โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก

ดัชนี เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ ในบางรูปแบบทางภูมิศาสตร์ เส้นนี้มักถูกใช้เป็นเส้นลองจิจูดที่ดีที่สุดซึ่งใช้แบ่งแยกทางประวัติศาสตร์ ระหว่างโลกเก่าของยูเรเชีย และแอฟริกา และโลกใหม่ของอเมริกา เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก ในแอนตาร์กติกา เส้นเมริเดียนนี้หมายถึงเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีกับควีนมอดแลนด์ และระหว่างเส้นขนานที่ 5 องศาเหนือและเส้นขนานที่ 60 องศาใต้ ถูกใช้เป็นเขตแดนด้านตะวันออกของเขตเสรีอาวุธนิวเคลียร์ละตินอเมริกัน.

23 ความสัมพันธ์: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีกรีนแลนด์มหาสมุทรอาร์กติกมหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรใต้ลองจิจูดทวีปยูเรเชียทวีปอเมริกาทวีปแอฟริกาทวีปแอนตาร์กติกาทะเลกรีนแลนด์ขั้วโลกใต้ขั้วโลกเหนือควีนม็อดแลนด์ประเทศไอซ์แลนด์โลกใหม่โลกเก่าเส้นขนานที่ 5 องศาเหนือเส้นขนานที่ 60 องศาใต้เส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 19 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนที่ 21 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนแรก

บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี หรือ ดินแดนแอนตาร์กติกาของสหราชอาณาจักร (British Antarctic Territory) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาซึ่งสหราชอาณาจักรประกาศอ้างสิทธิครอบครอง มีขอบเขตตั้งแต่ขั้วโลกใต้จนถึงละติจูดที่ 60 องศาเหนือ และช่วงระหว่างลองติจูด 20 องศาตะวันตก ถึงลองติจูด 80 องศาตะวันตก แม้ว่าสหราชอาณาจักรจะเริ่มอ้างสิทธิในพื้นที่นี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ก็ตาม แต่การจัดตั้งเขตการปกครองได้มีขึ้นภายหลังเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2505 พื้นที่ของดินแดนแห่งนี้ครอบคลุมดินแดนต่าง ๆ ซึ่งเคยอยู่ในความดูแลของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ถึง 3 ส่วนคือ เกรอัมแลนด์ (Graham Land) หมู่เกาะเซาท์ออร์กนีย์ (South Orkney Islands) และหมู่เกาะเซาท์เชตแลนด์ (South Shetland Islands) และทับซ้อนกับดินแดนทวีปแอนตาร์กติกาที่ประกาศอ้างสิทธิโดยอาร์เจนตินา (อาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกา) และชิลี (จังหวัดอันตาร์ตีกาชีเลนา) ผู้ที่พำนักอยู่ในดินแดนนี้ได้แก่เจ้าหน้าที่วิจัยและสนับสนุนการสำรวจทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของคณะสำรวจทวีปแอนตาร์ติกาของสหราชอาณาจักร (British Antarctic Survey) รวมทั้งองค์กรและสถานีสำรวจของอาร์เจนตินา ชิลี และประเทศอื่น ๆ หมวดหมู่:ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร หมวดหมู่:ทวีปแอนตาร์กติกา.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี · ดูเพิ่มเติม »

กรีนแลนด์

กรีนแลนด์ (Kalaallit Nunaat; Grønland เกฺรินลันฺด) เป็นดินแดนทางเหนือสุดของโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 2,175,900 ตารางกิโลเมตร มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและกรีนแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและมหาสมุทรอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรใต้

มหาสมุทรใต้(2002). มหาสมุทรใต้ (Southern Ocean) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นที่สุดท้ายที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) นิยามให้เป็นมหาสมุทรเมื่อปี พ.ศ. 2543 แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันมาก่อนหน้านั้นในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการสมุทรศาสตร์นานแล้ว โดยในอดีต มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย มีขอบเขตไกลลงไปถึงทวีปแอนตาร์กติกา มหาสมุทรใต้มีรูปร่างเป็นวงกลมล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา นับจากละติจูด 60° ใต้ ลงไปถึงชายฝั่งแอนตาร์กติกา อย่างไรก็ตาม นิยามนี้ไม่ได้ใช้ตรงกันทั่วโลก ในประเทศออสเตรเลีย มหาสมุทรใต้ยังรวมถึงพื้นที่ที่เป็นผืนน้ำระหว่างชายฝั่งทางใต้ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กับทวีปแอนตาร์กติกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนที่ชายฝั่งของเกาะทัสมาเนียและออสเตรเลียใต้ ที่ระบุพื้นที่นั้นว่าเป็น มหาสมุทรใต้ แทนที่จะเป็น มหาสมุทรอินเดีย ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับกันของคนทั่วไป.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและมหาสมุทรใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ลองจิจูด

ลองติจูด (longitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นแวง แทนด้วยอักษรกรีก λ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางตะวันออกหรือตะวันตกจากเส้นสมมติในแนวเหนือ-ใต้ที่เรียกว่าเส้นเมริเดียนแรก พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ละติจูด ลองติจูดมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นเมริเดียนแรกไปทางตะวันออก +180 องศา และไปทางตะวันตก −180 องศา ลองติจูดต่างจากละติจูด ตรงที่ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ ลองติจูดจึงต้องกำหนดเส้นสมมติขึ้นมาหนึ่งเส้นสำหรับอ้างอิง ใน ค.ศ. 1884 การประชุมเมอริเดียนนานาชาติ (International Meridian Conference) จึงได้กำหนดให้เส้นเวลากรีนนิช เป็นเส้นเวลาไพร์มเมอริเดียน และเป็นลองติจูด 0 องศา หมวดหมู่:การเดินเรือ หมวดหมู่:ภูมิมาตรศาสตร์ *.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและลองจิจูด · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยูเรเชีย

ทวีปยูเรเชีย เป็นมหาทวีปที่รวมเอาทวีปยุโรป กับทวีปเอเชียเข้าด้วยกัน โดยเส้นแบ่งของทวีปยุโรปกับเอเชียคือเทือกเขายูราล คำนี้ส่วนใหญ่จะใช้พูดถึงกับเรื่องในประวัติศาสตร์เมื่อครั้งโลกหลายร้อยล้านปีที่ทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียยังติดกัน ทวีปนี้ขยายตัวมาจากมหาทวีปพันเจีย โดยมีทวีปต่างๆที่แยกตัวออกมาคือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ (แยกออกมาจากทวีปแอฟริกา) ทวีปยูเรเชีย เกาะอินเดีย ออสเตรเลีย และขั้วโลกใต้ โดยที่ทวีปยูเรเชียนั้น ในปัจจุบันเรามักจะเรียกว่า ทวีปยุโรป และ ทวีปเอเชีย มากกว่าที่จะเรียกว่า ยูเรเชีย สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากที่ การเรียกอย่างนี้จะทำให้เกิดการสับสนว่าเป็น ทวีปใดกันแน่ ทั้งวัฒนธรรม การเมือง ประเพณี ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ วิถีชีวิต อาหารการกิน ยังแตกต่างกันด้วย นอกจากเราจะยังพูดถึงโลกล้านปีแล้ว การที่ทวีปเอเชียและทวีปยุโรป ติดกันตรงพรมแดนของประเทศจีน-ประเทศรัสเซีย เป็นต้น เป็นเสมือนเกาะใหญ่ และการคมนาคม ประวัติศาสตร์ยังคล้ายคลึงกันอีกด้วย เราจึงยังจะคงเรียกอยู.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและทวีปยูเรเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกา

แผนที่ทวีปอเมริกาโดย Jonghe. Ca. พ.ศ. 2313 แผนที่ทวีปอเมริกา ทวีปอเมริกา (Americas)america.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและทวีปอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลกรีนแลนด์

ูเขาน้ำแข็งในทะเลกรีนแลนด์ right ทะเลกรีนแลนด์ เป็นบริเวณผืนน้ำทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก นับเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอาร์กติก แต่บางครั้งก็จัดรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก แต่ในทางสมุทรศาสตร์จัดให้ทะเลกรีนแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของทะเลนอร์ดิกรวมกับทะเลนอร์เวย์และทะเลไอซ์แลนด์ ทะเลกรีนแลนด์มีอาณาเขตติดต่อกับเกาะกรีนแลนด์ทางทิศตะวันตก หมู่เกาะสฟาลบาร์ทางทิศตะวันออก ช่องแคบแฟรมและมหาสมุทรอาร์กติกทางทิศเหนือ ทะเลนอร์เวย์และไอซ์แลนด์ทางทิศใต้.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและทะเลกรีนแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกใต้

ั้วโลกใต้ (South Pole) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและขั้วโลกใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกเหนือ

ั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เป็นจุดที่ถือว่าอยู่ทางเหนือที่สุดของโลก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและขั้วโลกเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ควีนม็อดแลนด์

วีนม็อดแลนด์ (Queen Maud Land) หรือ ดรอนนิงแมอุดลันด์ (Dronning Maud Land) เป็นส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาที่นอร์เวย์อ้างกรรมสิทธิ์การครอบครองเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นการอ้างที่ยังไม่ได้รับการยอมรับจากประชาคมนานาชาติและยังเป็นไปตามระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติกา ควีนม็อดแลนด์มีเนื้อที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์นอร์เวย์ หมวดหมู่:ทวีปแอนตาร์กติกา.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและควีนม็อดแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอซ์แลนด์

อซ์แลนด์ (Iceland; อิสตลันต์) เป็นประเทศนอร์ดิกในยุโรปเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ระหว่างกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร มีเมืองหลวงคือเรคยาวิก ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณสามแสนคน มีพื้นที่ประเทศรวม 102,775 ตารางกิโลเมตร เรียกข้อมูลวันที่ 2008-03-03 นับว่ามีประชากรเบาบาง จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ ปี..

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและประเทศไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

โลกใหม่

ระวังสับสนกับ โลกยุคใหม่โลกใหม่ (สีเขียว) เปรียบเทียบกับ โลกเก่า (สีเทา) โลกใหม่ (New World) เป็นคำที่ใช้สำหรับดินแดนที่นอกไปจากทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป และ ทวีปเอเชีย ที่ก็คือทวีปอเมริกา และอาจจะรวมไปถึงออสตราเลเชียด้วย เป็นคำที่เริ่มใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อทวีปอเมริกายังใหม่ต่อชาวยุโรปผู้ที่เดิมเชื่อว่าโลกประกอบด้วยทวีปเพียงสามทวีปที่เรียกรวมกันว่าโลกเก่า คำว่า “โลกใหม่” ไม่ควรจะสับสนกับคำว่า “โลกยุคใหม่” (Modern era) คำหลังหมายถึงช่วงเวลาในประวัติศาสตร์มิใช่แผ่นดิน.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและโลกใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

โลกเก่า

ลกใหม่ (สีเขียว) เปรียบเทียบกับ โลกเก่า (สีเทา) โลกเก่า (Old World) ประกอบด้วยทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นที่รับรู้ของชาวยุโรป ชาวแอฟริกัน และชาวเอเชีย ก่อนการค้นพบทวีปอเมริกา ตรงข้ามกับ "โลกใหม่" ซึ่งหมายถึงทวีปอเมริกาเหนือ,ทวีปอเมริกาใต้และโอเชียเนี.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและโลกเก่า · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 5 องศาเหนือ

้นขนานที่ 5 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 5 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก, ทวีปแอฟริกา, มหาสมุทรอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ, มหาสมุทรแปซิฟิกและทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและเส้นขนานที่ 5 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 60 องศาใต้

้นขนานที่ 60 องศาใต้ คือวงกลมละติจูดที่ 60 องศา ด้านใต้ของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านมหาสมุทรใต้.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและเส้นขนานที่ 60 องศาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก ในแอนตาร์กติกา เส้นเมริเดียนนี้มีความหมายเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างดินแดนแอนตาร์กติกาของออสเตรเลียกับรอสส์ดีเพนเดนซี.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 19 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 19 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 19 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 161 องศาตะวันออก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและเส้นเมริเดียนที่ 19 องศาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 21 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 21 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 21 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 159 องศาตะวันออก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและเส้นเมริเดียนที่ 21 องศาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนแรก

แนวเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านเมืองกรีนิช เส้นเมริเดียนแรก (prime meridian) เป็นเส้นเมริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0° การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นเมริเดียนแรกในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมริเดียนสากล หรือ เส้นเมริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นเมริเดียนแรกเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่น ๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นเมริเดียนแรกเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกและเส้นเมริเดียนแรก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »