โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเบนคนละทิศ

ดัชนี การเบนคนละทิศ

ตาทั้งสองจะเบนเพื่อเล็งไปที่วัตถุเดียวกัน ในจักษุวิทยา การเบนคนละทิศ (vergence) เป็นการขยับตาทั้งสองข้างพร้อมกันในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อดำรงการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา เมื่อสัตว์ที่มองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาจ้องดูวัตถุ ตาทั้งสองจะต้องหมุนไปตามแกนแนวตั้ง เพื่อให้ภาพของวัตถุตกลงที่กลางจอตา เพื่อจะดูวัตถุใกล้ ๆ ตาจะต้องหมุนเข้าหากัน (convergence) เพื่อจะดูวัตถุไกล ๆ ตาจะต้องหมุนออกจากกัน (divergence) เมื่อตาเบนเข้ามาก นี่เรียกว่าตาเหล่เข้า แต่เมื่อมองวัตถุที่ไกล ๆ ตาจะเบนออกจนกระทั่งมีแนวตาขนานกัน โดยเท่ากับตรึงตาที่ระยะอนันต์ (คือไกลมาก) การเบนตาคนละทิศ (vergence) สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการปรับตาดูใกล้ไกล (accommodation) ในสถานการณ์ปกติ การเปลี่ยนโฟกัสของตาทั้งสองเพื่อดูวัตถุที่ใกล้หรือไกล จะทำให้เกิดกระบวนการเบนตาคนละทิศและการปรับตาดูใกล้ไกลโดยอัตโนมัติ ซึ่งคู่กันบางครั้งเรียกว่า accommodation-convergence reflex เมื่อเทียบกับการขยับตาแบบ saccade ที่ไวถึง 500 องศา/วินาที การเบนตาคนละทิศช้ากว่ามากที่ประมาณ 25 องศา/วินาที โดยกล้ามเนื้อตาอาจมีใยประสาทสั่งการสำหรับการขยับตาแต่ละอย่างโดยเฉพาะ คือเป็นกลไกต่างหากสองอย่าง.

15 ความสัมพันธ์: การปรับตาดูใกล้ไกลการเห็นภาพซ้อนการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตารอยบุ๋มจอตารูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบวินาทีออโตสเตอริโอแกรมองศา (มุม)อนันต์จอตาจักษุวิทยาความสอดคล้องกันของจอตาเส้นประสาทกล้ามเนื้อตาOrthopticsSaccade

การปรับตาดูใกล้ไกล

การปรับตาดูไกลและใกล้ '''Lens'''.

ใหม่!!: การเบนคนละทิศและการปรับตาดูใกล้ไกล · ดูเพิ่มเติม »

การเห็นภาพซ้อน

การเห็นภาพซ้อน หรือ การเห็นซ้อนสอง (Diplopia, double vision) เป็นการเห็นภาพสองภาพของวัตถุเดียวกัน ที่อาจซ้อนกันตามแนวนอน แนวตั้ง แนวเฉียง หรือแนวหมุน และปกติเป็นผลของความพิการของกล้ามเนื้อตา (extraocular muscles, EOMs) คือตาทั้งสองทำงานได้ดีแต่ไม่สามารถหันไปที่เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง โดยกล้ามเนื้อตาอาจมีปัญหาทางกายภาพ มีโรคที่แผ่นเชื่อมประสาทสั่งการและกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction) มีโรคที่เส้นประสาทสมอง (เส้น 3, 4, และ 6) ที่สั่งการกล้ามเนื้อ และเป็นบางครั้ง มีปัญหาเกี่ยวกับวิถีประสาท supranuclear oculomotor หรือการบริโภคสิ่งที่เป็นพิษ การเห็นภาพซ้อนอาจเป็นอาการปรากฏแรก ๆ ของโรคทั่วร่างกาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและประสาท และอาจทำการทรงตัวของร่างกาย การเคลื่อนไหว และการอ่านหนังสือ ให้พิการ.

ใหม่!!: การเบนคนละทิศและการเห็นภาพซ้อน · ดูเพิ่มเติม »

การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา

quote.

ใหม่!!: การเบนคนละทิศและการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา · ดูเพิ่มเติม »

รอยบุ๋มจอตา

รอยบุ๋มจอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (fovea, fovea centralis, แปลตามศัพท์ว่าหลุม) เป็นส่วนของตามนุษย์ อยู่ที่ตรงกลางของจุดภาพชัด (macula) ในเรตินา"Relation Between Superficial Capillaries and Foveal Structures in the Human Retina" - (with nomenclature of fovea terms), Masayuki Iwasaki and Hajime Inomara, - Investigative Ophthalmology & Visual Science (journal), - volume 27, pages 1698-1705, 1986, IOVS.org, webpage: -. รอยบุ๋มจอตาเป็นเหตุให้เห็นได้ชัดตรงกลางลานสายตา ซึ่งจำเป็นในการอ่านหนังสือ ขับรถ หรือทำกิจอื่น ๆ ที่ต้องอาศัยการเห็นที่ชัด รอยบุ๋มจอตาล้อมด้วยบริเวณรูปวงแหวนที่เรียกว่า parafovea (แปลว่า ติดกับรอยบุ๋มจอตา) และ perifovea (แปลว่า รอบรอยบุ๋มจอตา) ที่อยู่เถิบออกไปอีก parafovea เป็นวงแหวนรอบตรงกลาง ที่ชั้น ganglion cell layer ของเรตินา ประกอบด้วยแถวของเซลล์ retinal ganglion cell (RGC) มากกว่า 5 แถว และมีเซลล์รูปกรวยที่หนาแน่นมากที่สุด ส่วน perifovea เป็นวงแหวนเถิบต่อไปอีกที่ชั้น ganglion cell layer ประกอบด้วยแถวของเซลล์ RGC 2-4 แถว เป็นเขตที่ระดับความชัดของการเห็นเริ่มลดลงจากระดับที่ชัดที่สุด และมีเซลล์รูปกรวยในระดับที่หนาแน่นน้อยลง คือ มี 12 เซลล์ต่อ 100 ไมโครเมตร เทียบกับ 50 เซลล์ต่อ 100 ไมโครเมตรที่ตรงกลางของรอยบุ๋มจอตา วงแหวน perifovea นี้ก็ล้อมด้วยเขตรอบนอก (peripheral) ที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งส่งข้อมูลที่มีการบีบอัดสูงมีความชัดต่ำ ประมาณ 50% ของเส้นประสาทตาส่งข้อมูลจากรอยบุ๋มจอตา ในขณะที่อีก 50% ส่งข้อมูลจากส่วนที่เหลือของเรตินา เขตของ parafovea ไปสุดที่ประมาณ 1¼ มิลลิเมตร จากตรงกลางของรอยบุ๋มจอตา และเขตของ perifovea ไปสุดที่ 2¾ มิลลิเมตร แม้ว่า ขนาดของรอยบุ๋มจอตาจะเล็กเทียบกับส่วนที่เหลือของเรตินา แต่รอยบุ๋มจอตาเป็นเขตเดียวที่สามารถเห็นชัดได้ในระดับ 20/20 และเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งในการเห็นรายละเอียดและสี.

ใหม่!!: การเบนคนละทิศและรอยบุ๋มจอตา · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: การเบนคนละทิศและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

วินาที

วินาที (Second) เป็นหน่วยฐานของเวลาในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (เอสไอ) และยังเป็นหน่วยเวลาในระบบการวัดอื่น เท่ากับ 1 ส่วน 60 ของนาที ระหว่าง..

ใหม่!!: การเบนคนละทิศและวินาที · ดูเพิ่มเติม »

ออโตสเตอริโอแกรม

ออโตสเตอริโอแกรม (autostereogram) เป็น สเตอริโอแกรม หรือ ภาพสเตอริโอแบบภาพเดี่ยว ที่ออกแบบมาเพื่อลวงตา ทำให้มองเห็นภาพสองมิตินั้นเป็นภาพสามมิติ สเตอริโอแกรมชนิดที่ง่ายที่สุดก็คือ สเตอริโอแกรมแบบกระดาษบุผนัง (wallpaper autostereogram) ภาพมหัศจรรย์สามมิติที่รู้จักกันดีนั้นเรียกว่า ออโต้สเตอริโอแกรมแบบใช้จุดมั่ว (random dot autostereogram) หลักการในการมองเห็นภาพประเภทนี้นั้นจะเกิดจากการมองเห็นที่สูญเสียการโฟกัส Tut Animated Shark.gif 800x200 version.

ใหม่!!: การเบนคนละทิศและออโตสเตอริโอแกรม · ดูเพิ่มเติม »

องศา (มุม)

องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.

ใหม่!!: การเบนคนละทิศและองศา (มุม) · ดูเพิ่มเติม »

อนันต์

ัญลักษณ์อนันต์ในรูปแบบต่าง ๆ อนันต์ (infinity; ใช้สัญลักษณ์ ∞) เป็นแนวคิดในทางคณิตศาสตร์และปรัชญาที่อ้างถึงจำนวนที่ไม่มีขอบเขตหรือไม่มีที่สิ้นสุด ในประวัติศาสตร์ ผู้คนต่างพัฒนาแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของอนันต์ ในทางคณิตศาสตร์ มีการจำกัดความของคำว่าอนันต์ในทฤษฎีเซต ภาษาอังกฤษของอนันต์ที่ว่า Infinity มาจากคำในภาษาละติน infinitas ซึ่งแปลว่า "ไม่มีที่สิ้นสุด" ในทางคณิตศาสตร์ เนื้อหาที่เกี่ยวกับอนันต์จะถือว่าอนันต์เป็นตัวเลข เช่น ใช้ในการนับปริมาณ เป็นต้นว่า "จำนวนพจน์เป็นอนันต์" แต่อนันต์ไม่ใช่ตัวเลขชนิดเดียวกับจำนวนจริง เกออร์ก คันทอร์ นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันได้จัดระเบียบแนวคิดที่เกี่ยวกับอนันต์และเซตอนันต์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 เขายังได้ค้นพบว่าอนันต์มีการนับปริมาณแตกต่างกัน แนวคิดดังกล่าวถูกเรียกว่าภาวะเชิงการนับ เช่น เซตของจำนวนเต็มเป็นเซตอนันต์ที่นับได้ แต่เซตของจำนวนจริงเป็นเซตอนันต์ที่นับไม่ได้.

ใหม่!!: การเบนคนละทิศและอนันต์ · ดูเพิ่มเติม »

จอตา

ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เรตินา หรือ จอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" หรือ จอประสาทตา (retina, พหูพจน์: retinae, จากคำว่า rēte แปลว่า ตาข่าย) เป็นเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ที่ไวแสง บุอยู่บนผิวด้านในของดวงตา การมองเห็นภาพต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเซลล์ที่อยู่บนเรตินา เป็นตัวรับและแปลสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณประสาทหรือกระแสประสาท ส่งขึ้นไปแปลผลยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆได้ คือ กลไกรับแสงของตาฉายภาพของโลกภายนอกลงบนเรตินา (ผ่านกระจกตาและเลนส์) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป แสงที่ตกลงบนเรตินาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางเคมีและไฟฟ้าที่เป็นไปตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การส่งสัญญาณประสาทโดยที่สุด ซึ่งดำเนินไปยังศูนย์ประมวลผลทางตาต่าง ๆ ในสมองผ่านเส้นประสาทตา ในสัตว์มีกระดูกสันหลังในช่วงพัฒนาการของเอ็มบริโอ ทั้งเรตินาทั้งเส้นประสาทตามีกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น เรตินาจึงได้รับพิจารณาว่าเป็นส่วนของระบบประสาทกลาง (CNS) และจริง ๆ แล้วเป็นเนื้อเยื่อของสมอง"Sensory Reception: Human Vision: Structure and function of the Human Eye" vol.

ใหม่!!: การเบนคนละทิศและจอตา · ดูเพิ่มเติม »

จักษุวิทยา

การใช้กล้องจักษุจุลทรรศน์ (Slit lamp) ตรวจตาในคลินิกจักษุวิทยา จักษุวิทยา (Ophthalmology) เป็นสาขาหนึ่งของแพทยศาสตร์ที่ศึกษากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และโรคของตา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาเรียกว่า จักษุแพทย์ ซึ่งต้องผ่านการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และการศึกษาเป็นแพทย์ประจำบ้านด้านจักษุวิทยา และสอบผ่านวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาจักษุวิทยาจากราชวิทยาลัยจักษุแพท.

ใหม่!!: การเบนคนละทิศและจักษุวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ความสอดคล้องกันของจอตา

วามสอดคล้องกันของจอตา (Retinal correspondence) เป็นความสัมพันธ์แบบจับคู่ตามธรรมชาติระหว่างเซลล์ของจอตาทั้งสองข้างของมนุษย์ คือภาพจากวัตถุเดียวกันจะเร้าเซลล์ทั้งสองชุด ซึ่งก็จะส่งข้อมูลไปยังสมอง ที่ประมวลข้อมูลให้เป็นภาพเดียวโดยอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกันในปริภูม.

ใหม่!!: การเบนคนละทิศและความสอดคล้องกันของจอตา · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทกล้ามเนื้อตา

้นประสาทกล้ามเนื้อตา หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 3 เป็นเส้นประสาทสมองเส้นหนึ่งจากจำนวนทั้งหมด 12 คู่ ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตา การหรี่ม่านตา และช่วยในการลืมตา (นอกจากนี้ยังมีเส้นประสาทสมองเส้นที่ 4 และ 6 ที่มีส่วนในการควบคุมการเคลื่อนไหวของตา).

ใหม่!!: การเบนคนละทิศและเส้นประสาทกล้ามเนื้อตา · ดูเพิ่มเติม »

Orthoptics

Orthoptics เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาตาโดยเน้นการวินิจฉัยและการบริหารโดยไม่ผ่าตัดซึ่งอาการตาเหล่ ตามัว/ตาขี้เกียจ และความผิดปกติในการเคลื่อนไหวตาอื่น ๆ คำภาษาอังกฤษว่า orthoptics มาจากคำภาษากรีกโบราณ คือ ὀρθός (orthos) แปลว่า "ตรง" และ ὀπτικός (optikοs) แปลว่า "เกี่ยวกับการเห็น" เป็นอาชีพที่มักเกี่ยวกับการควบคุมกล้ามเนื้อตาหรือการหักเหแสงของตา ในบางประเทศเมื่อได้รับการฝึกโดยเฉพาะ ผู้ทำวิชาชีพอาจตรวจติดตามโรคตาบางชนิด เช่น ต้อหิน ต้อกระจก และโรคจอตาเหตุเบาหวานเป็นต้น.

ใหม่!!: การเบนคนละทิศและOrthoptics · ดูเพิ่มเติม »

Saccade

รอยทางจุดการทอดสายตาที่เกิดจากการขยับตาแบบ saccades ของมนุษย์ ในขณะที่กราดดูใบหน้า saccade (อ่านว่า เซะคาด) เป็นการเคลื่อนไหวอย่างเร็ว ๆ ของตา ของศีรษะ หรือของส่วนอื่นในร่างกาย หรือของอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง และยังหมายถึงการเปลี่ยนความถี่อย่างรวดเร็วของสัญญาณส่ง หรือความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างอื่น ๆ ได้อีกด้วย Saccades เป็นการเคลื่อนไหวตาทั้งสองข้างไปยังทิศทางเดียวกัน พร้อม ๆ กัน อย่างรวดเร็วCassin, B. and Solomon, S. Dictionary of Eye Terminology.

ใหม่!!: การเบนคนละทิศและSaccade · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Convergence (eye)Divergence (eye)Vergenceการเบนออก (ตา)การเบนตาคนละทิศการเบนเข้า (ตา)เบนคนละทิศ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »