โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เพศกับกฎหมาย

ดัชนี เพศกับกฎหมาย

ทความเพศกับกฎหมายนี้ ว่าด้วยเพศสภาพและกิจกรรมทางเพศของมนุษย์มีผลต่อหรือถูกควบคุมโดยกฎหมายของมนุษย์อย่างไร โดยทั่วไป กฎหมายห้ามการกระทำที่ถูกมองว่าเป็นการกระทำทารุณทางเพศ (sexual abuse) หรือพฤติกรรมที่สังคมมองว่าไม่เหมาะสมและขัดต่อจารีต นอกเหนือจากนี้ กิจกรรมบางหมวดหมู่อาจถูกมองว่าเป็นอาชญากรรมแม้จะได้รับความยินยอมเสรี กฎหมายทางเพศแตกต่างกันตามกาลเทศะ การกระทำทางเพศที่ถูกกฎหมายห้ามในเขตอำนาจหนึ่ง ๆ เรียกว่า อาชญากรรมทาง.

7 ความสัมพันธ์: กฎหมายการร่วมประเวณีกับญาติสนิทการข่มขืนกระทำชำเรากิจกรรมทางเพศของมนุษย์อายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้องค์การอนามัยโลกเพศสภาพของมนุษย์

กฎหมาย

กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาชิดมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใด ๆ" ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน..

ใหม่!!: เพศกับกฎหมายและกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

การร่วมประเวณีกับญาติสนิท

การร่วมประเวณีกับญาติสนิท"การร่วมประเวณีกับญาติสนิท" เป็นศัพท์ทางนิติศาสตร์ ส่วน "การสมสู่ร่วมสายโลหิต" เป็นศัพท์ทางแพทยศาสตร์ หรือ การสมสู่ร่วมสายโลหิต (Incest) หมายถึง การมีความสัมพันธ์ทางเพศในทุกรูปแบบกับผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งอาจหมายถึงคนในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง ซึ่งถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและจารีตทางสังคม ในบางสังคม การล่วงละเมิดหมายอาจมีแค่ผู้ที่อยู่ร่วมเคหะสถานเดียวกัน หรือผู้ที่เป็นสมาชิกของเผ่าหรือมีผู้สืบสันดานเดียวกัน; ในบางสังคมมีความหมายรวมไปถึงคนที่สัมพันธ์กันทางสายเลือด; และในสังคมอื่น ๆ รวมไปถึงบุตรบุญธรรมหรือการแต่งงาน ในการศึกษาบางอย่างได้ระบุว่ารูปแบบของการล่วงละเมิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ระหว่างพ่อกับลูกสาว อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาอื่น ๆ เสนอว่าการร่วมประเวณีระหว่างพี่น้องเกิดขึ้นบ่อยเทียบเท่าหรือบ่อยครั้งกว่าการร่วมประเวณีกับญาติสนิทรูปแบบอื่น ๆ การล่วงละเมิดทางเพศเด็กโดยผู้ใหญ่ถูกพิจารณาว่าเป็นรูปแบบของการข่มขืนต่อเด็กรูปแบบหนึ่ง นักวิจัยได้ประมาณการว่าประชากรทั่วไปราว 10-15% เคยมีประสบการณ์การล่วงละเมิดทางเพศแบบดังกล่าวมากกว่าหนึ่งครั้ง ในขณะที่อีกประมาณ 2% เกี่ยวข้องกับการร่วมประเวณีหรือพยายามกระทำร่วมประเวณี ส่วนในผู้หญิง นักวิจัยได้ประมาณการตัวเลขไว้ที่ 20% ในสังคมส่วนใหญ่มักจะมีการหลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดทางเพศของคนในครอบครัวเดียวกันในบางรูปแบบ ข้อห้ามการล่วงละเมิดของคนในครอบครัวเดียวกันถือว่าเป็นหนึ่งในข้อห้ามทางวัฒนธรรมในบางสังคม แต่ในทางกฎหมายการร่วมประเวณีกับญาติสนิทมีระดับการยอมรับที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ บางประเทศถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและถือว่าเป็นอาชญากรรมที่มีบทลงโทษ บางประเทศยอมรับการเกิดขึ้นได้โดยไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรมแต่จะไม่อนุญาตให้มีการแต่งงาน บางประเทศยอมรับด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนปรนเช่นยอมให้พี่น้องแต่งงานกันได้แต่ห้ามการแต่งงานระหว่างบุพการีกับบุตร บางประเทศห้ามเฉพาะผู้ใหญ่กับญาติที่ยังเป็นผู้เยาว์เท่านั้น จนถึงบางประเทศที่กฎหมายเปิดเสรี.

ใหม่!!: เพศกับกฎหมายและการร่วมประเวณีกับญาติสนิท · ดูเพิ่มเติม »

การข่มขืนกระทำชำเรา

การข่มขืนกระทำชำเรา (rape) เป็นการทำร้ายร่างกายทางเพศซึ่งปกติเกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์หรือการใช้การล่วงล้ำทางเพศแบบอื่นต่อบุคคลโดยปราศจากความยินยอมของบุคคลเหล่านั้น การกระทำดังกล่าวอาจโดยใช้กำลังทางกาย การบีบบังคับ การละเมิดอำนาจหรือต่อบุคคลที่ไม่สามารถให้ความยินยอมสมบูรณ์ได้ เช่น ผู้ที่หมดสติ ไร้ความสามารถหรืออายุต่ำกว่าอายุที่ยอมให้มีการร่วมประเวณีได้ตามกฎหมาย คำว่า "ข่มขืนกระทำชำเรา" บางครั้งใช้แทนคำว่า "การทำร้ายร่างกายทางเพศ" ได้ อุบัติการณ์การข่มขืนกระทำชำเราที่ตำรวจบันทึกทั่วโลกในปี 2553 แปรผันระหว่าง 0.2 ต่อ 100,000 คนในประเทศอาเซอร์ไบจาน ถึง 92.9 ต่อ 100,000 คนในประเทศบอตสวานา โดยมีค่า 6.3 ต่อ 100,000 คนในประเทศลิทัวเนียเป็นมัธยฐาน United Nations.

ใหม่!!: เพศกับกฎหมายและการข่มขืนกระทำชำเรา · ดูเพิ่มเติม »

กิจกรรมทางเพศของมนุษย์

กิจกรรมทางเพศของมนุษย์ หรือ พฤติกรรมทางเพศของมนุษย์ มีความหมายถึงการปฏิบัติที่มนุษย์ได้พบและปลดปล่อยเรื่องทางเพศ มีหลากหลายกิจกรรมแตกต่างกันไป อย่างเช่นแผนการในการหาคู่ (จับคู่และแสดงพฤติกรรม) การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล, ความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางร่างกายหรืออารมณ์ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ คำว่ากิจกรรมทางเพศ สามารถหมายถึง การกระทำที่เกี่ยวกับคน 2 คนหรือมากกว่า เช่นมีเพศสัมพันธ์ ออรัลเซ็กส์ หรือการสำเร็จความใคร่ให้ผู้อื่น หรือการสำเร็จความใคร่ให้ตัวเองคนเดียว ในบางวัฒนธรรม กิจกรรมทางเพศได้รับการยอมรับเฉพาะผู้ที่แต่งงานแล้วเท่านั้น ถึงแม้ว่าการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสและความสัมพันธ์นอกสมรสถือเป็นเรื่องทั่วไป กิจกรรมทางเพศบางชนิดก็เป็นสิ่งผิดกฎหมายและผิดปกติในบางประเทศ และในบางครั้งอาจพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่ผิดวิสัยในสังคม ตัวอย่างเช่น กิจกรรมทางเพศอย่างการข่มขืนกระทำชำเราถือเป็นอาชญากรรม.

ใหม่!!: เพศกับกฎหมายและกิจกรรมทางเพศของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

อายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้

#D3D3D3 – ไม่มีข้อมูล อายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ (age of consent) คือ อายุที่บุคคลบรรลุแล้วกฎหมายก็อนุญาตให้สามารถร่วมประเวณีหรือถูกกระทำทางเพศได้นับแต่นั้นเป็นต้นไป ซึ่งไม่พึงสับสนกับนิติภาวะและอายุที่อยู่ในเกณฑ์สมรสได้ อายุที่ยอมให้มีการร่วมประเวณีได้ ย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละรัฐนั้น ๆ จะกำหนด ทั้งนี้ ค่ามัธยฐานของการกำหนดดังกล่าวอยู่ที่อายุระหว่างสิบสี่ถึงสิบหกปี อายุน้อยสุดที่มีกำหนดไว้คือตั้งแต่สิบสองปี ส่วนมากสุดได้แก่ยี่สิบเอ็ดปี ประเทศไทยมิได้กำหนดเกณฑ์อายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 และมาตรา 279 บัญญัติห้ามมิให้กระทำชำเราหรือกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าจะหญิงหรือชาย ที่ไม่ใช่ภรรยาหรือสามีของตน แต่ว่า การนำพาผู้เยาว์อายุระหว่าง 15-18 ปีไปเพื่อการอนาจาร ผิดกฎหมายมาตรา 283 ทวิ ไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมหรือไม่ นอกจากนั้นแล้ว การพรากผู้เยาว์อายุระหว่าง 15-18 ปีไปเพื่อการอนาจาร แม้ว่าผู้เยาว์จะยินยอมพร้อมใจ ก็ยังผิดกฎหมายอาญา มาตรา 319 อีกด้วย ดังที่พบในคดีฟ้องร้องต่อแด๊ก บิ๊กแอส (นายเอกรัตน์ วงศ์ฉลาด) ที่ต่อมาศาลอุทธรณ์ยกฟ้องฐานสำคัญผ.

ใหม่!!: เพศกับกฎหมายและอายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: เพศกับกฎหมายและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

เพศสภาพของมนุษย์

องมนุษย์ (Human sexuality) เป็นประสบการณ์ซึ่งกระตุ้นความรู้สึกทางเพศและการปลดปล่อยด้านเพศของมนุษย์Rathus, Spencer A., Jeffrey S. Nevid, and Lois Fichner-Rathus.

ใหม่!!: เพศกับกฎหมายและเพศสภาพของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »