โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เสือใหญ่ (วงดนตรี)

ดัชนี เสือใหญ่ (วงดนตรี)

ือใหญ่ เป็นวงดนตรีโมเดิร์นร็อกไทย ประกอบด้วยสมาชิก 5 คน โดยมีนักแสดงที่เป็นที่รู้จักอย่าง อรรถพร ธีมากร เป็นนักร้องนำ.

7 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2548กรุงเทพมอเดิร์นร็อกอรรถพร ธีมากรออลเทอร์นาทิฟร็อกประเทศไทยป็อปร็อก

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เสือใหญ่ (วงดนตรี)และพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพ

กรุงเทพ อาจหมายถึง; ดินแดนและการปกครอง.

ใหม่!!: เสือใหญ่ (วงดนตรี)และกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

มอเดิร์นร็อก

มอเดิร์นร็อก เป็นคำที่มักใช้อธิบายถึงดนตรีร็อก ที่มักใช้ในสถานีวิทยุในสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มแรกใช้กับเพลงพังก์ร็อกในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 แต่จะเริ่มนิยมใช้ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 และคำว่า มอเดิร์นร็อกก็ทำให้เห็นคำแตกต่างเมื่อเทียบกับคำว่า คลาสสิกร็อก ที่จะมุ่งประเด็นเพลงในคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 และยิ่งชัดเจนขึ้นเมื่อสถานีวิทยุที่เล่นเพลงประเภทออลเทอร์นาทิฟร็อก เรียกตนเองว่า สถานีวิทยุทางเลือก (ออลเทอร์นาทิฟ) และในปี 1988 นิตยสารบิลบอร์ดได้มีการจัดชาร์ตที่ชื่อว่า มอเดิร์นร็อกแทร็กส์ชาร์ท (Modern Rock Tracks chart).

ใหม่!!: เสือใหญ่ (วงดนตรี)และมอเดิร์นร็อก · ดูเพิ่มเติม »

อรรถพร ธีมากร

อรรถพร ธีมากร (หนุ่ม) เกิดวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2516 เป็นนักแสดง นักร้อง นักดนตรี พิธีกร และผู้กำกับละคร บุตรของนายพูลสวัสดิ์ ธีมากร นักแสดงอาวุโส เข้าสู่วงการบันเทิงหลังไปออกรายการ จันทร์กะพริบ กับคุณพ่อ โดยเล่นละครเรื่อง "รุ่นหนึ่งตึกห้าหน้าเดิน" เป็นเรื่องแรก ต่อมามีผลงานแสดงละครและภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง โดยผลงานภาพยนตร์สร้างชื่อ คือ 2499 อันธพาลครองเมือง และยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง เดอะ เลตเตอร์ จดหมายรัก ในการประกาศรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี 2547 มีเพื่อนสนิทในวงการ คือ "กัปตัน" ภูธเนศ หงษ์มานพ และ "ติ๊ก" เจษฎาภรณ์ ผลดี ด้านการศึกษาและชีวิตส่วนตัว จบบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สมรสกับ อริญรดา ปิติมารัชต์ มีบุตรชาย 2 คน ชื่อ อันดาและอดัม.

ใหม่!!: เสือใหญ่ (วงดนตรี)และอรรถพร ธีมากร · ดูเพิ่มเติม »

ออลเทอร์นาทิฟร็อก

ออลเทอร์นาทิฟร็อก (alternative rock) ในบางครั้งอาจเรียกว่า ออลเทอร์นาทิฟ (alternative) หรือ ออลต์ร็อก (alt rock) เป็นแนวเพลงร็อกที่เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในคริสต์ทศวรรษ 1990 คำว่าออลเทอร์นาทิฟถูกคิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 อธิบายถึงแนวเพลงได้รับแรงบันดาลใจจากพังก์ร็อก โดยอยู่ค่ายเพลงอิสระ ที่ไม่ได้อยู่ในกระแสนิยมในช่วงเวลานั้น ในความหมายทางด้านดนตรี ซึ่งเรียกสั้น ๆ ว่า "อินดี้" ออลเทอร์นาทิฟประกอบด้วยเพลงหลากหลายแนวรวมกันทั้งกรันจ์ บริตป็อป กอทิกร็อก และอินดี้ป็อป ที่ถูกรวมกันโดยลักษณะพื้นฐานของพังก์ที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญของดนตรีออลเทอร์นาทิฟร็อกในทศวรรษที่ 1980 ออลเทอร์นาทิฟยุคแรก ๆ ถือกำเนิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา คริสต์ทศวรรษ 1970 ในนามของวงพังก์ร็อกคือวงเดอะ ราโมนส์ ก่อนที่จะมาเป็นออลเทอร์นาทิฟเต็มตัวและแพร่หลายในคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยมีวงอาร์.อี.เอ็ม. และเรดฮ็อตชิลิเป็ปเปอร์ส ปลุกกระแสแนวเพลงนี้ จนปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 เข้าสู่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นช่วงที่แนวเพลงออลเทอร์นาทิฟรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีวงดัง ๆ ระดับโลกเกิดขึ้นมากมาย เช่น เนอร์วานา โอเอซิส เรดิโอเฮด เดอะไวต์สไตรปส์ กรีนเดย์ มิวส์ ลิงคินพาร์ก เป็นต้น.

ใหม่!!: เสือใหญ่ (วงดนตรี)และออลเทอร์นาทิฟร็อก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: เสือใหญ่ (วงดนตรี)และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ป็อปร็อก

ป็อปร็อก คือแนวเพลงที่ผสมระหว่างแนวป็อปกับร็อก จากหนังสือ American Popular Music อธิบายคำว่าป็อปร็อกไว้ว่า "คือดนตรีร็อกหลากหลายในจังหวะเร็ว เช่นศิลปินอย่าง เอลตัน จอห์น, พอล แม็กคาร์ทนีย์, เอเวอร์รีบราเธอร์ส, ร็อด สจ๊วต, ชิคาโก, ปีเตอร์ แฟรมป์ตัน" ส่วนนักวิจารณ์เพลงที่ชื่อ จอร์จ สตารโรสตินอธิบายว่า คือ แนวเพลงย่อยของป็อป ที่ใช้ท่อนติดหูที่มีการใช้กีตาร์เป็นหลัก ส่วนเนื้อเพลงป็อปร็อกจะดูรองกว่าด้านดนตรี ฟิลิป ออสแลนเดอร์ แสดงความแตกต่างระหว่างป็อปกับร็อกว่า ป็อปร็อกจะดูชัดเจนในอเมริกามากกว่าในสหราชอาณาจักร เขาอ้างว่า ในอเมริกา ป็อปมีรากฐานมาจากเพลงฮัมของคนขาวอย่างเช่น เพอร์รี โคโม ส่วนร็อกจะได้รับอิทธิพลมาจากคนแอฟริกัน-อเมริกัน อย่างดนตรีร็อกแอนด์โรล ออสแลนเดอร์ชี้ว่า แนวความคิดของป็อปร็อกคือการผสมผสานเพลงป็อปกับร็อกที่ดูจะตรงข้ามกัน นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการกล่าวว่า เพลงป็อป จะดูไม่จริง ดูเย้ยหยัน ทำเพื่อการค้า ดูเป็นสูตรสำเร็จของการบันเทิง ในทางตรงข้าม ร็อกแสดงความจริง ความจริงใจ ปฏิเสธการค้าขาย โดยเน้นเนื้อหาการแต่งเพลงโดยนักร้อง และวงดนตรี ที่ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับผู้ฟัง ผู้ดู.

ใหม่!!: เสือใหญ่ (วงดนตรี)และป็อปร็อก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »