เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เนื้อเยื่อใต้หนัง

ดัชนี เนื้อเยื่อใต้หนัง

นื้อเยื่อใต้หนัง (subcutaneous tissue, มาจากsubcutaneous "ใต้ผิวหนัง") หรือเรียกเนื้อใต้หนัง (subcutis), ชั้นใต้หนัง (hypodermis, hypoderm มาจากภาษากรีก แปลว่า "ใต้ผิวหนัง") หรือแผ่นพังผืดตื้น (superficial fascia) เป็นชั้นล่างสุดของระบบผิวหนังในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ประเภทของเซลล์ที่พบในชั้นใต้หนัง คือ เซลล์สร้างเส้นใย (fibroblast) เซลล์ไขมัน และแมโครฟาจ ชั้นใต้หนังพัฒนามาจากเมโซเดิร์ม แต่ไม่ได้พัฒนามาจากบริเวณเดอร์มาโตม (dermatome) ของเมโซเดิร์มเหมือนกับหนังแท้ ในสัตว์ขาปล้อง ชั้นใต้หนังเป็นเซลล์ชั้นหนังกำพร้าที่หลั่งผิวนอกเคลือบไคติน คำนี้ยังหมายถึง ชั้นเซลล์ที่อยู่ใต้ epidermis ของพืช ชั้นใต้หนังมีหน้าที่เก็บสะสมไขมันเป็นหลัก ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบางและกลีบย่อยไขมัน พบหลอดเลือดและเส้นประสาทขนาดใหญ่กว่าที่พบในหนังแท้.

สารบัญ

  1. 7 ความสัมพันธ์: ภาษากรีกระบบผิวหนังสัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์ขาปล้องหนังกำพร้าหนังแท้ผิวหนัง

  2. กายวิภาคของผิวหนัง

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ดู เนื้อเยื่อใต้หนังและภาษากรีก

ระบบผิวหนัง

ระบบผิวหนัง (Integumentary System) คือ ระบบป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกาย มีเส้นประสาทรับความรู้สึกต่างๆ หมวดหมู่:ระบบอวัยวะ.

ดู เนื้อเยื่อใต้หนังและระบบผิวหนัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ดู เนื้อเยื่อใต้หนังและสัตว์มีกระดูกสันหลัง

สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

ดู เนื้อเยื่อใต้หนังและสัตว์ขาปล้อง

หนังกำพร้า

ตัดขวางของผิวหนัง หนังกำพร้า (Epidermis) เป็นบริเวณชั้นนอกสุดของผิวหนัง ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าหรือออกจากร่างกาย และห่อหุ้มร่างกาย ประกอบด้วยเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวประเภทสแตรทิฟายด์ สแควมัส (stratified squamous epithelium) รองรับด้วยเบซัล ลามินา (basal lamina).

ดู เนื้อเยื่อใต้หนังและหนังกำพร้า

หนังแท้

หนังแท้ (Dermis) เป็นชั้นของผิวหนังที่อยู่ใต้หนังกำพร้า (epidermis) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ลดการกระแทกจากแรงดึงต่างๆ หนังแท้ยึดติดกับหนังกำพร้าอย่างแน่นหนาโดยเยื่อฐาน (basement membrane) และมีปลายประสาทมากมายซึ่งรับความรู้สึกเช่นสัมผัสหรือความร้อน ในหนังแท้ยังมีรากขน (hair follicle), ต่อมเหงื่อ (sweat gland), ต่อมไขมัน (sebaceous gland), ต่อมเหงื่อแบบอะโพครายน์ (apocrine sweat glands), และหลอดเลือด (blood vessel) หลอดเลือดในชั้นหนังแท้มีประโยชน์ในการให้อาหารมาเลี้ยงและขับของเสีย เช่นเดียวกับสตราตัม เบซาเลของหนังกำพร้.

ดู เนื้อเยื่อใต้หนังและหนังแท้

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ดู เนื้อเยื่อใต้หนังและผิวหนัง

ดูเพิ่มเติม

กายวิภาคของผิวหนัง

หรือที่รู้จักกันในชื่อ HypodermHypodermisSubcutaneous tissueSubcutisSuperficial fasciaชั้นใต้หนังแผ่นพังผืดตื้นเนื้อใต้หนัง