โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส

ดัชนี เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส

ลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส (Leonor, Princesa de Asturias; ประสูติ: 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548) เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 แห่งสเปน และสมเด็จพระราชินีเลตีเซียแห่งสเปน ทรงอยู่ในอันดับแรกของลำดับการสืบราชบัลลังก์สเปน แรกประสูติมีพระอิสริยยศเป็นอินฟันตาแห่งสเปน (Infanta of Spain) ภายหลังพระราชบิดาขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 ได้สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส (Princess of Asturias).

17 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2511พ.ศ. 2548พ.ศ. 2549พระคาร์ดินัลพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนมาดริดราชวงศ์บูร์บงสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปนสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปนสมเด็จพระราชินีเลตีเซียแห่งสเปนอัครมุขนายกอินฟันเตประเทศสเปนเจ้าชายแห่งอัสตูเรียส14 มกราคม7 พฤศจิกายน

พ.ศ. 2511

ทธศักราช 2511 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1968 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและพ.ศ. 2511 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

พระคาร์ดินัล

ตราประจำสมณศักดิ์พระคาร์ดินัล คาร์ดินัล (Cardinal) เป็นสมณศักดิ์ชั้นสูง รองจากพระสันตะปาปา ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพระสันตะปาปา ในการปกครองคริสตจักรโรมันคาทอลิก ตำแหน่งนี้อาจเทียบเท่ากับสมเด็จพระราชาคณะในศาสนาพุทธ หรือสมาชิกวุฒิสภาในทางโลก ในสมัยก่อนตำแหน่งคาร์ดินัลมักเป็นฆราวาส แต่นับตั้งแต่ตราประมวลกฎหมายพระศาสนจักรฉบับล่าสุด (ค.ศ. 1917–83) เฉพาะบาทหลวงและมุขนายกเท่านั้นที่มีสิทธิ์เป็นพระคาร์ดินัลได้ หน้าที่พิเศษอย่างหนึ่งของพระคาร์ดินัลคือ เข้าร่วมการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่ แทนตำแหน่งที่ว่างลง และตนเองก็มีสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาด้วย พระคาร์ดินัลอาจมีตำแหน่งมุขนายกหรือเป็นหัวหน้าปกครองคณะบาทหลวง คณะนักบวชคาทอลิกชาย-หญิง และคริสต์ศาสนิกชนฆราวาส ในมุขมณฑลที่ท่านปกครองด้ว.

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและพระคาร์ดินัล · ดูเพิ่มเติม »

พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน

การให้บัพติศมาแก่ Neophytes วาดโดยมาซัชโช เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ฟลอเรนซ์ พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์ประชากรศาสตร์) พิธีบัพติศมาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 88 (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศีลล้างบาป (ศัพท์คาทอลิก) (Baptism มาจากภาษากรีก baptismos แปลว่า การล้าง) เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ ทำขึ้นเพื่อรับ "ผู้ที่เพิ่งรับเชื่อ" เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของคริสตจักร คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ระบุว่ายอห์นผู้ให้บัพติศมาเริ่มประกอบพิธีนี้ให้สาวกของตน โดยให้ผู้รับจุ่มตัวลงในแม่น้ำลึก ถือเป็นสัญลักษณ์ของการกลับใจและรอคอยอาณาจักรสวรรค์ซึ่งกำลังจะมาถึง พระเยซูทรงรับบัพติศมาจากยอห์นในครั้งนั้นด้วย จากนั้นจึงเริ่มปฏิบัติพระภารกิจของพระองค์ ต่อมาในศาสนาคริสต์ยุคแรก ผู้ให้บัพติศมาจะให้ผู้รับเปลือยกายลงแช่ในแม่น้ำ ซึ่งมีทั้งแบบให้จุ่มทั้งตัว ยืน หรือคุกเข่าในน้ำ แล้ว "ผู้ให้บัพติศมา" จะตักน้ำรดลงบน "ผู้รับบัพติศมา" ในปัจจุบันบางคริสตจักรยังรักษาวิธีการแบบเดิม บางคริสตจักรก็ใช้วิธีเทน้ำรดลงบนหน้าผากของผู้รับสามครั้ง การเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ก็ถือว่าเป็นการรับบัพติศมาด้วย เรียกว่า "พิธีบัพติศมาด้วยเลือด" เชื่อว่ามรณสักขีนั้นได้รับความรอดแล้วแม้จะยังไม่ได้รับบัพติศมาด้วยน้ำก็ตาม คริสตจักรโรมันคาทอลิกปัจจุบันรับรอง "พิธีบัพติศมาแห่งความปรารถนา" ซึ่งหมายถึงความตั้งใจจะรับบัพติศมาแต่เสียชีวิตเสียก่อนเข้าพิธี ก็ถือว่าได้รับความรอดแล้ว คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายประกอบพิธีบัพติศมาแก่ทารกด้วย เพราะเชื่อว่าบัพติศมาเป็นทางแห่งความรอด จนเมื่อฮุลดริช ซวิงลี นักเทววิทยาศาสนาคริสต์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวว่าพิธีนี้ไม่จำเป็น คริสตจักรแบปทิสต์จึงประกอบพิธีบัพติศมาแก่ผู้เชื่อเองเท่านั้น ทุกวันนี้คริสต์ศาสนิกชนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะเควเกอร์และแซลเวชันอาร์มีถือว่าพิธีนี้ไม่จำเป็นและไม่ประกอบพิธีนี้เลย แต่กลุ่มที่ยังมีพิธีนี้อยู่ก็มีรูปแบบพิธีแตกต่างกันไป ส่วนมากรับบัพติศมา "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" (โปรเตสแตนต์) หรือ "เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต" (คาทอลิก) โดยถือตามพระมหาบัญชาก่อนการเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซู.

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

มาดริด

มาดริด (Madrid) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศสเปน มีประชากรอาศัยในตัวเมืองประมาณ 3.2 ล้านคน(ตัวเลขเมื่อปี 2005) และประชากรในเขตเมืองทั้งหมดประมาณ 6 ล้านคน (ตัวเลขเมื่อปี 2006) มาดริดยังเป็นเมืองหลวงของจังหวัดมาดริดด้ว.

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและมาดริด · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์บูร์บง

ราชวงศ์บูร์บง (ฝรั่งเศส: Maison de Bourbon; สเปน: Casa de Borbón; อังกฤษ: House of Bourbon) เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป ซึ่งได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา และเมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 สมาชิกในราชวงศ์บูร์บงก็ได้ปกครองประเทศสเปน เมืองเนเปิลส์ เกาะซิซิลี และเมืองปาร์มาในประเทศอิตาลีด้วย ในปัจจุบันประเทศที่ยังคงมีสมาชิกในราชวงศ์บูร์บงปกครองอยู่คือราชอาณาจักรสเปนและราชรัฐลักเซมเบิร์ก กษัตริย์แห่งราชวงศ์บูร์บงเริ่มการปกครองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2098 (ค.ศ. 1555) ที่เมืองนาวาร์ (ตอนเหนือของประเทศสเปนและทางใต้ของประเทศฝรั่งเศส) และพอมาถึงปี พ.ศ. 2132 (ค.ศ. 1589) ราชวงศ์บูร์บงก็ได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศ จนมาถึงสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) เมื่อครั้งการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงแม้จะมีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกครั้ง แต่ก็ดำรงอยู่ได้เพียง 24 ปี ก็ได้มีการล้มล้างระบอบกษัตริย์ลง พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปนทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์บูร์บงที่ได้ปกครองประเทศสเปน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) ได้มีการโค่นล้ม แก่งแย่ง และฟื้นฟูใหม่อยู่ตลอดเวลา จนมาถึงปัจจุบันซึ่งมีสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปนทรงเป็นประมุขแห่งประเทศสเปนอยู่ ส่วนทางประเทศลักเซมเบิร์กนั้น ได้มีการอภิเษกสมรสระหว่างราชวงศ์ จึงนับได้ว่าทางฝ่ายราชสำนักลักเซมเบิร์กนั้นก็มีเชื้อสายราชวงศ์นี้เช่นกัน.

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและราชวงศ์บูร์บง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน

มเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน หรือ พระเจ้าฆวน การ์โลสที่ 1 (Juan Carlos I; เสด็จพระราชสมภพ 5 มกราคม พ.ศ. 2481) เป็นพระมหากษัตริย์สเปน ตั้งแต่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ฟรันซิสโก ฟรังโก ผู้เผด็จการสเปน กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 เป็นประมุขแห่งรัฐองค์ถัดมาใน..

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน

มเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 (Felipe VI; พระนามเดิม เฟลิเป ฆวน ปาโบล อัลฟอนโซ เด โตโดส โลส ซานโตส เด บอร์บอน เด เกรเซีย) เป็นพระมหากษัตริย์สเปน พระราชสมภพ 30 มกราคม พ.ศ. 2511 เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน และสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน ทรงดำรงพระยศ "อินฟันเตแห่งสเปน" เมื่อแรกประสูติ และ "เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส" เมื่อพระราชบิดาเสด็จขึ้นครองราชย์ อภิเษกสมรสกับเลตีเซีย ออร์ติซ โรกาโซลาโน.

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน

มเด็จพระราชินีโซเฟีย (la Reina Doña Sofía) เป็นพระมเหสีใน สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 สมเด็จพระราชินีโซเฟียทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งกรีซโดยพระกำเนิด เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ และ สมเด็จพระราชินีเฟรเดริกาแห่งกรีซ โดยทีมีพระนามในภาษากรีกว่า โซเฟีย มาร์การีตา วิกตอเรีย เฟรเดรีกี (Σοφία Μαργαρίτα Βικτωρία Φρειδερίκη) โดยพระองค์มีพระราชอนุชาและพระราชขนิษฐาคือ สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ และ เจ้าหญิงไอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์ก.

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีเลตีเซียแห่งสเปน

มเด็จพระราชินีเลตีเซีย (la Reina Doña Letizia,; 15 กันยายน พ.ศ. 2515) มีพระนามเดิมว่า เลตีเซีย ออร์ติซ โรกาโซลาโน (Letizia Ortiz Rocasolano) อดีตนักหนังสือพิมพ์และผู้ประกาศข่าว ที่ต่อมาได้เป็นพระราชินีในสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 แห่งสเปน พระองค์ได้เป็น เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส จากการอภิเษกสมรสกับเจ้าชายเฟลิเปแห่งอัสตูเรียส รัชทายาทแห่งสเปน จนกระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน..

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและสมเด็จพระราชินีเลตีเซียแห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

อัครมุขนายก

2553. อาร์ชบิชอป (Archbishop) หรืออัครมุขนายก ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองระดับสูงในบางคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน ถือว่ามีสถานะเหนือกว่ามุขนายกกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 (bishop) การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese) ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนจะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่น ภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป “อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนา แต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับการอภิเษก (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับศีลอนุกรมเสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล” “อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz).

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและอัครมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

อินฟันเต

อินฟันเต (infante) หรือ อิงฟังตือ (infante) ถ้าเป็นสตรีเรียกว่า อินฟันตา (infanta) หรือ อิงฟังตา (infanta) เป็นอิสริยยศของเจ้าในราชอาณาจักรต่าง ๆ ซึ่งเป็นประเทศสเปนและโปรตุเกสในปัจจุบัน เช่น ราชอาณาจักรอารากอน ราชอาณาจักรกัสติยา ราชอาณาจักรนาวาร์ และราชอาณาจักรเลออน อินฟันเตโดยสายพระโลหิตคือเจ้าชั้นลูกหลวง ที่ไม่ใช่รัชทายาท นอกจากนี้ยังใช้กับเจ้าชั้นหลานหลวงที่สืบสายพระโลหิตจากฝ่ายพระบิดาด้วย พระชายาของอินฟันเตก็ได้รับอิสริยยศ "อินฟันตา" โดยการเสกสมรส แต่สวามีของพระราชธิดาจะไม่ได้รับอิสริยยศ "อินฟันเต" เมื่อเสกสมรสอย่างกรณีพระชายา คำว่า príncipe (เจ้าชาย) และ princesa (เจ้าหญิง) ในสเปนและโปรตุเกสจะใช้กับรัชทายาทและพระชายาในองค์รัชทายาทเท่านั้น เช่น เจ้าชายเฟลีเป เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส และเจ้าหญิงเลตีเซีย เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส พระชายา ส่วนพระราชโอรสธิดานอกจากนี้ถือเป็นอันฟันเต/อินฟันตาทั้งสิ้น คำว่า infante มีรากศัพท์มาจากคำในกลุ่มภาษาโรมานซ์ ซึ่งแปลว่า "ลูก" เมื่อใช้เป็นอิสริยยศจึงหมายถึงว่าเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระราชบุตร อินฟันเต/อินฟันตาจึงมีหมายถึงเจ้าชาย/เจ้าหญิงในความหมายโดยทั่วไป.

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและอินฟันเต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส

้าชายแห่งอัสตูเรียส (Príncipe de Asturias; อัสตูเรียส: Príncipe d'Asturies) เป็นอิสริยยศของรัชทายาทในพระราชวงศ์สเปน ในกรณีที่รัชทายาทเป็นฝ่ายใน (สตรี) จะออกพระยศว่า เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส (Princesa de Asturias; อัสตูเรียส: Princesa d'Asturies) ตำแหน่ง เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส เป็นพระอิสริยยศทางประวัติศาสตร์ (ราชอิสริยยศทางการตามรัฐธรรมนูญแห่งสเปน พ.ศ. 2521) ที่พระมหากษัตริย์แห่งสเปนพระราชทานแก่รัชทายาทแห่งสเปน เฉกเช่นเดียวกับที่พระมหากษัตริย์แห่งแคสตีลพระราชทานแก่รัชทายาทในประวัติศาสตร์ พระอิสริยยศนี้ตามปกติพระมหากษัตริย์สามารถพระราชทานแก่ทายาทโดยสันนิษฐาน เช่น พระราชธิดา พระญาติ หรือรัชทายาทผู้สืบเชื้อสายผ่านทางพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์ (แม้ไม่จำเป็นจะต้องพระราชทานให้) โดยที่ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงไม่ควรจะได้รับพระราชทานอิสริยยศนี้ ซึ่งแตกต่างจากธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศนอกคาบสมุทรไอบีเรีย อิสริยยศอื่นที่เกี่ยวข้องกันและมีต้นกำเนิดมาจากราชอาณาจักรที่รวมกันเป็นสเปนปัจจุบันก็คือ.

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและเจ้าชายแห่งอัสตูเรียส · ดูเพิ่มเติม »

14 มกราคม

วันที่ 14 มกราคม เป็นวันที่ 14 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 351 วันในปีนั้น (352 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและ14 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

7 พฤศจิกายน

วันที่ 7 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 311 ของปี (วันที่ 312 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 54 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสและ7 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อินฟันตาเลโอนอร์แห่งสเปนเจ้าหญิงเลโอนอร์แห่งสเปน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »