โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เวสมาร์นายาส

ดัชนี เวสมาร์นายาส

วสมาร์นายาส (ในภาษาอังกฤษแผลงเป็น Westman Islands) เป็นชื่อเมืองและชื่อหมู่เกาะที่อยู่นอกชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศไอซ์แลนด์ เวสมาร์นายาสประกอบด้วยเกาะใหญ่ที่สุดที่มีชื่อว่า Heimaey มีประชากรประมาณ 4,135 ซึ่งเกาะนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากเหตุการ์ณการปะทุของภูเขาไฟ Eldfell ซึ่งทำลายอาคารบ้านเรือนหลายแห่งจนต้องมีการอพยพประชาชนไปยังแผ่นดินใหญ่ของไอซ์แลน.

5 ความสัมพันธ์: กลุ่มเกาะการแผลงเป็นอังกฤษซึร์ทเซย์ประเทศไอซ์แลนด์เวลามาตรฐานกรีนิช

กลุ่มเกาะ

กลุ่มเกาะมะริด ในประเทศพม่า กลุ่มเกาะ (archipelago หรือ island group) เป็นหมู่เกาะที่โยงกันเป็นโซ่หรือเป็นกลุ่ม คำว่า archipelago มาจากภาษากรีก ἄρχι ("หลัก") และ πέλαγος ("ทะเล") ผ่านกลุ่มเกาะอิตาลี ในภาษาอิตาลี ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าหลักจากประเพณีความเก่าแก่ กลุ่มเกาะ (จากภาษากรีกสมัยกลาง ἀρχιπέλαγος) เป็นชื่อเฉพาะของทะเลอีเจียน และภายหลัง การใช้ได้เปลี่ยนเป็นหมายถึงหมู่เกาะอีเจียน (เพราะทะเลดังกล่าวมีชื่อเสียงกันว่ามีเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก) ปัจจุบัน ใช้หมายถึงกลุ่มเกาะใด ๆ หรือ บางครั้ง ทะเลที่บรรจุเกาะกระจัดกระจายกันจำนวนมาก เช่น ทะเลอีเจียน กลุ่มเกาะอาจพบห่างไกลในแหล่งน้ำหรืออยู่ใกล้กับผืนดินขนาดใหญ่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น สกอตแลนด์มีเกาะมากกว่า 700 เกาะล้อมแผ่นดินใหญ่ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มเกาะ กลุ่มเกาะนี้มักมีภูเขาไฟ ก่อตัวขึ้นตามหมู่เกาะโค้งที่เกิดจากเขตมุดตัวของเปลือกโลกหรือจุดศูนย์รวมความร้อน แต่ยังอาจเกิดจากการกัดเซาะ การทับถมและความสูงของพื้นที่ดิน ประเทศสมัยใหม่ขนาดใหญ่ที่สุดห้าประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกาะ ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักร รัฐกลุ่มเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกตามพื้นที่ คือ อินโดนีเซีย กลุ่มเกาะที่มีเกาะมากที่สุดอยู่ในทะเล Archipelago ในฟินแลน.

ใหม่!!: เวสมาร์นายาสและกลุ่มเกาะ · ดูเพิ่มเติม »

การแผลงเป็นอังกฤษ

การแผลงเป็นอังกฤษ หรือ การถ่ายเสียงและถอดอักษรเป็นอังกฤษ (Anglicisation หรือ Anglicization) คือกระบวนการในการเปลี่ยนภาษาพูดหรือภาษาเขียนของภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ มาเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ในภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษ หรือโดยนัยทั่วไปคือ การเปลี่ยนคำในภาษาอื่นให้กลายเป็นคำในภาษาอังกฤษตามรูปแบบหรือตัวอักษร การแผลงเป็นอังกฤษมักจะหมายถึงกระบวนการในการเปลี่ยนการออกเสียงหรือการสะกดตัวของคำในภาษาต่างประเทศที่ยืมมาใช้ในภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นชื่อตัวก็อาจจะทำการแผลงเป็นอังกฤษ เช่นชื่อของชนอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูด ก็อาจจะได้รับการแปลงเพื่อทำให้ง่ายต่อการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศใหม่ เช่นนามสกุล “Battenberg” ก็ได้รับการเปลี่ยนเป็น “Mountbatten” เพื่อให้ฟังเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้นกว่าต้นรากเดิมที่เป็นภาษาเยอรมันเป็นต้น.

ใหม่!!: เวสมาร์นายาสและการแผลงเป็นอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ซึร์ทเซย์

ซึร์ทเซย์ 16 วันหลังเริ่มต้นการปะทุ ซึร์ทเซย์ (ออกเสียงว่า แปลว่า"เกาะของซึร์ท") เป็นเกาะภูเขาไฟ ที่ตั้งอยู่ในหมู่เกาะเวสมาร์นายาส ซึ่งห่างจากชายฝั่งทางใต้ของประเทศไอซ์แลนด์ เกาะนี้เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศไอซ์แลนด์ เกาะนี้ก่อตัวขึ้นจากการปะทุของภูเขาไฟซึ่งซึ่งอยู่ใต้ทะเล 130 เมตรและอยู่กลุ่มภูเขาไฟใต้น้ำ เวสมาร์นายาส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกกลางมหาสมุทรแอตแลนติกได้เกิดการปะทุขึ้นและก่อตัวขึ้นเรื่อยๆจนโผ่ลพ้นผิวน้ำในในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 การปะทุสิ้นสุดลงในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2510 โดยมีพื้นที่ประมาณ 2.7 ตารางกิโลเมตร หลังจากนั้นเกาะก็ถูกกัดเซาะจากลมและคลื่นจนทำให้ในปี พ.ศ. 2555 เกาะเหลือพื้นที่เพียง 1.3 ตารางกิโลเมตร จาการสำรวจล่าสุดในปี พ.ศ. 2550 พบว่าจุดที่สูงที่สุดของเกาะคือ จากระดับน้ำทะเล เกาะนี้มีชื่อมาจากเทพเจ้าเซิร์ทในตำนานเทพเจ้าสแกนดิเนเวีย เกาะนี้ถูกศึกษาโดยนักวิทยาภูเขาไฟอย่างละเอียดในช่วงที่มันเกิดการประทุ, และได้รับการศึกษาโดยนักพฤกษศาสตร์และนักชีววิทยาเพื่อศึกษารูปแบบของชีวิตในเกาะใหม่แห่งนี้ การปะทุครั้งนี้ไม่ได้ทำให้เกิดเกาะซึร์ทเซย์เกาะเดี่ยวแต่ทำให้เกิดเกาะJólnirและยอดเขาอื่นๆที่ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อด้ว.

ใหม่!!: เวสมาร์นายาสและซึร์ทเซย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอซ์แลนด์

อซ์แลนด์ (Iceland; อิสตลันต์) เป็นประเทศนอร์ดิกในยุโรปเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ระหว่างกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร มีเมืองหลวงคือเรคยาวิก ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณสามแสนคน มีพื้นที่ประเทศรวม 102,775 ตารางกิโลเมตร เรียกข้อมูลวันที่ 2008-03-03 นับว่ามีประชากรเบาบาง จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ ปี..

ใหม่!!: เวสมาร์นายาสและประเทศไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เวลามาตรฐานกรีนิช

วลามาตรฐานกรีนิช หรือ เวลามัชฌิมกรีนิช (Greenwich Mean Time) ชื่อย่อ จีเอ็มที (GMT) แต่เดิมเป็นคำใช้เรียกเวลาสุริยคติมัชฌิมที่หอดูดาวหลวงกรีนิช เมืองกรีนิช สหราชอาณาจักร ปัจจุบันคำนี้มักใช้เพื่อหมายถึงเวลาสากลเชิงพิกัด (ยูทีซี) ในฐานะเขตเวลา แม้ว่าหากถือโดยเคร่งครัดแล้ว ยูทีซีนั้นเป็นมาตรฐานเวลาที่วัดโดยนาฬิกาอะตอม ซึ่งจะเท่ากันเพียงโดยประมาณกับจีเอ็มทีในความหมายเดิม จีเอ็มทียังใช้หมายถึงเวลาสากล (ยูที) ซึ่งเป็นเวลาเชิงดาราศาสตร์ที่กำหนดขึ้นเพื่อทดแทนจีเอ็มทีโดยตรง เวลาเที่ยงวันของมาตรฐานกรีนิชนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกที่กรีนิชเสมอไป ทั้งนี้เนื่องจากการโคจรของโลกเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์มีอัตราเร็วไม่สม่ำเสมอและแกนโลกที่เอียง เวลาเที่ยงวันกรีนิชอาจต่างจากเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกถึง 16 นาที จึงจำเป็นต้องสมมุติดวงอาทิตย์มัชฌิม ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยจากการปรับการเคลื่อนที่ที่ไม่สม่ำเสมอของดวงอาทิตย์ดวงจริงขึ้นใช้คำนวณแทน ดวงอาทิตย์มัชฌิมนี้เองเป็นที่มาของคำว่า มัชฌิม ในคำว่าเวลามัชฌิมกรีนิช ก่อน ค.ศ. 1925 นักดาราศาสตร์ใช้จีเอ็มทีโดยนับเที่ยงวันเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ (เวลาศูนย์นาฬิกา) ในขณะที่ประชาชนทั่วไปนับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ นักดาราศาสตร์ได้เปลี่ยนมานับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไปตั้งแต..

ใหม่!!: เวสมาร์นายาสและเวลามาตรฐานกรีนิช · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »