โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เพลี้ยอ่อนถั่ว

ดัชนี เพลี้ยอ่อนถั่ว

ลี้ยอ่อนถั่ว (Koch.) เป็นแมลงประเภทปากดูด (sucking pest) ดูดกินน้ำเลี้ยงจากทุก ๆ ส่วนของพืช เช่น ลำต้น ใบ ยอด กิ่ง และดอก ตลอดจนฝัก โดยใช้ปากแบบเจาะดูดแทงเข้าไปในเนื้อเยื่อพืช แล้วดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ยอด และใบอ่อน มีอาการหงิกงอ และเหี่ยวแห้ง ทำให้ใบเหลือง และร่วงหล่นไป เมื่อพืชถูกทำลายมาก ๆ จะหยุดเจริญเติบโตและตายได้ เป็นพาหะนำไวรัสมาสู่พืชตระกูลถั่ว ทำให้เกิดโรคใบด่าง (Mosaic) ซึ่งเป็นโรคของใบที่สำคัญมากของถั่วฝักยาวที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สุดารัตน์ หอมหวล ยุวดี ชูประภาวรรณ และวิรัตน์ จันทร์ตรี.

11 ความสัมพันธ์: กะเม็งกันเกราวงศ์ถั่วผักกาดหัวถั่วฝักยาวถั่วดำถั่วปากอ้าดาวเรืองน้อยหน่าน้ำนมราชสีห์ไวรัส

กะเม็ง

กะเม็ง (false daisy, white-head) เป็นพืชสมุนไพรของไทย ถูกนำมาใช้ในด้านการรักษาโรค จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูก กะเม็งตัวเมีย คัดเม็ง (ภาคกลาง) บังกีเช้า (จีน) หญ้าสับ ฮ่อมเกี่ยว (ภาคเหนือ).

ใหม่!!: เพลี้ยอ่อนถั่วและกะเม็ง · ดูเพิ่มเติม »

กันเกรา

ต้นกันเกรา กันเกรา เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย ต้นกันเกรามีชื่อเรียกอื่นว่า มันปลา ตำเสา มะซูไม้ต้น กันเกรามีชื่อเรียกต่างกันไปคือ ภาคกลางเรียก กันเกรา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มันปลา ส่วนภาคใต้เรียก ตำแสง หรือตำเสา ซึ่งถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง อันมีชื่อเป็นมงคลและมีคุณสมบัติที่ดีในการใช้ประโยชน์ คือชื่อกันเกราหมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำอันตรายใด ๆ ชื่อตำเสาคือ เป็นมงคลแก่เสาบ้านไม่ให้ปลวก มอด แมลงต่าง ๆ เจาะกิน ชื่อมันปลา น่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด ต้นกันเกรามีลักษณะต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 8 - 11 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ฐานใบแหลม โคนมน ใบเขียวมันวาว มีทรงพุ่งเป็นทรงฉัตรแหลมสวยงาม ดอก เริ่มบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มม.

ใหม่!!: เพลี้ยอ่อนถั่วและกันเกรา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ถั่ว

ืชตระกูลถั่ว เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Fabaceae หรือ Leguminosae เป็นพืชกลุ่มใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากพืชวงศ์ทานตะวัน (Compositae) และพืชวงศ์กล้วยไม้ มีสมาชิกประมาณ 550 สกุล 18,000 สปีชีส์ พบกระจายไปทั่วโลก.

ใหม่!!: เพลี้ยอ่อนถั่วและวงศ์ถั่ว · ดูเพิ่มเติม »

ผักกาดหัว

ผักกาดหัว (subsp. longipinnatus) หรือชื่ออื่น ๆ เช่น หัวผักกาด, หัวไช้เท้า หรือ หัวไชเท้า เป็นสปีชีส์ย่อยของ ผักกาดหัวสีแดง (R. sativus) ในอาหารญี่ปุ่นหัวไช้เท้าดิบมาขูดฝอยลงในซีอิ๊วและซอสต่างๆ ใช้เป็นน้ำจิ้ม ใส่ในต้มเค็ม และนิยมต้มปลาหมึกสดกับผักกาดหัวเพื่อช่วยให้เนื้อปลาหมึกนุ่มน่ารับประทานหน้า 22 เกษตร, ผักกาดหัว.

ใหม่!!: เพลี้ยอ่อนถั่วและผักกาดหัว · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วฝักยาว

มล็ดถั่วฝักยาว ถั่วฝักยาว (subsp. sesquipedalis) เป็นถั่วชนิดหนึ่งที่เป็นไม้เลื้อย มีชื่อสามัญในภาษาต่างๆที่หลากหลาย เช่น สิบสองปันนาเรียก ถั่วลิ้นนาค ภาษาอังกฤษเรียกว่า yardlong bean (ตรงตัว:ถั่วยาวหนึ่งหลา) ภาษาจีนกวางตุ้งเรียกว่า dau gok ภาษาจีนกลางเรียก jiang dou (豇豆) ภาษาอินโดนีเซียและภาษามลายูเรียก kacang panjang ภาษาตากาล็อกเรียก 'SITAO' or 'SITAW' ภาษาอีโลกาโนเรียก utong ในหมู่เกาะเวสต์อินดีสเรียกว่า bora หรือ bodi ภาษาเบงกาลีเรียกว่า vali, Borboti ในรัฐกัว อินเดีย เรียก eeril ภาษาเวียดนามเรียก đậu đũa และภาษาญี่ปุ่นเรียก ju-roku sasage (十六ササゲ) อย่างไรก็ตาม ฝักของถั่วชนิดนี้ยาวเพียงครึ่งหลา ชื่อของสับสปีชีส์ sesquipedalis (หมายถึงยาวฟุตครึ่ง)ใกล้เคียงกับความยาวจริงๆของฝักถั่วมากกว.

ใหม่!!: เพลี้ยอ่อนถั่วและถั่วฝักยาว · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วดำ

ั่วดำ เป็นพืชล้มลุก มีขนสีน้ำตาล ดอกเป็นช่อสีเหลือง ฝักแห้งแตก เปลือกหุ้มเมล็ดเป็นสีดำ มีสารพวกแอนโทไซยานิน ใช้แต่งสีขนม โดยต้มเคี่ยวกับน้ำหรือบดผสมกับแป้ง ในทางสมุนไพร มีรสหวาน บำรุงเลือด ขับของเหลวในร่างกาย ขับลม ขจัดพิษ บำรุงไต ขับเหงื่อ แก้ร้อนใน บำรุงสายตา เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการบวมน้ำ เหน็บชา ดีซ่าน ไตเสื่อม ปวดเอว มีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคโรทีน ไนอะซิน วิตามินบี 1 และบี 2 และสารที่ช่วยบรรเทาอาการปวดลำไส้เล็ก.

ใหม่!!: เพลี้ยอ่อนถั่วและถั่วดำ · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วปากอ้า

ั่วปากอ้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vicia faba) เป็นสปีชีส์หนึ่งของถั่วมีฝักในวงศ์ Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองในแถบแอฟริกาเหนือและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ถั่วปากอ้ามีสารพิษที่ทำให้เกิดโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกง.

ใหม่!!: เพลี้ยอ่อนถั่วและถั่วปากอ้า · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเรือง

วเรือง (L.) มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า คำปู้จู้ (ภาคเหนือ) นิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองในกลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่พันธุ์ซอเวอริน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาเมกาและอื่น ๆ อีกหลายพันธุ์ ดาวเรืองขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดเป็นหลัก อาจใช้การปักชำได้ แต่ต้นที่ได้จะให้ดอกที่มีขนาดเล็กกว.

ใหม่!!: เพลี้ยอ่อนถั่วและดาวเรือง · ดูเพิ่มเติม »

น้อยหน่า

น้อยหน่า (Sugar apple; Linn.) ชื่ออื่น ๆ หมักเขียบ (ตะวันออกเฉียงเหนือ), ลาหนัง (ปัตตานี), มะนอแน่, มะแน่ (เหนือ), หน่อเกล๊ะแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะออจ้า, มะโอจ่า (เงี้ยว-เหนือ), เตียบ (เขมร) เป็นพืชยืนต้น ผลมีเนื้อสีขาว เมล็ดดำ รสหวาน ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกากลาง และใต้ แต่จะพบอยู่ทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: เพลี้ยอ่อนถั่วและน้อยหน่า · ดูเพิ่มเติม »

น้ำนมราชสีห์

น้ำนมราชสีห์ เป็นพืชล้มลุก ลำต้นแผ่ไปตามดิน ลำต้นและใบมีขน ยางสีขาวคล้ายน้ำนม ใบเดี่ยว ออกตามข้อเป็นคู่ ดอกออกระหว่างใบกับลำต้น ช่อแบบกระจุก ผลกลม แก่แตกเป็น 3 ซีก เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม ในทางสมุนไพร น้ำนมราชสีห์ทั้งต้นมี มีรสขม ทำให้เกิดน้ำนม ต้นตากแห้งแล้วคั่วนำมาขงน้ำมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ สรรพคุณแก้ไข้จับสั่น อักเสบ ผื่นคัน ยางใช้กัดหูด และยังใช้รักษา บิด ขับปัสสาวะ แก้หืด ผื่นคัน หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด หูดตาปลา ถ่ายพยาธิ องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของน้ำนมราชสีห์ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ โพลีฟีนอล แทนนิน ไตรเทอร์พีน ไฟโตสเตอรอล มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียหลายชนิด สารสกัดเมทานอลมีฤทธิ์ยับยั้ง Bacillus cereus และ Pseudomonas aeruginosa ได้ดี.

ใหม่!!: เพลี้ยอ่อนถั่วและน้ำนมราชสีห์ · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัส

วรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology).

ใหม่!!: เพลี้ยอ่อนถั่วและไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »