัตช์ชื่อวิลเลิม บาเรินตส์ (Willem Barentsz) ทะเลแบเร็นตส์เป็นแหล่งที่มีน้ำมันจากซากสัตว์ดึกดำบรร.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและทะเลแบเร็นตส์

ทะเลไอโอเนียน

right ทะเลไอโอเนียน (Ionian Sea) อยู่บริเวณตอนกลางของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี และทางตะวันตกของประเทศกรีซ ทะเลไอโอเนียนเป็นบริเวณจุดที่ลึกที่สุดของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีความลึกประมาณ 2,290 เมตร ไอโอเนียน หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในประเทศอิตาลี หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในประเทศกรีซ หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในประเทศแอลเบเนีย.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและทะเลไอโอเนียน

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

วเทียมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร คำในภาษาอังกฤษ Mediterranean มาจากภาษาละติน mediterraneus หมายถึง 'ภายในแผ่นดิน' (medius 'กลาง' terra 'แผ่นดิน, โลก') ในภาษากรีกใช้ว่า "mesogeios".

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ขั้วโลกใต้

ั้วโลกใต้ (South Pole) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและขั้วโลกใต้

ขั้วโลกเหนือ

ั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เป็นจุดที่ถือว่าอยู่ทางเหนือที่สุดของโลก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและขั้วโลกเหนือ

ควีนม็อดแลนด์

วีนม็อดแลนด์ (Queen Maud Land) หรือ ดรอนนิงแมอุดลันด์ (Dronning Maud Land) เป็นส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาที่นอร์เวย์อ้างกรรมสิทธิ์การครอบครองเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและควีนม็อดแลนด์

ประเทศบอตสวานา

อตสวานา (อังกฤษและBotswana) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐบอตสวานา (Republic of Botswana; Lefatshe la Botswana) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาใต้ และเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตดังนี้ ทิศใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ ทิศตะวันตกติดกับประเทศนามิเบีย ทิศเหนือติดกับประเทศแซมเบีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศซิมบับเว.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและประเทศบอตสวานา

ประเทศนามิเบีย

นามิเบีย (Namibia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐนามิเบีย (Republic of Namibia) เป็นประเทศในทวีปแอฟริกาตอนใต้ ริมฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีพรมแดนติดด้านเหนือกับประเทศแองโกลา และแซมเบีย ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับซิมบับเว ทางตะวันออกติดกับบอตสวานา และทางใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ นามิเนียได้รับเอกราชคืนจากประเทศแอฟริกาใต้เมื่อ..

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและประเทศนามิเบีย

ประเทศแอฟริกาใต้

รณรัฐแอฟริกาใต้ (Republic of South Africa) หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า แอฟริกาใต้ (ต่างจาก "แอฟริกาตอนใต้" ซึ่งเป็นภูมิภาคประกอบไปด้วยหลายประเทศ รวมถึงประเทศแอฟริกาใต้ด้วย) เป็นประเทศอิสระที่อยู่ตอนปลายทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับประเทศนามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว โมซัมบิก และสวาซิแลนด์ นอกจากนี้ยังมีเลโซโทซึ่งเป็นประเทศที่ถูกล้อมรอบทุกด้านด้วยอาณาเขตของประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งยังเป็นประเทศส่งออกเพชร, ทองคำ และไวน์ที่ชาวฝรั่งเศสนำเข้ามาอีกด้ว.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและประเทศแอฟริกาใต้

นอร์ดออสต์ลานเดต

นอร์ดออสต์ลานเดต หรือ นอร์ทอีสต์แลนด์ (Nordaustlandet; North East Land) เป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 2 ของหมู่เกาะสฟาลบาร์ด ประเทศนอร์เวย์ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสปิตสเบอร์เกน มีพื้นที่ 14,443 ตร.กม.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและนอร์ดออสต์ลานเดต

แคว้นคาลินินกราด

แคว้นคาลีนินกราด (Калинингра́дская о́бласть) เป็นเขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลบอลติก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและแคว้นคาลินินกราด

เส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปอเมริกาเหนือ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันตก

เส้นเมริเดียนที่ 19 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 19 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 19 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 161 องศาตะวันตก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 19 องศาตะวันออก

เส้นเมริเดียนแรก

แนวเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านเมืองกรีนิช เส้นเมริเดียนแรก (prime meridian) เป็นเส้นเมริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0° การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นเมริเดียนแรกในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมริเดียนสากล หรือ เส้นเมริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นเมริเดียนแรกเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่น ๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นเมริเดียนแรกเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนแรก