เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือ

ดัชนี เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือ

้นขนานที่ 35 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 35 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปแอฟริกา ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก ในสหรัฐอเมริกา เส้นขนานนี้กำหนดเป็นเส้นแบ่งเขตทางใต้ของรัฐเทนเนสซี, และเส้นแบ่งเขตระหว่างรัฐนอร์ทแคโรไลนา และรัฐจอร์เจีย ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 14 ชั่วโมง 31 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 9 ชั่วโมง 48 นาที ในระหว่างเหมายัน.

สารบัญ

  1. 60 ความสัมพันธ์: มหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรแปซิฟิกมณฑลชานตงมณฑลชานซีมณฑลชิงไห่มณฑลกานซู่มณฑลส่านซีมณฑลเหอหนานมณฑลเจียงซูรัฐชัมมูและกัศมีร์รัฐมิสซิสซิปปีรัฐอาร์คันซอรัฐจอร์เจียรัฐนอร์ทแคโรไลนารัฐนิวเม็กซิโกรัฐแอริโซนารัฐแอละแบมารัฐแคลิฟอร์เนียรัฐโอคลาโฮมารัฐเทนเนสซีรัฐเท็กซัสรัฐเซาท์แคโรไลนาวงกลมละติจูดสหรัฐอักไสชินองศา (มุม)อ่าวซะงะมิจังหวัดชิบะจังหวัดชิมาเนะจังหวัดชิงะจังหวัดชิซูโอกะจังหวัดช็อลลาใต้จังหวัดมิเอะจังหวัดฮิโรชิมะจังหวัดคย็องซังใต้จังหวัดโอกายามะจังหวัดโอซากะจังหวัดไอจิจังหวัดเกียวโตจังหวัดเฮียวโงะทวีปอเมริกาเหนือทวีปแอฟริกาทวีปเอเชียทะเลจีนตะวันออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทะเลเหลืองดวงอาทิตย์ครีษมายันครีตประเทศไซปรัส... ขยายดัชนี (10 มากกว่า) »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและมหาสมุทรแปซิฟิก

มณฑลชานตง

มณฑลชานตง ใช้ตัวย่อว่า 鲁 (หลู่) ที่มาของชื่อมณฑลชานตงมาจากคำว่า ชาน (山, shān) ที่หมายถึงภูเขา และคำว่า ตง (东, dōng) ที่หมายถึงทิศตะวันออก มณฑลชานตงมีเมืองหลวง (เมืองใหญ่สุด) คือเมืองจี๋หนาน มณฑลนี้มีเนื้อที่ 156,700 ตารางกิโลเมตร (อันดับที่ 20 ของจีน) แต่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของจีน คือประมาณ 91,800,000 คน (2004) มีความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 586 คนต่อตารางกิโลเมตร นับเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 5 ของจีน ตัวเลข GDP รวมในปี..

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและมณฑลชานตง

มณฑลชานซี

นซี ตามสำเนียงกลาง หรือ ซัวไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ชื่อย่อ จิ้น (晋) เป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของแม่น้ำเหลืองในภาคเหนือของประเทศจีน คำว่า "ชานซี" แปลตรงตัวว่า ทิศตะวันตกของภูเขา เนื่องจากมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกของภูเขาไท่หัง มีเมืองเอกชื่อ ไท่หยวน มีเนื้อที่ 156,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 33,350,000 คน ความหนาแน่น 213 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 304.2 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9120 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและมณฑลชานซี

มณฑลชิงไห่

มณฑลชิงไห่ ชื่อย่อ ชิง(青)‘ชิงไห่’ แปลว่าทะเลสีเขียวชื่อทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุด ของจีนที่อยู่ในมณฑล มีเมืองหลวงชี่อ ซีหนิง (西宁)มีเนื้อที่ทั้ง 721,000 ก.ม.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและมณฑลชิงไห่

มณฑลกานซู่

มณฑลกานซู่ หรือ มณฑลกังซก (จีนตัวย่อ: 甘肃省, จีนตัวเต็ม: 甘粛省) ชื่อย่อ กาน หรือ หล่ง (甘, 陇) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ตอนบนของแม่น้ำฮวงโห (แม่น้ำเหลือง) มีเมืองหลวงชื่อ หลานโจว.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและมณฑลกานซู่

มณฑลส่านซี

นซี ตามสำเนียงกลาง หรือ เจียบไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ชื่อย่อ: "ส่าน" (陕) หรือ "ฉิน" (秦)) เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ในเขตใจกลางประเทศแถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) มีเมืองหลวงชื่อ ซีอาน มีเนื้อที่ 205,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 37,050,000 คน จีดีพี 288.4 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 7,780 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น มณฑลส่านซีโดยมากมีลักษณะภูมิประเทศคล้ายแอ่งอยู่ระหว่างภูเขาหลายแห่ง.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและมณฑลส่านซี

มณฑลเหอหนาน

หอหนาน ตามสำเนียงกลาง หรือ ห้อหลำ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือชื่อย่อ อวี้ และชื่อเดิม จงโจว หรือ จงหยวน เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางตอนกลางเยื้องทางตะวันออกของประเทศ อยู่ทางตอนกลางส่วนล่างของ แม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) ซึ่งไหลผ่านเป็นระยะทาง 700 กว่ากิโลเมตร ถือเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจีน มีเมืองเอกชื่อ เจิ้งโจว (郑州) มีเนื้อที่ 167,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 97,170,000 คน ความหนาแน่น 582 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 881.5 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9070 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น มณฑลเหอหนานมีประชากรมากที่สุดในประเทศจีน ภูมิประเทศ ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาทอดตัวยาวสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ทางตะวันออกเป็นพื้นที่ราบ สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 100 เมตร จุดที่สูงที่สุดของมณฑลอยู่ที่ยอดเหล่ายาช่า ในเมืองหลิงเป่า ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2413.8 เมตร ภูมิอากาศมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนกึ่งอบอุ่น มีฤดู 4 ฤดูอย่างชัดเจน อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 13-15 องศาเซลเซียส เศรษฐกิจปี 2547 เหอหนันมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเท่ากับ 881,509 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 13.7 % อุตสาหกรรมเหอหนันถือเป็นฐานผลิตพลังงานที่สำคัญ มีธุรกิจถ่านหิน 65 ราย สามารถผลิตถ่านหินได้ปีละประมาณ 100 ล้านตัน เป็นที่ 2 ของจีน.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและมณฑลเหอหนาน

มณฑลเจียงซู

มณฑลเจียงซู (จีนตัวย่อ: 江苏省 จีนตัวเต็ม: 江蘇省 เจียงซูเฉิ่ง) ชื่อย่อ ‘ซู’ (苏) ตั้งอยู่ตอนกลางของดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อว่าหนานจิง มีเนื้อที่ 102,600 ก.ม.มีประชากร ปี 2004 74,330,000 คน จีดีพี 1.54 ล้านล้านเหรินหมินปี้ต่อประชากร 20,700 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น แม่น้ำแยงซีเกียงไหลผ่านส่วนต่าง ๆ ทางใต้ของมณฑล.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและมณฑลเจียงซู

รัฐชัมมูและกัศมีร์

ตในรัฐชัมมูและกัศมีร์ แสดงถึงเขตการปกครองและบริเวณดินแดนพิพาท รัฐชัมมูและกัศมีร์ หรือ รัฐจัมมูและแคชเมียร์ คือรัฐเหนือสุดของประเทศอินเดีย ดินแดนส่วนมากตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย นอกจากนั้นยังเป็นบริเวณพิพาทระหว่างอินเดีย ปากีสถาน และจีนด้ว.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและรัฐชัมมูและกัศมีร์

รัฐมิสซิสซิปปี

รัฐมิสซิสซิปปี (Mississippi) เป็นรัฐทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา ชื่อของรัฐมาจากชื่อแม่น้ำมิสซิสซิปปี ที่ไหลผ่านตลอดแนวตะวันตกของรัฐ โดยมีที่มาจากภาษาอินเดียนแดงมีความหมายถึง "แม่น้ำอันยิ่งใหญ่" เมืองหลวงของรัฐคือ แจ็กสัน ในปี 2559 รัฐมิสซิสซิปปีมีประชากร 3,082,495 คน.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและรัฐมิสซิสซิปปี

รัฐอาร์คันซอ

รัฐอาร์คันซอ (Arkansas) เป็นรัฐทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา มีประชากร 2,752,629 (สัมมโนปี พ.ศ. 2547) อาร์คันซอเข้าร่วมเป็นหนึ่งในสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่ 25 ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและรัฐอาร์คันซอ

รัฐจอร์เจีย

รัฐจอร์เจีย (Georgia) เป็นรัฐตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา มีรหัสไปรษณีย์ว่า GA.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและรัฐจอร์เจีย

รัฐนอร์ทแคโรไลนา

รัฐนอร์ทแคโรไลนา เป็นรัฐทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและรัฐนอร์ทแคโรไลนา

รัฐนิวเม็กซิโก

รัฐนิวเม็กซิโก (New Mexico,; Nuevo México) เป็นรัฐทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ ของสหรัฐอเมริกา ติดกับประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงของรัฐคือ ซานตาเฟ โดยมีเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือ อัลบูเคอร์คี ถึงแม้ว่าในสหรัฐอเมริกา ภาษาอังกฤษนิยมใช้กันมากที่สุด แต่ในรัฐนิวเม็กซิโกเป็นรัฐที่มีการใช้ภาษาสเปนมากที่สุดรัฐหนึ่งในสหรัฐอเมริกา โดยประชากรในรัฐประกอบด้วย ชาวอเมริกา ชาวสเปน และชาวเม็กซิโก ในปี 2550 นิวเม็กซิโกมีประชากร 1,969,915 คน.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและรัฐนิวเม็กซิโก

รัฐแอริโซนา

รัฐแอริโซนา (Arizona) เป็นรัฐขนาดใหญ่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ติดกับประเทศเม็กซิโกทางทิศใต้ เป็นหนึ่งในสี่รัฐมุมซึ่งมุมทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐชนกับอีก 3 รัฐพอดี เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐคือ ฟีนิกซ์ เมืองสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ทูซอน และเมซา ภูมิประเทศส่วนใหญ่ในรัฐมีลักษณะเป็นทะเลทราย มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในรัฐได้แก่ มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต และ มหาวิทยาลัยแอริโซนา สถานท่องเที่ยวที่สำคัญของรัฐคือ แกรนด์แคนยอน และ แอนเทโลปแคนยอน ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงในรัฐได้แก่ แอริโซนา คาร์ดินาลส์ และ ฟีนิกซ์ ซันส์แกรนด์แคนยอน ในปี 2551 แอริโซนามีประชากรประมาณ 6,338,755 คน.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและรัฐแอริโซนา

รัฐแอละแบมา

รัฐแอละแบมา (Alabama) เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกามีพื้นที่ทั้งหมด 135,775 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 4,447,100 คน ทางทิศเหนือของรัฐจรดรัฐเทเนสซี ทิศตะวันออกจรดรัฐจอร์เจีย ทิศใต้จรดรัฐฟลอริดาและอ่าวเม็กซิโก และทิศตะวันตกจรดรัฐมิสซิสซิปปี รัฐแอละแบมาเป็นรัฐที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่ 30 และเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่ 24.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและรัฐแอละแบมา

รัฐแคลิฟอร์เนีย

รัฐแคลิฟอร์เนีย (California,, แคลึฟอรฺนยะ) เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาและมีพื้นที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสาม ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตก (ติดมหาสมุทรแปซิฟิก) ของสหรัฐอเมริกา มีชายแดนติดกับรัฐแอริโซนา รัฐเนวาดาและรัฐออริกอน และมีชายแดนระหว่างประเทศติดต่อกับรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียของประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงรัฐ คือ แซคราเมนโต ลอสแอนเจลิสเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นนครใหญ่สุดอันดับสองของประเทศรองจากนครนิวยอร์ก รัฐแคลิฟอร์เนียยังมีเคาน์ตีที่มีประชากรที่สุดของประเทศ คือ ลอสแอนเจลิสเคาน์ตี และมีพื้นที่มากที่สุด คือ แซนเบอร์นาร์ดีโนเคาน์ตี ภูมิศาสตร์หลากหลายของรัฐแคลิฟอร์เนียมีตั้งแต่ชายฝั่งแปซิฟิกทางทิศตะวันตกถึงเทือกเขาเซียร์ราเนวาดาทางทิศตะวันออก และตั้งแต่ป่าเรดวูด–สนดักลาสทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงทะเลทรายโมฮาวีทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เซ็นทรัลแวลลี พื้นที่เกษตรกรรมหลัก กินพื้นที่ตอนกลางส่วนใหญ่ของรัฐ แม้รัฐแคลิฟอร์เนียจะขึ้นชื่อด้านภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่น แต่ขนาดที่ใหญ่หมายความว่าภูมิอากาศมีหลากหลายตั้งแต่ป่าฝนเขตอบอุ่นชื้นทางทิศเหนือ ถึงทะเลทรายแห้งแล้งด้านใน ตลอดจนแบบแอลป์หิมะในเขตภูเขา ทีแรกพื้นที่รัฐแคลิฟอร์เนียปัจจุบันมีชนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนมีการสำรวจของชาวยุโรปจำนวนหนึ่งระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ต่อมาจักรวรรดิสเปนอ้างสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของอัลตาแคลิฟอร์เนียในอาณานิคมนิวสเปน พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของเม็กซิโกใน..

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและรัฐแคลิฟอร์เนีย

รัฐโอคลาโฮมา

รัฐโอคลาโฮมา (Oklahoma, โอวเคฺลอะโฮ้วเม่อะ) เป็นรัฐหนึ่งใน 50 รัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา มีประชากรประมาณ 3.64 ล้านคนในปี..

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและรัฐโอคลาโฮมา

รัฐเทนเนสซี

รัฐเทนเนสซี (Tennessee) เป็นรัฐทางตะวันออกเฉียงใต้ในสหรัฐอเมริกา ชื่อของรัฐเทนเนสซีถูกบันทึกครั้งแรกโดยฮวน ปาร์โด นักสำรวจชาวสเปน ภายใต้ชื่อ "Tanasqui" ในปี พ.ศ.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและรัฐเทนเนสซี

รัฐเท็กซัส

ท็กซัส (Texas) เป็นรัฐที่อยู่ทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ทั้งหมด 695,622 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 22.8 ล้านคน เท็กซัสเป็นรัฐที่ใหญ่เป็นอันดับสองทั้งพื้นที่และประชากร รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับที่ 28 ในปี พ.ศ.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและรัฐเท็กซัส

รัฐเซาท์แคโรไลนา

ซาท์แคโรไลนา (South Carolina) เป็นรัฐของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก ชื่อของรัฐตั้งตั้งตามชื่อของ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ของอังกฤษ โดยคำว่า กาโรลุส (Carolus) เป็นภาษาละตินของคำว่า ชาลส์ (Charles) ประชากรในรัฐมี 4,198,068 (ข้อมูล พ.ศ.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและรัฐเซาท์แคโรไลนา

วงกลมละติจูด

วงกลมละติจูด (Circle of Latitude) หรือ เส้นขนาน (Parallel) เป็นเส้นสมมติในแนวตะวันออก-ตะวันตกของโลก ลากเชื่อมจุดต่างๆ ที่มีพิกัดละติจูดเท่ากัน วงกลมละติจูดวัดจากการหมุนรอบตัวของโลก โดยจะตั้งฉากกับแกนหมุนเสมอ และมีวงกลมละติจูดพิเศษ 4 เส้นที่นำมาจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ วงกลมละติจูดที่สำคัญมี 5 เส้นคือ.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและวงกลมละติจูด

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและสหรัฐ

อักไสชิน

แผนที่แสดงอาณาเขตของอักไสชิน (สีแดง) อักไสชิน (Aksaichin;; अक्साई चिन, อักสาอี จิน; ภาษาอูรดู: اکسائی چن; اقصای چین) เป็นที่ราบสูงกว้างใหญ่ในลาดัก รัฐชัมมูและกัษมีระ ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาคุนหลุนของจีนกับเทือกเขาคาราโครัมทางเหนือของอินเดีย พื้นที่เป็นหินสีขาวขนาดใหญ่ ลาดชัน ขรุขระ แห้งแล้ง มีประชากรอยู่น้อยมาก เมื่อจีนยึดครองทิเบตมาอยู่ในการดูแลได้ใน..

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและอักไสชิน

องศา (มุม)

องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและองศา (มุม)

อ่าวซะงะมิ

อ่าวซะงะมิ หรือที่รู้จักในชื่อว่า ทะเลซะงะมิ ทอดตัวอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดคะนะงะวะบนเกาะฮอนชู ทางตอนกลางของญี่ปุ่น อยู่ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 40 กิโลเมตร.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและอ่าวซะงะมิ

จังหวัดชิบะ

ังหวัดชิบะ เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น อยู่ในเขตคันโต บนเกาะฮนชู มีเมืองเอกชื่อเดียวกันคือ ชิบะ จังหวัดชิบะเป็นที่ตั้งของสนามบินนะริตะซึ่งอยู่ในเมืองนะริตะ และโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต (ประกอบด้วยโตเกียวดิสนีย์แลนด์และโตเกียวดิสนีย์ซี) ซึ่งอยู่ในเมืองอุระยะซ.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและจังหวัดชิบะ

จังหวัดชิมาเนะ

จังหวัดชิมาเนะ เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคชูโงกุบนเกาะฮนชู ลักษณะภูมิศาสตร์ของจังหวัดชิมาเนะเป็นที่ราบสลับหุบเขาสูงทิศเหนือติดกับทะเลญี่ปุ่น ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดยามางูจิ ทิศใต้ติดกับจังหวัดฮิโรชิมะ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดทตโตริ จังหวัดชิมาเนะมีเมืองหลวงชื่อเมืองมัตสึเอะ ตั้งอยู่ริมทะเลสาบชินจิโกะ ซึ่งทะเลสาบแห่งนี้มีทัศนียภาพที่สวยงามยามเย็นเวลาพระอาทิตย์ตกดิน ยังมีปราสาทมัตสึเอะปราสาทเก่าแก่โบราณ มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ โบราณสถานโคจินดานิ ตั้งอยู่ที่เมืองฮิกะวะ เป็นที่ที่ขุดพบดาบสัมฤทธิ์จำนวนมากถึง 358 เล่ม และในปีต่อมาก็มีการขุดพบทวน 16 เล่ม ระฆังสำริด 6 ใบ ปัจจุบันได้มีจัดแสดงภาพการจำลองตอนขุดพบ รวมทั้งจำลองบ้านทรงกระโจมกึ่งใต้ดินเอาไว้ให้ชม หมวดหมู่:จังหวัดในประเทศญี่ปุ่น หมวดหมู่:จังหวัดชิมาเนะ.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและจังหวัดชิมาเนะ

จังหวัดชิงะ

ังหวัดชิงะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคคันไซ มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโอสึ มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 4,017.36 ตารางกิโลเมตร.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและจังหวัดชิงะ

จังหวัดชิซูโอกะ

ังหวัดชิซูโอกะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในภูมิภาคชูบุ บนเกาะฮนชู เมืองหลักใช้ชื่อเดียวกันคือเมืองชิซูโอกะ (静岡市 Shizuoka-shi) จังหวัดนี้เป็นที่ตั้งของภูเขาฟูจิ (富士山 Fuji-san) และมีชื่อเสียงของการปลูกชาเขียวที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและจังหวัดชิซูโอกะ

จังหวัดช็อลลาใต้

ังหวัดช็อลลาใต้ เป็นจังหวัดในเกาหลีใต้ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่ปี 2439 โดยแยกออกจากจังหวัดช็อลลาเดิมทางด้านใต้ และยังคงเป็นจังหวัดของเกาหลีจนกระทั่งมีการแบ่งเกาหลีในปี 2488 และหลังจากนั้นก็หลายเป็นส่วนหนึ่งของเกาหลีใต้ โดยมีควังจูเป็นเมืองเอกของจังหวัด จนกระทั่งมีการย้ายศาลากลางจังหวัดไปยังตอนใต้ของหมู่บ้านนามัก เมืองชนบทมูอัน ในปี 2548.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและจังหวัดช็อลลาใต้

จังหวัดมิเอะ

ังหวัดมิเอะ เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคคิงกิบนเกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น เมืองเอกคือเมืองทสึ.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและจังหวัดมิเอะ

จังหวัดฮิโรชิมะ

ังหวัดฮิโรชิมะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคจูโงกุของญี่ปุ่นมีเมืองเอกในชื่อเดียวกันคือ นครฮิโรชิมะ left.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและจังหวัดฮิโรชิมะ

จังหวัดคย็องซังใต้

ังหวัดคย็องซังใต้ เป็นจังหวัดที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเกาหลีใต้ โดยมีเมืองเอกตั้งอยู่ที่ชังว็อน โดยประกอบด้วยมหานครหลักและท่าเรือปูซาน โดยมีวัดแฮอินซาที่เป็นมรดกโลกของยูเนสโก โดยเป็นวัดแบบพุทธ ซึ่งเป็นที่อยู่ของ พระไตรปิฎกแห่งชาติเกาหลี ทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก มีโรงงานประกอบรถยนต์และปิโตรเคมีขนาดใหญ่ตั้งเรียงรายอยู่ทางภาคใต้ของจังหวัดขยายจากเมืองอุลซัน ไปสู่ปูซาน ชังว็อน และชินจู.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและจังหวัดคย็องซังใต้

จังหวัดโอกายามะ

ังหวัดโอกายามะ ตั้งอยู่บริเวณภาคจูโงะกุ บนเกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโอกายาม.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและจังหวัดโอกายามะ

จังหวัดโอซากะ

ลากลางจังหวัดโอซากะ จังหวัดโอซากะ เป็นส่วนหนึ่งของเขตแดนคันไซ ภูมิภาคคิงกิ เกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น มีเมืองเอกคือโอซากะ เป็นใจกลางของพื้นที่เคียวโตะ-โอซากะ-.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและจังหวัดโอซากะ

จังหวัดไอจิ

ังหวัดไอจิ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในภูมิภาคจูบุ ประเทศญี่ปุ่น เมืองศูนย์กลางคือ นาโง.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและจังหวัดไอจิ

จังหวัดเกียวโต

ังหวัดเกียวโต เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่บนเกาะฮนชู มีเมืองหลักชื่อเดียวกันคือเมืองเกียวโต มีความสำคัญเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น มีโบราณวัตถุมากมาย มีชื่อในการทำผ้าไหมและแพร.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและจังหวัดเกียวโต

จังหวัดเฮียวโงะ

ังหวัดเฮียวโงะ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะฮนชู ในจังหวัดเฮียวโงะมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์คือ หลุมศพโกะฉิขิสึกะโขะฟุน จังหวัดเฮียวโงะเคยประสบกับแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในโลกที่เมืองโคเบะ (โกเบ) เมื่อปี..

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและจังหวัดเฮียวโงะ

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและทวีปอเมริกาเหนือ

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและทวีปแอฟริกา

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและทวีปเอเชีย

ทะเลจีนตะวันออก

ทะเลจีนตะวันออก ทะเลจีนตะวันออก ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศจีน ทางทิศเหนือติดกับทะเลเหลือง ทิศตะวันออกติดกับหมู่เกาะโอะกินะวะ ทิศใต้ติดกับทะเลจีนใต้และช่องแคบไต้หวัน หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์จีน หมวดหมู่:มหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ญี่ปุ่น หมวดหมู่:ไต้หวัน จีนตะวันออก หมวดหมู่:ทะเลจีนตะวันออก.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและทะเลจีนตะวันออก

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

วเทียมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร คำในภาษาอังกฤษ Mediterranean มาจากภาษาละติน mediterraneus หมายถึง 'ภายในแผ่นดิน' (medius 'กลาง' terra 'แผ่นดิน, โลก') ในภาษากรีกใช้ว่า "mesogeios".

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ทะเลเหลือง

ภาพแสดงประเทศที่ล้อมรอบทะเลเหลือง ทะเลเหลือง (黄海; 황해 หรือ 서해; Yellow Sea) เป็นบริเวณทะเลทางเหนือของทะเลจีนตะวันออก ซึ่งคล้ายทะเลปิด แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ ทะเลเหลืองตั้งอยู่ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับคาบสมุทรเกาหลี ชื่อว่าทะเลเหลืองนี้มาจากละอองทรายซึ่งมาจากแม่น้ำเหลืองและทำให้สีของน้ำทะเลเป็นสีเหลือง ทะเลเหลือง หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์จีน หมวดหมู่:ประเทศเกาหลี.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและทะเลเหลือง

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและดวงอาทิตย์

ครีษมายัน

แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในส่วนครึ่งซีกโลกเหนือในวันครีษมายัน ครีษมายัน หรือ อุตตรายัน (summer solstice) เป็นการที่ดวงอาทิตย์ โคจรไปถึงจุดหยุด (solstice) คือ จุดสุดทางเหนือในราววันที่ 20 มิถุนายน หรือ 21 มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันนานกว่ากลางคืน, ตรงข้ามกับ เหมายัน (winter solstice) (สันสกฤต: คฺรีษฺม + อายนฺ).

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและครีษมายัน

ครีต

รีต (Crete) หรือ ครีตี (Κρήτη: Krētē, Kriti) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะกรีกและเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับห้าในบรรดาเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่มีเนื้อที่ 8,336 ตารางกิโลเมตร ครีตเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมมิโนอัน (Minoan civilization) ที่เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาอารยธรรมกรีกที่รุ่งเรืองระหว่างราว 2600 ถึง 1400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในปัจจุบันครีตเป็นหนึ่งในสิบสามเขตการปกครองของกรีซ (Peripheries of Greece) และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมต่อกรีซ เดิมเกาะครีตรู้จักกันในชื่อภาษาอิตาลีว่า “คันเดีย” (Candia) จากชื่อเมืองหลวงในยุคกลางเฮราคลิออน (Heraklion) “Chandax” (ภาษากรีก: Χάνδαξ หรือ Χάνδακας, "คู", ตุรกี: Kandiye) ในภาษาละตินเรียกว่า “เครตา” (Creta) และในภาษาตุรกีเรียกว่า “กิริต” (Girit) ที่ตั้งของครีตมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ในปัจจุบันเป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ครีตเป็นที่ตั้งของ สถาที่สำคัญของอารยธรรมมิโนอันที่รวมทั้งคนอสซอส และ ไฟทอส (Phaistos), กอร์ทิส (Gortys), เมืองท่าคาเนีย (Chania) ของเวนิส, ปราสาทเวนิสที่เรธิมโน (Rethymno) และ ซอกเขาซามาเรีย (Samaria Gorge) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเกาะครีตเป็นฐานทัพเรือของอิตาลี.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและครีต

ประเทศไซปรัส

ซปรัส (Cyprus; Κύπρος คีโปรส; Kıbrıs) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐไซปรัส (Republic of Cyprus; Κυπριακή Δημοκρατία; Kıbrıs Cumhuriyeti) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออก อยู่ทางใต้ของประเทศตุรกี 44 ไมล์ อยู่ทางตะวันตกของชายฝั่งประเทศซีเรียประมาณ 64 ไมล์ และห่างจากเกาะโรดส์ และเกาะคาร์ปาทอส ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรีซ 240 ไมล์ ไซปรัสเป็นจุดหมายหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่นักท่องเที่ยวนิยมไปมากที่สุด โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 2.4 ล้านคนต่อปี ไซปรัสได้รับเอกราชจากการเป็นอาณานิคมจากสหราชอาณาจักร เมื่อปี 1960 และเป็นประเทศสมาชิกในเครือจักรภพในปี 1961.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและประเทศไซปรัส

ปูซาน

ปูซาน หรือ พูซัน เป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเกาหลีใต้ มีประชากรประมาณ 3.65 ล้านคน และปูซานยังคงเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับ 2 ของประเทศรองจาก โซล บริเวณที่แออัดของปูซานตั้งอยู่บริเวณหุบเขาแคบระหว่างแม่น้ำ นักดง และ แม่น้ำซูหยอง ปูซานได้เคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 2002 และงานเอเปค 2005 ที่ผ่านมา และยังคงเป็นเมืองหนึ่งที่ร่วมจัดการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2002 นอกจากนี้ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 ปูซานได้เข้าร่วมประมูลเพื่อจะเป็นเจ้าภาพจัดงานแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2020.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและปูซาน

แอโครเทียรีและดิเคเลีย

แอโครเทียรีและดิเคเลีย (Akrotiri and Dhekelia) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร แอโครเทียรีและดิเคเลียเป็นพื้นที่ฐานอำนาจอธิปไตยตั้งอยู่บนเกาะไซปรัส ซึ่งบริหารจัดการโดยกองทัพสหราชอาณาจักร หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลที่นี่คือกระทรวงกลาโหม ดินแดนนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 254 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 7,500 คน ดินแดนนี้เป็นดินแดนที่มีข้อพิพาทกับประเทศไซปรัสต้องการที่จะปกครองดินแดนนี้แทนสหราชอาณาจักร อาณาเขตของดินแดนครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3% ของเกาะไซปรัส ดินแดนนี้มีพื้นที่สองส่วนแยกกัน คือแอโครเทียรีมีพื้นที่ 123 ตารางกิโลเมตร และดิเคเลียมีพื้นที่ 131 ตารางกิโลเมตร แอโครเทียรีตั้งอยู่ทางใต้ของเกาะไซปรัส ส่วนดิเคเลียตั้งอยู่ทางตะวันออก ซึ่งอยู่ในเขตของไซปรัสเหนือ.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและแอโครเทียรีและดิเคเลีย

แคว้นไคเบอร์ปัคตูนควา

อร์ปัคตูนควา (خیبر پختونخوا; خیبر پښتونخوا; Khyber Pakhtunkhwa, KPK) เป็นแคว้นหนึ่งในสี่แห่งของประเทศปากีสถาน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตกิลกิต-บัลติสถาน เขตอาซาดแคชเมียร์ ดินแดนสหพันธ์ชนเผ่า อิสลามาบาดแคพิทัลเทร์ริทอรี แคว้นปัญจาบ แคว้นบาลูจิสถาน และยังติดต่อกับประเทศอัฟกานิสถานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จากการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุดเมื่อ..

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและแคว้นไคเบอร์ปัคตูนควา

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและโลก

เกาะฮนชู

นชู (สำเนียงญี่ปุ่นอ่านว่า) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นพื้นที่กว่าร้อยละ 60 ของประเทศญี่ปุ่น มีพื้นที่ 227,962.59 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าเกาะอังกฤษเล็กน้อย มีความยาวประมาณ 1,300 กิโลเมตร ความกว้างตั้งแต่ 50-250 กิโลเมตร มีชายฝั่งติดทะเลยาวกว่า 5,450 กิโลเมตรรอบเกาะGeography of the World.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและเกาะฮนชู

เส้นศูนย์สูตร

้นศูนย์สูตรบนแผนที่โลก ในทางภูมิศาสตร์ เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก เป็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านเส้นศูนย์กลางวงกลม แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่า ๆ กัน ผู้สังเกตที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร มีระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนยาวนานเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี และเห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงของวันวิษุวัต เส้นศูนย์สูตรของโลกมีความยาวประมาณ 40,075 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นหนึ่งในละติจูด 5 เส้นสำคัญของโลก เป็นละติจูดที่เรียกว่า "Great Circle" ที่ลากแบ่งครึ่งโลกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางและมีรัศมีเท่า ๆ กัน เมื่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกเป็นระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ออกไปตัดทรงกลมฟ้า เกิดเป็นวงกลมใหญ่ เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator).

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและเส้นศูนย์สูตร

เส้นขนานที่ 36 องศาเหนือ

้นขนานที่ 36 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 36 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปแอฟริกา ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและเส้นขนานที่ 36 องศาเหนือ

เส้นเมริเดียนแรก

แนวเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านเมืองกรีนิช เส้นเมริเดียนแรก (prime meridian) เป็นเส้นเมริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0° การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นเมริเดียนแรกในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมริเดียนสากล หรือ เส้นเมริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นเมริเดียนแรกเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่น ๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นเมริเดียนแรกเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน.

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและเส้นเมริเดียนแรก

เหมายัน

แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในส่วนครึ่งซีกโลกใต้ในวันเหมายัน เหมายัน (เห-มา-ยัน) หรือ ทักษิณายัน (winter solstice) เป็นการที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงจุดหยุด (solstice) คือ จุดสุดทางใต้ในราววันที่ 22 ธันวาคม เป็นจุดในฤดูหนาวในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้จะเกิดขึ้นราวเดือนมิถุนายน มีกลางคืนนานกว่ากลางวัน, ตรงข้ามกับครีษมายัน (summer solstice).

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและเหมายัน

เขตปกครองตนเองทิเบต

ตปกครองตนเองทิเบต (ทิเบต:བོད་- โบด์; ซีจ้าง) เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศและอ๊อกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองทิเบต ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma) ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa).

ดู เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือและเขตปกครองตนเองทิเบต

ปูซานแอโครเทียรีและดิเคเลียแคว้นไคเบอร์ปัคตูนควาโลกเกาะฮนชูเส้นศูนย์สูตรเส้นขนานที่ 36 องศาเหนือเส้นเมริเดียนแรกเหมายันเขตปกครองตนเองทิเบต