โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัตว์กีบคี่

ดัชนี สัตว์กีบคี่

ัตว์กีบคี่ หรือ เพอริสโซแดกทีลา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Perissodactyla) เป็นอันดับทางชีววิทยา จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นอันดับหนึ่งใน 18 อันดับของชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Hippomorpha ปัจจุบันเหลือเพียงสองวงศ์คือ: Tapiridae และ Rhinocerotidae วงศ์ทั้งสามที่เหลือจัดจำแนกดังข้างล่าง.

25 ความสัมพันธ์: กระซู่การสูญพันธุ์ม้าม้าลายภูเขาม้าลายธรรมดาม้าลายเกรวียูเธอเรียริชาร์ด โอเวนลาป่าทิเบตลาป่าแอฟริกาวงศ์ม้าสมเสร็จสมเสร็จภูเขาสมเสร็จมลายูสมเสร็จอเมริกากลางสมเสร็จอเมริกาใต้สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแรดแรดชวาแรดอินเดียแรดขาวแรดดำไฟลัม

กระซู่

กระซู่, แรดสุมาตรา หรือ แรดขน (Sumatran RhinocerosWilson, D. E., and Reeder, D. M. (eds), ed (2005).; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dicerorhinus sumatrensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคี่จำพวกแรด กระซู่เป็นแรดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และเป็นแรดเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dicerorhinus มีลักษณะเด่นคือมี นอ 2 นอ เหมือนแรดแอฟริกา โดยนอจะไม่ตั้งยาวขึ้นมาเหมือนแรดชวา นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง โดยทั่วไปยาว 15-25 ซม.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และกระซู่ · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ม้า

ม้า เป็นชนิดย่อยหนึ่งในสองชนิดของ Equus ferus หรือม้าป่าที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกีบคี่ในวงศ์ Equidae ม้ามีวิวัฒนาการมากว่า 45 ถึง 55 ล้านปีจากสิ่งมีชีวิตหลายกีบเท้าขนาดเล็กสู่สัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน มนุษย์เริ่มนำม้ามาเลี้ยงเมื่อราว 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และเชื่อว่าการเลี้ยงแพร่หลายเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ม้าชนิดย่อย caballus เป็นม้าบ้านแม้ว่าจะมีประชากรม้าบ้านบางส่วนจะอาศัยอยู่ในป่า เช่น ม้าเถื่อน (feral horses) ม้าเถื่อนไม่ใช่ม้าป่าที่แท้จริง ดังเช่นม้าป่ามองโกเลียซึ่งถูกแบ่งแยกออกมาเป็นชนิดย่อยและเป็นชนิดเดียวที่เหลืออยู่ของม้าป่าที่แท้จริง คำว่าม้าเถื่อนใช้เพื่อแสดงว่าม้านี้ไม่ใช่ม้าบ้าน มีคำศัพท์เฉพาะมากมายที่ใช้อธิบายแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับม้า ครอบคลุมจากกายวิภาคถึงช่วงชีวิต ขนาด สี สัญลักษณ์ การเพาะพันธุ์ การเคลื่อนไหว และพฤติกรรม กายวิภาคของม้าช่วยให้ม้าใช้ความเร็วในการหนีนักล่า และม้ายังพัฒนาความสมดุลได้อย่างยอดเยี่ยมและสัญชาตญาณสู้หรือถอยที่แข็งแกร่ง ม้ายังมีลักษณะพิเศษเพื่อใช้สำหรับหลบหลีกนักล่า คือ ม้าสามารถยืนหลับหรือล้มตัวลงนอนหลับก็ได้ ม้าตัวเมียจะอุ้มท้องประมาณ 11 เดือน ลูกม้าจะยืนและวิ่งได้ในเวลาไม่นานหลังกำเนิด ม้าบ้านจำนวนมากจะเริ่มฝึกภายใต้อานม้าหรือบังเหียนระหว่างอายุสองถึงสี่ปี ม้าจะโตเต็มที่เมื่ออายุห้าปี และมีช่วงอายุประมาณ 25 ถึง 30 ปี สายพันธุ์ม้าแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะนิสัย พวก "เลือดร้อน (hot blood) " ที่เร็ว ทนทาน "เลือดเย็น (cold blood) " เช่น ม้าแคระ และม้าพันธุ์เล็กบางพันธุ์ ที่ช้าแต่มั่นคง ทำงานหนัก และ "เลือดอุ่น (warmblood) " ที่พัฒนามาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างเลือดร้อนและเลือดเย็น เป็นการเพาะพันธุ์เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานพิเศษบางประการ โดยเฉพาะในยุโรป ม้าบ้านมีมากกว่า 300 พันธุ์ในปัจจุบัน เป็นการพัฒนาเพื่อการใช้งานที่ต่างกันไป ม้าและมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างหลากหลายทั้งในการแข่งขันกีฬาและงานที่ไม่ใช่กิจกรรมสันทนาการ เช่น งานตำรวจ การเกษตร การบันเทิง และการบำบัดรักษา ในอดีต มีการนำม้ามาใช้งานในสงคราม ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการพัฒนาเทคนิคการขับขี่ที่หลากหลาย โดยใช้ลักษณะที่แตกต่างของอุปกรณ์และวิธีการของการควบคุม มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างได้จากม้า ประกอบด้วย เนื้อ นม หนัง ขน กระดูก และยาที่สกัดมาจากน้ำปัสสาวะของม้าตัวเมียที่ตั้งครรภ์ เทพนิยายเกี่ยวกับม้า เพกาซัสเกิดมาจากนางกอร์กอน เมดูซ่า ถูกวีรบุรุษเพอร์ซีอุสฟันคอขาดตาย ในขณะที่นางสิ้นใจตายนั้น เพกาซัสก็กระโจนออกมาจากลำคอของนาง ไม่มีใครสามารถปราบเพกาซัสได้เลยซักคน ตอนที่มันเกิดมาใหม่ ๆ และออกวิ่งอย่างคึกคะนองนั้น น้ำที่กระเซ็นจากรอยเท้าที่มันวิ่งก่อให้เกิดน้ำพุสวยงาม คือน้ำพุพีเรเนียน (Pyrenean spring).

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และม้า · ดูเพิ่มเติม »

ม้าลายภูเขา

ม้าลายภูเขา (Mountain zebra) เป็นม้าลายชนิดหนึ่งที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ มีถิ่นอาศัยอยู่ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของ ประเทศแองโกลา, ประเทศนามิเบีย และ ประเทศแอฟริกาใต้ มีสองสปีชีส์ย่อย คือม้าลายภูเขาเคป (Cape Mountain Zebra, E. z. zebra) และ ม้าลายภูเขาฮาร์นมันน์ (Hartmann's Mountain Zebra, E. z. hartmannae) ถึงแม้จะมีการเสนอให้ยกเป็นสปีชีส์ก็ตาม.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และม้าลายภูเขา · ดูเพิ่มเติม »

ม้าลายธรรมดา

ม้าลายธรรมดา หรือ ม้าลายทุ่งหญ้า (Plains zebra, Common zebra) เป็นม้าลายชนิดหนึ่ง ที่พบกระจายพันธุ์มากที่สุดในบรรดาม้าลายทั้งหมด ม้าลายธรรมดา มีความสูงจากกีบเท้าจนถึงหัวไหล่ประมาณ 1.2–1.4 เมตร มีความยาวลำตัว 1.9–2.4 เมตร ความยาวหาง 45–55 เซนติเมตร น้ำหนักในตัวผู้ประมาณ 230–330 กิโลกรัม และตัวเมียราว 200–300 กิโลกรัม อายุขัยโดยเฉลี่ย 15–20 ปี ม้าลายธรรมดา มีลายแตกต่างจากม้าลายชนิดอื่น ๆ ตรงที่มีลายขนาดใหญ่สีดำพาดยาวสลับกับลายสีขาวจากหลังลงไปทั้งสองข้างของลำตัวจนถึงใต้ท้อง เป็นม้าลายที่มีปฏิสัมพันธ์กันในระหว่างสมาชิกในฝูง มีการตกแต่งร่างกายและทำความสะอาดเนื้อตัวให้กันและกัน ม้าลายธรรมดา จะอยู่รวมฝูงกันทั้งในทุ่งหญ้าที่เป็นที่ราบหรือป่าละเมาะ บางครั้งจะรวมฝูงกันเป็นฝูงใหญ่ที่มีจำนวนสมาชิกฝูงถึงหมื่นตัว ในราวกลางปีของทุกปี ม้าลายธรรมดาประมาณ 500,000 ตัว จะร่วมกันเดินทางอพยพกับฝูงวิลเดอบีสต์อีก 1.8–2 ล้านตัว ตามเส้นทางอพยพระหว่างอุทยานแห่งชาติเซเรงเกติในแทนซาเนียกับเขตอนุรักษ์แห่งชาติมาไซมาราในเคนยา เพื่อแสวงหาแหล่งอาหาร อันได้แก่ ทุ่งหญ้าใหม่ ๆ และแหล่งน้ำ และจะเดินทางอพยพกลับพร้อมฝูงวิลเดอบีสต์ในราวเดือนกันยายน ซึ่งในระหว่างการเดินทางทั้งไปและกลับจะมีม้าลายธรรมดารวมถึงวิลเดอบีสต์ตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อต่าง ๆ เช่น จระเข้, สิงโต, เสือดาว หรือไฮยีน่า เป็นต้น.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และม้าลายธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

ม้าลายเกรวี

ม้าลายเกรวี หรือ ม้าลายอิมพีเรียล (Grévy's zebra, Imperial zebra) เป็นม้าลายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด สามารถพบได้ในป่าของประเทศเคนยาและประเทศเอธิโอเปีย เมื่อเทียบกับม้าลายชนิดอื่น ม้าลายเกรวีตัวสูงกว่า หูใหญ่กว่า และลายแคบกว่า ม้าลายชนิดนี้ถูกตั้งชื่อเป็นเกียรติแก ชูเลส เกรวี ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยรัฐบาลของแอบบินซินเนีย ในพื้นที่ตอนกลางของประเทศเคนยาม้าลายเกรวีจะอาศัยอยู่ร่วมกันกับม้าลายธรรม.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และม้าลายเกรวี · ดูเพิ่มเติม »

ยูเธอเรีย

ยูเธอเรีย (Infarclass Eutheria) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นชั้นฐานของเธอเรีย หมวดหมู่:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และยูเธอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด โอเวน

ริชาร์ด โอเวน เซอร์ ริชาร์ด โอเวน (Sir Richard Owen KCB) (20 ก.ค. ค.ศ. 1804 - 18 ธ.ค. ค.ศ. 1892) เป็นนักชีววิทยา, นักกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ, และนักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลแลงคาสเชอร์.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และริชาร์ด โอเวน · ดูเพิ่มเติม »

ลาป่าทิเบต

ลาป่าทิเบต (kiang) เป็นลาป่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีถิ่นกำเนิดในที่ราบสูงทิเบตซึ่งมีอาศัยแบบทุ่งหญ้าเทือกเขาสูง สูงจากระดับน้ำทะเล 4000-7000 ม. มีการกระจายพันธุ์ถึงลาดัคห์ในประเทศอินเดีย, ในราบของที่ราบสูงทิเบตและตอนเหนือของประเทศเนปาลต่อไปยังชายแดนเขตปกครองตนเองทิเบตด้วย ชื่อสามัญอื่นๆของลาป่าทิเบตก็มี: Tibetan wild ass, khyang, และ gorkhar.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และลาป่าทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ลาป่าแอฟริกา

ลาป่าแอฟริกา (African Wild Ass) เป็นลาป่าที่อยู่ในวงศ์ Equidae เชื่อกันว่าเป็นบรรพบุรุษของลาบ้านซึ่งปกติจัดไว้อยู่ในสปีชีส์เดียวกัน อาศัยอยู่ในทะเลทรายและพื้นที่แห้งแล้งอื่นๆทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ในประเทศเอริเทรีย, ประเทศเอธิโอเปียและประเทศโซมาเลีย ก่อนหน้านี้ลาป่าแอฟริกามีการกระจายพันธุ์กว้างจากทางเหนือถึงตะวันตก ในประเทศซูดาน, ประเทศอียิปต์ และ ประเทศลิเบีย ปัจจุบันเหลือประมาณ 570 ตัวในป.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และลาป่าแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ม้า

วงศ์ม้า เป็นวงศ์ของม้าและสัตว์ที่เกี่ยวข้องในระบบอนุกรมวิธาน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Equidae ในวงศ์นี้ประกอบไปด้วยม้า, ลา และม้าลาย ส่วนสปีชีส์ที่เหลือเป็นซากดึกดำบรรพ์ สปีชีส์ที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันล้วนอยู่ในสกุล Equus วงศ์ม้าจัดอยู่ในอันดับ Perissodactyla ร่วมกับสมเสร็จและแร.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และวงศ์ม้า · ดูเพิ่มเติม »

สมเสร็จ

กีบเท้าของสมเสร็จมลายู (ขวา) เท้าหน้ามี 4 กีบ, (ซ้าย) เท้าหลังมี 3 กีบ) ปฏิกิริยาอ้าปากสูดกลิ่น สมเสร็จ (Tapir) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินพืชขนาดใหญ่ เป็นสัตว์มีหน้าตาประหลาด มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน มีจมูกที่ยื่นยาวออกมาคล้ายงวงของช้าง ลำตัวคล้ายหมูที่มีขายาว หางสั้นคล้ายหมีและมีกีบเท้าคล้ายแรด อาศัยในป่าทึบในแถบอเมริกาใต้, อเมริกากลาง, และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งหมดสี่ชนิด คือ สมเสร็จอเมริกาใต้, สมเสร็จมลายู, สมเสร็จอเมริกากลาง และสมเสร็จภูเขา ทั้งสี่ชนิดถูกจัดสถานะเป็นใกล้สูญพันธุ์หรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สมเสร็จเป็นญาติใกล้ชิดกับสัตว์กีบคี่อื่น ได้แก่ ม้า และแร.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และสมเสร็จ · ดูเพิ่มเติม »

สมเสร็จภูเขา

มเสร็จภูเขา (Mountain Tapir) เป็นสมเสร็จที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นเป็นเพียงชนิดเดียวที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้น ชื่อวิทยาศาสตร์มาจากคำว่า "La Pinchaque" ซึ่งเป็นสัตว์ร้ายในจินตนาการที่มีถิ่นอาศัยบริเวณเดียวกันกับสมเสร็จภู.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และสมเสร็จภูเขา · ดูเพิ่มเติม »

สมเสร็จมลายู

มเสร็จมลายู หรือ สมเสร็จเอเชีย (Malayan tapir, Asian tapir) บ้างเรียก ผสมเสร็.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และสมเสร็จมลายู · ดูเพิ่มเติม »

สมเสร็จอเมริกากลาง

มเสร็จอเมริกากลาง (Baird’s Tapir) เป็นสมเสร็จที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ เป็นสมเสร็จหนึ่งในสามชนิดของลาตินอเมริก.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และสมเสร็จอเมริกากลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมเสร็จอเมริกาใต้

มเสร็จอเมริกาใต้ หรือ สมเสร็จบราซิลเลียน หรือ สมเสร็จป่าต่ำ (South American Tapir, Brazilian Tapir-มาจาก tupi tapi'ira, Lowland Tapir; โปรตุเกส: Anta) เป็นสมเสร็จชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ป่าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และสมเสร็จอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

แรด

แรด เป็นสัตว์อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคี่ ในวงศ์ Rhinocerotidae แรดถือว่าเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ อาจเรียกได้ว่าเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองจากช้างก็ว่าได้ เพราะแรดอาจมีขนาดยาวได้ถึง 3.6-5 เมตร ความสูงของไหล่ 1.6-2 เมตร น้ำหนัก 2.3-3.6 ตัน.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และแรด · ดูเพิ่มเติม »

แรดชวา

แรดชวา หรือ ระมาด หรือ แรดซุนดา (Javan Rhinoceros) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคี่ในวงศ์แรด อยู่ในสกุลเดียวกันกับแรดอินเดีย เป็นหนึ่งในห้าชนิดของแรดที่ยังเหลืออยู่ ลำตัวยาว 3.1–3.2 ม.สูง 1.4–1.7 ม.มีขนาดใกล้เคียงกับแรดดำ เหนือจมูกมีนอสั้น ๆ หนึ่งนอมีขนาดเล็กกว่าแรดทุกชนิด จึงได้อีกชื่อว่า แรดนอเดียว แรดชวาเป็นแรดเอเชียที่มีการกระจายพันธุ์กว้างที่สุดตั้งแต่เกาะในอินโดนีเซีย ตลอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และจีน ปัจจุบันแรดชวาถูกคุกคามจนอยู่ในขั้นวิกฤติ มีเพียงสองแห่งเท่านั้นที่ยังมีประชากรหลงเหลืออยู่ในป่า ไม่มีแรดชวาจัดแสดงในสวนสัตว์ แรดชวาอาจเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่พบได้ยากที่สุดในโลก มีประชากรแรดน้อยกว่า 40-50 ตัวในอุทยานแห่งชาติอูจุงกูลนบนเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย และประชากรจำนวนเล็กน้อย (ประเมินเมื่อปี พ.ศ. 2550) ไม่เกิน 8 ตัวในอุทยานแห่งชาติก๊าตเตียนในประเทศเวียดนาม แต่ในปัจจุบันมีการยืนยันว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว การลดลงของแรดชวาเกิดจากการล่าเอานอซึ่งเป็นสิ่งมีค่าในการแพทย์แผนจีนซึ่งมีราคาถึง $30,000 ต่อกก.ในตลาดมืด การสูญเสียถิ่นอาศัยโดยเฉพาะผลของสงครามอย่างสงครามเวียดนาม มีส่วนในการลดลงและขัดขวางการฟื้นฟูของจำนวนประชากร แม้พื้นที่ถิ่นอาศัยที่เหลือจะได้รับการปกป้องแต่แรดชวายังคงเสี่ยงต่อการถูกล่า โรคภัยไข้เจ็บ และการสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมซึ่งจะนำไปสู่การผสมพันธุ์ในสายเลือดเดียวกัน แรดชวามีอายุประมาณ 30-45 ปีในธรรมชาติ อาศัยอยู่ในป่าดินชื้น ป่าหญ้าชื้นแฉะ และลุ่มน้ำขนาดใหญ่ แรดชวาเป็นสัตว์สันโดษมักอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นช่วงจับคู่ผสมพันธุ์และเลี้ยงดูลูกอ่อน บางครั้งจะรวมฝูงกันเมื่อลงแช่ปลักโคลนหรือลงกินโป่ง มีอาหารหลักเป็น ใบไม้อ่อน ยอดไม้ ตาไม้ และผลไม้สุกที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน นอกจากมนุษย์แล้วแรดชวาไม่มีศัตรูอื่นอีก แรดชวาจะหลีกเลี่ยงมนุษย์แต่จะโจมตีเมื่อรู้สึกถูกคุกคาม เป็นการยากที่นักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์จะศึกษาในแรดชวาโดยตรงเพราะพบยากมากและเป็นอันตรายต่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ชนิดจากการรบกวน นักวิจัยอาศัยเพียงกับดักกล้องและตัวอย่างมูลเพื่อประเมินสุขภาพและพฤติกรรม ดังนั้นจึงมีการศึกษาในแรดชวาน้อยกว่าในแรดทุกชน.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และแรดชวา · ดูเพิ่มเติม »

แรดอินเดีย

แรดอินเดีย จัดเป็นแรด 1 ใน 3 สายพันธุ์ที่พบได้ในทวีปเอเชีย และเป็นสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดที่พบในทวีปแห่งนี้.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และแรดอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

แรดขาว

แรดขาว (White rhinoceros, White rhino, Square-lipped rhinoceros) เป็นแรดชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ceratotherium simum จัดว่าเป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลกรองลงมาจากช้าง เพราะแรดขาวสามารถที่จะมีความยาวลำตัวได้ถึง 3.6-5 เมตร ความสูงของไหล่ 1.6-2 เมตร น้ำหนัก 2.3-3.6 ตัน มีผิวสีน้ำตาลอมเทาหรือเหลือง จนได้ชื่อว่า "แรดขาว" มีนอ 2 นอ ความยาวของนอที่ใหญ่ที่สุดอาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร ริมฝีปากบนของแรดขาวจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่มีติ่งยื่นแหลมออกมาเหมือนแรดชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะแรดขาวชอบที่จะกินหญ้าหรือพืชที่อยู่ตามพื้นดินหรือพุ่มไม้เตี้ย ๆ มากกว่าใบไม้ มีหูที่ยาวและปลายแหลม หน้าผากลาดและมน หัวไหล่นูนเป็นก้อน ผิวหนังเป็นตุ่มนูนเล็กน้อย ตามลำตัวไม่มีขน ยกเว้นที่ปลายหูและหาง กีบเท้ามีทั้งหมด 3 กีบ แรดขาวมีการกระจายพันธุ์บริเวณทวีปแอฟริกาตอนใต้ พบตั้งแต่ซูลูแลนด์ ถึงอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ในแอฟริกาใต้ และยังพบได้ใน ซูดานตอนใต้, ยูกันดา และบริเวณใกล้ ๆ คองโก มีทั้งหมด 2 ชนิดย่อย คือ แรดขาวเหนือ (C. s. simum) และแรดขาวใต้ (C. s. cottoni) แรดขาวมักอยู่เป็นครอบครัวเล็ก ๆ ประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 3-4 ในพื้นที่มีมีอาหารอุดมสมบูรณ์อาจพบอยู่หลายครอบครัวหากินอยู่ด้วยกัน บางครั้งอาจพบมากถึง 18 ตัว โดยมีตัวผู้คุมฝูงตัวเดียว นอกนั้นเป็นตัวเมียและลูก แรดขาวมีการกระจายถิ่นหากินกว้าง โดยใช้กองอุจจาระและปัสสาวะเป็นการบอกอาณาเขตของมัน ตัวเมียที่มีลูกจะยอมให้ตัวผู้เข้าใกล้เฉพาะตอนที่เป็นสัดเท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะต่อสู้ไล่ตัวผู้ไปทันที ในฤดูร้อนชอบหลบร้อนตามร่มไม้หรือแช่ปลัก บางครั้งอาจแช่ปลักทั้งคืนเพื่อบรรเทาความร้อนและกำจัดแมลง ในฤดูหนาวจะนอนอาบทรายแทนการแช่ปลัก แรดขาวโตเต็มที่พร้อมจะผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 7-10 ปี ฤดูผสมพันธุ์ ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ระยะการตั้งท้องนานประมาณ 18 เดือน มีอายุประมาณ 40-50 ปี ลูกแรดขาวจะอยู่ร่วมกับแม่จนอายุประมาณ 3-5 ปี โดยแรดตัวเมียจะออกลูกเพียงครั้งละตัว ในอดีตแรดขาวจะถูกล่าอย่าหนักเพื่อเอานอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคล่าอาณานิคม จนทำให้ประชากรของแรดขาวเกือบสูญพันธุ์ แต่ปัจจุบันได้มีกฎหมายคุ้มครองแรดขาวและห้ามการล่าและค้าขายนอแรดอย่างเด็ดขาด รวมถึงแรดชนิดอื่น ๆ ด้วย ทำให้ประชากรของแรดขาวมีเพิ่มมากขึ้นจากการอนุรักษ์ แต่กระนั้นก็คงมีการลักลอบอยู่เป็นร.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และแรดขาว · ดูเพิ่มเติม »

แรดดำ

แรดดำ เป็นแรดที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากแรดขาว (Ceratotherium simum) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Diceros bicornis มีรูปร่างทั่วไปคล้ายแรดขาว เพียงแต่สีผิวที่คล้ำกว่า จึงเป็นมาของชื่อ "แรดดำ" ปากของแรดดำจะเป็นติ่งแหลมยื่นออกมาบริเวณริมฝีปากบน เนื่องจากชอบตวัดกินใบไม้มากกว่า และคอของแรดดำจะสั้นกว่าแรดขาว ผิวหนังมีรอยย่นและตุ่มนูนและหนากว่า หูกลมกว่าแรดขาว ขนาดของแรดดำจะมีขนาดเล็กกว่าแรดขาวพอสมควร คือ ความยาวเต็มที่ประมาณ 140-170 เซนติเมตร ความสูงของไหล่ 3.3-3.6 เมตร น้ำหนักเต็มที่โดยประมาณ 800-1,300 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาใต้ ในประเทศเคนยา, แทนซาเนีย, แอฟริกาใต้, แคเมอรูน, นามิเบียและซิมบับเว มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อย คือ D. b. michaeli, D. b. longipes, D. b. bicornis, D. b. minor ซึ่งบางครั้งเขตหากินของแรดดำอาจจะเข้าไปอยู่ในถิ่นของแรดขาว แต่สัตว์ทั้งสองชนิดนี้ไม่เคยที่จะต่อสู้แก่งแย่งกัน แรดดำเป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้าย ฉุนเฉียวง่ายกว่าแรดขาว สามารถวิ่งได้เร็ว 29 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่บางครั้งเมื่อตกใจหรือป้องกันตัวอาจวิ่งได้เร็วถึง 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สถานภาพในธรรมชาติของแรดดำปัจจุบันอยู่ในสภาวะ CR (Critically Endangered) คือ มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์จากพื้นที่ธรรมชาติในขณะนี้.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และแรดดำ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: สัตว์กีบคี่และไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Odd-toed ungulatesOrder PerissodactylaPerissodactylaอันดับสัตว์กีบคี่เพอริสโซแดกทีลา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »