โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออก

ดัชนี เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออก

้นเมริเดียน 127 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 53 องศาตะวันตก.

37 ความสัมพันธ์: มหาสมุทรอาร์กติกมหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแปซิฟิกมหาสมุทรใต้มณฑลจี๋หลินมณฑลเฮย์หลงเจียงรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียลองจิจูดสาธารณรัฐซาฮาออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีจังหวัดชากังจังหวัดชุงช็องใต้จังหวัดช็อลลาใต้จังหวัดช็อลลาเหนือจังหวัดพย็องอันใต้จังหวัดคย็องกีจังหวัดคังว็อน (ประเทศเกาหลีเหนือ)จังหวัดโอกินาวะจังหวัดเชจูทวีปแอนตาร์กติกาทวีปเอเชียทะเลบันดาทะเลฟิลิปปินทะเลลัปเตฟทะเลจีนตะวันออกทะเลติมอร์ทะเลโมลุกกะขั้วโลกใต้ขั้วโลกเหนือควังจูซูว็อนประเทศออสเตรเลียแม่น้ำลีนาโซลเส้นเมริเดียนที่ 126 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 128 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนแรก

มหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและมหาสมุทรอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรใต้

มหาสมุทรใต้(2002). มหาสมุทรใต้ (Southern Ocean) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นที่สุดท้ายที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) นิยามให้เป็นมหาสมุทรเมื่อปี พ.ศ. 2543 แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันมาก่อนหน้านั้นในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการสมุทรศาสตร์นานแล้ว โดยในอดีต มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย มีขอบเขตไกลลงไปถึงทวีปแอนตาร์กติกา มหาสมุทรใต้มีรูปร่างเป็นวงกลมล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา นับจากละติจูด 60° ใต้ ลงไปถึงชายฝั่งแอนตาร์กติกา อย่างไรก็ตาม นิยามนี้ไม่ได้ใช้ตรงกันทั่วโลก ในประเทศออสเตรเลีย มหาสมุทรใต้ยังรวมถึงพื้นที่ที่เป็นผืนน้ำระหว่างชายฝั่งทางใต้ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กับทวีปแอนตาร์กติกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนที่ชายฝั่งของเกาะทัสมาเนียและออสเตรเลียใต้ ที่ระบุพื้นที่นั้นว่าเป็น มหาสมุทรใต้ แทนที่จะเป็น มหาสมุทรอินเดีย ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับกันของคนทั่วไป.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและมหาสมุทรใต้ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลจี๋หลิน

มณฑลจี๋หลิน ตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีชายแดนติดต่อกับมณฑลต่างๆ ทางใต้ติดกับเหลียวหนิง ตะวันตกติดกับมองโกเลียใน เหนือติดกับเฮยหลงเจียง และตะวันออกติดต่อกับรัสเซียและคาบสมุทรเกาหลีโดยมีแม่น้ำยาลู่ว์เจียงเป็นเส้นเขตแดน มีเมืองหลวงชื่อ ฉางชุน(长春)มีเนื้อที่ 187,400 ก.ม. ประชากร 27,090,000 คน ความหนาแน่น 145 คนต่อตารางกิโลเมตร ค่าจีดีพี 295.8 พันล้านเหรินหมินปี้ หรือเฉลี่ย 10,900 เหรินเหมินปี้ต่อประชากรหนึ่งคน (ข้อมูล พ.ศ. 2547) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและมณฑลจี๋หลิน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเฮย์หลงเจียง

มณฑลเฮย์หลงเจียง (จีนตัวย่อ: 黑龙江省; จีนตัวเต็ม: 黑龍江省)ชื่อย่อ เฮย (黑)ชื่อ เฮยหลงเจียง มาจากชื่อแม่น้ำสายที่ใหญ่ที่สุดในมณฑล มีเมืองหลวงชื่อว่า ฮาร์บิน ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศแมนจูกัว อดีตที่ประเทศถูกญี่ปุ่นเข้ายึดในปี พ.ศ. 2474 มณฑลเฮย์หลงเจียง มีประชากรประมาณ 39 ล้านคน มีเนื้อที่ 454,000 ตาราง ก.ม.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและมณฑลเฮย์หลงเจียง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย

รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) หรือเรียกอย่างภาษาไทยเดิมว่า รัฐออสเตรเลียตะวันตก เป็นรัฐในประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย และเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสาธารณรัฐซาฮา มีประชากร 2.1 ล้านคน (10% ของประเทศ) มี 85% ของคนที่อาศัยทางมุมใต้-ตะวันตกของรัฐ มีเมืองหลวงคือนคร เพิร์ท.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ลองจิจูด

ลองติจูด (longitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นแวง แทนด้วยอักษรกรีก λ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางตะวันออกหรือตะวันตกจากเส้นสมมติในแนวเหนือ-ใต้ที่เรียกว่าเส้นเมริเดียนแรก พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ละติจูด ลองติจูดมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นเมริเดียนแรกไปทางตะวันออก +180 องศา และไปทางตะวันตก −180 องศา ลองติจูดต่างจากละติจูด ตรงที่ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ ลองติจูดจึงต้องกำหนดเส้นสมมติขึ้นมาหนึ่งเส้นสำหรับอ้างอิง ใน ค.ศ. 1884 การประชุมเมอริเดียนนานาชาติ (International Meridian Conference) จึงได้กำหนดให้เส้นเวลากรีนนิช เป็นเส้นเวลาไพร์มเมอริเดียน และเป็นลองติจูด 0 องศา หมวดหมู่:การเดินเรือ หมวดหมู่:ภูมิมาตรศาสตร์ *.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและลองจิจูด · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐซาฮา

250px สาธารณรัฐซาฮา (The Sakha (Yakutia) Republic; Респу́блика Саха́ (Яку́тия)) เป็นเขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย กินพื้นที่ครึ่งหนึ่งของเขตสหพันธ์ตะวันออกไกล มีพื้นที่ 3,100,000 ตร.กม.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและสาธารณรัฐซาฮา · ดูเพิ่มเติม »

ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี (Australian Antarctic Territory, AAT) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาที่ประเทศออสเตรเลียอ้างกรรมสิทธิ์ครอบครอง และเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดที่อ้างโดยชาติใดชาติหนึ่ง ที่ประกอบด้วยหมู่เกาะและดินแดนทางตอนใต้ของละติจูด 60° ใต้ และระหว่างลองจิจูด 45° ตะวันออกถึง 160° ตะวันออก ยกเว้นอาเดลีแลนด์ (ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองจิจูด 136° ตะวันออกถึง 142° ตะวันออก) ทำให้ดินแดนนี้ถูกแบ่งออกจากกันเป็น2ส่วน คือ เวสเทิร์นเอเอที (ส่วนที่ใหญ่กว่า) และอีสเทิร์นเอเอที โดยมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 5,896,500 ตารางกิโลเมตร ดินแดนนี้เป็นที่อาศัยของผู้ที่ทำงานกับสถานีวิจัยขั้วโลก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชากัง

จังหวัดชากังประเทศเกาหลีเหนือ จังหวัดชากัง เป็นจังหวัดของประเทศเกาหลีเหนือ อยู่ทางทิศเหนือของประเทศติดกับประเทศจีน, ติดกับจังหวัดรยังกัง และ ฮัมกย็องใต้ ทางด้านตะวันออก, ติดกับจังหวัดพย็องอันใต้ ทางด้านทิศใต้, และ จังหวัดพย็องอันเหนือ ทางด้านทิศตะวันตก  จังหวัดชากัง ก่อตั้งขึ้นในปี 2542 เมืองหลวงชื่อกังแจ หมวดหมู่:จังหวัดชากัง หมวดหมู่:จังหวัดในประเทศเกาหลีเหนือ.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและจังหวัดชากัง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชุงช็องใต้

ังหวัดชุงช็องใต้ (หรือเรียกโดยย่อว่า ชุงนัม) เป็นจังหวัดทางภาคตะวันตกของประเทศเกาหลีใต้ โดยมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและจังหวัดชุงช็องใต้ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดช็อลลาใต้

ังหวัดช็อลลาใต้ เป็นจังหวัดในเกาหลีใต้ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่ปี 2439 โดยแยกออกจากจังหวัดช็อลลาเดิมทางด้านใต้ และยังคงเป็นจังหวัดของเกาหลีจนกระทั่งมีการแบ่งเกาหลีในปี 2488 และหลังจากนั้นก็หลายเป็นส่วนหนึ่งของเกาหลีใต้ โดยมีควังจูเป็นเมืองเอกของจังหวัด จนกระทั่งมีการย้ายศาลากลางจังหวัดไปยังตอนใต้ของหมู่บ้านนามัก เมืองชนบทมูอัน ในปี 2548.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและจังหวัดช็อลลาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดช็อลลาเหนือ

ังหวัดช็อลลาเหนือ เป็นจังหวัดในเกาหลีใต้ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและจังหวัดช็อลลาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพย็องอันใต้

ังหวัดพย็องอันใต้ เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศเกาหลีเหนือ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1896 และได้กลายเป็นจังหวัดของเกาหลีจนถึง ค.ศ. 1945 หลังจากนั้น ก็ได้เป็นจังหวัดของเกาหลีเหนือจนถึงปัจจุบัน มีเมืองหลวงชื่อ พย็องซ็อง.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและจังหวัดพย็องอันใต้ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดคย็องกี

ังหวัดคย็องกี เป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในเกาหลีใต้ โดยมีซูว็อนเป็นเมืองเอกของจังหวัด กรุงโซลซึ่งเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศตั้งอยู่ใจกลางของจังหวัดนี้ แต่มีการปกครองแยกไปจากจังหวัดคย็องกี โดยมีฐานะเป็นการปกครองระดับจังหวัดในชื่อ นครพิเศษ ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและจังหวัดคย็องกี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดคังว็อน (ประเทศเกาหลีเหนือ)

จังหวัดคังว็อนประเทศเกาหลีเหนือ จังหวัดคังว็อน เป็นจังหวัดเก่าแก่ของเกาหลีและเกาหลีเหนือ ซึ่งมีการแบ่งเป็นจังหวัดตั้งแต่สมัยราชวงศ์โชซ็อน เมื่อครั้งที่ญี่ปุ่นบุกเกาหลีก็เคยรุกรานที่พื้นที่แห่งนี้ ค.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและจังหวัดคังว็อน (ประเทศเกาหลีเหนือ) · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดโอกินาวะ

ที่ตั้งของหมู่เกาะรีวกีว แผนที่จังหวัดโอกินาวะ จังหวัดโอกินาวะ (沖縄県 Okinawa-ken) เป็นจังหวัดใต้สุดของญี่ปุ่น พื้นที่ยาวกว่า 1,000 กิโลเมตร กินสองในสามของเกาะรีวกีวซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของคีวชูไปทางไต้หวัน เมืองเอกคือนาฮะซึ่งอยู่ภาคใต้ของเกาะโอกินาวะ แม้จังหวัดโอกินาวะจะเป็นพื้นที่เพียงร้อยละ 0.6 ของดินแดนญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ร้อยละ 75 ของทหารสหรัฐที่ประจำในญี่ปุ่นก็ตั้งอยู่ในจังหวัดนี้ ปัจจุบัน มีกองกำลังสหรัฐราว 26,000 กองตั้งอยู่ในจังหวัดโอกินาว.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและจังหวัดโอกินาวะ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชจู

กาะเชจู (เกาะ) จังหวัดเชจู (ชื่ออย่างเป็นทางการ จังหวัดปกครองตนเองพิเศษเชจู) เป็นหนึ่งในเก้าจังหวัดในเกาหลีใต้ และมีลักษณะเป็นเกาะโดยเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ ตั้งอยู่บนช่องแคบเกาหลี, อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ใต้ของจังหวัดช็อลลาใต้ เป็นจังหวัดที่จังหวัดเชจูได้แยกออกมามีฐานะเป็นจังหวัดเมื่อปี..

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและจังหวัดเชจู · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลบันดา

ตำแหน่งของทะเลบันดาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทะเลบันดา (Laut Banda; Banda Sea) ตั้งอยู่ทางใต้ของหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย วัดจากทิศตะวันตกมาทิศตะวันออก กว้างประมาณ 1,000 กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้ยาวประมาณ 500 กิโลเมตร บันดา หมวดหมู่:ทะเลในประเทศอินโดนีเซีย.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและทะเลบันดา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลฟิลิปปิน

ทะเลฟิลิปปิน ทะเลฟิลิปปิน (Dagat Pilipinas; Philippine Sea) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ มีร่องลึกได้แก่ ร่องลึกฟิลิปปินเทรนซ์และมาเรียนาเทรนซ์ ที่เป็นจุดลึกที่สุดในโลก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและทะเลฟิลิปปิน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลลัปเตฟ

ทะเลลัปเตฟเทียบกับไซบีเรียและทะเลที่อยู่ใกล้เคียง ทะเลลัปเตฟ (мо́ре Ла́птевых; Laptev Sea) เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอาร์กติก ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของภูมิภาคไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย โดยทิศตะวันตกติดกับทะเลคารา ทิศตะวันออกติดทะเลไซบีเรียตะวันออก มีพื้นที่ 672,000 ตารางกิโลเมตร และสามารถใช้เดินเรือได้ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน แม่น้ำสำคัญที่ไหลลงสู่ทะเลลัปเตฟ คือ แม่น้ำเลียนา ทะเลแห่งนี้เป็นทะเลลึก มีความลึกโดยเฉลี่ย 540 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีความลึก 3,385 เมตร ทะเลนี้ถูกตั้งชื่อตามดมีตรี ลัปเตฟ และคารีตอน ลัปเตฟ นักสำรวจชาวรัสเซีย ซึ่งก่อนหน้านั้นชาวรัสเซียเคยเรียกว่า ทะเลนอร์เดนชอลด์ (мо́ре Норденшельда) ตามชื่อของอะดอล์ฟ เอริก นูร์เดนเชิลด์ นักสำรวจคนก่อนซึ่งเป็นชาวสวีเดน Laptev sea sunset.JPG|ทะเลลัปเตฟ.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและทะเลลัปเตฟ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลจีนตะวันออก

ทะเลจีนตะวันออก ทะเลจีนตะวันออก ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศจีน ทางทิศเหนือติดกับทะเลเหลือง ทิศตะวันออกติดกับหมู่เกาะโอะกินะวะ ทิศใต้ติดกับทะเลจีนใต้และช่องแคบไต้หวัน หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์จีน หมวดหมู่:มหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ญี่ปุ่น หมวดหมู่:ไต้หวัน จีนตะวันออก หมวดหมู่:ทะเลจีนตะวันออก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและทะเลจีนตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลติมอร์

ที่ตั้งของทะเลติมอร์ ทะเลติมอร์ (Laut Timor; Mar Timor; Timor Sea) เป็นทะเลที่ตั้งอยู่บริเวณเกาะติมอร์และประเทศติมอร์-เลสเต ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะติมอร์ ระหว่างติมอร์ในประเทศอินโดนีเซีย ติมอร์-เลสเต และประเทศออสเตรเลีย หมวดหมู่:มหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:ทะเลในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:ประเทศติมอร์-เลสเต หมวดหมู่:ประเทศออสเตรเลีย ติมอร์.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและทะเลติมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลโมลุกกะ

ตำแหน่งของทะเลโมลุกกะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทะเลโมลุกกะ (Molucca Sea; Laut Maluku) ตั้งอยู่ระหว่างทะเลบันดากับทะเลเซเลบีส ในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:ทะเลในประเทศอินโดนีเซีย มโลุกกะ.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและทะเลโมลุกกะ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกใต้

ั้วโลกใต้ (South Pole) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและขั้วโลกใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกเหนือ

ั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เป็นจุดที่ถือว่าอยู่ทางเหนือที่สุดของโลก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและขั้วโลกเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ควังจู

วังจู (ชื่ออย่างเป็นทางการ มหานครควังจู; (광주광역시; Gwangju) เป็นเมืองใหญ่เป็นอับดับที่ 6 ของประเทศเกาหลีใต้ มีฐานะเป็นมหานครขึ้นโดยตรงกับกระทรวงมหาดไทย เมืองควังจูเคยเป็นเมืองหลวงของจังหวัดจอลลาใต้ จนกระทั่งศาลากลางจังหวัดได้ย้ายไปยังหมู่บ้านนามัค ในเมืองชนบทมูอัน ในปี 2548 ควัง (광, ฮันจา 光) หมายถึง "แสงสว่าง" และ จู (주, ฮันจา 州) หมายถึง "จังหวัด" พื้นที่ทิวทัศน์ที่สวยงามในพื้นที่รอบนอกของเมืองเป็นแหล่งกำเนิดของคาซา (gasa) ซึ่งเป็นรูปแบบกวีดั้งเดิมของเกาหลี พื้นที่ของเมืองตั้งอยู่ใจกลางพื้นที่เพาะปลูกของภูมิภาคช็อลลา โดยเมืองมีชื่อเสียงเรื่องความอุดมสมบูรณ์และมีอาหารเกาหลีหลายอย่าง.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและควังจู · ดูเพิ่มเติม »

ซูว็อน

ซูว็อน (ฮันกึล: 수원, ฮันจา: 水原, เสียงอ่าน) เป็นเมืองเอกของจังหวัดคย็องกี เป็นหนึ่งในเมืองสำคัญของเกาหลีใต้มีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคน ซูว็อนตั้งอยู่ทางตอนใต้ของโซล โดยห่างจากโซลประมาณ 30 กิโลเมตร ซูว็อนเป็นเมืองที่ยังคงกลิ่นอายของวัฒนธรรมโบราณของเกาหลี โดยเริ่มจากการเป็นหมู่บ้านเล็กๆจนในปัจจุบันเป็นเมืองอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมที่สำคัญของเกาหลีใต้ในปัจจุบัน โดยซูว็อนเป็นเมืองเดียวในเกาหลีใต้ที่ยังคงมีกำแพงเมืองที่มีสภาพสมบูรณ์อยู่ โดยกำแพงเมืองนี้ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลักที่นักท่องเที่ยวอยากมาชมของจังหวัดคย็องกี เช่นเดียวกับการเป็นเมืองอุตสาหกรรม ซูว็อนเป็นที่ตั้งของโรงงานใหญ่ของซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ซูว็อนมีทางด่วนสองสาย, เครือข่ายรถไฟของชาติและรถไฟไต้ดินของนครพิเศษโซล ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกในการเดินทาง การท่องเที่ยว และการขนส่ง ซูว็อนถือเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งการศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยถึง 11 แห่ง จากสิ่งนี้พร้อมด้วยเครือข่ายการขนส่งมวลชนสามารถดึงดูดผู้อยู่อาศัยจากทั่วประเทศและชาวต่างประเทศเป็นจำนวนประชากรถึง 1.85% ซูว็อนยังมีสโมสรฟุตบอลที่มีเชื่อเสียงอย่างซูว็อนซัมซุงบลูวิงส์ ซึ่งเป็นแชมป์เค-ลีก 4 สมัย และเป็นแชมป์เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2 สมั.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและซูว็อน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำลีนา

แม่น้ำลีนา (Lena; Ле́на) เป็นแม่น้ำยาวประมาณ 4,400 กิโลเมตร เกิดจากภูเขาทางด้านตะวันตกของทะเลสาบไบคาล ไหลผ่านไซบีเรียลงสู่อ่าวลัปเตฟ ในมหาสมุทรอาร์กติก น้ำในแม่น้ำนี้มีน้ำแข็งปกคลุมมากกว่าปีละ 8 เดือน โดยจะเริ่มแข็งเป็นน้ำแข็งในช่วงปลายปีของทุกปี ราวเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม โดยชั้นน้ำแข็งหนากว่า 1 เมตร และจะละลายอย่างรวดเร็วและเชี่ยวกรากในช่วงก่อนถึงฤดูร้อนไม่นาน ระหว่างที่อยู่ในฤดูร้อนน้ำจะเอ่อล้นท่วมเขตที่เป็นทุ่งหญ้า และเมื่อน้ำแห้งลงพื้นดินก็จะปกคลุมไปด้วยหญ้าเขียวขจี บรรดานกอพยพต่าง ๆ จะอพยพมาอาศัยและหากินอยู่ที่นี่ อุณหภูมิที่สูงที่สุดอาจสูงได้ถึง 35 องศาเซลเซียส โดยช่วงฤดูร้อนจะมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ก่อนที่ในเดือนกันยายน หิมะจะเริ่มตกอีกครีั้ง แม่น้ำลีนา ยังเป็นสถานที่ตั้งสำคัญของเสาหินลีนา ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองยาคุตสค์ ในสาธารณรัฐซาฮา ซึ่งเป็นสถานที่ทางธรรมชาติที่มีความสวยงามของเสาหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ เมื่อปี..

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและแม่น้ำลีนา · ดูเพิ่มเติม »

โซล

ซล (ซออุล) ชื่ออย่างเป็นทางการ นครพิเศษโซล เป็นเมืองหลวงและมหานครที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน เป็นปริมณฑลที่ใหญ่ มีประชากรประมาณ 25 ล้านคนซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งประกอบด้วยบริเวณมหานครอินช็อนและจังหวัดคย็องกี เกือบหนึ่งในสี่ของประชากรชาวเกาหลีใต้อาศัยอยู่ในโซลและชาวต่างชาติอีกประมาณ 275, 000 คน นครโซลได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ระดับหลายเหตุการณ์ โดยการใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเพิ่มอิทธิพลในฐานะประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติมากเป็นอันดับที่ 5 ในปี 2553 โซลได้รับการโหวตให้เป็นเป้าหมายยอดนิยมในการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวจีน, ญี่ปุ่นและไทย 3 ปีต่อเนื่องกันในปี 2554 สถานีรถไฟโซลเป็นสถานีปลายทางหลักของรถไฟความเร็วสูงเคทีเอ๊กซ์และสถานีรถไฟใต้ดินโซลยังเป็นสถานีที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอับดับที่สองของโลกโดยมีลักษณะเป็นสายวงรอบที่ยาวที่สุดและและมีเส้นทางรถไฟไต้ดินจนสุดสายที่ยาวเป็นอับดับที่สองของโลก โซลนั้นได้รวมระบบขนส่งมวลชนเข้ากับเมืองอินช็อนและจังหวัดคย็องกี โดยสามารถให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟไต้ดินได้อย่างอิสระโดยใช้บัตรที-มันนี่และเชื่อมต่อโดยทางเอเร็กซ์เพื่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ซึ่งถูกจัดเป็นสนามบินยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี 2548 โดยสภาการท่าอากาศยานนานาชาติ โซลเคยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 1986, โอลิมปิกฤดูร้อน 1988, ฟุตบอลโลก 2002 และการประชุมสุดยอด จี-20 2010 โซลได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการออกแบบในปี 2553 โดยสมาคมออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาต.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและโซล · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 126 องศาตะวันออก

้นเมริเดียน 126 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 126 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 54 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 126 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 128 องศาตะวันออก

้นเมริเดียน 128 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 128 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 52 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 128 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนแรก

แนวเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านเมืองกรีนิช เส้นเมริเดียนแรก (prime meridian) เป็นเส้นเมริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0° การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นเมริเดียนแรกในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมริเดียนสากล หรือ เส้นเมริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นเมริเดียนแรกเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่น ๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นเมริเดียนแรกเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 127 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนแรก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »