โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เม่นหางพวง

ดัชนี เม่นหางพวง

ม่นหางพวง (Asiatic brush-tailed porcupine) เป็นสัตว์ฟันแทะจำพวกเม่นชนิดหนึ่ง ในวงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae) เป็นเม่นขนาดเล็ก มีความยาวลำตัวและส่วนหัว 36–52 เซนติเมตร ความยาวหาง 14–23 เซนติเมตร ขนตามลำตัวและหนามเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะเด่น คือ มีหางที่ยาวกว่าหางของเม่นในสกุล Hystrix ปลายหางเป็นพู่ แต่จะไม่มีขนแผงคอ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัมในอินเดีย, ภาคใต้และมณฑลไหหลำของจีน, ภาคเหนือและตะวันออกของเมียนมา, ทั่วทุกภาคของไทย, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม, มาเลเซีย ตลอดจนถึงเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย มีชื่อพ้อง คือ Atherurus assamensis (Thomas, 1921) และ Atherurus macrourus (Thomas, 1921) และชนิดย่อย คือ assamensis เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ป่าอุดมสมบูรณ์ไปจนถึงพื้นที่เกษตรกรรม อาหารได้แก่ รากไม้, ผลไม้, เปลือกไม้ของพืชบางชนิด และซากกระดูกหรือเขาสัตว์ ออกหากินในเวลากลางคืน โดยมักจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ๆ ละ 6–8 ตัว นอนตามโพรงไม้ในเวลากลางวัน โดยใช้โพรงไม้เดิมเป็นเวลาหลายปี บางครั้งพบว่าอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นคู่ในโพรงเดียวกัน.

7 ความสัมพันธ์: วงศ์เม่นโลกเก่าสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับย่อยเม่นอันดับสัตว์ฟันแทะคาโรลัส ลินเนียส

วงศ์เม่นโลกเก่า

ม่นโลกเก่า (Old world porcupine) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) จำพวกเม่นวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hystricidae มีลักษณะทั่วไปตัวยาวเต็มที่ประมาณ 2 ฟุต หรือ 2 ฟุตครึ่ง ขาสั้น มีลักษณะเด่น คือ มีขนที่บริเวณหลังและช่วงท้ายลำตัวแข็งยาวเป็นหนามมีลายสลับสีขาวดำ บางอันอาจยาวได้ถึง 1 ฟุต ปลายแหลมเหมือนปลายหอกหรือลูกศร ซึ่งเอาไว้ป้องกันตัวจากศัตรูที่รุกราน ซึ่งทำให้แผลอักเสบติดเชื้อได้ เม่น เป็นสัตว์ที่หากินและอยู่อาศัยเพียงลำพังตัวเดียวหรือไม่ก็อยู่เป็นคู่ หากินในเวลากลางคืน กลางวันจะนอนหลับพักผ่อนในโพรงดินที่ขุดขึ้นมาเอง หากินรากพืชหรือผลไม้ เป็นอาหารหลัก ถ้าถูกคุกคาม เม่นจะวิ่งหนี ถ้าหากจวนตัวเมื่อไหร่จะหยุดและพองขน พร้อมกับสั่นขนให้เกิดเสียงสั่นซ่า พร้อมกับกระทืบเท้าลงพื้นดินเป็นการขู่ หากยังไม่หยุดคุกคาม เม่นจะหยุดกะทันหันหรือบางครั้งอาจจะถอยหลังวิ่งเข้าหา ซึ่งขนแหลมเหล่านี้จะปักลงไปในเนื้อของผู้รุกราน ทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก ซึ่งแม้แต่สัตว์ใหญ่อย่าง สิงโต หากโดนขนหนามเหล่านี้แทงเข้าถูกอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ หรือปอด ทำให้ถึงแก่ความตายได้ เม่น เป็นสัตว์ที่มีกรงเล็บแหลมคมและฟันแทะที่แข็งแรงมาก ซึ่งเขียนเป็นสูตรได้ว่า ใช้สำหรับขุดโพรงดินเพื่อเป็นรังที่อยู่อาศัยและเลี้ยงดูลูกอ่อน ซึ่งในโพรง ๆ หนึ่งอาจอยู่รวมกันหลายตัว ฟันของเม่นนอกจากจะใช้กัดแทะพืชแล้ว ยังใช้แทะเขาสัตว์, โครงกระดูกสัตว์อื่นที่ตายแล้ว หรืองาช้าง เพื่อเสริมแคลเซี่ยมให้แก่ร่างกายได้ด้วย ที่แอฟริกาตะวันตกเคยมีผู้จับเม่นไปขังไว้ในหีบไม้ ปรากฏว่าพอรุ่งเช้า เม่นสามารถแทะหีบไม้นั้นทะลุเป็นรูโหว่หนีไปได้ ขนของเม่นสามารถที่จะผลัดใหม่ได้ เมื่อขนเก่าหลวม จะสลัดขนทิ้งโดยการสั่นตัว ซึ่งอาจจะพุ่งไกลไปข้างหลังได้หลายฟุต ซึ่งจากพฤติกรรมตรงนี้เองที่ทำให้เกิดความเชื่อว่า เม่นสามารถสะบัดขนใส่ศัตรู ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ ขนของเม่นนั้นเมื่อปักติดกับเนื้อของผู้ที่ถูกแทงเข้าแล้ว จะเจ็บปวดมากและดึงออกยาก เนื่องจากในเส้นขนนั้นจะมีเงี่ยงเล็ก ๆ แหลมคมจำนวนมากเหมือนตะขออยู่ด้านข้าง เมื่อปักลงเนื้อแล้วจึงถอนออกได้ยาก เพราะจะสวนทางกับเงี่ยงแหลมที่เกี่ยวติดกับเนื้อ เม่นออกลูกเป็นตัว คราวละ 2-3 ตัว เมื่อเกิดมาแล้วลูกเม่นจะสามารถลืมตาและเกือบจะเดินได้เลย แต่ขนตามลำตัวยังไม่แข็งเหมือนตัวเต็มวัย จนรอให้ถึงอายุประมาณ 90 วันเสียก่อน เม่นโลกเก่า กระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า โลกเก่า คือ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป ในประเทศไทย พบ 2 ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyura) และเม่นหางพวง (Atherurus macrourus) ซึ่งแต่เดิมเคยจัดให้ เม่นใหญ่แผงคอสั้น (Hystrix hodgsoni) มีอยู่ด้วย แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นชนิดย่อยของเม่นใหญ่แผงคอยาวไป.

ใหม่!!: เม่นหางพวงและวงศ์เม่นโลกเก่า · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: เม่นหางพวงและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: เม่นหางพวงและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: เม่นหางพวงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยเม่น

ม่น เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hystricomorpha โดยคำว่า Hystricomorpha นั้นมาจากภาษาละตินคำว่า hystrix หมายถึง "เม่น" และภาษากรีกคำว่า morphē หมายถึง "ลักษณะ" โดยสัตว์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของอันดับย่อยนี้ คือ เม่น ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางค่อนข้างไปทางใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ ขนบนตัวที่เป็นหนามแหลม ใช้สำหรับป้องกันตัว กระจายพันธุ์ไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วทั้งโลก คือ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา, อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 2 วงศ์ เม่น เป็นสัตว์ที่มีความเชื่อว่าสามารถสะบัดขนเข้าใส่ศัตรูได้แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเม่นพบศัตรูจะรีบหันหลังให้แล้ววิ่งหนีไปพร้อมทั้งสั่นขนให้เกิดเสียงดังกราว ๆ เป็นการเตือน ไม่ให้ศัตรูเข้าใกล้ แต่ถ้าศัตรูยังวิ่งไล่อยู่เม่นจะรีบหยุดทันที พร้อมทั้งพองขนให้ตั้งชัน และวิ่งถอยหลังเข้าหา ศัตรูที่วิ่งตามไม่สามารถจะหยุดได้ทันจึงถูกขนเม่นทิ่มตำ ขนเม่นจะหลุดจากตัวเม่นได้ง่ายมาก มักจะติดไปกับสัตว์ที่เข้ามาทำอันตรายเสมอและอาจทำให้ศัตรูตายได้ ในอดีต พรานป่าที่เข้าไปล่าสัตว์มักจะนำสุนัขไปด้วยเพื่อช่วยดมกลิ่นและค้นหาสัตว์ป่าถ้าพบเห็นเม่นมันจะวิ่งไล่ทันที เมื่อเม่นหยุดวิ่ง สุนัขจะวิ่งชนเม่นทันทีจึงมักได้รับบาดเจ็บและมีขนเม่นติดตามตัว เมื่อเจ้าของสุนัขพบเข้าจึงคิดว่าเม่นสะบัดขนเข้าใส่ ทำให้เกิดความเชื่อผิด ๆ ตามกันมา สำหรับในประเทศไทย พบเม่นได้ 2 ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyura) และเม่นหางพวง (Atherurus macrourus) ซึ่งทั้งหมดจัดอยู่ใน วงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae).

ใหม่!!: เม่นหางพวงและอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์ฟันแทะ

อันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodent, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rodentia) เป็นอันดับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับหนึ่ง ที่มีความหลากหลายมาก ใช้ชื่ออันดับว่า Rodentia ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีฟันหน้าในขากรรไกรบน 2 ซี่ และขากรรไกรล่าง 2 ซี่ ลักษณะของฟันหน้ามีรูปร่างคล้ายสิ่ว มีความแข็งแรงมาก ใช้สำหรับกัด ขุด และแทะอาหาร ไม่มีฟันเขี้ยว ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันหน้าและฟันหน้ากราม ผิวเคลือบทางด้านนอกของฟันหน้าเป็นอีนาเมล จึงทำให้ฟันแข็งแรง นอกจากนี้ฟันหน้าของสัตว์ในอันดับนี้ยังเป็นรูทเลสส์ โดยที่ฟันจะไม่หยุดการเจริญเติบโต เฉลี่ย 12 เซนติเมตรครึ่งต่อปี เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา จึงต้องแทะฟันเสมอ ๆเพื่อให้ฟันสึกกร่อน มิฉะนั้นฟันจะทะลุออกมานอกปาก ทำให้การหุบปากและการกินอาหารลำบากทำให้อดตายได้ รูปร่างลักษณะภายนอกของสัตว์ในอันดับนี้แตกต่างกัน รวมทั้งแหล่งอาศัย บางจำพวกก็อาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดิน เช่นเดียวกับชนิดของอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นผลไม้เปลือกแข็ง, เมล็ดไม้, รากไม้ หรือกินทุกสิ่งทุกอย่างทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ หนู, กระรอก, เม่น, บีเวอร์ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ในภูมิประเทศที่หลากหลาย ขณะที่กระต่าย, กระแตและตุ่นหรือหนูผี หรือชูการ์ไกลเดอร์ แม้จะมีรูปลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก สัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ หนูจิ๋วแอฟริกัน (Mus minutoides) พบในทวีปแอฟริกา ที่มีขนาดใหญ่เต็มที่จากส่วนหัวจรดปลายหาง 30-80 มิลลิเมตร (1.2-3.1 นิ้ว) ความยาวหาง 20-40 มิลลิเมตร (0.79-1.6 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 3-12 กรัม (0.11-0.42 ออนซ์) และที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ คาปิบารา (Hydrochoerus hydrochaeris) พบในอเมริกาใต้ ที่มีน้ำหนักได้มากถึง 65 กิโลกรัม และมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม.

ใหม่!!: เม่นหางพวงและอันดับสัตว์ฟันแทะ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: เม่นหางพวงและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Atherurus macrourus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »