โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เทวดา (ศาสนาพุทธ)

ดัชนี เทวดา (ศาสนาพุทธ)

วัดโทได ตามคติความเชื่อในศาสนาพุทธ เทพ (-pi;देव เทว) หมายถึงชาวสวรรค์ ถ้าเป็นเพศชายเรียกว่าเทพบุตร เพศหญิงเรียกว่าเทพธิดา และเรียกโดยรวมว่าเทวดา ในบางกรณีอาจครอบคลุมถึงพระพรหมทั้งหลายในพรหมภูมิด้ว.

16 ความสัมพันธ์: พรหมภูมิพระพรหมการร่วมเพศยามาวัดอภัยคีรีวิหารศาสนาพุทธสวรรค์สุมังคลวิลาสินีหิริจาตุมหาราชิกาดาวดึงส์ดุสิตปรนิมมิตวสวัตดีนิมมานรดีโอตตัปปะโอปปาติกะ

พรหมภูมิ

อรูปพรหม (ฉบับกรุงศรี) พรหมภูมิ หรือ พรหมโลก ถือเป็นดินแดนของพระพรหม ซึ่งเป็นภพภูมิที่สถิตย์อยู่เสวยสุขของพระพรหมผู้อุบัติเกิดในพรหมวิมาน ณ พรหมโลก อันเป็นแดนซึ่งมีแต่ความสุขอันเกิดจากฌานเท่านั้น (แบ่งชั้นตามอำนาจฌานที่ได้บรรลุ) ในภพภูมินี้ตามคัมภีร์กล่าวว่าปราศจากความสุขที่เนื่องด้วยกามราคะ พรหมภูมิอาจแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่ รูปพรหม และ อรูปพรหม.

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และพรหมภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

พระพรหม

ระพรหม (ब्रह्मा; Brahma; బ్రహ్మ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์ เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากส่วนท้อง และศูทรเกิดจากเท้า ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่างๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลังๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่" โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น.

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และพระพรหม · ดูเพิ่มเติม »

การร่วมเพศ

'''Coition of a Hemisected Man and Woman''' (ประมาณ ค.ศ. 1492) วาดโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี แสดงให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายในการร่วมเพศระหว่างชาย-หญิง quote.

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และการร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

ยามา

มา คือสวรรค์ชั้นที่ 3 ในฉกามาพจร มีท้าวสุยามะเป็นจอมเท.

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และยามา · ดูเพิ่มเติม »

วัดอภัยคีรีวิหาร

อภัยคีรีเจดีย์ แผนที่โบราณสถานอภัยคีรี วัดอภัยคีรีวิหาร (Abhayagiri) เป็นวัดศาสนาพุทธนิกายเถรวาทในความอุปถัมภ์ของพระเจ้าวัฏฏคามิณีอภัย เป็นวัดที่มีชื่อคู่กันกับวัดมหาวิหารซึ่งมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ปัจจุบันปรากฏอยู่ภายในกำแพงเมืองเก่านครอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา มีอายุอยู่ในราวสมัยพุทธศตวรรษที่ 4 ซึ่งเป็นยุคสมัยแรกๆที่มีการจารพุทธพจน์ลงในใบลาน วัดอภัยคีรีวิหารมีพระสงฆ์จำนวนมาก มีเจดีย์ปราสาท ศาสนวัตถุ และระบบชลประทานที่ก้าวหน้าภายในสำนัก ซึ่งเหตุการณ์ตามการศึกษาประวัติศาสตร์กล่าวว่า วัดสำนักอภัยคีรีวิหาร และวัดในสำนักมหาวิหาร ได้ชื่อว่าแยกออกจากกันชัดเจนยิ่งขึ้นในสมัยนี้ เพราะการจลาจลในราชสำนักและการให้ความช่วยเหลือต่อพระเจ้าวัฏฏคามิณีอภัยของสำนักสงฆ์อภัยคีรี สำนักอภัยคีรีวิหารเป็นแหล่งต้นตอในการสร้างหนังสือปกรณ์วิเศษ ชื่อ วิมุตติมรรค อันเป็นคัมภีร์หนึ่งที่มีความสำคัญของพุทธศาสนาเถรวาท คณาจารย์ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูของสำนักอภัยคีรีวิหาร ชื่อ พระอุปติสสะเถระ ผู้รจนาคัมภีร์วิมุตติมรรคไว้เป็นแบบ และพระสังฆมิตตเถระผู้โต้วาทีมีชัยชนะเหนือคณะสงฆ์สำนักมหาวิหาร และเหตุการณ์ในสมัยนั้นยังปรากฏว่าพระจักรพรรดิจีนได้จัดราชทูตมาทูลขอภิกษุณีสงฆ์สำนักอภัยคีรีวิหารไปเพื่อประดิษฐานพระศาสนาด้วย พระเถรีผู้เป็นหัวหน้าคณะภิกษุณีในครั้งนี้คือพระเทวสาราเถรี พระภิกษุณีสงฆ์ในสายนี้มีการสืบต่อกันเรื่อยมาในชื่อว่านิกายธรรมคุปต์ และได้มีวัดภิกษุณีแห่งแรกในประเทศจีน ที่พระจักรพรรดิถวายนามว่าวัด วินฟุ (Vinfu Monastery).

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และวัดอภัยคีรีวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สวรรค์

วรรค์ (स्वर्ग สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามอันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้.

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

สุมังคลวิลาสินี

มังคลวิลาสินี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระสุตตันตปิฎก หมวดทีฆนิกาย พระพุทธโฆษาจารย์ หรือพระพุทธโฆสะ เรียบเรียงขึ้น โดยอาศัยอรรกถาเก่าภาษาสิงหฬที่แปลมาจากภาษมคธหรือภาษาบาลีมาแต่เดิม แต่ต่อมาต้นฉบับสูญหายไปพระพุทธโฆษาจารย์จึงเดินทางไปยังลังกาทวีปเพื่อแปลอรรกถาเหล่านี้กลับคืนเป็นภาษาบาลีอีกครั้ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ที่เรียบเรียงขึ้นเมื่อราว..

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และสุมังคลวิลาสินี · ดูเพิ่มเติม »

หิริ

หิริ (อ่านว่า) แปลว่า ความละอายแก่ใจ ความละอายต่อบาป หมายถึงความละอายใจตัวเองต่อการทำความชั่วความผิด ต่อการประพฤติทุจริตทั้งหลายและความละอายใจตัวเองที่จะละเว้นไม่ทำความดีซึ่งควรจะทำให้เกิดมีในตน เช่นบิดามารดามีความละอายใจที่จะไม่ดูแลบุตรของตน เช่นนี้เรียกว่ามีหิริ หิริ เกิดขึ้นได้ด้วยการคิดถึงการศึกษา ฐานะ ยศศักดิ์ ชาติตระกูลของตน คิดถึงความเสียกายที่จะเกิดขึ้น รวมกับความแกล้วกล้าของจิตใจที่จะไม่ทำชั่วเช่นนั้น หิริ เป็นธรรมรักษาคุ้มครองโลก ทำให้โลกเกิดสันติ ทำให้คนเราอยู่กันอย่างสงบสุข เพราะคนที่มีหิริจะเกลียดความชั่ว และละอายที่จะทำความชั่วทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทำให้ไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่โลกและสรรพสัตว์ทั้งปวง.

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และหิริ · ดูเพิ่มเติม »

จาตุมหาราชิกา

วาดจตุโลกบาลหรือจตุมหาราชทั้ง 4 ศิลปะพม่า (จากซ้าย) ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ และท้าวกุเวร ตามคติจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ จาตุมหาราชิกา (Cātummahārājika, จาตุมฺมหาราชิก; Cāturmahārājikakāyika, จาตุรฺมหาราชิกกายิก) เป็นชื่อสวรรค์ชั้นแรกและเป็นชั้นล่างที่สุดในฉกามาพจร (สวรรค์ในกามภูมิตามคติไตรภูมิ) เรียกสั้น ๆ ว่า ชั้นจาตุม ก็มี มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ จาตุมหาราชิกา โดยศัพท์แปลว่า "แห่งมหาราชทั้งสี่" เมื่อแปลแบบเอาความจึงหมายถึง "แดนเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้งสี่" หรือ "อาณาจักรของท้าวมหาราช 4 องค์" กล่าวคือ สวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ 4 องค์ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน 4 ทิศ ซึ่งเรียกว่า ท้าวโลกบาล ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจาตุมหาราช หรือ สี่ปวงผี ปกครองอยู่องค์ละทิศ เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามีอายุ 500 ปีทิพย์ (30 วันเป็น 1 เดือน 12 เดือนเป็น 1 ปี) โดย 1 วันและ 1 คืนของสวรรค์ชั้นนี้ เท่ากับ 50 ปีของโลกมนุษย์ คำนวณเป็นปีโลกมนุษย์ได้ 9,000,000 ปีโลกมนุษย์ (บางแห่งกล่าวว่าเท่ากับ 90,000 ปีโลกมนุษย์).

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และจาตุมหาราชิกา · ดูเพิ่มเติม »

ดาวดึงส์

ตรกรรมเรื่องไตรภูมิ แสดงที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์บนยอดเขาพระสุเมรุ ท้าวสักกะ เทวาธิบดีแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ศิลปะพม่า) ดาวดึงส์ (ตาวตึส) หรือ ตรัยตรึงศ์, ไตรตรึงษ์ (त्रायस्त्रिंश ตฺรายสฺตฺริศ) เป็นชื่อของสวรรค์ (ภูมิของเทวดาทั้งหลาย) อันสำคัญยิ่งในจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ คำว่า ตฺรายสฺตฺริศ เป็นรูปคำคุณศัพท์ของคำว่า ตฺรยาสฺตฺริศต (จำนวน 33) อาจแปลความหมายได้ว่า "ที่อยู่ของเทพ 33 องค์" สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นสวรรค์ชั้นที่ 2 จากสวรรค์ฉกามาพจรทั้ง 6 ชั้น(จัดอยู่ในกามภูมิ) โดยอยู่สูงขึ้นไปถัดจากสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาขึ้นไป 336,000,000 วา หรือ 168,000 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุอันสูง 80,000 โยชน์ ซึ่งเป็นจุดสูงที่สุดที่ยังเชื่อมอยู่กับมนุสสภูมิหรือโลกมนุษย์ (อาจเทียบได้กับยอดเขาโอลิมปัสในตำนานเทพปกรณัมกรีก) อาณาบริเวณโดยรอบ 80,000 ตารางโยชน์ มีท้าวสักกะหรือพระอินทร์เป็นผู้ปกครอง เมืองบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเมืองใหญ่ที่สร้างอย่างงดงามด้วยทองและแก้ว 7 ประการ มีเสียงดนตรีบรรเลงอยู่อย่างไพเราะ กลางเมืองดาวดึงส์มีปราสาทใหญ่ที่งดงามเป็นที่ประทับของพระอินทร์ บนสวรรค์ชั้นนี้มีอุทยานที่งดงามมากอยู่ 4 แห่ง คือ.

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และดาวดึงส์ · ดูเพิ่มเติม »

ดุสิต

ต คือสวรรค์ชั้นที่ 4 ในฉกามาพจร มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเท.

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

ปรนิมมิตวสวัตดี

ปรนิมมิตวสวัตดี คือสวรรค์ชั้นที่ 6 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดในฉกามาพจร มีท้าววสวัตตีเป็นจอมเท.

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และปรนิมมิตวสวัตดี · ดูเพิ่มเติม »

นิมมานรดี

นิมมานรดี คือสวรรค์ชั้นที่ 5 ในฉกามาพจร มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเท.

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และนิมมานรดี · ดูเพิ่มเติม »

โอตตัปปะ

อตตัปปะ (อ่านว่า โอดตับปะ) แปลว่า ความเกรงกลัว หมายถึงความสะดุ้งกลัวต่อผลของความชั่ว ต่อผลของความทุจริตที่ทำไว้ โอตตัปปะ เป็นอาการของจิตที่หวั่นไหวเมื่อจะทำความชั่ว เพราะกลัวความผิดที่จะตามให้ผลในภายหลัง เกิดขึ้นได้เพราะคิดถึงโทษหรือความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจากการทำชั่ว จากการประพฤติทุจริตของตน เช่น ตัวเองเองต้องเดือดร้อน เกิดความเสียหาย เสียทรัพย์สินเงินทอง เสียอิสรภาพ หรือถูกคนอื่นตำหนิติเตียน ถูกสังคมรังเกียจ เป็นต้น โอตตัปปะ เป็นธรรมคุ้มครองโลกคู่กับหิริ เพราะคนที่มีโอตตัปปะย่อมกลัวที่จะทำความผิด ทำให้งดเว้นจากการประพฤติต่างๆ ได้ อันเป็นเหตุให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข เกิดสันติภาพขึ้น.

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และโอตตัปปะ · ดูเพิ่มเติม »

โอปปาติกะ

ในศาสนาพุทธ โอปปาติกะ (โอปปาติก) หมายถึง ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ และโตเต็มตัวในทันใด ตามแต่อดีตกรรม ได้แก่ เทวดา พระพรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย โอปปาติกะ จัดเป็นหนึ่งในโยนิ 4 ที่เหลือได้แก่ ชลาพุชะ (สัตว์เกิดในครรภ์) อัณฑชะ (สัตว์เกิดในไข่) และสังเสทชะ (สัตว์เกิดในไคล).

ใหม่!!: เทวดา (ศาสนาพุทธ)และโอปปาติกะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เทวดาตามคติความเชื่อของศาสนาพุทธ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »